นิพพานเป็นอายตนะ
มีคำกล่าวว่า นิพพานเป็นอายตนะ คือเป็นที่ต่อหรือว่าต่อได้ คือบรรลุได้เหมือนอย่างที่เรียกอายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก
อายตนะภายในหก ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ อายตนะภายนอกหก ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมคือเรื่องราว
อายตนะภายในภายนอกนี้เป็นคู่กัน ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับโผฏฐัพพะ มนะคือใจคู่กับธรรมคือเรื่องราว และเมื่อต่อให้ถูกคู่กันแล้วก็ต่อกันได้ เมื่อตาต่อกับรูป ก็ต่อกันได้คือเห็นรูปได้ แต่ว่าถ้าต่อกันไม่ถูกคู่ก็ต่อกันไม่ได้ เช่นว่าจะใช้หูดูรูป ใช้ตาฟังเสียง ก็ไม่ได้ แต่เมื่อต่อกันถูกคู่แล้วก็ต่อกันได้คือบรรลุได้ บรรลุการเห็น รูปการได้ยินเสียงได้ ดั่งนี้เป็นต้น
นิพพานก็เป็นอายตนะอย่างหนึ่งซึ่งต่อกันได้กับจิตโดยตรง จิตที่อบรมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา โดยลำดับเป็นสุภาวิตจิตตะ คือจิตที่อบรมดีแล้วจน บรรลุมรรค บรรลุผล จิตนี้ก็บรรลุนิพพาน ดังที่มีแสดงว่า จิตถึงวิสังขารคือนิพพานอันเป็นธรรมที่ปราศจากสังขาร ความปรุงแต่ง เครื่องปรุงแต่งทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นตัณหาทั้งหลายแล้วดั่งนี้
นิพพานเป็นความสิ้นกิเลส
เพราะฉะนั้น เมื่อการปฏิบัติถึงขั้นแล้ว จิตที่อบรมดีแล้วด้วยการปฏิบัติจึงต่อนิพพานได้ คือ บรรลุนิพพานได้ดั่งนี้ จึงได้มีการแสดงลักษณะของนิพพานอันพอเป็นเครื่องชี้ให้เข้าใจด้วยพระพุทธสุภาษิตต่างๆ อีกหลายแห่งว่า ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่านิพพาน ดังนี้ก็มี อันหมายถึงว่า นิพพานนั้นก็คือธรรม เป็นที่สิ้นกิเลสนี้เอง ปฏิบัติให้สิ้นกิเลสได้เมื่อใดก็บรรลุนิพพานเมื่อนั้น หรือกล่าวให้เข้าใจว่า นิพพานนั้นก็อยู่ตรงที่สิ้นกิเลสนั้นเอง อีกอย่างหนึ่งก็ยกกรรมขึ้นเป็นที่ตั้ง เพราะเมื่อสิ้นกิเลสก็สิ้นกรรม ตรงที่สิ้นกรรมนั้นก็คือนิพพาน อีกอย่างหนึ่งก็ยกเอาวิบากคือผลขึ้นเป็นที่ตั้ง สิ้นวิบากคือนับตั้งแต่สิ้นเกิด สิ้นแก่ สิ้นตาย ตรงที่สิ้นวิบากนับตั้งแต่เกิด แก่ ตาย นี้ก็คือนิพพาน
คราวนี้เมื่อพิจารณาดูอีกว่า อันกิเลสก็มีมากมายยากที่จะสิ้นได้ เมื่อใดจะสิ้นกิเลส หรือไม่อาจจะทำให้สิ้นกิเลสได้ ถ้าคิดดั่งนี้ก็ไม่ตรงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกเช่นเดียวกัน เพราะว่าตาม หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น แสดงว่า จิตนี้อันจะเป็นที่ต่อนิพพาน บรรลุนิพพาน ได้นั้น เป็นธรรมชาติปภัสสรคือผุดผ่อง แต่ว่าเศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรเข้ามา อันเรียกในที่นี้ว่าอุปกิเลส กิเลสจึงเป็นเหมือนอย่างแขกที่จรเข้ามาอาศัย ไม่ใช่ เป็นเนื้อแท้ของจิต ถ้ากิเลสเป็นเนื้อแท้ของจิตแล้วก็ไม่สามารถจะละได้ แต่ว่าเพราะกิเลสไม่ใช่เป็นเนื้อแท้ของจิต แต่ว่าเป็นเครื่องที่จรเข้ามา จรเข้ามาทำให้เศร้าหมอง จึงเรียกว่าอุปกิเลส
