คอลัมน์ “ตอดทุกเรื่อง” โดย “หญิงตอด”
ไปมาลาไหว้มารยาทคนไทย ดังนั้นจึงขอใช้บรรทัดแรกนี้ฝากเนื้อฝากตัว เพราะจากนี้จะเสนอหน้ามาให้เจอกันจนเบื่อทุกสัปดาห์สำหรับพื้นที่ตรงนี้ในชื่อคอลัมน์ “ตอดทุกเรื่อง” โดย “หญิงตอด” ซึ่งจะเจาะเกาะดูดทุกซอกหลืบของนักกีฬาสาวๆ มานำเสนอในแง่มุมที่ไม่ใช่การแข่งขันอย่างเดียว
ฉบับปฐมฤกษ์ขอตอดเรื่อง “เมนส์” ที่ต้องมาเยือนทุกเดือน ตามนัดบ้าง เบี้ยวบ้าง แต่มาดีแล้ว ดีกว่าไม่มาไม่เช่นนั้นเรื่องใหญ่บ้านอาจแตกได้
ประเด็นนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของนักกีฬสาวคนดังของไทยอย่าง “น้องเมย์” รัชนก อินทนนท์ ขนไก่เบอร์ 1 กับ “เงือกอุ้ม” ณัชฐานันตร์ จันทร์กระจ่าง เพราะทำเอาสิ้นเรี่ยวสิ้นแรงยิ่งหากตรงกับการแข่งขันรายการสำคัญด้วยแล้วแพ้ตกรอบเอาได้ง่ายๆ โอ๊ย! พูดแล้วอยากจะเกิดเป็นผู้ชายเสียจริงๆ
ก่อนที่ “ประจำเดือน” จะมาทุกคนจะมีภาวะทางอารมณ์รวมถึงพฤติกรรมแตกต่างกันไป เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศต่ำลง ดังนั้นเมื่อเกิดกับนักกีฬาสภาพร่างกายไม่พร้อม จิตใจไม่พร้อม แต่การแข่งขันยังต้องดำเนินไป ผลที่ออกมาก็มีบ้างที่ไม่เป็นที่พอใจ โค้ชก็กลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไรดี
บอกก่อนเลยว่า หญิงตอด ไม่ได้จบหมอ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นหรือสอดนั่นเองจึงได้บุกไปคุยกับ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ
โดยได้มีโอกาสพบ ประธานฝ่ายแพทย์คณะกรรมการโอลิมปิคฯ ที่ต้องแนะนำและกำชับเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งใครที่โชคดีปวดไม่มากถึงขนานนั่งตัวงอเป็นกุ้ง วิธีบ้านๆ ที่เอาอยู่คือการวางกระเป๋าน้ำร้อนบริเวณหน้าท้อง หรือทานยาแก้ปวด จำพวกพาราเซตามอล หรือยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารพลอสตาแกลนดิน อาทิ มฟานามิค ซึ่งเป็นกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
นักกีฬาว่ายน้ำอาจต้องพึ่งตัวช่วยอย่าง “ยาสอดประจำเดือน” เพื่อป้องกันไม่ให้ประจำเดือนเลอะ เพราะคงเป็นภาพที่ไม่น่าดูเท่าไหร่ ถ้าเห็น “เงือกอุ้ม” ลงไปอยู่ในทะเลเพลิง
วิธีสุดท้ายก็คือ “เลื่อนประจำเดือน” รอให้ทัวร์นาเมนต์จบไปก่อน นักกีฬาจะได้มีสมาธิไม่ต้องกังวลใจห่วงหน้าพะวงหลังว่าจะใช้ผ้าอนามัยแบบมีปีกหรือไม่มีปีกดี
แต่ใช่ว่าจะซื้อหากินเองได้ตามใจชอบ เพราะผลที่ตามมาอาจได้ไม่คุ้มเสียหากยาที่ใช้ไปเกี่ยวข้องกับ “การใช้สารต้องห้าม” หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า “โด๊ปยา” ดังนั้นต้องดูเรื่องส่วนประกอบให้ดี
ทว่าการกินยา “เลื่อนประจำเดือน” มีผลกับนักกีฬาที่ไม่เคยใช้มาก่อน อาการที่พบก็เช่น “เสียวสันหลัง” เมื่อไปบังคับสิ่งที่ต้องมาตามธรรมชาติ
นอกจากนี้จะต้องแจ้งกำหนดรอบเดือนของตนเองให้ฝ่ายแพทย์ของสมาคมฯ รับทราบอย่างน้อยล่วงหน้า 7 วันการทานยา “เลื่อนประจำเดือน” จึงจะออกฤทธิ์ตามที่ต้องการ
ส่วนยา “เลื่อนประจำเดือน” ถ้าใครไม่มีธุระจำเป็น ก็ไม่ต้องไปข้องเกี่ยว เพราะด้วยจรรยาบรรณของแพทย์หรือเภสัชกรไม่สามารถที่จะสั่งจ่ายได้ง่ายๆ ตามท้องตลาดหรือร้านขายยาทั่วไปออกไปซื้อได้ 24 ชั่วโมงเหมือนน้ำปลาในเซเวนอีเลฟเวน ต้องมีเหตุผล ที่สำคัญการใช้ต่อเนื่องก็อาจจะมีผลกับร่างกายในระยะยาวแตกต่างกันไป
แหม! เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบากจริงๆ คุณขา
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *
