• “พระพุทธรูปอัฟโฟร” พระพุทธรูปเกศาแปลก วัดญี่ปุ่นเปิดให้สักการะปีละ 1 วันเท่านั้น
ญี่ปุ่น : การแกะสลักพระพุทธรูปมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับนิกายต่างๆในพุทธศาสนา ซึ่งหนึ่งในพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกตา คือ พระพุทธรูปอมิตาภะ ที่มีชื่อว่า “พระพุทธรูปโกโคอูชิยูอิ อมิดะ เนียวไรซาโซะ” (Gokoushiyui-Amida-Nyoraizazo)
ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกขานพระพุทธรูปลักษณะนี้ว่า “พระพุทธรูปอัฟโฟร” (Afuro Butsuzou or Afro Buddha) ตามลักษณะพระเกศาที่ยาวและหนาผิดปกติ อันเป็นเครื่องแสดงถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงทำสมาธิยาวนานถึง 5 กัลป์ เพื่อประโยชน์แก่สรรพชีวิตทั้งหลาย
ในญี่ปุ่นมีพระพุทธรูปอัฟโฟรเพียง 16 องค์ ประดิษฐานภายในวัดต่างๆที่เมืองเกียวโต, วาคายามะ, นารา และอื่นๆ
ภาพที่เห็นคือ พระพุทธรูปอัฟโฟร สร้างในยุคมุโระมะชิ (ค.ศ. 1336-1573) ประดิษฐานภายในวัดโทไดจิ เมืองนารา ซึ่งเป็นวัดสำคัญที่มีชื่อเสียง โดยทางวัดเปิดให้สาธารณชนเข้าสักการะเพียงปีละ 1 วัน คือ วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี
• วัดจีนเปิดตัว “หุ่นยนต์พระ” ดึงวัยรุ่นเข้าวัด
จีน : เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในกลุ่มเยาวชนจีนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วัดหลงฉวน (วัดมังกร) ในนครปักกิ่ง จึงได้นำพระหุ่นยนต์น่ารัก ชื่อว่า “เซียนเอ๋อร์” (Xian’er) มาคอยให้บริการภายในวัด
เซียนเอ๋อร์ สูงราว 50 ซม. เป็นหุ่นยนต์พระคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับรู้สภาวะแวดล้อมและตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้ รวมทั้งสื่อสารผ่าน “เวย์ปั๋ว” ซึ่งเป็นทวิตเตอร์สัญชาติจีนยอดนิยมสูงสุดในประเทศ
โดยซีอานเนอร์ถูกจำลองขึ้นจากตัวเอกของการ์ตูนชุดที่มีชื่อว่า “Trouble, You Seek for Yourself” (ความทุกข์ คุณหาใส่ตัวเอง) ซึ่งวัดหลงฉวนได้ผลิตขึ้น เพื่อให้ปัญญาทางพุทธในรูปแบบที่ฆราวาสเข้าใจได้ง่าย
ปัจจุบัน ในจีนมีวัดเพิ่มมากขึ้นที่หันมาใช้บริการออนไลน์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคนทั่วไป และใช้เป็นช่องทางโปรโมทวัด เช่น วัดต่งหัว วัดเซนอายุ 1,500 ปี ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีเว็บไซต์ที่กลายเป็นเว็บสุดฮิตในโลกออนไลน์ หลังจากทางวัดลงโฆษณาเปิดรับบุคลากรด้านสื่อสาร ใช้สื่อผสมผสานการ์ตูน ดนตรี และถ้อยคำขบขัน เป็นที่ถูกใจคนหนุ่มสาว ทำให้มีคนเข้ามาคลิกดูกว่า 1 ล้านครั้ง และยื่นสมัครงานถึง 4,000 คน ภายใน 5 วัน
• อินโดฯเล็งหนุน “บุโรพุทโธ” เป็น “เมกกะ” ของชาวพุทธ
อินโดนีเซีย : ไรซาล รามลี รัฐมนตรีด้านกิจการทางทะเลของประเทศอินโดนีเซีย เผยว่า ต้องการส่งเสริมวัดบุโรพุทโธ ที่ตั้งอยู่ในเมืองมาเกลัง ทางตอนกลางของเกาะชวา ให้กลายเป็นแหล่งแสวงบุญสำคัญของพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลก เนื่องจากมีความงดงามมากกว่านครวัดของกัมพูชา
“ถ้าชาวคริสต์ต้องการเดินทางไปยังนครเยรูซาเลมก่อนตาย เช่นเดียวกับชาวมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปยังนครเมกกะ เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ชาวพุทธต้องเดินทางมาที่วัดบุโรพุทโธ เพื่อแสวงบุญ”
นอกจากนี้ ไรซาลยังเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ โดยไม่หวังพึ่งพาเกาะบาหลีเพียงแห่งเดียว ซึ่งเขามีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่อีก 10 แห่ง เพื่อเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอินโดนีเซียภายใน 5 ปีข้างหน้า ให้ได้ 20 ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 10 ล้านคนต่อปีเท่านั้น
