• กะปิใส่สี..สุดอันตราย
“กะปิ” อาหารคู่ครัวของคนไทยมาแต่โบราณ ที่รับประทานกันอย่างสบายใจนั้น เดี๋ยวนี้ต้องระวังกันแล้ว!!
เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจพบกะปิใส่สีอันตราย โดยสีที่ห้ามใช้ในกะปิ ได้แก่ สีซันเซ็ตเยลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ, สีปองโซ 4 อาร์ และสีเอโซรูบิน รวมทั้งพบสีย้อมผ้า สีโรดามิน บี
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บอกว่า กะปิที่ผสมสีโรดามีน บี ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในอุตสาหกรรม นำไปเป็นสีสำหรับย้อมผ้า ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันได้ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในปอด ตา ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะเป็นสีทอง อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งด้วย
อย. จึงฝากเตือนมายังผู้ผลิตกะปิทุกราย ห้ามใส่สีทุกชนิดในกะปิ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวดทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เตือนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อกะปิที่สีไม่สด ไม่แดงจัด และราคาไม่ถูกมากนัก รวมทั้งเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้
• กินไข่วันละ 2 ฟอง โคเลสเตอรอลไม่สูง?
เรื่องไข่ๆรู้กันว่ามีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ แต่ไม่รู้ว่ากินเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะเท่าที่เคยรู้กันมาว่า กินมากไปจะทำให้ไขมันในเลือดสูงจนไปอุดตันหลอดเลือด แต่ตอนนี้มีงานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการคลินิกของอเมริกา พบว่า การกินไข่จำนวนมากไม่มีผลทำให้โคเลสเตอรอลสูง แม้กระทั่งในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ
นิค ฟูลเลอร์ นักวิจัยจากสถาบัน Boden มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย บอกว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กินไข่สองฟองต่อวัน เป็นเวลาหกวันต่อสัปดาห์ พบว่า ระดับโคเลสเตอรอลไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงเวลามากกว่าสามเดือน
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการศึกษาในคน 140 คน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้กินไข่วันละ 2ฟอง เป็นเวลา 6สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนกลุ่มที่สองกินน้อยกว่า 2ฟองต่อสัปดาห์ โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันดี แทนที่ไขมันเลวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว
ผลการศึกษาพบว่า มากกว่าสามเดือนผ่านไป ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันเรื่องความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นการเพิ่มขึ้นของไขมันเลวนั้นไม่มี
นักวิจัยบอกว่า กลุ่มที่กินไข่มากยังรู้สึกอิ่มมากขึ้นหลังอาหารเช้าด้วย นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มว่า มีการเพิ่มขึ้นของไขมันดี (HDL) ที่วัดได้ในเลือดของกลุ่มที่กินไข่มาก แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ เพื่อยืนยันการศึกษานี้
• นักวิจัยเตือน "เครียด" ทำกระดูกพรุน
คงรู้กันมาบ้างแล้วว่า “ความเครียด” เป็นต้นตอหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ และโรคทางจิตใจ เป็นต้น และงานวิจัยล่าสุดพบว่า ความครียดยังทำให้กระดูกพรุนด้วย
ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สังกัดหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ภาวะเครียดทางอารมณ์เรื้อรังของคนในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้
เพราะความเครียดที่มีต้นกำเนิดจากสมอง รวมถึงโรคของจิตใจที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง กระตุ้นให้ปลายประสาทที่ควบคุมเซลล์สร้างกระดูก หลั่งสารเคมีหลายชนิด เช่น นอร์อิพิเนฟรินและเซโรโทนิน ซึ่งล้วนยับยั้งการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก แต่กลับเพิ่มการทำงานของเซลล์ออสติโอคลาสต์ ซึ่งทำหน้าที่สลายกระดูก ผลลัพธ์คือ มวลกระดูกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน หรือทำให้กระดูกพรุนที่เป็นอยู่แล้วรุนแรงขึ้น
คุณหมอนรัตถพลยังแนะนำว่า วิธีชะลอการลดลงของมวลกระดูกให้ช้าที่สุด คือ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น เดิน วิ่ง หรือขี่จักรยาน และการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกได้ดียิ่งขึ้นโดยตรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียดความกังวล ส่งผลดีทางอ้อมต่อกระดูกด้วย
• พริกฆ่ามะเร็งได้จริงๆ
“พริก” เผ็ด แต่ดี เพราะงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า พริกสามารถฆ่ามะเร็งต่อมลูกหมากได้ และตอนนี้มีงานวิจัยใหม่มาช่วยยืนยันแล้วว่า พริกฆ่ามะร็งได้จริงๆ