อุปแปลว่า เข้ามาหรือเข้าไป กิเลสก็เศร้าหมองคือสิ่งที่เข้ามาทำให้เศร้าหมอง หรือเข้าไปทำให้เศร้าหมอง ก็ทำจิตนี้เองให้เศร้าหมอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะชำระได้ จึงได้มีแสดงว่า จิตนี้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องที่จรเข้ามาทำให้เศร้าหมอง ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลสบรรลุถึงนิพพานได้ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่าจะทำได้ยากหรือง่าย จะบรรลุได้เร็วหรือช้าอย่างไรนั้นก็สุด แต่การปฏิบัติ
เมื่อการปฏิบัตินั้นเป็นการปฏิบัติดี เป็นการปฏิบัติตรง เป็นการปฏิบัติถูก เป็นการปฏิบัติชอบ ตามหลักสังฆคุณทั้งสี่ว่า “สุปฏิปนฺโน ญายปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน” แล้ว การปฏิบัติที่ดีที่ตรง ที่ถูกที่ชอบนี้ ก็จะนำไปให้บรรลุถึงได้เร็วกว่าการปฏิบัติที่ตรงกันข้าม แต่ว่าการปฏิบัตินั้นก็พึงเป็นไปโดยลำดับ ไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งรัดด้วยตัณหาอันเป็นความดิ้นรนทะยานยาก ถ้าเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหาแล้ว ตัณหานี้ก็เป็นเครื่องกั้นอีกไม่ให้บรรลุถึงได้
เหมือนอย่างท่านพระอานนท์เถระที่ มีแสดงไว้ว่า แรกเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานนั้น ท่านยังเป็นพระเสขบุคคลที่ท่านแสดงว่าเป็นพระโสดาบัน ยังมิได้เป็นพระอรหันต์ แต่ว่าพระเถระที่พระมหากัสสปได้เลือกทำปฐมสังคายนานั้น องค์อื่นๆ ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ท่านเลือกท่านพระอานนท์เข้าร่วมด้วย ก็เพราะเป็นผู้ทรงพระธรรมอันจะขาดเสียมิได้
ก่อนที่จะถึงวันทำสังคายนาครั้งแรก ท่านพระมหากัสสปจึงได้เตือนพระอานนท์ให้มีความไม่ประมาท กระทำความเพียร ท่านพระอานนท์จึงได้กระทำความเพียรเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ไม่ถึง คราวนี้ท่านจึงปรารภว่าจะพัก ก็เริ่มเอนกายลงที่จะพัก ในประวัติแสดงว่าท่านได้บรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผลในอิริยาบถที่กำลังเอนกายนั้น อันเรียกว่าอยู่ในระหว่างอิริยาบถทั้งสี่ ไม่ใช่นอน ไม่ใช่นั่ง ไม่ใช่ยืน ไม่ใช่เดิน ผู้ปฏิบัติธรรมได้พิจารณาเห็นว่า ก็เพราะในระหว่างที่ท่านเอนกายลงนั้น ท่านปล่อยวางใจ และธรรม ปฏิบัติของท่านถึงขั้นแล้ว ในขณะที่ท่านเร่งความเพียร ก็แสดงว่ายังประกอบด้วย ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากตัณหานี้เองจึงยังกั้นเอาไว้ ยังไม่ให้บรรลุ แต่ครั้นวางใจลงว่าจะพัก จึงบรรลุขณะที่ปล่อยวางนั้นเองดั่งนี้