• เปิดสุสานพุทธแห่งแรกในเยอรมนี
เยอรมนี : หลังการรอคอยนาน 4 ปี ชุมชนชาวพุทธเวียดนามในประเทศเยอรมนี ได้ฤกษ์เปิดสุสานพุทธแห่งแรกที่เมืองเดรสเดิน ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2015
สุสานดังกล่าวมีเนื้อที่ 2,000 ตร.ม. มีพระพุทธรูปหินแกรนิตหนัก 10 ตัน ประดิษฐาน ณ จุดศูนย์กลาง โดยปราศจากเครื่องหมายสวัสติกะภายในบริเวณสุสาน
“เมื่อคุณเข้าไปในสุสานพุทธหลายแห่งในทวีปเอเชีย คุณจะเห็นเครื่องหมายสวัสติกะเต็มไปหมด มันเป็นสัญลักษณ์โบราณของการเกิดใหม่อีกครั้งในโลกตะวันออก ซึ่งมีมายาวนานก่อนพุทธศาสนา แต่ศาสนาพุทธสอนให้เราไม่สุดโต่งและค้นหาสมดุลในชีวิต ด้วยเหตุนี้ เราจึงตัดสินใจที่จะไม่นำเครื่องหมายสวัสติกะมาไว้ในสุสานแห่งนี้ เราต้องการหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด เนื่องจากในยุโรปมีความเข้าใจความหมายของสวัสติกะผิดแผกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง” ดิง ลิงเงอร์ โฆษกศูนย์พุทธเวียดนาม เมืองเดรสเดิน กล่าว
โฆษกศูนย์พุทธฯเผยว่า สุสานดังกล่าวไม่ได้เปิดให้บริการเฉพาะชุมชนชาวพุทธเวียดนามเท่านั้น แต่เปิดให้บริการแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยไม่จำเกิดเชื้อชาติ
อนึ่ง สวัสติกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลในศาสนาพุทธ ฮินดู และเชน ซึ่งก่อนหน้านั้นในยุคหินใหม่ (สิ้นสุดลงราว 4,500-2,000 ปีก่อนคริสตกาล) มีการนำไปใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งในวัฒนธรรมต่างๆ ต่อมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีในเยอรมนี ได้นำเครื่องหมายสวัสติกะไปใช้ในธงประจำพรรค
• อินเดียสร้างสารคดี “ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา” หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น
อินเดีย : การท่องเที่ยวรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย ร่วมกับเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก สร้างสารคดีเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิ อัลลอฮาบัด, อัคระ และพาราณสี รวมถึงสถานที่ต่างๆที่ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยได้ว่าจ้างบริษัทโฆษณา เพื่อเตรียมรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐ
ทั้งนี้ เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกจะจัดทำสารคดีการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในเมืองสำคัญๆ อาทิ โกสัมพี, สารนาถ, สาวัตถี เพื่อนำเสนอนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่การรณรงค์ส่งเสริมด้วยภาพและเสียง จะนำมาใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยได้เริ่มถ่ายทำเมื่อเดือนตุลาคม 2015
มันจู เชาดรี เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวกล่าวว่า “ใน ค.ศ. 2014 มีนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 35 ล้านคน เดินทางมายังเมืองอัลลอฮาบัด ซึ่งกว่า 1 แสนคนเป็นชาวต่างชาติ ที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ เราจึงต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น
โครงการนี้จะทำไปพร้อมๆกับเมืองอัคระ, พาราณสี และสถานที่ต่างๆ ภายใต้การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ซึ่งจากสถิติพบว่า สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาในรัฐอุตตรประเทศ 7 แห่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งกว่า 14% เป็นชาวต่างชาติ”
• เวียดนามเตรียมเปิดแสดงอุปรากร ฉลอง 707 ปี แห่งการบรรลุนิพพานของ “กษัตริย์ชาวพุทธ”
