• พูดคุยกันซึ่งหน้า ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้า
สมัยนี้คนที่ไม่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไม่เล่นไลน์หรือเฟซบุ๊ค แต่ชอบคุยกันซึ่งๆหน้า อาจกลายเป็นคนล้าสมัย แต่ก็ไม่เป็นโรคโรคซึมเศร้า
เพราะงานวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบซึ่งหน้า มีพลังช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้มากกว่าการพูดคุยทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ หรือทางไลน์
อลัน เตียว นักวิจัยพบว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทุกรูปแบบมีพลังแตกต่างกัน การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวทางโทรศัพท์และเครือข่ายดิจิตอล ไม่มีพลังที่ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้เท่ากับการพูดคุยกันตรงหน้า
โดยทีมวิจัยได้ทำการทดลองในผู้ใหญ่วัยเกิน 50 ปี จำนวน 11,000 คน ตรวจวัดความถี่ของการมีปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้า พูดโทรศัพท์ เขียนข้อความ และส่งอีเมล์ จากนั้นตรวจหาความเสี่ยงเกิดอาการซึมเศร้าในอีก 2 ปีต่อมา
พบว่า การไม่ค่อยได้พูดคุยกันต่อหน้า ทำให้เสี่ยงเกือบ 2 เท่าที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ทดลองที่เจอครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เกิดระดับอาการซึมเศร้าต่ำสุดเมื่อเทียบกับผู้ทดลองที่เจอผู้อื่นน้อยกว่า ผู้ทดลองที่เจอผู้อื่นเพียงครั้งเดียวในช่วง 2-3 เดือน หรือบ่อยน้อยกว่านี้ มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า 11.5%
• ติดหวานเสี่ยงไขมันพอกตับ แนะกินน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา
คนที่เสพติดรสหวานต้องลดด่วน!!
ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย บอกว่า น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์ โดยเราจะได้รับน้ำตาลจากอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในข้าวหรือผลไม้ รวมทั้งที่มีการเติมลงในอาหาร การได้รับน้ำตาลจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายนัก เพราะมีปริมาณน้อย แต่น้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 104 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 26 ช้อนชา สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก แนะนำเกือบ 4 เท่าตัว จากการสำรวจพบว่า แหล่งน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาทิ น้ำอัดลมมีน้ำตาลราว 8-10 ช้อนชา ชาเขียวมีน้ำตาลราว 12-14 ช้อนชา กาแฟสดหรือชาชงมีน้ำตาลราว 10 ช้อนชา
เครื่องดื่มบางชนิดใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์ แทนน้ำตาลทราย แต่น้ำตาลประเภทนี้ถ้ารับประทานมากเกินไป และร่างกายเผาผลาญไม่หมด จะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ ทำให้อ้วนลงพุง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้น ควรอ่านปริมาณน้ำตาลที่ฉลาก และเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลอย่างพอเหมาะ
ทันตแพทย์หญิงสุปราณี ดาโลดม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข บอกว่า คณะกรรมการวิชาการด้านโภชนาการและองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำเรื่องพลังงานอาหารใน 1 วัน โดยลดสัดส่วนพลังงานจากน้ำตาลอิสระ (Free sugar) ลงครึ่งหนึ่ง จากข้อแนะนำเดิมไม่เกินร้อยละ 10 เหลือไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน หรือประมาณ 6 ช้อนชา
• ระวัง..ใช้แป้งฝุ่นโรยตัว อาจถึงตาย!!