เพราะฉะนั้น แม้จะมีคำแสดงว่า “ให้อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสีย” แต่ก็จะต้องละตัณหาจึงจะบรรลุได้
ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติไปโดยลำดับ และเมื่อได้บ่ายหน้าไปสู่นิพพาน แม้จะยังห่างนิพพานเพียงใดก็ตาม ก็ชื่อว่าได้บ่ายหน้าไปถูกทางแล้ว การเดินไปทีละก้าวก็ชื่อว่าได้เป็นการปฏิบัติใกล้นิพพานเข้าไปทุกที แต่ว่าถ้าบ่ายหน้าไปคนละทางกับนิพพาน การปฏิบัติก็ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติไม่ตรงต่อทางนิพพาน ก็จะห่างนิพพานไปทุกทีเช่นเดียวกัน
และทุกๆ คนผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา แม้จะยังไม่ประสงค์นิพพานอันเป็นที่สุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะรีบบรรลุนิพพานเสีย เพราะว่าอันกิเลสที่มีอยู่ อันเป็นส่วนอาสวอนุสัย นอนจมหมักหมม อยู่ในจิตสันดานของคนทั้งปวงนั้น กล่าวได้ว่ามีอยู่มากมายนักหนา จึงได้เรียกว่าปุถุชนะ หรือปุถุชน คือคนที่มีกิเลสหนาแน่น ถ้าหากว่าจะเปรียบเทียบก็เหมือนอย่างกองใหญ่โตเป็นภูเขาเลากา
การปฏิบัติธรรมแต่ละครั้งแม้จะปฏิบัติในระดับที่เรียกว่าเป็นธรรมขั้นสูง สมถะ วิปัสสนา ก็คล้ายๆ กับว่าเอาผ้าไปปัดภูเขานั้นครั้งหนึ่งๆ จะทำให้ภูเขาหินนั้นกร่อนลงไปได้สักเพียงเท่าใด จะปัดสักกี่ทีภูเขานั้นจะหมดไป สิ้นไปจนถึงเรียบราบเสมอพื้นแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงไม่ต้องกลัวว่ากิเลสจะหมด แต่ว่าควรจะกลัวกิเลสจะเพิ่มขึ้นกิเลสจะมากขึ้นมากกว่า และทุกคนก็ควรจะปฏิบัติมุ่งนิพพาน ดังคติโบราณที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า นิพพานปัจจโย โหตุ
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ชื่อว่า ได้ปฏิบัติบ่ายหน้าไปสู่นิพพาน เป็นการหันหน้าไปถูกทิศทาง เมื่อหันหน้าไปถูกทิศทางแล้ว แม้จะอยู่ห่างไกลเท่าใด การที่ก้าวเดินไปทีละก้าว ก็ชื่อว่าใกล้นิพพานดังกล่าวมาข้างต้นนั้น นึกดูถึงว่าการเดินทางเช่นว่าจะมาวัดนี้ ก็จะต้องบ่ายหน้ามาสู่วัดนี้ตั้งแต่ออกจากบ้านจึงจะถึงวัดนี้ได้ จึงจะมาประชุมกันอยู่ในที่นี้ได้ ถ้าหากว่าบ่ายหน้า ไปเสียทางอื่นแล้ว ก็จะมาถึงวัดนี้ มาประชุมในที่นี้ไม่ได้ ใครที่อยู่ใกล้ก็จะมาถึงเร็วกว่า ใครที่อยู่ไกลก็จะถึงช้ากว่า แต่ว่าแม้อยู่ใกล้ถ้าไม่มาหรือบ่ายหน้าไปเสียทางอื่น ก็ย่อมมาไม่ถึงอยู่นั้นเอง แม้จะอยู่ไกลเท่าไร อยู่เมืองนอกเมืองนาห่างไกลกันเท่าไร เมื่อจะมาก็ต้องบ่ายหน้ามาถูกทิศทางแล้ว จึงจะมาถึงได้ และก็ต้องถึงได้ในที่สุด
ฉะนั้น การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุนิพพาน ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าจึงเป็นการตั้งความปรารถนาที่ถูก แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะรีบบรรลุนิพพาน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
