โดย : ปิ่น บุตรี(pinn109@hotmail.com)
พูดถึง“แย้”ที่เป็นสัตว์จริงๆ(ไม่ใช่เซเลบ)
หลายคนยี้แย้
หลายคนเกลียดแย้
หลายคนกลัวแย้
และหลายคนกินแย้
แต่สำหรับที่“หมู่บ้านสุวรรณตะไล”ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านที่นี่เขา“รักแย้” และอนุรักษ์แย้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ เพื่อให้พวกมันออกลูกออกหลานสืบเผ่าพันธุ์ดำรงคงอยู่
พร้อมทั้งยังได้จัดตั้งหมู่บ้านสุวรรณตะไลเป็น“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” และเปิดหมู่บ้านเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ให้คนภายนอกได้มาเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ของแย้ ชมความน่ารักของแย้ และสัมผัสกับความผูกพันระหว่างคนกับแย้
ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ของความแปลกแตกต่างแห่งสุพรรณบุรี
อันนับเป็น“อะเมซิ่งสุพรรณ”ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลย
1...
ก่อนที่จะไปรู้จักกับหมู่บ้านอนุรักษ์แย้ เราไปทำความรู้จักกับ“แย้”ตัวเอกของบทความตอนนี้กันก่อน โดยข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า
...แย้ (อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม
แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า “แปว”
แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้...
ขณะที่ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับแย้จากป้ายข้อมูลของหมู่บ้านอนุรักษ์แย้นั้นสรุปความได้ว่า...
...แย้เป็นอาหารของมนุษย์มาช้านาน บ้านเรานิยมนำไปทำเป็นเมนูหลากหลาย เช่น ปิ้ง ลาบ ผัดเผ็ด
สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆ แย้นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ในบางพื้นที่จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษ์ไว้
ในแง่นิเวศวิทยา แย้เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสมดุล พวกมันจะกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และเป็นอาหารให้สัตว์อื่น เช่น งู แต่หน้าที่ดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์
แย้จึงเป็นสัตว์รุ่นเก่าที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม และอาศัยอยู่ตลอดมาจนบัดนี้...
ด้วยความสำคัญของแย้ที่มีต่อระบบนิเวศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์แย้ เพราะแย้เป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า เป็นสัตว์หายากที่นับวันใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย
และถูกไล่ล่าเพื่อนำไปเป็นอาหารของมนุษย์!!!
2...
เมื่อรู้จักแย้กันพอหอมปากหอมคอไปแล้ว ทีนี้มารู้จักกับหมู่บ้านอนุรักษ์แย้อันแปลกและน่าทึ่งกันบ้าง