การทาแป้งฝุ่นนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย..จริงหรือไม่จริง
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า แป้งฝุ่นโรยตัวและแป้งฝุ่นผัดหน้า มีส่วนประกอบหลักคือทัลค์ หรือทัลคัม (Talcum) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีครีม มีคุณสมบัติทนความร้อน ทนกรด ต้านทานต่อการนำไฟฟ้า ช่วยการผสมผสานและดูดซึมซับความชื้น ทำให้พื้นผิวแห้งเนียนลื่น ไม่ดูดติดกัน
จากการศึกษาพบว่า ทัลค์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อสัตว์ทดลอง ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ทัลค์สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง ผ่านการบดและคัดแยก ขนาดตั้งแต่ 0.3 ถึง 75 ไมโครเมตร ไม่มีอนุภาคแข็ง สิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ และต้องไม่พบแร่ใยหิน แต่ในการผลิตทัลค์จากแหล่งหินตามธรรมชาติ อาจมีการปนเปื้อนของแร่ใยหิน
ทัลค์ไม่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ดังนั้น การทาแป้งโดยเฉพาะตอนโรยแป้ง ผงแป้งจะลอยในอากาศ หากสูดดมเข้าไปทางลมหายใจเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ส่วนในเด็กทารกอาจทำให้ปอดอักเสบและตายได้ ในสตรีหากใช้โรยบริเวณจุดซ่อนเร้นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดมะเร็งรังไข่
• ลดอาหารที่มีไขมันทรานส์ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เดี่ยวนี้คนรักสุขภาพไม่เอา “ไขมันทรานส์” กันแล้วนะจ๊ะ
นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีโครงสร้างชนิดทรานส์ (trans) พบได้ในปริมาณเล็กน้อยตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังได้จากการสังเคราะห์ระหว่างกระบวนการผลิตอาหาร
มีอาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด มันฝรั่ง โดนัท เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม วิปปิ้งครีม เนยขาว มาร์การีน และคุกกี้ เป็นต้น ซึ่งมีผลการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ไขมันทรานส์ทำให้ระดับ LDL (low density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (high density lipoprotein) โคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าการไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ สามารถป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันประมาณ 10,000–20,000 ราย/ปี และสามารถป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 3,000-7,000 ราย/ปี สถาบันการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้บริโภคไขมันทรานส์น้อยกว่า 1% ของพลังงานที่ต้องการทั้งหมด และไม่ควรบริโภคไขมันทรานส์เกินวันละ 2 กรัม
• อาหารที่มีเส้นใยสูง อาจลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
มีงานวิจัยใหม่ที่น่าสนใจว่า การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง อาจลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยของสหรัฐอเมริกาและอัฟริกาใต้ โดยศึกษาในชายหญิงอเมริกันอัฟริกันในเมืองพิตส์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา 20 คน และชายหญิงเชื้อสายอัฟริกันในเมืองควาซูลู เนเทิล ประเทศอัฟริกาใต้ 20 คน
ก่อนการวิจัยได้มีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของผู้ทดลอง พบว่า ชาวอเมริกัน 9 ใน 20 คน มีติ่งเนื้อ (ซึ่งอาจพัฒนาเป็นมะเร็ง) ขณะที่ไม่พบในชาวอัฟริกาใต้
การวิจัยได้ให้ผู้ทดลองชาวอเมริกันกินอาหารแบบอัฟริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว ขณะที่ชาวอัฟริกาใต้กินอาหารแบบอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อสัตว์และไขมันมากกว่าอาหารพื้นเมืองของตัวเองราว 2-3 เท่า
