เรื่องเท้าชาดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยใส่ใจนัก แต่บางครั้งก็อาจไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างที่คิด
เพราะอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า อาจเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง และบ่อยครั้งมักมีอาการเสียวแปลบๆ ร่วมด้วย อาการชาอาจเกิดจากสาเหตุธรรมดาๆ เช่น กำลังจะนอนหลับ หรือเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ดังนั้น จึงต้องหันมาใส่ใจอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า เพราะมันไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการเดินเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการของโรคร้ายแรงหลายชนิดอีกด้วย
มาสำรวจดูว่า อาการเท้าชาของคุณเป็นแบบไหน พร้อมทั้งวิธีดูแลรักษาเบื้องต้น
ขั้นที่ 1 ดูว่าอาการชาเกิดขึ้นครั้งแรกตรงไหนและเมื่อไร
• อาการชาเกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนยารักษาโรคชนิดใดชนิดหนึ่งได้ไม่นานหรือเปล่า
• ยาที่แพทย์สั่งบางชนิด จะก่อให้เกิดอาการชา รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า
ขั้นที่ 2 อาการชาเกิดหลังจากหกล้ม หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ กระดูกสันหลัง และแผ่นหลัง หรือเปล่า
• อาการชายังคงอยู่หลังเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งข้างต้นหรือไม่
ขั้นที่ 3 คุณเคยตรวจเบาหวานหรือไม่
ขั้นที่ 4 อาการชาเกิดขึ้นแน่ชัดตรงไหน
• ชาที่นิ้วเท้านิ้วเดียวของเท้าข้างหนึ่ง
• ชาที่นิ้วเท้านิ้วเดียวหรือหลายนิ้วของเท้าทั้งสองข้าง
ขั้นที่ 5 รู้สึกชานานเท่าใด
ขั้นที่ 6 ชาทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้าหรือไม่
• หรือรู้สึกเหมือนนิ้วมือหรือนิ้วเท้าถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และตึง
ขั้นที่ 7 อย่าสวมรองเท้าที่ขนาดไม่พอดีกับเท้า
• รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่บีบรัดนิ้วเท้า อาจทำให้เกิดอาการชาได้ เมื่อสวมแล้วรู้สึกไม่สบายเท้า ควรเสริมด้วยแผ่นรองเท้า
ขั้นที่ 8 หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักมาก หากมันทำให้รู้สึกชาที่เท้าและนิ้วเท้า
• ควรยืดเหยียดร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง สวมรองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย และออกกำลังกายบนพื้นราบ
• มองหาการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ที่ไม่ทำให้เกิดอาการชาเท้าและนิ้วเท้า เช่น การว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
ขั้นที่ 9 ลดน้ำหนักเพื่อลดอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า
• เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและความอ้วน มีส่วนทำให้เท้าชาได้
ขั้นที่ 10 สวมถุงเท้ายาวหรือถุงเท้าที่กระชับเท้า เพื่อเพิ่มความรู้สึกให้เท้าและนิ้วเท้า
• ถุงเท้ายาวและถุงเท้าที่กระชับเรียวเท้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้อาการชาลดลง
ขั้นที่ 11 นวดเท้าและนิ้วเท้า เมื่อรู้สึกชา
• การนวดถูช่วยให้การหมุนเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ชาน้อยลง
ขั้นที่ 12 ยกเท้าขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชา
• การยกแขนขาให้สูง ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้น และช่วยลดอาการบวม ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เกิดอาการชา
ขั้นที่ 13 เปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อรู้สึกชาที่เท้าหรือนิ้วเท้า
