สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทรงนิพนธ์เรื่อง “จิตฺตนคร” ขึ้นสำหรับบรรยายทางรายการวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประจำวันอาทิตย์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๓ และได้รวบรวมพิมพ์ครั้งแรกในเรื่อง การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
คู่อาสวะมีเพื่อนสนิทหลายคน ล้วนเป็นฝ่ายในหรือชั้นในด้วยกัน เช่น อนุสัย (นอนจมอยู่ในจิต) โอฆะ (ห้วงนํ้าในจิต) โยคะ (ประกอบในจิต) สังโยค หรือสัญโญชน์ (ผูกจิต) เพื่อนสนิทเหล่านี้จะมีหลายคน หลายกลุ่ม หรือจะเป็นคนเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน แต่มีหลายชื่อหลายอาการ ก็ยากจะบอกได้ เพราะเป็นชั้นใน คู่บารมีเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น อนุสัย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทผู้หนึ่งของคู่อาสวะ มีหน้าที่สร้างภาวะ ๓ อย่างแก่นครสามี คล้ายๆกับคู่อาสวะ คือ ราคะ ความย้อมใจให้ติด ปฏิฆะ ความกระทบ อวิชชา ความไม่รู้
พระพุทธเจ้าองค์พระบรมครูผู้ทรงรู้ทรงเห็นตามเป็นจริง ได้ตรัสชี้แสดงว่า อนุสัย (สิ่งที่นอนจมเป็นตะกอนอยู่ในจิต) มี ๓ คือ ราคานุสัย อนุสัยคือราคะ (สิ่งย้อมใจให้ติด) ปฏิฆานุสัย อนุสัยคือปฏิฆะ (สิ่งกระทบใจให้ไม่ชอบ) อวิชชานุสัย อนุสัยคืออวิชชา (ความไม่รู้ในทุกข์ เป็นต้น) ดูก็คล้ายๆกับอาสวะ ดังจะเทียบกันทีละข้อ
ข้อที่ ๑ กามาสวะกับราคานุสัย กามกับราคะ ดูก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ชื่อที่เรียกตามอาการ คือ เมื่อดูอาการที่รักใคร่ปรารถนาก็เรียกว่ากาม เมื่อดูอาการที่ติดใจยินดีเพราะถูกย้อมใจ ก็เรียกว่าราคะ จะว่ากามมาก่อนราคะหรือราคะมาก่อนกามก็ได้ จะว่ามาด้วยกันก็ได้ เพราะความรักใคร่กับความติดใจก็อยู่ด้วยกัน ตกลงว่าเป็นอย่างเดียวกัน
ข้อที่ ๒ ภวาสวะกับปฏิฆานุสัย ดูจะมีลักษณะต่างกันอยู่ เพราะภวหรือภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่ ปฏิฆะคือความกระทบใจให้ไม่ชอบ แต่ก็เนื่องกันชอบกลอยู่ จะมีความกระทบได้ก็ต้องมีที่กระทบ ถ้าไม่มีที่กระทบ การกระทบก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนอย่างคนสองคนเดินมากระทบไหล่กัน รถ ๒ คันแล่นมากระทบกัน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีขึ้นก็เพราะมีคน ๒ คน รถ ๒ คันขึ้นก่อน แล้วคน ๒ คน รถ ๒ คันนั้น เดินมาหรือแล่นมาสู่จุดเดียวกัน ไม่หลีกกัน ความกระทบจึงเกิดขึ้น
ความกระทบทางใจก็เช่นเดียวกัน จะต้องมี ๒ สิ่งทางใจวิ่งมากระทบกัน ใน ๒ สิ่งนั้น สิ่งหนึ่งก็คือ “ภวะ” ความเป็นนั่นเป็นนี่ในใจนี่เอง ความเป็นดังกล่าวที่เป็นชั้นในสุดก็คือ “ความเป็นเรา”