2 สัปดาห์หลังจากนั้น จึงตรวจร่างกายผู้ทดลองอีกครั้ง พบว่า ชาวอเมริกันมีลำไส้ใหญ่สุขภาพดี อักเสบน้อยลง ขณะที่ชาวอัฟริกาใต้มีลำไส้ใหญ่สุขภาพไม่ดี อักเสบมากขึ้น ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
สรุปได้ว่า การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพิ่มความเสี่ยงมากกว่า
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย ธาราทิพย์)
สมัยนี้คนที่ไม่ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไม่เล่นไลน์หรือเฟซบุ๊ค แต่ชอบคุยกันซึ่งๆหน้า อาจกลายเป็นคนล้าสมัย แต่ก็ไม่เป็นโรคโรคซึมเศร้า
เพราะงานวิจัยชิ้นหนึ่งเผยว่า การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบซึ่งหน้า มีพลังช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้มากกว่าการพูดคุยทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ หรือทางไลน์
อลัน เตียว นักวิจัยพบว่า ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทุกรูปแบบมีพลังแตกต่างกัน การพูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัวทางโทรศัพท์และเครือข่ายดิจิตอล ไม่มีพลังที่ช่วยป้องกันโรคซึมเศร้าได้เท่ากับการพูดคุยกันตรงหน้า
โดยทีมวิจัยได้ทำการทดลองในผู้ใหญ่วัยเกิน 50 ปี จำนวน 11,000 คน ตรวจวัดความถี่ของการมีปฏิสัมพันธ์แบบซึ่งหน้า พูดโทรศัพท์ เขียนข้อความ และส่งอีเมล์ จากนั้นตรวจหาความเสี่ยงเกิดอาการซึมเศร้าในอีก 2 ปีต่อมา
พบว่า การไม่ค่อยได้พูดคุยกันต่อหน้า ทำให้เสี่ยงเกือบ 2 เท่าที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ผู้ทดลองที่เจอครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เกิดระดับอาการซึมเศร้าต่ำสุดเมื่อเทียบกับผู้ทดลองที่เจอผู้อื่นน้อยกว่า ผู้ทดลองที่เจอผู้อื่นเพียงครั้งเดียวในช่วง 2-3 เดือน หรือบ่อยน้อยกว่านี้ มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า 11.5%
• ติดหวานเสี่ยงไขมันพอกตับ แนะกินน้ำตาลวันละ 6 ช้อนชา
คนที่เสพติดรสหวานต้องลดด่วน!!
ทันตแพทย์สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย บอกว่า น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์ โดยเราจะได้รับน้ำตาลจากอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในข้าวหรือผลไม้ รวมทั้งที่มีการเติมลงในอาหาร การได้รับน้ำตาลจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายนัก เพราะมีปริมาณน้อย แต่น้ำตาลที่เติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
คนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยคนละ 104 กรัมต่อวัน หรือประมาณ 26 ช้อนชา สูงกว่าที่องค์การอนามัยโลก แนะนำเกือบ 4 เท่าตัว จากการสำรวจพบว่า แหล่งน้ำตาลส่วนใหญ่มาจากเครื่องดื่มที่มีรสหวาน อาทิ น้ำอัดลมมีน้ำตาลราว 8-10 ช้อนชา ชาเขียวมีน้ำตาลราว 12-14 ช้อนชา กาแฟสดหรือชาชงมีน้ำตาลราว 10 ช้อนชา
เครื่องดื่มบางชนิดใช้น้ำตาลฟลุกโตสไซรัปสังเคราะห์ แทนน้ำตาลทราย แต่น้ำตาลประเภทนี้ถ้ารับประทานมากเกินไป และร่างกายเผาผลาญไม่หมด จะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ ทำให้อ้วนลงพุง และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ดังนั้น ควรอ่านปริมาณน้ำตาลที่ฉลาก และเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลอย่างพอเหมาะ
ทันตแพทย์หญิงสุปราณี ดาโลดม ผู้อำนวยการสำนักทันตสาธารณสุข บอกว่า คณะกรรมการวิชาการด้านโภชนาการและองค์การอนามัยโลก ได้แนะนำเรื่องพลังงานอาหารใน 1 วัน โดยลดสัดส่วนพลังงานจากน้ำตาลอิสระ (Free sugar) ลงครึ่งหนึ่ง จากข้อแนะนำเดิมไม่เกินร้อยละ 10 เหลือไม่เกินร้อยละ 5 ของพลังงานทั้งหมดต่อวัน หรือประมาณ 6 ช้อนชา
• ระวัง..ใช้แป้งฝุ่นโรยตัว อาจถึงตาย!!
