ความเศร้าโศกเสียใจเป็นความรู้สึกที่ไม่มีใครปรารถนา จะให้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดกับตัวคุณ ลองหาเวลาสนทนา กับความรู้สึกนี้ดูสักนิดดีไหมครับ ลองมาเผชิญหน้ากับความรู้สึกที่คุณไม่ชอบใจ และไม่อยากให้มันเกิดขึ้น
ก่อนอื่น เราก็คงจะต้องยอมรับก่อนว่า ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคนครับ
มีผู้คนมากมายที่กำลังทุกข์ทรมานกับความรู้สึกเช่นนี้ทุกเวลา ทุกนาที รวมทั้งตัวเรา ณ ขณะนี้ เพราะนี่เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตครับ
ความเศร้าเสียใจ เป็นอารมณ์ที่เตือนให้เรารู้ว่า เราได้สูญเสียอะไรบางอย่างไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น การสูญเสียคนรัก หรือเสียสิ่งที่เรารัก
ความสูญเสียในลักษณะนี้ ถ้าเราสามารถทำใจยอมรับได้และให้เวลาเป็นเครื่องเยียวยา ความเศร้าเสียใจก็จะค่อยๆจางหายคลี่คลายไป จนในที่สุด ใจของเราก็จะกลับมา แข็งแรงและแจ่มใสได้อีกครั้ง
แต่จะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำใจนั้น อันนี้ก็คงขึ้นอยู่กับคุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เราสูญเสียไป
ในบางครั้ง เราอาจรู้สึกเศร้าขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะสิ่งที่สูญเสียอาจเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น การมองตัวเองในแง่ลบ การตำหนิต่อว่าตนเอง หรือเสียความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อคนรอบข้าง จนสูญเสียความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อกัน
ในบางครั้ง เราอาจมีความรู้สึกเศร้าสลดใจ เมื่อมองเห็น หรือรับรู้ด้านมืดของมนุษย์ เช่น เห็นการทำร้ายและเข่นฆ่ากันอย่างโหดเหี้ยม เห็นความทุกข์ยากที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ทั้งที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติอันยากจะควบคุม หรือที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง
แต่ไม่ว่าความเศร้าเสียใจจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ก็ย่อมจะบั่นทอนร่างกายและจิตใจไปเรื่อยๆ
การดูแลจิตใจและร่างกายในยามนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งครับ
ขั้นแรก...
เราคงจะต้องยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยไม่พยายามหลบหนีไปจากมัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำตัวให้ยุ่งเพื่อให้ลืม หรือหันไปดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด
ตรงกันข้ามเราควรจัดเวลาให้มีโอกาสอยู่กับตัวเอง ถามกับตัวเองว่า ความเศร้าใจ กำลังบอกอะไรกับเรา
เรากำลังสูญเสียอะไรไป และสิ่งที่สูญเสียไปนั้น มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และนับจากนี้ไป อะไรคือจุดหมายในชีวิตของเรา
ธรรมชาติของอารมณ์ความ รู้สึกทุกชนิดรวมถึงอารมณ์เศร้า ล้วนแล้วแต่มีลักษณะร่วมกันนั่นคือ เมื่อเกิดขึ้นได้สักระยะ มันก็จะผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่เราชอบ หรืออารมณ์ที่เราชัง
แต่การที่เรายังรู้สึกเศร้า เสียใจ นานกว่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะใจเรายังคงคิดวนเวียนถึงสิ่งที่สูญเสียไป หรือไม่ก็อาจมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้นเร้า ให้เราคิดถึงสิ่งที่ทำให้เศร้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แม้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะผ่านไปนานแสนนานแล้วก็ตาม
ถ้าคุณไม่อยากทุกข์จากความเศร้าโศกนี้อีกต่อไป ไม่อยากเก็บมันไว้ทรมานใจเหมือนที่ผ่านมา ก็ควรยอมรับต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น อย่างที่มันเป็น
ดูแลให้เหมือนกับว่า มีทารกน้อยคนหนึ่ง กำลังร้องไห้อยู่ภายในจิตใจของเรา เราจะทำอย่างไรให้เด็กน้อยนี้หยุดร้องไห้ แน่นอนว่าเราก็คงจะปลอบประโลม โอบอุ้มเด็กนั้น ด้วยความอ่อนโยน ทะนุถนอม
ฉันใดก็ฉันนั้นครับ....