เวียดนาม : เวียดนามเตรียมเปิดการแสดงอุปรากรไคลอง (อุปรากรพื้นบ้านสมัยใหม่) เรื่องใหม่ ที่มีชื่อว่า “Vua Phat” (วัว ฟัต หรือ “กษัตริย์ชาวพุทธ”) ณ โรงละครไคลอง ในเดือนธันวาคม 2015 และเดินสายแสดงตามศูนย์พุทธศาสนาต่างๆทั่วประเทศ
“วัว ฟัต” ถ่ายทอดพระราชประวัติของพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง (ค.ศ. 1258-1308) วีรกษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม พระองค์เป็นทั้งกษัตริย์ ภิกษุ และนักกวี ที่มีชื่อเสียง ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สาม แห่งราชวงค์ตรัน ครองราชย์ระหว่างค.ศ. 1278-1293 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงปราบปรามชาวมองโกลที่เข้ามารุกรานจนราบคาบ ทำให้บ้านเมืองสงบสุขและมั่งคั่ง
เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ทรงสละราชสมบัติ เพื่อผนวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา และจำวัดเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเขาเยน ตู ในจังหวัดกว่างนิญห์ ต่อมาได้ก่อตั้งโรงเรียนตรัค ลัม เพื่อสอนนิกายเซน และรวบรวมนิกายต่างๆของพุทธศาสนาในเวียดนามให้เป็นหนึ่งเดียว คือ พุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม
“วัว ฟัต” จะจัดแสดงในวโรกาสเฉลิมฉลองครบ 707 ปี แห่งการบรรลุนิพพานของพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง ซึ่งพระติช ดุค เทียน ผู้นำสงฆ์แห่งเวียดนามเชื่อว่า “วัว ฟัต” จะนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง
“มันต้องอาศัยการทำงานหนักและความสามารถในการจัดแสดงอุปรากรสำคัญเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการเล่าประวัติศาสตร์ทั่วไปของประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในเรื่องพุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม อาตมาแน่ใจว่า ผู้ชมจะได้รับความสนุกสนานอย่างแน่นอน”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย เภตรา)
ญี่ปุ่น : การแกะสลักพระพุทธรูปมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับนิกายต่างๆในพุทธศาสนา ซึ่งหนึ่งในพระพุทธรูปที่มีลักษณะแปลกตา คือ พระพุทธรูปอมิตาภะ ที่มีชื่อว่า “พระพุทธรูปโกโคอูชิยูอิ อมิดะ เนียวไรซาโซะ” (Gokoushiyui-Amida-Nyoraizazo)
ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกขานพระพุทธรูปลักษณะนี้ว่า “พระพุทธรูปอัฟโฟร” (Afuro Butsuzou or Afro Buddha) ตามลักษณะพระเกศาที่ยาวและหนาผิดปกติ อันเป็นเครื่องแสดงถึงการที่พระพุทธเจ้าทรงทำสมาธิยาวนานถึง 5 กัลป์ เพื่อประโยชน์แก่สรรพชีวิตทั้งหลาย
ในญี่ปุ่นมีพระพุทธรูปอัฟโฟรเพียง 16 องค์ ประดิษฐานภายในวัดต่างๆที่เมืองเกียวโต, วาคายามะ, นารา และอื่นๆ
ภาพที่เห็นคือ พระพุทธรูปอัฟโฟร สร้างในยุคมุโระมะชิ (ค.ศ. 1336-1573) ประดิษฐานภายในวัดโทไดจิ เมืองนารา ซึ่งเป็นวัดสำคัญที่มีชื่อเสียง โดยทางวัดเปิดให้สาธารณชนเข้าสักการะเพียงปีละ 1 วัน คือ วันที่ 5 ตุลาคม ของทุกปี
• วัดจีนเปิดตัว “หุ่นยนต์พระ” ดึงวัยรุ่นเข้าวัด
จีน : เพื่อเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาในกลุ่มเยาวชนจีนที่ชื่นชอบเทคโนโลยี ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ วัดหลงฉวน (วัดมังกร) ในนครปักกิ่ง จึงได้นำพระหุ่นยนต์น่ารัก ชื่อว่า “เซียนเอ๋อร์” (Xian’er) มาคอยให้บริการภายในวัด
เซียนเอ๋อร์ สูงราว 50 ซม. เป็นหุ่นยนต์พระคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับรู้สภาวะแวดล้อมและตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับพุทธศาสนาได้ รวมทั้งสื่อสารผ่าน “เวย์ปั๋ว” ซึ่งเป็นทวิตเตอร์สัญชาติจีนยอดนิยมสูงสุดในประเทศ
