หัวใจเป็นอวัยวะที่น่าทึ่งและมีความมหัศจรรย์มาก เมื่อชีวิตก่อเกิดในครรภ์มารดาได้อายุราว 4-5 สัปดาห์ หัวใจก็เริ่มเต้นแล้ว และหัวใจที่มีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของดวงนี้ มันแข็งแรงมาก เพราะมันจะเต้นตลอดไปไม่มีวันหยุด ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ
1. หัวใจของผู้หญิงหนักประมาณ 250-300 กรัม ส่วนหัวใจของผู้ชายหนักประมาณ 300-350 กรัม
2. กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ซึ่งทำให้หัวใจเต้นได้
3. อัตราการเต้นของหัวใจราว 60-100 ครั้งต่อนาที หรือประมาณวันละ 100,000 ครั้ง
4. ทารกแรกเกิดมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วที่สุด ประมาณ 129 ครั้งต่อนาที
5. หัวใจห้องข้างบนและข้างล่างจะเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน
6. หัวใจมีที่เปิดปิดเรียกว่า “ลิ้นหัวใจ” ทำหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านและไม่ให้ไหลย้อนกลับ
7. เสียงหัวใจเต้นเกิดจากการเปิดและปิดของลิ้นหัวใจ
8. อัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉลี่ยในผู้หญิง เร็วกว่าในผู้ชายเกือบ 8 ครั้งต่อนาที
9. หัวใจทำงานประสานกัน โดยหัวใจด้านขวาสูบฉีดโลหิตเข้าสู่ปอด ขณะที่ด้านซ้ายสูบฉีดจากปอดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
10. หัวใจสูบฉีดโลหิตวันละ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที
11. หัวใจมีเยื่อบางๆใสๆ ห่อหุ้มไว้ เรียกว่า “เยื่อหุ้มหัวใจ”
12. หัวใจทำงานหนักมากเป็น 2 เท่าของกล้ามเนื้อขานักวิ่ง
13. ภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเช้าวันจันทร์
14. อาการหัวใจแตกสลายมีความรู้สึกเหมือนอาการหัวใจวาย
15. คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย
16. โรคหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยสุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
17. การไม่ออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ดี ความอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความเครียด ล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
18. โรคหัวใจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพมากที่สุด อันตรายมากกว่าโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
19. โรคมะเร็งหัวใจพบได้น้อยมาก เพราะเซลล์หัวใจจะหยุดแบ่งตัวเมื่ออายุยังน้อย
20. การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการมีสุขภาพหัวใจที่ดี
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย กองบรรณาธิการ)
1. หัวใจของผู้หญิงหนักประมาณ 250-300 กรัม ส่วนหัวใจของผู้ชายหนักประมาณ 300-350 กรัม
2. กล้ามเนื้อหัวใจมีลักษณะพิเศษกว่ากล้ามเนื้ออื่น คือ สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง ซึ่งทำให้หัวใจเต้นได้
3. อัตราการเต้นของหัวใจราว 60-100 ครั้งต่อนาที หรือประมาณวันละ 100,000 ครั้ง
4. ทารกแรกเกิดมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วที่สุด ประมาณ 129 ครั้งต่อนาที
5. หัวใจห้องข้างบนและข้างล่างจะเต้นในจังหวะที่สัมพันธ์กัน
6. หัวใจมีที่เปิดปิดเรียกว่า “ลิ้นหัวใจ” ทำหน้าที่ให้เลือดไหลผ่านและไม่ให้ไหลย้อนกลับ
7. เสียงหัวใจเต้นเกิดจากการเปิดและปิดของลิ้นหัวใจ
8. อัตราการเต้นของหัวใจโดยเฉลี่ยในผู้หญิง เร็วกว่าในผู้ชายเกือบ 8 ครั้งต่อนาที
9. หัวใจทำงานประสานกัน โดยหัวใจด้านขวาสูบฉีดโลหิตเข้าสู่ปอด ขณะที่ด้านซ้ายสูบฉีดจากปอดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
10. หัวใจสูบฉีดโลหิตวันละ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที
11. หัวใจมีเยื่อบางๆใสๆ ห่อหุ้มไว้ เรียกว่า “เยื่อหุ้มหัวใจ”
12. หัวใจทำงานหนักมากเป็น 2 เท่าของกล้ามเนื้อขานักวิ่ง
13. ภาวะหัวใจวายมักเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในเช้าวันจันทร์
14. อาการหัวใจแตกสลายมีความรู้สึกเหมือนอาการหัวใจวาย
15. คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย
16. โรคหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยสุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
17. การไม่ออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ดี ความอ้วน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความเครียด ล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
18. โรคหัวใจเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพมากที่สุด อันตรายมากกว่าโรคมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
19. โรคมะเร็งหัวใจพบได้น้อยมาก เพราะเซลล์หัวใจจะหยุดแบ่งตัวเมื่ออายุยังน้อย
20. การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นกุญแจสำคัญที่สุดในการมีสุขภาพหัวใจที่ดี
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 182 กุมภาพันธ์ 2559 โดย กองบรรณาธิการ)