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมเคมีอเมริกันเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า สารที่อยู่ในพริก คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้พริกมีความเผ็ดร้อนนั้น อาจจะใช้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งขณะนี้สารแคปไซซินก็ได้นำมาใช้ผสมในครีมทาแก้ปวดเมื่อยอยู่แล้ว
การวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยได้ใช้สารแคปไซซินในปริมาณสูงกับเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่า โมเลกุลของสารแคปไซวินเกาะติดกับเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็ง และฆ่าเซลล์มะเร็งได้ โดยไม่มีผลต่อเซลล์ปกติในหนูทดลอง แต่สำหรับการนำมารักษาในคน คงต้องกินพริกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
นักวิจัยจึงหวังว่า การศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การใช้สารแคปไซซิน มาผลิตเป็นยารักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆต่อไป
• “กินผักผลไม้สด” วันละ 4 ขีด ออกกำลังกายเป็นประจำ ห่างไกลโรคหัวใจ
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่ค่อยๆก่อตัว ใช้เวลานานหลายปี ทำให้ผู้เป็นโรคระยะเริ่มแรกไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค และไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้น นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค จึงได้แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 35ปีขึ้นไป ตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อจะได้รู้ว่า ตัวเองมีความเสี่ยงสุขภาพใดบ้าง ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนอื่น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และคนอ้วน
เพราะฉะนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ ดูแลระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และเลิกสูบบุหรี่ หากเลิกได้ 2 ปี ความเสี่ยงโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว และภายใน 15 ปี จะเสี่ยงเท่ากับคนปกติ ส่วนอาหารการกินให้หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่ใช้ส่วนประกอบการปรุงที่ค่อนข้างเค็ม
นพ.โสภณยังได้แนะนำประชาชนออกกำลังกายให้ได้วันละไม่ต่ำกว่า30นาที สัปดาห์ละ5ครั้ง เลิกสูบบุหรี่ และหันมากินผักสด ผลไม้สดให้ได้วันละไม่ต่ำกว่า400กรัม หรือ4ขีด และให้กินจนถึงขั้นเป็นของกินเล่นแทนขนมกรุบกรอบ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย ธาราทิพย์)
“กะปิ” อาหารคู่ครัวของคนไทยมาแต่โบราณ ที่รับประทานกันอย่างสบายใจนั้น เดี๋ยวนี้ต้องระวังกันแล้ว!!
เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจพบกะปิใส่สีอันตราย โดยสีที่ห้ามใช้ในกะปิ ได้แก่ สีซันเซ็ตเยลโลว์ เอ็ฟซีเอ็ฟ, สีปองโซ 4 อาร์ และสีเอโซรูบิน รวมทั้งพบสีย้อมผ้า สีโรดามิน บี
นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) บอกว่า กะปิที่ผสมสีโรดามีน บี ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในอุตสาหกรรม นำไปเป็นสีสำหรับย้อมผ้า ก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันได้ และทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในปอด ตา ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ปัสสาวะเป็นสีทอง อีกทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งด้วย
อย. จึงฝากเตือนมายังผู้ผลิตกะปิทุกราย ห้ามใส่สีทุกชนิดในกะปิ ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวดทั้งจำทั้งปรับ
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้เตือนให้ผู้บริโภคเลือกซื้อกะปิที่สีไม่สด ไม่แดงจัด และราคาไม่ถูกมากนัก รวมทั้งเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้
• กินไข่วันละ 2 ฟอง โคเลสเตอรอลไม่สูง?
เรื่องไข่ๆรู้กันว่ามีโปรตีนที่เป็นประโยชน์ แต่ไม่รู้ว่ากินเท่าไหร่ถึงจะดี เพราะเท่าที่เคยรู้กันมาว่า กินมากไปจะทำให้ไขมันในเลือดสูงจนไปอุดตันหลอดเลือด แต่ตอนนี้มีงานวิจัยใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการคลินิกของอเมริกา พบว่า การกินไข่จำนวนมากไม่มีผลทำให้โคเลสเตอรอลสูง แม้กระทั่งในคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ
นิค ฟูลเลอร์ นักวิจัยจากสถาบัน Boden มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย บอกว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่กินไข่สองฟองต่อวัน เป็นเวลาหกวันต่อสัปดาห์ พบว่า ระดับโคเลสเตอรอลไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงเวลามากกว่าสามเดือน
ทั้งนี้ นักวิจัยได้ทำการศึกษาในคน 140 คน โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกให้กินไข่วันละ 2ฟอง เป็นเวลา 6สัปดาห์ติดต่อกัน ส่วนกลุ่มที่สองกินน้อยกว่า 2ฟองต่อสัปดาห์ โดยผู้เข้าร่วมทั้งหมดได้รับไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันดี แทนที่ไขมันเลวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัว
ผลการศึกษาพบว่า มากกว่าสามเดือนผ่านไป ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันเรื่องความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่นการเพิ่มขึ้นของไขมันเลวนั้นไม่มี
นักวิจัยบอกว่า กลุ่มที่กินไข่มากยังรู้สึกอิ่มมากขึ้นหลังอาหารเช้าด้วย นอกจากนี้ยังพบแนวโน้มว่า มีการเพิ่มขึ้นของไขมันดี (HDL) ที่วัดได้ในเลือดของกลุ่มที่กินไข่มาก แต่อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มทดลองขนาดใหญ่ เพื่อยืนยันการศึกษานี้
• นักวิจัยเตือน "เครียด" ทำกระดูกพรุน
คงรู้กันมาบ้างแล้วว่า “ความเครียด” เป็นต้นตอหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดโรคมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคกระเพาะ และโรคทางจิตใจ เป็นต้น และงานวิจัยล่าสุดพบว่า ความครียดยังทำให้กระดูกพรุนด้วย
ศ.ดร.นพ.นรัตถพล เจริญพันธุ์ เมธีวิจัยอาวุโส สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สังกัดหน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก ภาควิชาสรีรวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ภาวะเครียดทางอารมณ์เรื้อรังของคนในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง และเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนได้
เพราะความเครียดที่มีต้นกำเนิดจากสมอง รวมถึงโรคของจิตใจที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวลอย่างรุนแรง กระตุ้นให้ปลายประสาทที่ควบคุมเซลล์สร้างกระดูก หลั่งสารเคมีหลายชนิด เช่น นอร์อิพิเนฟรินและเซโรโทนิน ซึ่งล้วนยับยั้งการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก แต่กลับเพิ่มการทำงานของเซลล์ออสติโอคลาสต์ ซึ่งทำหน้าที่สลายกระดูก ผลลัพธ์คือ มวลกระดูกที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และสุดท้ายอาจนำไปสู่ภาวะกระดูกบาง โรคกระดูกพรุน หรือทำให้กระดูกพรุนที่เป็นอยู่แล้วรุนแรงขึ้น
คุณหมอนรัตถพลยังแนะนำว่า วิธีชะลอการลดลงของมวลกระดูกให้ช้าที่สุด คือ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น เช่น เดิน วิ่ง หรือขี่จักรยาน และการเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะกระตุ้นให้มีการสร้างกระดูกได้ดียิ่งขึ้นโดยตรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียดความกังวล ส่งผลดีทางอ้อมต่อกระดูกด้วย
• พริกฆ่ามะเร็งได้จริงๆ
“พริก” เผ็ด แต่ดี เพราะงานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่า พริกสามารถฆ่ามะเร็งต่อมลูกหมากได้ และตอนนี้มีงานวิจัยใหม่มาช่วยยืนยันแล้วว่า พริกฆ่ามะร็งได้จริงๆ
งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมเคมีอเมริกันเมื่อเร็วๆนี้ พบว่า สารที่อยู่ในพริก คือ แคปไซซิน (Capsaicin) ซึ่งมีคุณสมบัติทำให้พริกมีความเผ็ดร้อนนั้น อาจจะใช้ทำลายเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งขณะนี้สารแคปไซซินก็ได้นำมาใช้ผสมในครีมทาแก้ปวดเมื่อยอยู่แล้ว
การวิจัยครั้งนี้ นักวิจัยได้ใช้สารแคปไซซินในปริมาณสูงกับเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่า โมเลกุลของสารแคปไซวินเกาะติดกับเยื่อหุ้มเซลล์มะเร็ง และฆ่าเซลล์มะเร็งได้ โดยไม่มีผลต่อเซลล์ปกติในหนูทดลอง แต่สำหรับการนำมารักษาในคน คงต้องกินพริกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน
นักวิจัยจึงหวังว่า การศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่การใช้สารแคปไซซิน มาผลิตเป็นยารักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆต่อไป
• “กินผักผลไม้สด” วันละ 4 ขีด ออกกำลังกายเป็นประจำ ห่างไกลโรคหัวใจ
โรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นโรคที่ค่อยๆก่อตัว ใช้เวลานานหลายปี ทำให้ผู้เป็นโรคระยะเริ่มแรกไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค และไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ดังนั้น นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค จึงได้แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 35ปีขึ้นไป ตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อจะได้รู้ว่า ตัวเองมีความเสี่ยงสุขภาพใดบ้าง ผู้ที่มีความเสี่ยงป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่าคนอื่น ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และคนอ้วน
เพราะฉะนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์ ดูแลระดับน้ำตาล ความดันโลหิต ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และเลิกสูบบุหรี่ หากเลิกได้ 2 ปี ความเสี่ยงโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว และภายใน 15 ปี จะเสี่ยงเท่ากับคนปกติ ส่วนอาหารการกินให้หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปที่ใช้ส่วนประกอบการปรุงที่ค่อนข้างเค็ม
นพ.โสภณยังได้แนะนำประชาชนออกกำลังกายให้ได้วันละไม่ต่ำกว่า30นาที สัปดาห์ละ5ครั้ง เลิกสูบบุหรี่ และหันมากินผักสด ผลไม้สดให้ได้วันละไม่ต่ำกว่า400กรัม หรือ4ขีด และให้กินจนถึงขั้นเป็นของกินเล่นแทนขนมกรุบกรอบ เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย ธาราทิพย์)