หมู่บ้านสุวรรณตะไล หรือ“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” ตั้งอยู่ที่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ที่นี่เปิดตำนานการอนุรักษ์แย้ขึ้นเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว โดย“พี่ม่อน-นพมาศ ปานสุวรรณ” เล่าให้ผมฟังว่า
เมื่อประมาณ 33 ปีที่แล้ว คุณพ่อของพี่ม่อนคือลุง“สิน แตงโสภา”ที่เป็นคนรักสัตว์ ได้นำแย้คู่หนึ่ง(ตัวผู้-ตัวเมีย)จากป่าด่านช้างมาเลี้ยงที่บ้าน จากนั้นพวกมันก็แพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานเรื่อยมา และกระจายที่อยู่อาศัยจากบ้านพี่ม่อนไปอยู่บ้านหลังอื่นๆ(ในหมู่บ้านสุวรรณตะไล) รวมถึงมีที่ออกจากหมู่บ้านสุวรรณตะไลไปอยู่ที่อื่นด้วย(แต่ส่วนใหญ่มักไม่รอด เพราะถูกคนและสัตว์จับกิน)
พี่ม่อนเล่าต่อว่า จากวันนั้นถึงวันนี้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล มีแย้อยู่มากถึง 500-600 ตัว (หากมีมากกว่านี้ พวกแย้ส่วนหนึ่งจะออกไปอาศัยอยู่ที่อื่น อันถือเป็นการจัดสมดุลกันเอง-เป็นการตั้งข้อสังเกตของชาวบ้าน) โดยชาวบ้านที่นี่นอกจากจะอนุรักษ์แย้ไว้ ไม่กิน ไม่ฆ่า ไม่ทำร้ายแย้แล้ว หลายๆบ้านยังเลี้ยงแย้ไว้เป็นดังสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว อีกด้วย
จากความที่ผูกพันและคลุกคลีกับแย้มานานกว่า 30 ปี พี่ม่อนและชาวบ้านสุวรรณตะไลอีกหลายๆคน ได้สังเกตพบพฤติกรรมหลายๆอย่างของแย้ที่น่าสนใจ และได้นำมาบอกกล่าวเล่าให้ผมฟัง ได้แก่
-แย้ที่บ้านสุวรรณตะไลเป็นแย้พันธุ์พื้นเมือง(พันธุ์ไทยชนิดหนึ่ง)ที่ชาวบ้านเรียกว่า“แย้พันธุ์กระดาน”
-แย้ตัวผู้จะมีสีสันสดใส ตัวใหญ่ หัวใหญ่ และตัวยาวกว่าตัวเมีย ส่วนแย้ตัวเมียสีจะซีดกว่า ตัวเล็ก หัวเล็ก และตัวสั้นกว่าแย้ตัวผู้ โดยที่บ้านสุวรรณตะไลมีแย้ตัวเมียเยอะกว่าแย้ตัวผู้มากหลายเท่าตัว
-แย้ ปกติจะเปิดรู ปิดรูเอง โดยเปิดรูในช่วงเช้าเพื่อออกหากิน ออกมาเล่นแดด และปิดรูในช่วงเย็นเพื่อเข้านอน
-แย้มีช่วงจำศีลหรือที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า“จำพรรษา” โดยแย้จะปิดรูไปกกดานอยู่ใต้ดินไม่ออกมาให้คนเห็นในช่วงหน้าฝนตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. เป็นต้นไป หลังจากนั้นตัวผู้จะออกจากรูมาหากินอีกทีในเดือน พ.ย. ส่วนตัวเมียจะโผล่ออกมาช้ากว่าในเดือนถัดไปคือเดือน ธ.ค.
-แย้สามารถพยากรณ์อากาศคาดการณ์การตกของของฝนได้เป็นอย่างดี เพราะแย้เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งและไวต่อสภาพอากาศ หากวันไหนจะมีฝนตก แย้จะรีบปิดรูก่อนเวลาปกติแล้วมุดหายลงไปในดิน
-แย้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไลมีอายุเยอะสุดประมาณ 8-9 ปี
-ศัตรูของแย้มีนก งู แมว หมา และคน แต่ไม่ใช่กับคนที่บ้านห้วยสุวรรณตะไล แต่ถ้าแย้ตัวไหนออกจากหมู่บ้านไปหากินยังถิ่นอื่นก็อาจเสี่ยงต่อการถูกคนจับไปกินได้
เพราะคนถือเป็นศัตรูของแย้ที่สำคัญที่สุด
3...