โดยซีอานเนอร์ถูกจำลองขึ้นจากตัวเอกของการ์ตูนชุดที่มีชื่อว่า “Trouble, You Seek for Yourself” (ความทุกข์ คุณหาใส่ตัวเอง) ซึ่งวัดหลงฉวนได้ผลิตขึ้น เพื่อให้ปัญญาทางพุทธในรูปแบบที่ฆราวาสเข้าใจได้ง่าย
ปัจจุบัน ในจีนมีวัดเพิ่มมากขึ้นที่หันมาใช้บริการออนไลน์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อติดต่อสื่อสารกับคนทั่วไป และใช้เป็นช่องทางโปรโมทวัด เช่น วัดต่งหัว วัดเซนอายุ 1,500 ปี ในมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งมีเว็บไซต์ที่กลายเป็นเว็บสุดฮิตในโลกออนไลน์ หลังจากทางวัดลงโฆษณาเปิดรับบุคลากรด้านสื่อสาร ใช้สื่อผสมผสานการ์ตูน ดนตรี และถ้อยคำขบขัน เป็นที่ถูกใจคนหนุ่มสาว ทำให้มีคนเข้ามาคลิกดูกว่า 1 ล้านครั้ง และยื่นสมัครงานถึง 4,000 คน ภายใน 5 วัน
• อินโดฯเล็งหนุน “บุโรพุทโธ” เป็น “เมกกะ” ของชาวพุทธ
อินโดนีเซีย : ไรซาล รามลี รัฐมนตรีด้านกิจการทางทะเลของประเทศอินโดนีเซีย เผยว่า ต้องการส่งเสริมวัดบุโรพุทโธ ที่ตั้งอยู่ในเมืองมาเกลัง ทางตอนกลางของเกาะชวา ให้กลายเป็นแหล่งแสวงบุญสำคัญของพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลก เนื่องจากมีความงดงามมากกว่านครวัดของกัมพูชา
“ถ้าชาวคริสต์ต้องการเดินทางไปยังนครเยรูซาเลมก่อนตาย เช่นเดียวกับชาวมุสลิมที่ต้องการเดินทางไปยังนครเมกกะ เพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ชาวพุทธต้องเดินทางมาที่วัดบุโรพุทโธ เพื่อแสวงบุญ”
นอกจากนี้ ไรซาลยังเรียกร้องให้มีการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่อื่นๆ โดยไม่หวังพึ่งพาเกาะบาหลีเพียงแห่งเดียว ซึ่งเขามีโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่อีก 10 แห่ง เพื่อเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนอินโดนีเซียภายใน 5 ปีข้างหน้า ให้ได้ 20 ล้านคนต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 10 ล้านคนต่อปีเท่านั้น
• เปิดสุสานพุทธแห่งแรกในเยอรมนี
เยอรมนี : หลังการรอคอยนาน 4 ปี ชุมชนชาวพุทธเวียดนามในประเทศเยอรมนี ได้ฤกษ์เปิดสุสานพุทธแห่งแรกที่เมืองเดรสเดิน ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2015
สุสานดังกล่าวมีเนื้อที่ 2,000 ตร.ม. มีพระพุทธรูปหินแกรนิตหนัก 10 ตัน ประดิษฐาน ณ จุดศูนย์กลาง โดยปราศจากเครื่องหมายสวัสติกะภายในบริเวณสุสาน
“เมื่อคุณเข้าไปในสุสานพุทธหลายแห่งในทวีปเอเชีย คุณจะเห็นเครื่องหมายสวัสติกะเต็มไปหมด มันเป็นสัญลักษณ์โบราณของการเกิดใหม่อีกครั้งในโลกตะวันออก ซึ่งมีมายาวนานก่อนพุทธศาสนา แต่ศาสนาพุทธสอนให้เราไม่สุดโต่งและค้นหาสมดุลในชีวิต ด้วยเหตุนี้ เราจึงตัดสินใจที่จะไม่นำเครื่องหมายสวัสติกะมาไว้ในสุสานแห่งนี้ เราต้องการหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิด เนื่องจากในยุโรปมีความเข้าใจความหมายของสวัสติกะผิดแผกไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง” ดิง ลิงเงอร์ โฆษกศูนย์พุทธเวียดนาม เมืองเดรสเดิน กล่าว
โฆษกศูนย์พุทธฯเผยว่า สุสานดังกล่าวไม่ได้เปิดให้บริการเฉพาะชุมชนชาวพุทธเวียดนามเท่านั้น แต่เปิดให้บริการแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย โดยไม่จำเกิดเชื้อชาติ
อนึ่ง สวัสติกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคลในศาสนาพุทธ ฮินดู และเชน ซึ่งก่อนหน้านั้นในยุคหินใหม่ (สิ้นสุดลงราว 4,500-2,000 ปีก่อนคริสตกาล) มีการนำไปใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งในวัฒนธรรมต่างๆ ต่อมาในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง พรรคนาซีในเยอรมนี ได้นำเครื่องหมายสวัสติกะไปใช้ในธงประจำพรรค
• อินเดียสร้างสารคดี “ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา” หวังดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น
