แม้ว่า “ไต” ซึ่งมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว และเป็นอวัยวะที่มีขนาดเท่ากำปั้นของเจ้าของ แต่กลับมีความสำคัญและรับบทหนักในร่างกายของคนเรา เพราะมันเปรียบเสมือนโรงบำบัดน้ำเสียดีๆนี่เอง โดยในแต่ละวันจะมีเลือดไหลเวียนผ่านไตทั้ง 2 ข้าง ประมาณ 230 ลิตร ไตสามารถกรองน้ำและของเสียออกได้วันละ 2.3 ลิตร ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกขับออกมาเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อปล่อยเป็นน้ำปัสสาวะต่อไป
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องดูแลไตคู่นี้ให้มีสุขภาพดี ใช้งานได้นานๆ โดยไม่ต้องฟอก ล้าง หรือแม้แต่ปลูกถ่ายไตใหม่ ด้วย 9 วิธีง่ายๆ ดังนี้
1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่อย่ามากเกินไป
ความเชื่อยอดฮิตที่แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ จะดีต่อร่างกายนั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า การดื่มน้ำมากๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น การดื่มน้ำเกินกว่า 6-8 แก้วต่อวัน อาจไม่ได้ช่วยให้ไตทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด
ดังนั้น ควรยึดหลักทางสายกลาง คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น ยามอากาศร้อน หลังออกกำลังกาย หรือเสียเหงื่อ โดยสังเกตจากสีปัสสาวะที่ควรเป็นสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าว หากสีเข้มกว่านี้ แสดงว่าร่างกายขาดน้ำ
2. รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
ปัญหาของไตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงควรควบคุมน้ำหนักตัวและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ตามหลักโภชนาการ มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด ไขมันสูง หรืออาหารประเภทถั่วในคนที่มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง และผลไม้บางชนิดในคนที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เช่น ขนุน ลำไย ทุเรียน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้าคุณมีสุขภาพดี การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นสิ่งดีที่ให้ประโยชน์เช่นเดียวกับนิสัยการกินที่ดี เพราะมันช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่หากสุขภาพไม่ดี การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมและหักโหมเกินตัว อาจส่งผลเสียต่อไตได้
ควรเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร เช่น โยคะ ชี่กง หรือฝึกวิชาลมปราณที่ใช้กระบังลมเคลื่อนไหวขึ้นลง ส่งแรงดันไปที่บริเวณช่องท้องเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยบริหารไต และไม่ควรดื่มน้ำขณะออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น ทางที่ดีควรให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากที่สุด แล้วค่อยดื่มในภายหลัง
4. ระวังการใช้อาหารเสริมและสมุนไพร
การที่ร่างกายได้รับอาหารเสริม วิตามิน และสมุนไพรบางชนิด เช่น มะขามแขก ชะเอมเทศ ลูกเนียง โกฐน้ำเต้า ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลร้ายต่อไต ดังนั้น หากจำเป็นต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
หรือผลไม้บางชนิด เช่น มะเฟือง ที่มีกรดออกซาลิกสูง ถูกนำมาสกัดเป็นยาสมุนไพรแก้ร้อนใน ดับกระหาย ถอนพิษ หรือทานทั้งผล ในคนปกติเมื่อทานมากเกินไป หรือทานขณะร่างกายขาดน้ำ อาจก่อให้เกิดภาวะไตวายได้ ส่วนคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ห้ามรับประทานเด็ดขาด!!
5. เลิกสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังไตน้อยลง ไตจึงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากกว่า 50 ชนิด ทำให้ไตต้องทำงานหนักและเสื่อมเร็วขึ้น 1.2 เท่า รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมะเร็งที่ไตอีกด้วย
6. งดดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อไตหลายอย่าง คือ มันจะทำลายเซลล์โดยตรงทำให้ไตโต เกิดความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนจากไต ปัสสาวะบ่อย ร่างกายสูญเสียแคลเซียมและฟอสเฟต ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
7. อย่ากลั้นปัสสาวะนานๆ
บ่อยครั้งที่คุณอาจต้องกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ เช่น ขณะประชุม รถติด เดินทางไกล หรือบางคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นนิสัย ทั้งๆที่สามารถเข้าห้องน้ำได้ เช่น คนที่ติดเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ติดดูทีวี ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมทำร้ายไตทั้งสิ้น
เพราะการกลั้นปัสสาวะนานๆ เป็นเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ และในบางรายทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้
8. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่อาจมีผลต่อไต
ยาบรรเทาอาการปวดที่วางจำหน่ายในร้านขายยา เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเป็นยาในกลุ่ม “ยาเอ็นเสด (NSAIDs)” ที่ออกฤทธิ์แรงช่วยลดการอักเสบ หรือแม้แต่ยารักษาโรคติดเชื้อ เช่น ซัลฟาอาจตกตะกอนในไตทำให้ปัสสาวะไม่ออก ยาทั้งสองกลุ่มนี้หากใช้ติดต่อกันนานๆ หรือใช้ไม่ถูกวิธี มีการแพ้ยา ก็อาจเป็นอันตรายต่อไต
ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องจะต้องลดขนาดยาแก้อักเสบลง เช่นเดียวกับยาแก้ปวดจำพวกแอสไพรินและพาราเซตามอล ที่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 10 วัน เพราะอาจทำให้ไตเสื่อมได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยากลุ่มนี้
9. ดูแลสุขภาพองค์รวม
การนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของไตที่พบได้ คือ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ บวมที่หน้า เท้า ปวดหลัง ปวดเอว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และความดันโลหิตสูง
หากพบสัญญาณเตือนภัยข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ไม่ควรปล่อยไว้เนิ่นนานจนสายเกินเยียวยา