ดังที่องค์พระบรมครูตรัสเรียกว่า “อัสมิมานะ ความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น” หรือ “อหังการ” หรือที่เรียกว่า “อัตตภาพ ความเป็นอัตตา ความเป็นตน” ก็คือความเป็นเรานี่เองแหละ เรียกสั้นๆว่า “ตัวเรา” อันตัวเราที่มีอยู่ในทุกๆคน องค์พระบรมครูตรัสว่าเป็นเพียงความสำคัญหมายว่าเราเป็นเท่านั้น หาใช่เป็นสัจจะโดยปรมัตถะ (อย่างละเอียด) ไม่ เมื่อมีตัวเราขึ้นแล้วก็ต้องมีของเรา ทีนี้ก็ต้องมีเขามีของเขา และตัวเรานี้เองเป็นจุดกระทบของอะไรๆทุกอย่าง ความกระทบจึงมีขึ้นได้ หรือจะกล่าวว่า มีจุดอะไรขึ้นในใจก่อน ตัวเราก็วิ่งเข้ามาเกาะจุดนั้น ก่อเป็นตัวเราของเราขึ้นดังนี้ก็ได้
ส่วนข้อที่ ๓ อวิชชาสวะกับอวิชชานุสัย เห็นได้ง่ายว่าเป็นอย่างเดียวกัน
ฉะนั้น อาสวะกับอนุสัยจะว่าเป็นเพื่อนกัน หรือเป็นคนเดียวกัน แต่มีหลายชื่อหลายอาการก็สุดแต่จะดู ข้อสำคัญดูให้เห็นก็แล้วกัน
บรรดาผู้มาบริหารจิต คือผู้มาพยายามให้เห็นอาสวะหรืออนุสัยในจิตตนคร คือใจของตน การดูให้เห็นคือการไล่ให้พ้น เพราะอาสวะหรืออนุสัยนั้น เปรียบเหมือนผู้ร้ายที่รู้ตัวว่าเป็นผู้ร้าย ไม่ต้องการให้ใครพบใครรู้จักจำได้ เมื่อมีผู้พบเห็นจำได้รู้จัก ก็จะหลบเลี่ยงหนีไป การดูให้เห็นให้รู้จักหน้าตาของอาสวะจึงเป็นการบริหารจิตที่ถูกต้อง อันจะให้ผลเป็นความสะอาดของจิตยิ่งขึ้นทุกที
• อนุสัย - ต้นตระกูลของหัวโจกทั้ง ๓
อาสวะหรืออนุสัยเป็นกำลังสำคัญของสมุทัย ทำงานให้สมุทัยชนิดที่เรียกว่า “ใต้ดิน” หรือ “หลังฉาก” วางแผนชักใยนครสามีอยู่อย่างแนบเนียน โดยที่นครสามีหารู้ไม่ว่าได้ถูกชักใย แต่เข้าใจว่ามีเพื่อนมิตรเพื่อนเกลอหลายคนห้อมล้อมช่วยเหลืออยู่โดยใกล้ชิด บางคราวเพื่อนราคะ (ความยินดี ความกำหนัด) มายั่วยิ้ม หรือเพื่อนโลภะ (ความโลภอยากได้) มายั่วอยาก บางคราวเพื่อนโทสะมาก่อกวน บางคราวเพื่อนโมหะมาล่อหลอก เพื่อนเหล่านี้อนุสัยส่งมาทั้งนั้น
ดังที่ศิษย์ขององค์พระบรมครูได้กล่าวว่า ราคานุสัยแรงขึ้นเป็นราคะหรือโลภะ ปฏิฆานุสัยแรงขึ้นเป็นโทสะ อวิชชานุสัยแรงขึ้นเป็นโมหะ ที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต ปรากฏเป็นนิวรณ์ (เครื่องกั้น) อยู่ในจิต
เมื่อแรงขึ้นอีก ราคะหรือโลภะกลายเป็นโลภอยากได้โดยไม่มีขอบเขต โทสะก็กลายเป็นพยาบาทคือมุ่งร้ายหมายมั่นทำลายผู้อื่น สัตว์อื่น โมหะก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม กิเลสที่แรงขึ้นดังนี้ เป็นความละเมิดมโนทวารออกมาเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล
ย้อนมากล่าวถึงนครสามี ซึ่งมองเห็นเพื่อนเกลอหลายคนมาแวดล้อมอยู่ ก็เพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเพื่อนเกลอเหล่านั้นอย่างไม่อั้น ถึงบทรักก็รักไปข้างเดียว ถึงบทชักก็ชังไปทีเดียว ถึงบทหลงใหลใฝ่ฝัน ก็มีอยู่บ่อยๆ ที่ถึงกับออกไปยึดมโนทวาร กับวจีทวาร กายทวารของเมืองเปิดรับเพื่อนเกลอที่ร้ายๆ เข้ามา คือจำพวกที่มีชื่อว่าโลภไม่มีขอบเขต พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ใครที่จำเรื่องจิตตนครในตอนต้นๆได้ ก็คงจะนึกได้ ส่วนพวกเพื่อนเกลอเหล่านี้มิใช่ใครที่ไหน คือ สมุนหัวโจกทั้ง ๓ ของสมุทัยนั้นเอง แต่ในตอนต้นยังมิได้เล่าให้ละเอียด เล่ารวบรัดเอาเป็นว่าหัวโจกของสมุทัย มาถึงตอนนี้เล่าจำแนกแจกแจงชั้นในให้ละเอียดออกไป เรียกว่าเล่าสืบสายขึ้นไปถึงต้นตระกูลกันทีเดียว
ดังนั้น อนุสัยนี้เองเป็นต้นตระกูลของหัวโจกสมุทัยทั้ง ๓ นั้น ซึ่งนครสามีได้คบเป็นเพื่อนเกลอสนิทสนม แต่นครสามีหาได้รู้ไม่ว่า มีอนุสัยชักใยอยู่หลังฉากตลอดเวลา มองเห็นแต่เพื่อนเกลอเท่านั้นล้อมหน้าล้อมหลังอยู่ ในบางคราวที่ปลอดจากเพื่อนเกลอเหล่านี้ นครสามีก็อยู่อย่างสงบ มีความรู้สึกแจ่มใส เข้าใจตนเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไปแล้ว ดังนี้ก็มี แต่โดยที่แท้คู่อาสวะอนุสัยยังมีอยู่ในชั้นในกับนครสามีอย่างเงียบๆ
ศิษย์ของพระบรมครูจึงกล่าวว่า อาสวะอนุสัยเป็นกิเลสชั้นละเอียด เปรียบเหมือนตะกอนที่นอนอยู่ก้นตุ่ม เมื่อยังไม่มีอะไรมากวนให้ตะกอนก้นตุ่มคลุ้งขึ้นมา นํ้าในตุ่มจะดูใส จิตที่ยังมีอาสวะอนุสัยก็เช่นเดียวกัน เมื่อยังไม่มีอะไรมากวนอาสวะอนุสัยให้ฟุ้งขึ้น จิตก็จะปรากฏเหมือนสะอาดบริสุทธิ์เมื่อดูจากพื้นผิว ความจริงหาเป็นจิตที่บริสุทธิ์ไม่ เพราะยังมีอาสวะอนุสัยเป็นตะกอนอยู่ เมื่อมีอารมณ์มากวน ก็จะฟุ้งขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง ชั้นหยาบ ปรากฏอยู่เต็มจิตไปหมด จิตที่ยังมีอาสวะอนุสัยเก็บตัวเงียบอยู่ แม้จะปรากฏว่าบริสุทธิ์ที่พื้นผิว จึงหาชื่อว่าไกลกิเลสไม่ เพราะยังมีกิเลสอาศัยอยู่ที่ใกล้ชิดที่สุด อาศัยอยู่ชั้นในทีเดียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ทรงเป็นและเป็นผู้ไกลกิเลส เพราะไม่ทรงมีกิเลสคืออาสวะอนุสัย อาศัยอยู่ในพระหทัยและในใจอีกแล้ว
เราท่านทั้งหลายที่ยังมีกิเลสอยู่ แม้ยังไม่อาจทำอาสวะอนุสัยให้สิ้นไปได้ แต่การพยายามปฏิบัติให้ไกลกิเลสอย่างหยาบคือราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลแห่งอกุศลกรรมต่างๆได้ ก็นับว่าเป็นการปฏิบัติควร บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย แม้มีความตั้งใจปฏิบัติบริหารจริง ย่อมจะสามารถทำตนให้เป็นผู้ไกลกิเลสอย่างหยาบได้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะให้ผลควรแก่การปฏิบัติ เป็นความสุขไม่มากก็น้อย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