ไปมาลาไหว้มารยาทคนไทย ดังนั้นจึงขอใช้บรรทัดแรกนี้ฝากเนื้อฝากตัว เพราะจากนี้จะเสนอหน้ามาให้เจอกันจนเบื่อทุกสัปดาห์สำหรับพื้นที่ตรงนี้ในชื่อคอลัมน์ “ตอดทุกเรื่อง” โดย “หญิงตอด” ซึ่งจะเจาะเกาะดูดทุกซอกหลืบของนักกีฬาสาวๆ มานำเสนอในแง่มุมที่ไม่ใช่การแข่งขันอย่างเดียว
ฉบับปฐมฤกษ์ขอตอดเรื่อง “เมนส์” ที่ต้องมาเยือนทุกเดือน ตามนัดบ้าง เบี้ยวบ้าง แต่มาดีแล้ว ดีกว่าไม่มาไม่เช่นนั้นเรื่องใหญ่บ้านอาจแตกได้
ประเด็นนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ของนักกีฬสาวคนดังของไทยอย่าง “น้องเมย์” รัชนก อินทนนท์ ขนไก่เบอร์ 1 กับ “เงือกอุ้ม” ณัชฐานันตร์ จันทร์กระจ่าง เพราะทำเอาสิ้นเรี่ยวสิ้นแรงยิ่งหากตรงกับการแข่งขันรายการสำคัญด้วยแล้วแพ้ตกรอบเอาได้ง่ายๆ โอ๊ย! พูดแล้วอยากจะเกิดเป็นผู้ชายเสียจริงๆ
ก่อนที่ “ประจำเดือน” จะมาทุกคนจะมีภาวะทางอารมณ์รวมถึงพฤติกรรมแตกต่างกันไป เนื่องจากระดับฮอร์โมนเพศต่ำลง ดังนั้นเมื่อเกิดกับนักกีฬาสภาพร่างกายไม่พร้อม จิตใจไม่พร้อม แต่การแข่งขันยังต้องดำเนินไป ผลที่ออกมาก็มีบ้างที่ไม่เป็นที่พอใจ โค้ชก็กลุ้มใจไม่รู้จะทำอย่างไรดี
บอกก่อนเลยว่า หญิงตอด ไม่ได้จบหมอ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นหรือสอดนั่นเองจึงได้บุกไปคุยกับ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ
โดยได้มีโอกาสพบ ประธานฝ่ายแพทย์คณะกรรมการโอลิมปิคฯ ที่ต้องแนะนำและกำชับเกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งใครที่โชคดีปวดไม่มากถึงขนานนั่งตัวงอเป็นกุ้ง วิธีบ้านๆ ที่เอาอยู่คือการวางกระเป๋าน้ำร้อนบริเวณหน้าท้อง หรือทานยาแก้ปวด จำพวกพาราเซตามอล หรือยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารพลอสตาแกลนดิน อาทิ มฟานามิค ซึ่งเป็นกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
นักกีฬาว่ายน้ำอาจต้องพึ่งตัวช่วยอย่าง “ยาสอดประจำเดือน” เพื่อป้องกันไม่ให้ประจำเดือนเลอะ เพราะคงเป็นภาพที่ไม่น่าดูเท่าไหร่ ถ้าเห็น “เงือกอุ้ม” ลงไปอยู่ในทะเลเพลิง
วิธีสุดท้ายก็คือ “เลื่อนประจำเดือน” รอให้ทัวร์นาเมนต์จบไปก่อน นักกีฬาจะได้มีสมาธิไม่ต้องกังวลใจห่วงหน้าพะวงหลังว่าจะใช้ผ้าอนามัยแบบมีปีกหรือไม่มีปีกดี
แต่ใช่ว่าจะซื้อหากินเองได้ตามใจชอบ เพราะผลที่ตามมาอาจได้ไม่คุ้มเสียหากยาที่ใช้ไปเกี่ยวข้องกับ “การใช้สารต้องห้าม” หรือที่เรียกกันจนติดปากว่า “โด๊ปยา” ดังนั้นต้องดูเรื่องส่วนประกอบให้ดี
ทว่าการกินยา “เลื่อนประจำเดือน” มีผลกับนักกีฬาที่ไม่เคยใช้มาก่อน อาการที่พบก็เช่น “เสียวสันหลัง” เมื่อไปบังคับสิ่งที่ต้องมาตามธรรมชาติ
นอกจากนี้จะต้องแจ้งกำหนดรอบเดือนของตนเองให้ฝ่ายแพทย์ของสมาคมฯ รับทราบอย่างน้อยล่วงหน้า 7 วันการทานยา “เลื่อนประจำเดือน” จึงจะออกฤทธิ์ตามที่ต้องการ
ส่วนยา “เลื่อนประจำเดือน” ถ้าใครไม่มีธุระจำเป็น ก็ไม่ต้องไปข้องเกี่ยว เพราะด้วยจรรยาบรรณของแพทย์หรือเภสัชกรไม่สามารถที่จะสั่งจ่ายได้ง่ายๆ ตามท้องตลาดหรือร้านขายยาทั่วไปออกไปซื้อได้ 24 ชั่วโมงเหมือนน้ำปลาในเซเวนอีเลฟเวน ต้องมีเหตุผล ที่สำคัญการใช้ต่อเนื่องก็อาจจะมีผลกับร่างกายในระยะยาวแตกต่างกันไป
แหม! เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบากจริงๆ คุณขา
* * *คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า “MGR SPORT” รับข่าวสารแวดวงกีฬาชนิดเกาะติดขอบสนามคลิกที่นี่เลย!!* * *