ด้วยความตั้งใจอนุรักษ์แย้ของชาวบ้าน ผสานความแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหมู่บ้านอนุรักษ์แย้ หลายหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณฯจึงเข้ามาส่งเสริมและเปิดให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวขึ้นตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2554 โดยมี ททท.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บุคคลภายนอกเดินทางมาเที่ยวชมความน่ารักของแย้ที่หมู่บ้านอนุรักษ์แย้แห่งนี้กัน
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะต่อการชมแย้คือช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. เพราะแย้จะออกจากรูมาเป็นจำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมาชมแย้ที่บ้านสุวรรณตะไลคือตั้งแต่ช่วงสายไปจนถึงเที่ยง(ประมาณ 9 โมง-เที่ยง)
ขณะที่จุดชมความน่ารักของแย้ๆหลักๆที่บ้านสุวรรณตะไลก็คือที่บริเวณ“ลานชมแย้”(หน้าบ้านพี่ม่อน) ซึ่งตอนแรกที่เมื่อผมมาถึงที่นี่เห็นเป็นเพียงลานดินโล่งๆ มีรูอยู่หลายรูตามพื้นดิน แต่พอพี่ม่อนนำอาหารออกมาร้องเรียกแย้เท่านั้นแหละ สักพักแย้หลายตัวค่อยๆโผล่ออกจากรูมากินอาหาร บางตัวที่ตื่นคนก็โผล่หัวจากรูมามองดู บางตัวก็เดี๋ยวผลุบ เดี๋ยวโผล่ รอให้แน่ใจจริงๆจึงวิ่งออกมา
ขณะที่แย้บางตัวเชื่องนั้นก็เชื่อง ไม่กลัวคน แถมยังคุ้นเคยกับคนเป็นอย่างดี ถึงขนาดสามารถจับมันมาลูบเล่น จับมันมาเกาะไหล่ไต่ตัว หรือสามารถเซลฟี่คู่กับมันได้อย่างสบายๆ
นอกจากนี้แย้บางคนของที่นี่ยังมีชื่อเรียกขาน(ชาวบ้านสังเกตจากลวดลายและจุดประจำตัวบางอย่าง) ไม่วาจะเป็น “ไมค์” “น้องพร” “ศรเพชร” หรือ “โซเชียล” เป็นต้น
พี่ม่อนให้ข้อมูลกับผมเพิ่มเติมว่า ลานชมแย้ที่หน้าบ้านเขามีรูแย้อยู่ประมาณ 80 กว่ารู(จากการสำรวจของเขาเอง) รูแย้หลายรูมีแย้มากกว่า 1 ตัว เพราะมีลูกๆของมันอยู่ด้วย
แย้ที่หน้าบ้านพี่ม่อนกินอาหารวันละ 3 มื้อ เช้า กลาง วัน เย็น อาหารของมันหลักๆก็มีหนอนนกที่แย้ชอบกินเป็นพิเศษ(หนอนนกกรุงหัวจุก - กิโลกรัมละ 500 บาท แย้ที่นี่จะกินประมาณ 2 กก./สัปดาห์) นอกจากนี้ก็ยังมีรังผึ้ง(ตามฤดูกาล) รวมถึงพวกผลไม้อย่างกล้วย มะละ กอ แตงโม
เหตุที่แย้ที่นี่เชื่องเป็นพิเศษ พี่ม่อนบอกว่า เราต้องเลี้ยงมันด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ใกล้ชิด ให้มันกินไม่อดอยาก คลุกคลีกับมัน เล่นกับมัน จนมันคุ้นเคย มันก็จะให้เราจับ และบางตัวพอเห็นคนก็จะวิ่งเข้าหาด้วยความคุ้นเคย (ส่วนบางบ้านที่แย้ไม่ค่อยเชื่อง เพราะคนเลี้ยงอาจเลี้ยงแบบปล่อย ไม่ได้ดูแลใส่ใจมันเป็นอย่างดี)
เรียกว่าเป็นความผูกพันระหว่างคนกับแย้แห่งหมู่บ้านสุวรรณตะไลที่หลายๆคนเห็นแล้วอดประทับใจไม่ได้
เพราะสำหรับแย้แล้วหากคนไม่ไปจับมันมากิน และยิ่งช่วยกันอนุรักษ์มันไว้เหมือนกับที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล สภาพการณ์ของแย้ก็ย่อมจัดอยู่ในประเภท
“แย้เยอะแยะอยู่อย่างยอดเยี่ยม”
ส่วนถ้ามนุษย์ยังคงเดินหน้าล่าแย้จับมันมากิน โดยไม่คำนึงถึงความสมดุลของธรรมชาติอย่างกับในหลายๆพื้นที่ในบ้านเรา สภาพการณ์ของแย้ก็ย่อมหนีไม่พ้น
“แย้ย่ำแย่อยู่อย่างยากเย็น”!!!!