มีคำกล่าวว่า นิพพานเป็นอายตนะ คือเป็นที่ต่อหรือว่าต่อได้ คือบรรลุได้เหมือนอย่างที่เรียกอายตนะภายในหก อายตนะภายนอกหก
อายตนะภายในหก ก็คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ อายตนะภายนอกหก ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมคือเรื่องราว
อายตนะภายในภายนอกนี้เป็นคู่กัน ตาคู่กับรูป หูคู่กับเสียง จมูกคู่กับกลิ่น ลิ้นคู่กับรส กายคู่กับโผฏฐัพพะ มนะคือใจคู่กับธรรมคือเรื่องราว และเมื่อต่อให้ถูกคู่กันแล้วก็ต่อกันได้ เมื่อตาต่อกับรูป ก็ต่อกันได้คือเห็นรูปได้ แต่ว่าถ้าต่อกันไม่ถูกคู่ก็ต่อกันไม่ได้ เช่นว่าจะใช้หูดูรูป ใช้ตาฟังเสียง ก็ไม่ได้ แต่เมื่อต่อกันถูกคู่แล้วก็ต่อกันได้คือบรรลุได้ บรรลุการเห็น รูปการได้ยินเสียงได้ ดั่งนี้เป็นต้น
นิพพานก็เป็นอายตนะอย่างหนึ่งซึ่งต่อกันได้กับจิตโดยตรง จิตที่อบรมแล้วด้วยศีล สมาธิ ปัญญา โดยลำดับเป็นสุภาวิตจิตตะ คือจิตที่อบรมดีแล้วจน บรรลุมรรค บรรลุผล จิตนี้ก็บรรลุนิพพาน ดังที่มีแสดงว่า จิตถึงวิสังขารคือนิพพานอันเป็นธรรมที่ปราศจากสังขาร ความปรุงแต่ง เครื่องปรุงแต่งทั้งปวง บรรลุถึงความสิ้นตัณหาทั้งหลายแล้วดั่งนี้
นิพพานเป็นความสิ้นกิเลส
เพราะฉะนั้น เมื่อการปฏิบัติถึงขั้นแล้ว จิตที่อบรมดีแล้วด้วยการปฏิบัติจึงต่อนิพพานได้ คือ บรรลุนิพพานได้ดั่งนี้ จึงได้มีการแสดงลักษณะของนิพพานอันพอเป็นเครื่องชี้ให้เข้าใจด้วยพระพุทธสุภาษิตต่างๆ อีกหลายแห่งว่า ธรรมเป็นที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่านิพพาน ดังนี้ก็มี อันหมายถึงว่า นิพพานนั้นก็คือธรรม เป็นที่สิ้นกิเลสนี้เอง ปฏิบัติให้สิ้นกิเลสได้เมื่อใดก็บรรลุนิพพานเมื่อนั้น หรือกล่าวให้เข้าใจว่า นิพพานนั้นก็อยู่ตรงที่สิ้นกิเลสนั้นเอง อีกอย่างหนึ่งก็ยกกรรมขึ้นเป็นที่ตั้ง เพราะเมื่อสิ้นกิเลสก็สิ้นกรรม ตรงที่สิ้นกรรมนั้นก็คือนิพพาน อีกอย่างหนึ่งก็ยกเอาวิบากคือผลขึ้นเป็นที่ตั้ง สิ้นวิบากคือนับตั้งแต่สิ้นเกิด สิ้นแก่ สิ้นตาย ตรงที่สิ้นวิบากนับตั้งแต่เกิด แก่ ตาย นี้ก็คือนิพพาน
คราวนี้เมื่อพิจารณาดูอีกว่า อันกิเลสก็มีมากมายยากที่จะสิ้นได้ เมื่อใดจะสิ้นกิเลส หรือไม่อาจจะทำให้สิ้นกิเลสได้ ถ้าคิดดั่งนี้ก็ไม่ตรงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอีกเช่นเดียวกัน เพราะว่าตาม หลักธรรมในพระพุทธศาสนานั้น แสดงว่า จิตนี้อันจะเป็นที่ต่อนิพพาน บรรลุนิพพาน ได้นั้น เป็นธรรมชาติปภัสสรคือผุดผ่อง แต่ว่าเศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรเข้ามา อันเรียกในที่นี้ว่าอุปกิเลส กิเลสจึงเป็นเหมือนอย่างแขกที่จรเข้ามาอาศัย ไม่ใช่ เป็นเนื้อแท้ของจิต ถ้ากิเลสเป็นเนื้อแท้ของจิตแล้วก็ไม่สามารถจะละได้ แต่ว่าเพราะกิเลสไม่ใช่เป็นเนื้อแท้ของจิต แต่ว่าเป็นเครื่องที่จรเข้ามา จรเข้ามาทำให้เศร้าหมอง จึงเรียกว่าอุปกิเลส