พระนิพนธ์เรื่องนี้ ทรงนำเอาเรื่องจิตและธรรมะที่เกี่ยวกับจิตในแง่มุมต่างๆมาผูกเป็นเรื่องราวทำนองปุคคลาธิษฐาน
คู่อาสวะมีเพื่อนสนิทหลายคน ล้วนเป็นฝ่ายในหรือชั้นในด้วยกัน เช่น อนุสัย (นอนจมอยู่ในจิต) โอฆะ (ห้วงนํ้าในจิต) โยคะ (ประกอบในจิต) สังโยค หรือสัญโญชน์ (ผูกจิต) เพื่อนสนิทเหล่านี้จะมีหลายคน หลายกลุ่ม หรือจะเป็นคนเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน แต่มีหลายชื่อหลายอาการ ก็ยากจะบอกได้ เพราะเป็นชั้นใน คู่บารมีเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ยกตัวอย่างเช่น อนุสัย ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทผู้หนึ่งของคู่อาสวะ มีหน้าที่สร้างภาวะ ๓ อย่างแก่นครสามี คล้ายๆกับคู่อาสวะ คือ ราคะ ความย้อมใจให้ติด ปฏิฆะ ความกระทบ อวิชชา ความไม่รู้
พระพุทธเจ้าองค์พระบรมครูผู้ทรงรู้ทรงเห็นตามเป็นจริง ได้ตรัสชี้แสดงว่า อนุสัย (สิ่งที่นอนจมเป็นตะกอนอยู่ในจิต) มี ๓ คือ ราคานุสัย อนุสัยคือราคะ (สิ่งย้อมใจให้ติด) ปฏิฆานุสัย อนุสัยคือปฏิฆะ (สิ่งกระทบใจให้ไม่ชอบ) อวิชชานุสัย อนุสัยคืออวิชชา (ความไม่รู้ในทุกข์ เป็นต้น) ดูก็คล้ายๆกับอาสวะ ดังจะเทียบกันทีละข้อ
ข้อที่ ๑ กามาสวะกับราคานุสัย กามกับราคะ ดูก็มีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่ชื่อที่เรียกตามอาการ คือ เมื่อดูอาการที่รักใคร่ปรารถนาก็เรียกว่ากาม เมื่อดูอาการที่ติดใจยินดีเพราะถูกย้อมใจ ก็เรียกว่าราคะ จะว่ากามมาก่อนราคะหรือราคะมาก่อนกามก็ได้ จะว่ามาด้วยกันก็ได้ เพราะความรักใคร่กับความติดใจก็อยู่ด้วยกัน ตกลงว่าเป็นอย่างเดียวกัน
ข้อที่ ๒ ภวาสวะกับปฏิฆานุสัย ดูจะมีลักษณะต่างกันอยู่ เพราะภวหรือภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่ ปฏิฆะคือความกระทบใจให้ไม่ชอบ แต่ก็เนื่องกันชอบกลอยู่ จะมีความกระทบได้ก็ต้องมีที่กระทบ ถ้าไม่มีที่กระทบ การกระทบก็ไม่เกิดขึ้น เหมือนอย่างคนสองคนเดินมากระทบไหล่กัน รถ ๒ คันแล่นมากระทบกัน เหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีขึ้นก็เพราะมีคน ๒ คน รถ ๒ คันขึ้นก่อน แล้วคน ๒ คน รถ ๒ คันนั้น เดินมาหรือแล่นมาสู่จุดเดียวกัน ไม่หลีกกัน ความกระทบจึงเกิดขึ้น
ความกระทบทางใจก็เช่นเดียวกัน จะต้องมี ๒ สิ่งทางใจวิ่งมากระทบกัน ใน ๒ สิ่งนั้น สิ่งหนึ่งก็คือ “ภวะ” ความเป็นนั่นเป็นนี่ในใจนี่เอง ความเป็นดังกล่าวที่เป็นชั้นในสุดก็คือ “ความเป็นเรา”