• การนั่งไขว่ห้างหรือขัดสมาธิติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เท้าและนิ้วเท้าชา การเปลี่ยนท่าทางจะช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปยังเส้นเลือดแดงและหลอดเลือดที่ถูกบีบได้
ขั้นที่ 14 กินยาลดอาการบวม
• อาการบวมอาจทำให้รู้สึกชา ลองกินยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดบวม
ขั้นที่ 15 ลดการดื่มแอลกอฮอล์
• แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้อาการชาที่แขนขา เท้าและนิ้วเท้า เพิ่มมากขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง จะช่วยป้องกันอาการชาได้
ขั้นที่ 16 อุ่นเท้าด้วยผ้าห่มไฟฟ้าหรือแผ่นให้ความร้อน
• เมื่อเท้าโดนความเย็น อาจทำให้รู้สึกชาและเสียวได้ จึงควรทำให้เท้าอบอุ่น เพื่อกำจัดอาการชาให้หมดไป
ขั้นที่ 17 หาหมอจัดกระดูก
• อาการบาดเจ็บหรือฟกช้ำที่เกิดขึ้นบริเวณแผ่นหลังและลำคอ อาจส่งผลให้เท้าและนิ้วเท้าชาได้ ซึ่งแพทย์จัดกระดูกจะช่วยปรับและจัดกระดูก เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บและชาให้หายขาด
ขั้นที่ 18 พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการชาเรื้อรังที่เท้าและนิ้วเท้า
มีหลายภาวะที่ทำให้เกิดอาการชา จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะต่างๆ ดังนี้
• ข้ออักเสบ เพราะทำให้ข้อต่อที่เท้าและนิ้วเท้าชาและปวด
• เบาหวาน เพราะมักเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชาและอาการแทรกซ้อนที่เท้า
• การตั้งครรภ์ เพราะมักเป็นสาเหตุให้เท้าและนิ้วเท้าบวมและชา
• เลือดไหลเวียนไม่ดี มักก่อให้เกิดอาการชาตามปลายแขนขา รวมถึงเท้าและนิ้วเท้า
• โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หนึ่งในอาการเริ่มต้นของโรคนี้คือ ชาที่มือหรือเท้า
• อาการบาดเจ็บที่เท้า นิ้วเท้า หรือข้อเท้า อาจทำให้รู้สึกชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งแพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษา เพื่อบรรเทาอาการชาได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย เบญญา)
เพราะอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า อาจเกิดจากสาเหตุหลายอย่าง และบ่อยครั้งมักมีอาการเสียวแปลบๆ ร่วมด้วย อาการชาอาจเกิดจากสาเหตุธรรมดาๆ เช่น กำลังจะนอนหลับ หรือเกิดจากสาเหตุร้ายแรง เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
ดังนั้น จึงต้องหันมาใส่ใจอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า เพราะมันไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการเดินเท่านั้น แต่ยังเป็นอาการของโรคร้ายแรงหลายชนิดอีกด้วย
มาสำรวจดูว่า อาการเท้าชาของคุณเป็นแบบไหน พร้อมทั้งวิธีดูแลรักษาเบื้องต้น
ขั้นที่ 1 ดูว่าอาการชาเกิดขึ้นครั้งแรกตรงไหนและเมื่อไร
• อาการชาเกิดขึ้นภายหลังการเปลี่ยนยารักษาโรคชนิดใดชนิดหนึ่งได้ไม่นานหรือเปล่า
• ยาที่แพทย์สั่งบางชนิด จะก่อให้เกิดอาการชา รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า
ขั้นที่ 2 อาการชาเกิดหลังจากหกล้ม หรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ กระดูกสันหลัง และแผ่นหลัง หรือเปล่า
• อาการชายังคงอยู่หลังเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งข้างต้นหรือไม่
ขั้นที่ 3 คุณเคยตรวจเบาหวานหรือไม่
ขั้นที่ 4 อาการชาเกิดขึ้นแน่ชัดตรงไหน
• ชาที่นิ้วเท้านิ้วเดียวของเท้าข้างหนึ่ง
• ชาที่นิ้วเท้านิ้วเดียวหรือหลายนิ้วของเท้าทั้งสองข้าง
ขั้นที่ 5 รู้สึกชานานเท่าใด
ขั้นที่ 6 ชาทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้าหรือไม่
• หรือรู้สึกเหมือนนิ้วมือหรือนิ้วเท้าถูกเคลือบด้วยขี้ผึ้ง และตึง