อุปแปลว่า เข้ามาหรือเข้าไป กิเลสก็เศร้าหมองคือสิ่งที่เข้ามาทำให้เศร้าหมอง หรือเข้าไปทำให้เศร้าหมอง ก็ทำจิตนี้เองให้เศร้าหมอง เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะชำระได้ จึงได้มีแสดงว่า จิตนี้หลุดพ้นแล้วจากเครื่องที่จรเข้ามาทำให้เศร้าหมอง ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นจึงสามารถที่จะชำระจิตใจให้หลุดพ้นจากกิเลสบรรลุถึงนิพพานได้ ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ว่าจะทำได้ยากหรือง่าย จะบรรลุได้เร็วหรือช้าอย่างไรนั้นก็สุด แต่การปฏิบัติ
เมื่อการปฏิบัตินั้นเป็นการปฏิบัติดี เป็นการปฏิบัติตรง เป็นการปฏิบัติถูก เป็นการปฏิบัติชอบ ตามหลักสังฆคุณทั้งสี่ว่า “สุปฏิปนฺโน ญายปฏิปนฺโน สามีจิปฏิปนฺโน” แล้ว การปฏิบัติที่ดีที่ตรง ที่ถูกที่ชอบนี้ ก็จะนำไปให้บรรลุถึงได้เร็วกว่าการปฏิบัติที่ตรงกันข้าม แต่ว่าการปฏิบัตินั้นก็พึงเป็นไปโดยลำดับ ไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งรัดด้วยตัณหาอันเป็นความดิ้นรนทะยานยาก ถ้าเป็นการปฏิบัติด้วยตัณหาแล้ว ตัณหานี้ก็เป็นเครื่องกั้นอีกไม่ให้บรรลุถึงได้
เหมือนอย่างท่านพระอานนท์เถระที่ มีแสดงไว้ว่า แรกเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานนั้น ท่านยังเป็นพระเสขบุคคลที่ท่านแสดงว่าเป็นพระโสดาบัน ยังมิได้เป็นพระอรหันต์ แต่ว่าพระเถระที่พระมหากัสสปได้เลือกทำปฐมสังคายนานั้น องค์อื่นๆ ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งนั้น แต่ท่านเลือกท่านพระอานนท์เข้าร่วมด้วย ก็เพราะเป็นผู้ทรงพระธรรมอันจะขาดเสียมิได้
ก่อนที่จะถึงวันทำสังคายนาครั้งแรก ท่านพระมหากัสสปจึงได้เตือนพระอานนท์ให้มีความไม่ประมาท กระทำความเพียร ท่านพระอานนท์จึงได้กระทำความเพียรเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังไม่ได้ไม่ถึง คราวนี้ท่านจึงปรารภว่าจะพัก ก็เริ่มเอนกายลงที่จะพัก ในประวัติแสดงว่าท่านได้บรรลุอรหัตตมรรคอรหัตตผลในอิริยาบถที่กำลังเอนกายนั้น อันเรียกว่าอยู่ในระหว่างอิริยาบถทั้งสี่ ไม่ใช่นอน ไม่ใช่นั่ง ไม่ใช่ยืน ไม่ใช่เดิน ผู้ปฏิบัติธรรมได้พิจารณาเห็นว่า ก็เพราะในระหว่างที่ท่านเอนกายลงนั้น ท่านปล่อยวางใจ และธรรม ปฏิบัติของท่านถึงขั้นแล้ว ในขณะที่ท่านเร่งความเพียร ก็แสดงว่ายังประกอบด้วย ตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยากตัณหานี้เองจึงยังกั้นเอาไว้ ยังไม่ให้บรรลุ แต่ครั้นวางใจลงว่าจะพัก จึงบรรลุขณะที่ปล่อยวางนั้นเองดั่งนี้
เพราะฉะนั้น แม้จะมีคำแสดงว่า “ให้อาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาเสีย” แต่ก็จะต้องละตัณหาจึงจะบรรลุได้
ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติไปโดยลำดับ และเมื่อได้บ่ายหน้าไปสู่นิพพาน แม้จะยังห่างนิพพานเพียงใดก็ตาม ก็ชื่อว่าได้บ่ายหน้าไปถูกทางแล้ว การเดินไปทีละก้าวก็ชื่อว่าได้เป็นการปฏิบัติใกล้นิพพานเข้าไปทุกที แต่ว่าถ้าบ่ายหน้าไปคนละทางกับนิพพาน การปฏิบัติก็ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติไม่ตรงต่อทางนิพพาน ก็จะห่างนิพพานไปทุกทีเช่นเดียวกัน
และทุกๆ คนผู้ปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา แม้จะยังไม่ประสงค์นิพพานอันเป็นที่สุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะรีบบรรลุนิพพานเสีย เพราะว่าอันกิเลสที่มีอยู่ อันเป็นส่วนอาสวอนุสัย นอนจมหมักหมม อยู่ในจิตสันดานของคนทั้งปวงนั้น กล่าวได้ว่ามีอยู่มากมายนักหนา จึงได้เรียกว่าปุถุชนะ หรือปุถุชน คือคนที่มีกิเลสหนาแน่น ถ้าหากว่าจะเปรียบเทียบก็เหมือนอย่างกองใหญ่โตเป็นภูเขาเลากา
การปฏิบัติธรรมแต่ละครั้งแม้จะปฏิบัติในระดับที่เรียกว่าเป็นธรรมขั้นสูง สมถะ วิปัสสนา ก็คล้ายๆ กับว่าเอาผ้าไปปัดภูเขานั้นครั้งหนึ่งๆ จะทำให้ภูเขาหินนั้นกร่อนลงไปได้สักเพียงเท่าใด จะปัดสักกี่ทีภูเขานั้นจะหมดไป สิ้นไปจนถึงเรียบราบเสมอพื้นแผ่นดิน เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงไม่ต้องกลัวว่ากิเลสจะหมด แต่ว่าควรจะกลัวกิเลสจะเพิ่มขึ้นกิเลสจะมากขึ้นมากกว่า และทุกคนก็ควรจะปฏิบัติมุ่งนิพพาน ดังคติโบราณที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า นิพพานปัจจโย โหตุ
เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็ชื่อว่า ได้ปฏิบัติบ่ายหน้าไปสู่นิพพาน เป็นการหันหน้าไปถูกทิศทาง เมื่อหันหน้าไปถูกทิศทางแล้ว แม้จะอยู่ห่างไกลเท่าใด การที่ก้าวเดินไปทีละก้าว ก็ชื่อว่าใกล้นิพพานดังกล่าวมาข้างต้นนั้น นึกดูถึงว่าการเดินทางเช่นว่าจะมาวัดนี้ ก็จะต้องบ่ายหน้ามาสู่วัดนี้ตั้งแต่ออกจากบ้านจึงจะถึงวัดนี้ได้ จึงจะมาประชุมกันอยู่ในที่นี้ได้ ถ้าหากว่าบ่ายหน้า ไปเสียทางอื่นแล้ว ก็จะมาถึงวัดนี้ มาประชุมในที่นี้ไม่ได้ ใครที่อยู่ใกล้ก็จะมาถึงเร็วกว่า ใครที่อยู่ไกลก็จะถึงช้ากว่า แต่ว่าแม้อยู่ใกล้ถ้าไม่มาหรือบ่ายหน้าไปเสียทางอื่น ก็ย่อมมาไม่ถึงอยู่นั้นเอง แม้จะอยู่ไกลเท่าไร อยู่เมืองนอกเมืองนาห่างไกลกันเท่าไร เมื่อจะมาก็ต้องบ่ายหน้ามาถูกทิศทางแล้ว จึงจะมาถึงได้ และก็ต้องถึงได้ในที่สุด
ฉะนั้น การตั้งความปรารถนาเพื่อบรรลุนิพพาน ปฏิบัติธรรมของพระพุทธเจ้าจึงเป็นการตั้งความปรารถนาที่ถูก แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะรีบบรรลุนิพพาน
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 138 มิถุนายน 2555 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)