ดังที่องค์พระบรมครูตรัสเรียกว่า “อัสมิมานะ ความสำคัญหมายว่าเรามีเราเป็น” หรือ “อหังการ” หรือที่เรียกว่า “อัตตภาพ ความเป็นอัตตา ความเป็นตน” ก็คือความเป็นเรานี่เองแหละ เรียกสั้นๆว่า “ตัวเรา” อันตัวเราที่มีอยู่ในทุกๆคน องค์พระบรมครูตรัสว่าเป็นเพียงความสำคัญหมายว่าเราเป็นเท่านั้น หาใช่เป็นสัจจะโดยปรมัตถะ (อย่างละเอียด) ไม่ เมื่อมีตัวเราขึ้นแล้วก็ต้องมีของเรา ทีนี้ก็ต้องมีเขามีของเขา และตัวเรานี้เองเป็นจุดกระทบของอะไรๆทุกอย่าง ความกระทบจึงมีขึ้นได้ หรือจะกล่าวว่า มีจุดอะไรขึ้นในใจก่อน ตัวเราก็วิ่งเข้ามาเกาะจุดนั้น ก่อเป็นตัวเราของเราขึ้นดังนี้ก็ได้
ส่วนข้อที่ ๓ อวิชชาสวะกับอวิชชานุสัย เห็นได้ง่ายว่าเป็นอย่างเดียวกัน
ฉะนั้น อาสวะกับอนุสัยจะว่าเป็นเพื่อนกัน หรือเป็นคนเดียวกัน แต่มีหลายชื่อหลายอาการก็สุดแต่จะดู ข้อสำคัญดูให้เห็นก็แล้วกัน
บรรดาผู้มาบริหารจิต คือผู้มาพยายามให้เห็นอาสวะหรืออนุสัยในจิตตนคร คือใจของตน การดูให้เห็นคือการไล่ให้พ้น เพราะอาสวะหรืออนุสัยนั้น เปรียบเหมือนผู้ร้ายที่รู้ตัวว่าเป็นผู้ร้าย ไม่ต้องการให้ใครพบใครรู้จักจำได้ เมื่อมีผู้พบเห็นจำได้รู้จัก ก็จะหลบเลี่ยงหนีไป การดูให้เห็นให้รู้จักหน้าตาของอาสวะจึงเป็นการบริหารจิตที่ถูกต้อง อันจะให้ผลเป็นความสะอาดของจิตยิ่งขึ้นทุกที
• อนุสัย - ต้นตระกูลของหัวโจกทั้ง ๓
อาสวะหรืออนุสัยเป็นกำลังสำคัญของสมุทัย ทำงานให้สมุทัยชนิดที่เรียกว่า “ใต้ดิน” หรือ “หลังฉาก” วางแผนชักใยนครสามีอยู่อย่างแนบเนียน โดยที่นครสามีหารู้ไม่ว่าได้ถูกชักใย แต่เข้าใจว่ามีเพื่อนมิตรเพื่อนเกลอหลายคนห้อมล้อมช่วยเหลืออยู่โดยใกล้ชิด บางคราวเพื่อนราคะ (ความยินดี ความกำหนัด) มายั่วยิ้ม หรือเพื่อนโลภะ (ความโลภอยากได้) มายั่วอยาก บางคราวเพื่อนโทสะมาก่อกวน บางคราวเพื่อนโมหะมาล่อหลอก เพื่อนเหล่านี้อนุสัยส่งมาทั้งนั้น
ดังที่ศิษย์ขององค์พระบรมครูได้กล่าวว่า ราคานุสัยแรงขึ้นเป็นราคะหรือโลภะ ปฏิฆานุสัยแรงขึ้นเป็นโทสะ อวิชชานุสัยแรงขึ้นเป็นโมหะ ที่เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิต ปรากฏเป็นนิวรณ์ (เครื่องกั้น) อยู่ในจิต
เมื่อแรงขึ้นอีก ราคะหรือโลภะกลายเป็นโลภอยากได้โดยไม่มีขอบเขต โทสะก็กลายเป็นพยาบาทคือมุ่งร้ายหมายมั่นทำลายผู้อื่น สัตว์อื่น โมหะก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากทำนองคลองธรรม กิเลสที่แรงขึ้นดังนี้ เป็นความละเมิดมโนทวารออกมาเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล
ย้อนมากล่าวถึงนครสามี ซึ่งมองเห็นเพื่อนเกลอหลายคนมาแวดล้อมอยู่ ก็เพลิดเพลินสนุกสนานไปกับเพื่อนเกลอเหล่านั้นอย่างไม่อั้น ถึงบทรักก็รักไปข้างเดียว ถึงบทชักก็ชังไปทีเดียว ถึงบทหลงใหลใฝ่ฝัน ก็มีอยู่บ่อยๆ ที่ถึงกับออกไปยึดมโนทวาร กับวจีทวาร กายทวารของเมืองเปิดรับเพื่อนเกลอที่ร้ายๆ เข้ามา คือจำพวกที่มีชื่อว่าโลภไม่มีขอบเขต พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ใครที่จำเรื่องจิตตนครในตอนต้นๆได้ ก็คงจะนึกได้ ส่วนพวกเพื่อนเกลอเหล่านี้มิใช่ใครที่ไหน คือ สมุนหัวโจกทั้ง ๓ ของสมุทัยนั้นเอง แต่ในตอนต้นยังมิได้เล่าให้ละเอียด เล่ารวบรัดเอาเป็นว่าหัวโจกของสมุทัย มาถึงตอนนี้เล่าจำแนกแจกแจงชั้นในให้ละเอียดออกไป เรียกว่าเล่าสืบสายขึ้นไปถึงต้นตระกูลกันทีเดียว
ดังนั้น อนุสัยนี้เองเป็นต้นตระกูลของหัวโจกสมุทัยทั้ง ๓ นั้น ซึ่งนครสามีได้คบเป็นเพื่อนเกลอสนิทสนม แต่นครสามีหาได้รู้ไม่ว่า มีอนุสัยชักใยอยู่หลังฉากตลอดเวลา มองเห็นแต่เพื่อนเกลอเท่านั้นล้อมหน้าล้อมหลังอยู่ ในบางคราวที่ปลอดจากเพื่อนเกลอเหล่านี้ นครสามีก็อยู่อย่างสงบ มีความรู้สึกแจ่มใส เข้าใจตนเองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องไปแล้ว ดังนี้ก็มี แต่โดยที่แท้คู่อาสวะอนุสัยยังมีอยู่ในชั้นในกับนครสามีอย่างเงียบๆ
ศิษย์ของพระบรมครูจึงกล่าวว่า อาสวะอนุสัยเป็นกิเลสชั้นละเอียด เปรียบเหมือนตะกอนที่นอนอยู่ก้นตุ่ม เมื่อยังไม่มีอะไรมากวนให้ตะกอนก้นตุ่มคลุ้งขึ้นมา นํ้าในตุ่มจะดูใส จิตที่ยังมีอาสวะอนุสัยก็เช่นเดียวกัน เมื่อยังไม่มีอะไรมากวนอาสวะอนุสัยให้ฟุ้งขึ้น จิตก็จะปรากฏเหมือนสะอาดบริสุทธิ์เมื่อดูจากพื้นผิว ความจริงหาเป็นจิตที่บริสุทธิ์ไม่ เพราะยังมีอาสวะอนุสัยเป็นตะกอนอยู่ เมื่อมีอารมณ์มากวน ก็จะฟุ้งขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง ชั้นหยาบ ปรากฏอยู่เต็มจิตไปหมด จิตที่ยังมีอาสวะอนุสัยเก็บตัวเงียบอยู่ แม้จะปรากฏว่าบริสุทธิ์ที่พื้นผิว จึงหาชื่อว่าไกลกิเลสไม่ เพราะยังมีกิเลสอาศัยอยู่ที่ใกล้ชิดที่สุด อาศัยอยู่ชั้นในทีเดียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย ทรงเป็นและเป็นผู้ไกลกิเลส เพราะไม่ทรงมีกิเลสคืออาสวะอนุสัย อาศัยอยู่ในพระหทัยและในใจอีกแล้ว
เราท่านทั้งหลายที่ยังมีกิเลสอยู่ แม้ยังไม่อาจทำอาสวะอนุสัยให้สิ้นไปได้ แต่การพยายามปฏิบัติให้ไกลกิเลสอย่างหยาบคือราคะ หรือโลภะ โทสะ โมหะ ที่เป็นมูลแห่งอกุศลกรรมต่างๆได้ ก็นับว่าเป็นการปฏิบัติควร บรรดาผู้มาบริหารจิตทั้งหลาย แม้มีความตั้งใจปฏิบัติบริหารจริง ย่อมจะสามารถทำตนให้เป็นผู้ไกลกิเลสอย่างหยาบได้ ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะให้ผลควรแก่การปฏิบัติ เป็นความสุขไม่มากก็น้อย
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)