*****************************************
หมู่บ้านสุวรรณตะไล หรือ“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” ตั้งอยู่ที่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงพิเศษ เพราะที่ใกล้ๆกับบ้านอนุรักษ์แย้บนถนนหมายเลข 3502 สาย“สามชุก-ด่านช้าง” ดอกเหลืองปรีดียาธร ที่อยู่ 2 ข้างทาง กำลังออกดอกบานสะพรั่ง โดยคาดว่าจะบานเต็มที่ประมาณสัปดาห์กว่าๆ ก่อนที่ดอกจะค่อยๆร่วงโรยไป
หรือหากที่ไปเที่ยวชมความงามของดอกเหลืองปรีดียาธร ก็สามารถแวะ(ก่อนหรือหลังก็ได้)เที่ยวชมความน่ารักของแย้ได้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล รวมถึงสามารถแวะสักการะ“หลวงพ่อมุ่ย” หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังของสุพรรณฯกันได้ที่ วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงาน สุพรรณบุรี โทร. 035 525 867, 035 525 880
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com
พูดถึง“แย้”ที่เป็นสัตว์จริงๆ(ไม่ใช่เซเลบ)
หลายคนยี้แย้
หลายคนเกลียดแย้
หลายคนกลัวแย้
และหลายคนกินแย้
แต่สำหรับที่“หมู่บ้านสุวรรณตะไล”ในจังหวัดสุพรรณบุรี ชาวบ้านที่นี่เขา“รักแย้” และอนุรักษ์แย้ไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ เพื่อให้พวกมันออกลูกออกหลานสืบเผ่าพันธุ์ดำรงคงอยู่
พร้อมทั้งยังได้จัดตั้งหมู่บ้านสุวรรณตะไลเป็น“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” และเปิดหมู่บ้านเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ให้คนภายนอกได้มาเรียนรู้วิถีความเป็นอยู่ของแย้ ชมความน่ารักของแย้ และสัมผัสกับความผูกพันระหว่างคนกับแย้
ถือเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ของความแปลกแตกต่างแห่งสุพรรณบุรี
อันนับเป็น“อะเมซิ่งสุพรรณ”ที่น่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยเลย
1...
ก่อนที่จะไปรู้จักกับหมู่บ้านอนุรักษ์แย้ เราไปทำความรู้จักกับ“แย้”ตัวเอกของบทความตอนนี้กันก่อน โดยข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่า
...แย้ (อังกฤษ: Butterfly lizard, Small-scaled lizard, Ground lizard) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าประเภทหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบกระจายทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะภูมิภาคอินโดจีน พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม
แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เมื่อถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบรอดออกไปอีกรูหนึ่งได้อย่างแยบยล โดยรูนี้เรียกในภาษาไทยว่า “แปว”
แย้สามารถสืบพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล กินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร แย้ไม่สามารถที่จะว่ายน้ำได้...
ขณะที่ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมเกี่ยวกับแย้จากป้ายข้อมูลของหมู่บ้านอนุรักษ์แย้นั้นสรุปความได้ว่า...
...แย้เป็นอาหารของมนุษย์มาช้านาน บ้านเรานิยมนำไปทำเป็นเมนูหลากหลาย เช่น ปิ้ง ลาบ ผัดเผ็ด
สถานะของแย้เมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่นๆ แย้นับว่าใกล้สูญพันธุ์จากถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ในบางพื้นที่จึงมีการส่งเสริมการเลี้ยงแย้ให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจและอนุรักษ์ไว้
ในแง่นิเวศวิทยา แย้เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ทำให้ระบบในธรรมชาติสมดุล พวกมันจะกินแมลงที่เป็นศัตรูพืช และเป็นอาหารให้สัตว์อื่น เช่น งู แต่หน้าที่ดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญที่ทำให้สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์
แย้จึงเป็นสัตว์รุ่นเก่าที่อาศัยอยู่ดั้งเดิม และอาศัยอยู่ตลอดมาจนบัดนี้...