เราคิดว่าควรจะดูแลเด็กน้อยด้วยความอ่อนโยนอย่างไร เราก็ควรปฏิบัติกับอารมณ์ในจิตใจของเราเช่นนั้น
เมื่อคุณเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ดีพอควรแล้ว
ขั้นต่อไป คือ จัดการกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณมีทางเลือกหลายทางทีเดียวล่ะครับ
หากสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เป็นบุคคลหรือของที่คุณรัก
คุณมีทางเลือกอย่างน้อยสี่ทางครับ
หนึ่ง พยายามหาวิธีนำสิ่งที่สูญเสียนั้นกลับคืนมา
สอง ทำใจยอมรับ และเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีสิ่งนั้นหรือคนคนนั้นอีกต่อไป
สาม หาสิ่งทดแทนที่จะช่วยเติมเต็มความรู้สึกที่คุณสูญเสียไป
สี่ อยู่กับความรู้สึกสูญเสียเศร้าโศกต่อไปเท่าที่คุณต้องการ
แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกทางใด... ก็อย่าลืมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ด้วยนะครับ เพราะนี่จะเป็นโอกาสดีที่จะทำให้คุณได้เข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
แต่หากสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ถ้าคุณสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ก็คงจะต้องค่อยๆ ค้นหาและนำความรู้สึกนั้นกลับคืนมาอีกครั้ง
ด้วยการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตนเอง ค่อยๆ ก้าวเดิน สะสมความสำเร็จทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งความเชื่อมั่น กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
ความรู้สึกเศร้าเสียใจ จึงเป็นเพียงสภาวะทางใจ ที่สะท้อนความสูญเสียที่เกิดขึ้น เมื่อใดที่เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมา ก็ควรหันกลับมาพิจารณาตัวเอง ทบทวนถึงคุณค่าของสิ่งที่เสียไป และตัดสินใจว่าคุณต้องการทำอะไรกับความรู้สึกนี้ คุณต้องการทำอะไรกับความสูญเสียนี้ ถ้าทำได้ตามที่กล่าวมา... ความเศร้าเสียใจก็จะกลายเป็นบทเรียนชีวิต ที่ช่วยให้คุณเติบโตขึ้น
จนวันหนึ่งในอนาคต เมื่อมองย้อนกลับมา คุณอาจรู้สึกพร้อมที่จะขอบคุณต่อเหตุการณ์ร้ายนั้น ที่มันได้ช่วยยกระดับจิตใจของคุณ ให้มีความเข้าใจในชีวิตมากยิ่งขึ้น ให้มีจิตใจที่ละเอียดประณีตมากยิ่งขึ้น ขอให้คุณมีกำลังใจที่จะเรียนรู้ต่อไปนะครับ
(เรียบเรียงจาก บทสื่อเสียงชุด “ถามชีวิต”
www.jitdee.com)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.)
ก่อนอื่น เราก็คงจะต้องยอมรับก่อนว่า ความเศร้าโศกเสียใจ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคนครับ
มีผู้คนมากมายที่กำลังทุกข์ทรมานกับความรู้สึกเช่นนี้ทุกเวลา ทุกนาที รวมทั้งตัวเรา ณ ขณะนี้ เพราะนี่เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตครับ
ความเศร้าเสียใจ เป็นอารมณ์ที่เตือนให้เรารู้ว่า เราได้สูญเสียอะไรบางอย่างไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มองเห็นได้ชัดเจน เช่น การสูญเสียคนรัก หรือเสียสิ่งที่เรารัก
ความสูญเสียในลักษณะนี้ ถ้าเราสามารถทำใจยอมรับได้และให้เวลาเป็นเครื่องเยียวยา ความเศร้าเสียใจก็จะค่อยๆจางหายคลี่คลายไป จนในที่สุด ใจของเราก็จะกลับมา แข็งแรงและแจ่มใสได้อีกครั้ง
แต่จะใช้เวลานานแค่ไหนที่จะทำใจนั้น อันนี้ก็คงขึ้นอยู่กับคุณค่าและความสำคัญของสิ่งที่เราสูญเสียไป
ในบางครั้ง เราอาจรู้สึกเศร้าขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะสิ่งที่สูญเสียอาจเป็นเรื่องนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น การมองตัวเองในแง่ลบ การตำหนิต่อว่าตนเอง หรือเสียความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อคนรอบข้าง จนสูญเสียความเชื่อมั่นและความไว้วางใจที่มีต่อกัน
ในบางครั้ง เราอาจมีความรู้สึกเศร้าสลดใจ เมื่อมองเห็น หรือรับรู้ด้านมืดของมนุษย์ เช่น เห็นการทำร้ายและเข่นฆ่ากันอย่างโหดเหี้ยม เห็นความทุกข์ยากที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ทั้งที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติอันยากจะควบคุม หรือที่เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ด้วยกันเอง
แต่ไม่ว่าความเศร้าเสียใจจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม หากเกิดขึ้นเป็นเวลานาน ก็ย่อมจะบั่นทอนร่างกายและจิตใจไปเรื่อยๆ
การดูแลจิตใจและร่างกายในยามนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเรียนรู้เป็นอย่างยิ่งครับ
ขั้นแรก...