การทาแป้งฝุ่นนั้นเป็นอันตรายต่อร่างกาย..จริงหรือไม่จริง
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้ข้อมูลว่า แป้งฝุ่นโรยตัวและแป้งฝุ่นผัดหน้า มีส่วนประกอบหลักคือทัลค์ หรือทัลคัม (Talcum) ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ ลักษณะเป็นผงสีขาวหรือสีครีม มีคุณสมบัติทนความร้อน ทนกรด ต้านทานต่อการนำไฟฟ้า ช่วยการผสมผสานและดูดซึมซับความชื้น ทำให้พื้นผิวแห้งเนียนลื่น ไม่ดูดติดกัน
จากการศึกษาพบว่า ทัลค์ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อสัตว์ทดลอง ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ และไม่เป็นสารก่อมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ทัลค์สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจะต้องมีความบริสุทธิ์สูง ผ่านการบดและคัดแยก ขนาดตั้งแต่ 0.3 ถึง 75 ไมโครเมตร ไม่มีอนุภาคแข็ง สิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้ และต้องไม่พบแร่ใยหิน แต่ในการผลิตทัลค์จากแหล่งหินตามธรรมชาติ อาจมีการปนเปื้อนของแร่ใยหิน
ทัลค์ไม่ถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ดังนั้น การทาแป้งโดยเฉพาะตอนโรยแป้ง ผงแป้งจะลอยในอากาศ หากสูดดมเข้าไปทางลมหายใจเป็นเวลานาน จะเกิดการสะสมเป็นก้อนในปอด ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ ส่วนในเด็กทารกอาจทำให้ปอดอักเสบและตายได้ ในสตรีหากใช้โรยบริเวณจุดซ่อนเร้นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดมะเร็งรังไข่
• ลดอาหารที่มีไขมันทรานส์ ป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
เดี่ยวนี้คนรักสุขภาพไม่เอา “ไขมันทรานส์” กันแล้วนะจ๊ะ
นายแพทย์อำนวย กาจีนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีโครงสร้างชนิดทรานส์ (trans) พบได้ในปริมาณเล็กน้อยตามธรรมชาติในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังได้จากการสังเคราะห์ระหว่างกระบวนการผลิตอาหาร
มีอาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด มันฝรั่ง โดนัท เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม วิปปิ้งครีม เนยขาว มาร์การีน และคุกกี้ เป็นต้น ซึ่งมีผลการศึกษาจำนวนมากแสดงให้เห็นว่า ไขมันทรานส์ทำให้ระดับ LDL (low density lipoprotein) ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (high density lipoprotein) โคเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด
ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการศึกษาที่บ่งชี้ว่าการไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์ สามารถป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันประมาณ 10,000–20,000 ราย/ปี และสามารถป้องกันการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ 3,000-7,000 ราย/ปี สถาบันการแพทย์ของสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้บริโภคไขมันทรานส์น้อยกว่า 1% ของพลังงานที่ต้องการทั้งหมด และไม่ควรบริโภคไขมันทรานส์เกินวันละ 2 กรัม
• อาหารที่มีเส้นใยสูง อาจลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
มีงานวิจัยใหม่ที่น่าสนใจว่า การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง อาจลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างนักวิจัยของสหรัฐอเมริกาและอัฟริกาใต้ โดยศึกษาในชายหญิงอเมริกันอัฟริกันในเมืองพิตส์เบิร์ก สหรัฐอเมริกา 20 คน และชายหญิงเชื้อสายอัฟริกันในเมืองควาซูลู เนเทิล ประเทศอัฟริกาใต้ 20 คน
ก่อนการวิจัยได้มีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ของผู้ทดลอง พบว่า ชาวอเมริกัน 9 ใน 20 คน มีติ่งเนื้อ (ซึ่งอาจพัฒนาเป็นมะเร็ง) ขณะที่ไม่พบในชาวอัฟริกาใต้
การวิจัยได้ให้ผู้ทดลองชาวอเมริกันกินอาหารแบบอัฟริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว ขณะที่ชาวอัฟริกาใต้กินอาหารแบบอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วยเนื้อสัตว์และไขมันมากกว่าอาหารพื้นเมืองของตัวเองราว 2-3 เท่า
2 สัปดาห์หลังจากนั้น จึงตรวจร่างกายผู้ทดลองอีกครั้ง พบว่า ชาวอเมริกันมีลำไส้ใหญ่สุขภาพดี อักเสบน้อยลง ขณะที่ชาวอัฟริกาใต้มีลำไส้ใหญ่สุขภาพไม่ดี อักเสบมากขึ้น ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
สรุปได้ว่า การบริโภคอาหารที่อุดมด้วยเส้นใย ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ขณะที่การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพิ่มความเสี่ยงมากกว่า
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย ธาราทิพย์)