ด้วยความสำคัญของแย้ที่มีต่อระบบนิเวศ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์แย้ เพราะแย้เป็นหนึ่งในทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่า เป็นสัตว์หายากที่นับวันใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย
และถูกไล่ล่าเพื่อนำไปเป็นอาหารของมนุษย์!!!
2...
เมื่อรู้จักแย้กันพอหอมปากหอมคอไปแล้ว ทีนี้มารู้จักกับหมู่บ้านอนุรักษ์แย้อันแปลกและน่าทึ่งกันบ้าง
หมู่บ้านสุวรรณตะไล หรือ“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” ตั้งอยู่ที่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ที่นี่เปิดตำนานการอนุรักษ์แย้ขึ้นเมื่อกว่า 30 ปีที่แล้ว โดย“พี่ม่อน-นพมาศ ปานสุวรรณ” เล่าให้ผมฟังว่า
เมื่อประมาณ 33 ปีที่แล้ว คุณพ่อของพี่ม่อนคือลุง“สิน แตงโสภา”ที่เป็นคนรักสัตว์ ได้นำแย้คู่หนึ่ง(ตัวผู้-ตัวเมีย)จากป่าด่านช้างมาเลี้ยงที่บ้าน จากนั้นพวกมันก็แพร่พันธุ์ออกลูกออกหลานเรื่อยมา และกระจายที่อยู่อาศัยจากบ้านพี่ม่อนไปอยู่บ้านหลังอื่นๆ(ในหมู่บ้านสุวรรณตะไล) รวมถึงมีที่ออกจากหมู่บ้านสุวรรณตะไลไปอยู่ที่อื่นด้วย(แต่ส่วนใหญ่มักไม่รอด เพราะถูกคนและสัตว์จับกิน)
พี่ม่อนเล่าต่อว่า จากวันนั้นถึงวันนี้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล มีแย้อยู่มากถึง 500-600 ตัว (หากมีมากกว่านี้ พวกแย้ส่วนหนึ่งจะออกไปอาศัยอยู่ที่อื่น อันถือเป็นการจัดสมดุลกันเอง-เป็นการตั้งข้อสังเกตของชาวบ้าน) โดยชาวบ้านที่นี่นอกจากจะอนุรักษ์แย้ไว้ ไม่กิน ไม่ฆ่า ไม่ทำร้ายแย้แล้ว หลายๆบ้านยังเลี้ยงแย้ไว้เป็นดังสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว อีกด้วย
จากความที่ผูกพันและคลุกคลีกับแย้มานานกว่า 30 ปี พี่ม่อนและชาวบ้านสุวรรณตะไลอีกหลายๆคน ได้สังเกตพบพฤติกรรมหลายๆอย่างของแย้ที่น่าสนใจ และได้นำมาบอกกล่าวเล่าให้ผมฟัง ได้แก่
-แย้ที่บ้านสุวรรณตะไลเป็นแย้พันธุ์พื้นเมือง(พันธุ์ไทยชนิดหนึ่ง)ที่ชาวบ้านเรียกว่า“แย้พันธุ์กระดาน”
-แย้ตัวผู้จะมีสีสันสดใส ตัวใหญ่ หัวใหญ่ และตัวยาวกว่าตัวเมีย ส่วนแย้ตัวเมียสีจะซีดกว่า ตัวเล็ก หัวเล็ก และตัวสั้นกว่าแย้ตัวผู้ โดยที่บ้านสุวรรณตะไลมีแย้ตัวเมียเยอะกว่าแย้ตัวผู้มากหลายเท่าตัว
-แย้ ปกติจะเปิดรู ปิดรูเอง โดยเปิดรูในช่วงเช้าเพื่อออกหากิน ออกมาเล่นแดด และปิดรูในช่วงเย็นเพื่อเข้านอน
-แย้มีช่วงจำศีลหรือที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า“จำพรรษา” โดยแย้จะปิดรูไปกกดานอยู่ใต้ดินไม่ออกมาให้คนเห็นในช่วงหน้าฝนตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. เป็นต้นไป หลังจากนั้นตัวผู้จะออกจากรูมาหากินอีกทีในเดือน พ.ย. ส่วนตัวเมียจะโผล่ออกมาช้ากว่าในเดือนถัดไปคือเดือน ธ.ค.