เราคงจะต้องยอมรับกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น โดยไม่พยายามหลบหนีไปจากมัน ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทำตัวให้ยุ่งเพื่อให้ลืม หรือหันไปดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด
ตรงกันข้ามเราควรจัดเวลาให้มีโอกาสอยู่กับตัวเอง ถามกับตัวเองว่า ความเศร้าใจ กำลังบอกอะไรกับเรา
เรากำลังสูญเสียอะไรไป และสิ่งที่สูญเสียไปนั้น มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน และนับจากนี้ไป อะไรคือจุดหมายในชีวิตของเรา
ธรรมชาติของอารมณ์ความ รู้สึกทุกชนิดรวมถึงอารมณ์เศร้า ล้วนแล้วแต่มีลักษณะร่วมกันนั่นคือ เมื่อเกิดขึ้นได้สักระยะ มันก็จะผ่านไป ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่เราชอบ หรืออารมณ์ที่เราชัง
แต่การที่เรายังรู้สึกเศร้า เสียใจ นานกว่าที่ควร อาจจะเป็นเพราะใจเรายังคงคิดวนเวียนถึงสิ่งที่สูญเสียไป หรือไม่ก็อาจมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้นเร้า ให้เราคิดถึงสิ่งที่ทำให้เศร้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แม้ว่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจะผ่านไปนานแสนนานแล้วก็ตาม
ถ้าคุณไม่อยากทุกข์จากความเศร้าโศกนี้อีกต่อไป ไม่อยากเก็บมันไว้ทรมานใจเหมือนที่ผ่านมา ก็ควรยอมรับต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น อย่างที่มันเป็น
ดูแลให้เหมือนกับว่า มีทารกน้อยคนหนึ่ง กำลังร้องไห้อยู่ภายในจิตใจของเรา เราจะทำอย่างไรให้เด็กน้อยนี้หยุดร้องไห้ แน่นอนว่าเราก็คงจะปลอบประโลม โอบอุ้มเด็กนั้น ด้วยความอ่อนโยน ทะนุถนอม
ฉันใดก็ฉันนั้นครับ....
เราคิดว่าควรจะดูแลเด็กน้อยด้วยความอ่อนโยนอย่างไร เราก็ควรปฏิบัติกับอารมณ์ในจิตใจของเราเช่นนั้น
เมื่อคุณเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ดีพอควรแล้ว
ขั้นต่อไป คือ จัดการกับความสูญเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งคุณมีทางเลือกหลายทางทีเดียวล่ะครับ
หากสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เป็นบุคคลหรือของที่คุณรัก
คุณมีทางเลือกอย่างน้อยสี่ทางครับ
หนึ่ง พยายามหาวิธีนำสิ่งที่สูญเสียนั้นกลับคืนมา
สอง ทำใจยอมรับ และเรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีสิ่งนั้นหรือคนคนนั้นอีกต่อไป
สาม หาสิ่งทดแทนที่จะช่วยเติมเต็มความรู้สึกที่คุณสูญเสียไป
สี่ อยู่กับความรู้สึกสูญเสียเศร้าโศกต่อไปเท่าที่คุณต้องการ
แต่ไม่ว่าคุณจะเลือกทางใด... ก็อย่าลืมที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้ด้วยนะครับ เพราะนี่จะเป็นโอกาสดีที่จะทำให้คุณได้เข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
แต่หากสิ่งที่สูญเสียไปนั้น เป็นนามธรรมที่จับต้องไม่ได้ เช่น ถ้าคุณสูญเสียความภาคภูมิใจในตนเอง ก็คงจะต้องค่อยๆ ค้นหาและนำความรู้สึกนั้นกลับคืนมาอีกครั้ง
ด้วยการฟื้นฟูความเชื่อมั่นในตนเอง ค่อยๆ ก้าวเดิน สะสมความสำเร็จทีละเล็กทีละน้อย จนกระทั่งความเชื่อมั่น กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง
ความรู้สึกเศร้าเสียใจ จึงเป็นเพียงสภาวะทางใจ ที่สะท้อนความสูญเสียที่เกิดขึ้น เมื่อใดที่เกิดความรู้สึกนี้ขึ้นมา ก็ควรหันกลับมาพิจารณาตัวเอง ทบทวนถึงคุณค่าของสิ่งที่เสียไป และตัดสินใจว่าคุณต้องการทำอะไรกับความรู้สึกนี้ คุณต้องการทำอะไรกับความสูญเสียนี้ ถ้าทำได้ตามที่กล่าวมา... ความเศร้าเสียใจก็จะกลายเป็นบทเรียนชีวิต ที่ช่วยให้คุณเติบโตขึ้น
จนวันหนึ่งในอนาคต เมื่อมองย้อนกลับมา คุณอาจรู้สึกพร้อมที่จะขอบคุณต่อเหตุการณ์ร้ายนั้น ที่มันได้ช่วยยกระดับจิตใจของคุณ ให้มีความเข้าใจในชีวิตมากยิ่งขึ้น ให้มีจิตใจที่ละเอียดประณีตมากยิ่งขึ้น ขอให้คุณมีกำลังใจที่จะเรียนรู้ต่อไปนะครับ
(เรียบเรียงจาก บทสื่อเสียงชุด “ถามชีวิต”
www.jitdee.com)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 129 สิงหาคม 2554 โดย นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แผนงานสร้างเสริมสุขภาพจิต สสส.)