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย เบญญา)
ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องดูแลไตคู่นี้ให้มีสุขภาพดี ใช้งานได้นานๆ โดยไม่ต้องฟอก ล้าง หรือแม้แต่ปลูกถ่ายไตใหม่ ด้วย 9 วิธีง่ายๆ ดังนี้
1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่อย่ามากเกินไป
ความเชื่อยอดฮิตที่แนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆ จะดีต่อร่างกายนั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ว่า การดื่มน้ำมากๆจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตให้ดีขึ้น เพราะฉะนั้น การดื่มน้ำเกินกว่า 6-8 แก้วต่อวัน อาจไม่ได้ช่วยให้ไตทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด
ดังนั้น ควรยึดหลักทางสายกลาง คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น ยามอากาศร้อน หลังออกกำลังกาย หรือเสียเหงื่อ โดยสังเกตจากสีปัสสาวะที่ควรเป็นสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าว หากสีเข้มกว่านี้ แสดงว่าร่างกายขาดน้ำ
2. รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ
ปัญหาของไตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวาน จึงควรควบคุมน้ำหนักตัวและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารให้ครบหมู่ตามหลักโภชนาการ มีวิตามินและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด หวานจัด ไขมันสูง หรืออาหารประเภทถั่วในคนที่มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง และผลไม้บางชนิดในคนที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เช่น ขนุน ลำไย ทุเรียน
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ถ้าคุณมีสุขภาพดี การออกกำลังกายสม่ำเสมอเป็นสิ่งดีที่ให้ประโยชน์เช่นเดียวกับนิสัยการกินที่ดี เพราะมันช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แต่หากสุขภาพไม่ดี การออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสมและหักโหมเกินตัว อาจส่งผลเสียต่อไตได้
ควรเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร เช่น โยคะ ชี่กง หรือฝึกวิชาลมปราณที่ใช้กระบังลมเคลื่อนไหวขึ้นลง ส่งแรงดันไปที่บริเวณช่องท้องเป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยบริหารไต และไม่ควรดื่มน้ำขณะออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้น ทางที่ดีควรให้ร่างกายขับเหงื่อออกมากที่สุด แล้วค่อยดื่มในภายหลัง
4. ระวังการใช้อาหารเสริมและสมุนไพร
การที่ร่างกายได้รับอาหารเสริม วิตามิน และสมุนไพรบางชนิด เช่น มะขามแขก ชะเอมเทศ ลูกเนียง โกฐน้ำเต้า ในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลร้ายต่อไต ดังนั้น หากจำเป็นต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
หรือผลไม้บางชนิด เช่น มะเฟือง ที่มีกรดออกซาลิกสูง ถูกนำมาสกัดเป็นยาสมุนไพรแก้ร้อนใน ดับกระหาย ถอนพิษ หรือทานทั้งผล ในคนปกติเมื่อทานมากเกินไป หรือทานขณะร่างกายขาดน้ำ อาจก่อให้เกิดภาวะไตวายได้ ส่วนคนที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ห้ามรับประทานเด็ดขาด!!
5. เลิกสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดตีบ ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไปยังไตน้อยลง ไตจึงไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ นอกจากนี้ การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากกว่า 50 ชนิด ทำให้ไตต้องทำงานหนักและเสื่อมเร็วขึ้น 1.2 เท่า รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงและมะเร็งที่ไตอีกด้วย
6. งดดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อไตหลายอย่าง คือ มันจะทำลายเซลล์โดยตรงทำให้ไตโต เกิดความผิดปกติในการผลิตฮอร์โมนจากไต ปัสสาวะบ่อย ร่างกายสูญเสียแคลเซียมและฟอสเฟต ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้
7. อย่ากลั้นปัสสาวะนานๆ
บ่อยครั้งที่คุณอาจต้องกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ เช่น ขณะประชุม รถติด เดินทางไกล หรือบางคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะเป็นนิสัย ทั้งๆที่สามารถเข้าห้องน้ำได้ เช่น คนที่ติดเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ ติดดูทีวี ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมทำร้ายไตทั้งสิ้น
เพราะการกลั้นปัสสาวะนานๆ เป็นเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้ท่อทางเดินปัสสาวะอักเสบ และในบางรายทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้
8. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่อาจมีผลต่อไต
ยาบรรเทาอาการปวดที่วางจำหน่ายในร้านขายยา เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเป็นยาในกลุ่ม “ยาเอ็นเสด (NSAIDs)” ที่ออกฤทธิ์แรงช่วยลดการอักเสบ หรือแม้แต่ยารักษาโรคติดเชื้อ เช่น ซัลฟาอาจตกตะกอนในไตทำให้ปัสสาวะไม่ออก ยาทั้งสองกลุ่มนี้หากใช้ติดต่อกันนานๆ หรือใช้ไม่ถูกวิธี มีการแพ้ยา ก็อาจเป็นอันตรายต่อไต
ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องจะต้องลดขนาดยาแก้อักเสบลง เช่นเดียวกับยาแก้ปวดจำพวกแอสไพรินและพาราเซตามอล ที่ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 10 วัน เพราะอาจทำให้ไตเสื่อมได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนใช้ยากลุ่มนี้
9. ดูแลสุขภาพองค์รวม
การนอนหลับอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน จะช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ การตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของไตที่พบได้ คือ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ บวมที่หน้า เท้า ปวดหลัง ปวดเอว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และความดันโลหิตสูง
หากพบสัญญาณเตือนภัยข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ไม่ควรปล่อยไว้เนิ่นนานจนสายเกินเยียวยา
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 180 ธันวาคม 2558 โดย เบญญา)