-แย้สามารถพยากรณ์อากาศคาดการณ์การตกของของฝนได้เป็นอย่างดี เพราะแย้เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งและไวต่อสภาพอากาศ หากวันไหนจะมีฝนตก แย้จะรีบปิดรูก่อนเวลาปกติแล้วมุดหายลงไปในดิน
-แย้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไลมีอายุเยอะสุดประมาณ 8-9 ปี
-ศัตรูของแย้มีนก งู แมว หมา และคน แต่ไม่ใช่กับคนที่บ้านห้วยสุวรรณตะไล แต่ถ้าแย้ตัวไหนออกจากหมู่บ้านไปหากินยังถิ่นอื่นก็อาจเสี่ยงต่อการถูกคนจับไปกินได้
เพราะคนถือเป็นศัตรูของแย้ที่สำคัญที่สุด
3...
ด้วยความตั้งใจอนุรักษ์แย้ของชาวบ้าน ผสานความแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของหมู่บ้านอนุรักษ์แย้ หลายหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณฯจึงเข้ามาส่งเสริมและเปิดให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวขึ้นตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. 2554 โดยมี ททท.สุพรรณบุรี เป็นหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้บุคคลภายนอกเดินทางมาเที่ยวชมความน่ารักของแย้ที่หมู่บ้านอนุรักษ์แย้แห่งนี้กัน
สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะต่อการชมแย้คือช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. เพราะแย้จะออกจากรูมาเป็นจำนวนมาก ส่วนช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการมาชมแย้ที่บ้านสุวรรณตะไลคือตั้งแต่ช่วงสายไปจนถึงเที่ยง(ประมาณ 9 โมง-เที่ยง)
ขณะที่จุดชมความน่ารักของแย้ๆหลักๆที่บ้านสุวรรณตะไลก็คือที่บริเวณ“ลานชมแย้”(หน้าบ้านพี่ม่อน) ซึ่งตอนแรกที่เมื่อผมมาถึงที่นี่เห็นเป็นเพียงลานดินโล่งๆ มีรูอยู่หลายรูตามพื้นดิน แต่พอพี่ม่อนนำอาหารออกมาร้องเรียกแย้เท่านั้นแหละ สักพักแย้หลายตัวค่อยๆโผล่ออกจากรูมากินอาหาร บางตัวที่ตื่นคนก็โผล่หัวจากรูมามองดู บางตัวก็เดี๋ยวผลุบ เดี๋ยวโผล่ รอให้แน่ใจจริงๆจึงวิ่งออกมา
ขณะที่แย้บางตัวเชื่องนั้นก็เชื่อง ไม่กลัวคน แถมยังคุ้นเคยกับคนเป็นอย่างดี ถึงขนาดสามารถจับมันมาลูบเล่น จับมันมาเกาะไหล่ไต่ตัว หรือสามารถเซลฟี่คู่กับมันได้อย่างสบายๆ
นอกจากนี้แย้บางคนของที่นี่ยังมีชื่อเรียกขาน(ชาวบ้านสังเกตจากลวดลายและจุดประจำตัวบางอย่าง) ไม่วาจะเป็น “ไมค์” “น้องพร” “ศรเพชร” หรือ “โซเชียล” เป็นต้น
พี่ม่อนให้ข้อมูลกับผมเพิ่มเติมว่า ลานชมแย้ที่หน้าบ้านเขามีรูแย้อยู่ประมาณ 80 กว่ารู(จากการสำรวจของเขาเอง) รูแย้หลายรูมีแย้มากกว่า 1 ตัว เพราะมีลูกๆของมันอยู่ด้วย