อินเดีย : การท่องเที่ยวรัฐอุตตรประเทศของอินเดีย ร่วมกับเนชั่นแนลจีโอกราฟฟิก สร้างสารคดีเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง อาทิ อัลลอฮาบัด, อัคระ และพาราณสี รวมถึงสถานที่ต่างๆที่ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยได้ว่าจ้างบริษัทโฆษณา เพื่อเตรียมรณรงค์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐ
ทั้งนี้ เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกจะจัดทำสารคดีการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนาในเมืองสำคัญๆ อาทิ โกสัมพี, สารนาถ, สาวัตถี เพื่อนำเสนอนักท่องเที่ยวต่างชาติ ขณะที่การรณรงค์ส่งเสริมด้วยภาพและเสียง จะนำมาใช้ดึงดูดนักท่องเที่ยวในประเทศ โดยได้เริ่มถ่ายทำเมื่อเดือนตุลาคม 2015
มันจู เชาดรี เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวกล่าวว่า “ใน ค.ศ. 2014 มีนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 35 ล้านคน เดินทางมายังเมืองอัลลอฮาบัด ซึ่งกว่า 1 แสนคนเป็นชาวต่างชาติ ที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวในประเทศ เราจึงต้องการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มากขึ้น
โครงการนี้จะทำไปพร้อมๆกับเมืองอัคระ, พาราณสี และสถานที่ต่างๆ ภายใต้การท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ซึ่งจากสถิติพบว่า สถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาในรัฐอุตตรประเทศ 7 แห่ง ดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบ 3 ล้านคน ซึ่งกว่า 14% เป็นชาวต่างชาติ”
• เวียดนามเตรียมเปิดแสดงอุปรากร ฉลอง 707 ปี แห่งการบรรลุนิพพานของ “กษัตริย์ชาวพุทธ”
เวียดนาม : เวียดนามเตรียมเปิดการแสดงอุปรากรไคลอง (อุปรากรพื้นบ้านสมัยใหม่) เรื่องใหม่ ที่มีชื่อว่า “Vua Phat” (วัว ฟัต หรือ “กษัตริย์ชาวพุทธ”) ณ โรงละครไคลอง ในเดือนธันวาคม 2015 และเดินสายแสดงตามศูนย์พุทธศาสนาต่างๆทั่วประเทศ
“วัว ฟัต” ถ่ายทอดพระราชประวัติของพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง (ค.ศ. 1258-1308) วีรกษัตริย์ผู้ทรงก่อตั้งพุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม พระองค์เป็นทั้งกษัตริย์ ภิกษุ และนักกวี ที่มีชื่อเสียง ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่สาม แห่งราชวงค์ตรัน ครองราชย์ระหว่างค.ศ. 1278-1293 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงปราบปรามชาวมองโกลที่เข้ามารุกรานจนราบคาบ ทำให้บ้านเมืองสงบสุขและมั่งคั่ง
เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ทรงสละราชสมบัติ เพื่อผนวชเป็นภิกษุในพุทธศาสนา และจำวัดเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนเขาเยน ตู ในจังหวัดกว่างนิญห์ ต่อมาได้ก่อตั้งโรงเรียนตรัค ลัม เพื่อสอนนิกายเซน และรวบรวมนิกายต่างๆของพุทธศาสนาในเวียดนามให้เป็นหนึ่งเดียว คือ พุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม
“วัว ฟัต” จะจัดแสดงในวโรกาสเฉลิมฉลองครบ 707 ปี แห่งการบรรลุนิพพานของพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง ซึ่งพระติช ดุค เทียน ผู้นำสงฆ์แห่งเวียดนามเชื่อว่า “วัว ฟัต” จะนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระเจ้าตรัน นาน ถ่อง
“มันต้องอาศัยการทำงานหนักและความสามารถในการจัดแสดงอุปรากรสำคัญเรื่องนี้ ซึ่งเป็นการเล่าประวัติศาสตร์ทั่วไปของประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะในเรื่องพุทธศาสนานิกายเซนเวียดนาม อาตมาแน่ใจว่า ผู้ชมจะได้รับความสนุกสนานอย่างแน่นอน”
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 179 พฤศจิกายน 2558 โดย เภตรา)