ขั้นที่ 7 อย่าสวมรองเท้าที่ขนาดไม่พอดีกับเท้า
• รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่บีบรัดนิ้วเท้า อาจทำให้เกิดอาการชาได้ เมื่อสวมแล้วรู้สึกไม่สบายเท้า ควรเสริมด้วยแผ่นรองเท้า
ขั้นที่ 8 หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนักมาก หากมันทำให้รู้สึกชาที่เท้าและนิ้วเท้า
• ควรยืดเหยียดร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง สวมรองเท้าที่เหมาะกับการออกกำลังกาย และออกกำลังกายบนพื้นราบ
• มองหาการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ที่ไม่ทำให้เกิดอาการชาเท้าและนิ้วเท้า เช่น การว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน
ขั้นที่ 9 ลดน้ำหนักเพื่อลดอาการชาที่เท้าและนิ้วเท้า
• เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและความอ้วน มีส่วนทำให้เท้าชาได้
ขั้นที่ 10 สวมถุงเท้ายาวหรือถุงเท้าที่กระชับเท้า เพื่อเพิ่มความรู้สึกให้เท้าและนิ้วเท้า
• ถุงเท้ายาวและถุงเท้าที่กระชับเรียวเท้า ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้อาการชาลดลง
ขั้นที่ 11 นวดเท้าและนิ้วเท้า เมื่อรู้สึกชา
• การนวดถูช่วยให้การหมุนเวียนโลหิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ชาน้อยลง
ขั้นที่ 12 ยกเท้าขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชา
• การยกแขนขาให้สูง ทำให้เลือดหมุนเวียนมากขึ้น และช่วยลดอาการบวม ซึ่งเป็นการป้องกันมิให้เกิดอาการชา
ขั้นที่ 13 เปลี่ยนอิริยาบถ เมื่อรู้สึกชาที่เท้าหรือนิ้วเท้า
• การนั่งไขว่ห้างหรือขัดสมาธิติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เท้าและนิ้วเท้าชา การเปลี่ยนท่าทางจะช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับไปยังเส้นเลือดแดงและหลอดเลือดที่ถูกบีบได้
ขั้นที่ 14 กินยาลดอาการบวม
• อาการบวมอาจทำให้รู้สึกชา ลองกินยาพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน ที่มีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดบวม
ขั้นที่ 15 ลดการดื่มแอลกอฮอล์
• แอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้อาการชาที่แขนขา เท้าและนิ้วเท้า เพิ่มมากขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง จะช่วยป้องกันอาการชาได้
ขั้นที่ 16 อุ่นเท้าด้วยผ้าห่มไฟฟ้าหรือแผ่นให้ความร้อน
• เมื่อเท้าโดนความเย็น อาจทำให้รู้สึกชาและเสียวได้ จึงควรทำให้เท้าอบอุ่น เพื่อกำจัดอาการชาให้หมดไป
ขั้นที่ 17 หาหมอจัดกระดูก
• อาการบาดเจ็บหรือฟกช้ำที่เกิดขึ้นบริเวณแผ่นหลังและลำคอ อาจส่งผลให้เท้าและนิ้วเท้าชาได้ ซึ่งแพทย์จัดกระดูกจะช่วยปรับและจัดกระดูก เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บและชาให้หายขาด
ขั้นที่ 18 พบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการชาเรื้อรังที่เท้าและนิ้วเท้า
มีหลายภาวะที่ทำให้เกิดอาการชา จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะต่างๆ ดังนี้
• ข้ออักเสบ เพราะทำให้ข้อต่อที่เท้าและนิ้วเท้าชาและปวด
• เบาหวาน เพราะมักเป็นสาเหตุให้เกิดอาการชาและอาการแทรกซ้อนที่เท้า
• การตั้งครรภ์ เพราะมักเป็นสาเหตุให้เท้าและนิ้วเท้าบวมและชา
• เลือดไหลเวียนไม่ดี มักก่อให้เกิดอาการชาตามปลายแขนขา รวมถึงเท้าและนิ้วเท้า
• โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หนึ่งในอาการเริ่มต้นของโรคนี้คือ ชาที่มือหรือเท้า
• อาการบาดเจ็บที่เท้า นิ้วเท้า หรือข้อเท้า อาจทำให้รู้สึกชาบริเวณนั้นๆ ซึ่งแพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษา เพื่อบรรเทาอาการชาได้
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย เบญญา)