แย้ที่หน้าบ้านพี่ม่อนกินอาหารวันละ 3 มื้อ เช้า กลาง วัน เย็น อาหารของมันหลักๆก็มีหนอนนกที่แย้ชอบกินเป็นพิเศษ(หนอนนกกรุงหัวจุก - กิโลกรัมละ 500 บาท แย้ที่นี่จะกินประมาณ 2 กก./สัปดาห์) นอกจากนี้ก็ยังมีรังผึ้ง(ตามฤดูกาล) รวมถึงพวกผลไม้อย่างกล้วย มะละ กอ แตงโม
เหตุที่แย้ที่นี่เชื่องเป็นพิเศษ พี่ม่อนบอกว่า เราต้องเลี้ยงมันด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ใกล้ชิด ให้มันกินไม่อดอยาก คลุกคลีกับมัน เล่นกับมัน จนมันคุ้นเคย มันก็จะให้เราจับ และบางตัวพอเห็นคนก็จะวิ่งเข้าหาด้วยความคุ้นเคย (ส่วนบางบ้านที่แย้ไม่ค่อยเชื่อง เพราะคนเลี้ยงอาจเลี้ยงแบบปล่อย ไม่ได้ดูแลใส่ใจมันเป็นอย่างดี)
เรียกว่าเป็นความผูกพันระหว่างคนกับแย้แห่งหมู่บ้านสุวรรณตะไลที่หลายๆคนเห็นแล้วอดประทับใจไม่ได้
เพราะสำหรับแย้แล้วหากคนไม่ไปจับมันมากิน และยิ่งช่วยกันอนุรักษ์มันไว้เหมือนกับที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล สภาพการณ์ของแย้ก็ย่อมจัดอยู่ในประเภท
“แย้เยอะแยะอยู่อย่างยอดเยี่ยม”
ส่วนถ้ามนุษย์ยังคงเดินหน้าล่าแย้จับมันมากิน โดยไม่คำนึงถึงความสมดุลของธรรมชาติอย่างกับในหลายๆพื้นที่ในบ้านเรา สภาพการณ์ของแย้ก็ย่อมหนีไม่พ้น
“แย้ย่ำแย่อยู่อย่างยากเย็น”!!!!
*****************************************
หมู่บ้านสุวรรณตะไล หรือ“หมู่บ้านอนุรักษ์แย้” ตั้งอยู่ที่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ในช่วงนี้ถือเป็นช่วงพิเศษ เพราะที่ใกล้ๆกับบ้านอนุรักษ์แย้บนถนนหมายเลข 3502 สาย“สามชุก-ด่านช้าง” ดอกเหลืองปรีดียาธร ที่อยู่ 2 ข้างทาง กำลังออกดอกบานสะพรั่ง โดยคาดว่าจะบานเต็มที่ประมาณสัปดาห์กว่าๆ ก่อนที่ดอกจะค่อยๆร่วงโรยไป
หรือหากที่ไปเที่ยวชมความงามของดอกเหลืองปรีดียาธร ก็สามารถแวะ(ก่อนหรือหลังก็ได้)เที่ยวชมความน่ารักของแย้ได้ที่หมู่บ้านสุวรรณตะไล รวมถึงสามารถแวะสักการะ“หลวงพ่อมุ่ย” หนึ่งในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ชื่อดังของสุพรรณฯกันได้ที่ วัดดอนไร่ ต.หนองสะเดา อ.สามชุก
ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงาน สุพรรณบุรี โทร. 035 525 867, 035 525 880
*****************************************
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ กอง บก.ข่าวท่องเที่ยว แฟกซ์ 0-2629-4467 อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com