กำจัดอาลัย
ในเบื้องต้นก็ขอเชิญชวนให้ทุกๆ ท่านทำสติระลึกถึงอุปสมะ คือ ธรรมเป็นที่สงบระงับหรือความสงบระงับ อันเรียกว่า อุปสมานุสสติ ได้แสดงเรื่องอุปสมะ หรือสันตินี้มาโดยลำดับ คือ อุปสมะหรือสันติด้วยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ ในข้อที่เป็นขั้นวิมุตตินี้ก็ได้แสดงถึงลักษณะว่า มีลักษณะเป็นที่ถ่ายถอนความเมา เป็นที่กำจัดความกระหาย ในวันนี้จะได้แสดงถึงลักษณะตามพระบาลีว่า
“อาลยสมุคฺฆาโต เป็นที่ทำลายกำจัดอาลัย”
แต่ว่าในเบื้องต้นก็ขอให้ระลึกถึงสถานที่อันสงบสงัด ถึงความสงบสงัดซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ ซึ่งทุกๆ คนได้เคยประสบผ่าน เช่น ในป่าหรือในเรือนว่างหรือในที่ที่เคยไม่สงบ แต่เมื่อสิ่งที่ไม่สงบหายไปแล้ว ก็กลับเป็นความสงบอันมีอยู่ในที่ทั้งปวง ทั้งในที่ใกล้และทั้งในที่ไกล เมื่อระลึกถึงที่อันสงบระงับหรือที่อันสงบสงัดและความสงบสงัดดังกล่าว ก็ย่อมจะพบความสงบใจไม่วุ่นวายเดือดร้อนใจ นี้เป็นความสงบระงับหรือเป็นความสงบสงัดทั่วๆ ไป
แต่เมื่อมาปฏิบัติให้ถึงความสงบสงัด ด้วยศีลอันเป็นความสงบเวรสงบภัยทั้งปวง ด้วยสมาธิอันเป็นความสงบจากใจอารมณ์และกิเลส อันเป็นเครื่องทำใจให้กลุ้มกลัดเดือดร้อนทั้งหลาย และด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องทำให้เกิดความสงบระงับจากตัณหาอุปาทานทั้งหลาย ย่อมจะได้พบความสงบอันประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ
และผลของความปฏิบัติในศีลสมาธิปัญญาอันเป็นความสงบดังกล่าวนั้น ก็กล่าวได้ว่าเป็นวิมุตติ ความหลุดพ้นตามขั้นของการปฏิบัติ คือ เป็นวิมุตติในขั้นศีลก็เป็นความพ้นจากภัยเวร เป็นวิมุตติในขั้นสมาธิก็เป็นความพ้นจากอารมณ์และกิเลสที่มากลุ้มกลัดจิตใจ และเป็นวิมุตติคือความพ้นขั้นปัญญาก็เป็นความสงบจากตัณหาอุปาทาน ซึ่งทำให้พ้นจากความทุกข์อันเกิดขึ้นในจิตใจได้มากยิ่งขึ้น
และศีลสมาธิปัญญาที่ปฏิบัติมาโดยลำดับ อันให้ผลเป็นวิมุตติความหลุดพ้นตามขึ้นที่กล่าวมานี้ ประมวลกันเข้าก็มีลักษณะเป็นเครื่องถ่ายถอนความเมา เป็นเครื่องกำจัดความกระหาย เป็นเครื่องทำลาย หรือว่าถอนอาลัย
อาลัยของจิต
คำว่า “อาลัย” หมายถึงที่อาศัย มีใช้ในภาษาไทย เช่น วิทยาลัย ประกอบขึ้นด้วยคำว่า “วิทยา+อาลัย” รวมกันเป็นวิทยาลัย ก็แปลว่าที่อาศัยแห่งวิทยา
อาลัยจึงหมายถึงที่อาศัย ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน อาลัยที่เป็นภายนอกนั้นก็เช่น บ้านเรือนอันเป็นที่อาศัยของร่างกายของบุคคลก็เป็นอาลัยแต่ละอย่าง น้ำเป็นที่อาศัยของปลาก็เรียกว่าเป็นอาลัยอย่างหนึ่ง ส่วนอาลัยที่เป็นภายในนั้นก็ได้แก่อารมณ์และกิเลสอันบังเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากอารมณ์ ก็หมายถึงอารมณ์และกิเลสเป็นที่อาศัยของจิตใจอันนี้ เมื่อจิตใจอันนี้อาศัยอยู่เร้นในอารมณ์และกิเลสอันใด อารมณ์และกิเลสอันนั้นก็ชื่อว่าเป็นอาลัยของจิต
ในข้อนี้แม้ภาษาไทยเราก็ยังนำเอามาพูดเช่นว่า มีอาลัยอยู่ในบุคคลนั้นบุคคลนี้ อยู่ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็คือมีความหมายว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นที่รักผูกพันอยู่ในจิตใจ จิตใจจึงอาศัยอยู่จึงติดอยู่เร้น อยู่ในบุคคลนั้นในสิ่งอันนั้น และเมื่อเป็นดังนี้จึงชื่อว่ามีอาลัย และหากว่าต้องพลัดพรากจากกันก็ย่อมมีความเศร้าโศก มีความทุกข์ระทมต่างๆ ก็เพราะมีอาลัยดังกล่าว
บุคคลสามัญทั่วไปย่อมมีอาลัยดังกล่าวนี้อยู่ในสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย และก็ย่อมมีความทุกข์อยู่เพราะความอาลัยดังกล่าวนี้มากหรือน้อย บุคคลหรือ สิ่งอันจะเป็นเหตุให้เกิดความอาลัยนั้นโดยตรง ก็เป็นบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รักนั้นเอง หรือว่าเป็นบุคคลหรือสิ่งที่ทำให้บังเกิดความสุข เช่นว่าอยู่ในที่ใดมีความสุขก็ย่อมจะติดในที่นั้น อาลัยอยู่ในที่นั้นเพราะเหตุแห่งความสุข ดังนี้ก็เป็นเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความอาลัย ก็รวมความว่า ความรักความชอบอันเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ได้รับความสุขโสมนัส หรือเพราะเหตุอื่นอันใดอันหนึ่งก็ตาม ก็เป็นเหตุให้เกิดอาลัยได้ทั้งนั้น
อาลัยดังกล่าวมานี้ เมื่อรวมเข้าแล้วก็ไม่พ้นไปจากกามคุณทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจทั้งหลายดังกล่าวในข้อที่ว่าด้วยกำจัดความกระหายนั้นเอง เพราะความกระหายนั้นก็หมายถึงกระหายในรูปเสียง เป็นต้น อันเป็นที่รักใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ แต่ในที่นี้มุ่งลักษณะเป็นอาลัย คือเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งแสดงถึงความติดความผูกพัน เพราะว่าเป็นที่อยู่อาศัยจึงเรียกว่าอยู่ด้วยกัน เหมือนอย่างว่าอาศัยอยู่ในบ้านก็คือว่าอยู่ด้วยกันในบ้าน อันแสดงถึงความผูกพันหรือความติดพันอย่างใกล้ชิด ลักษณะที่เรียกว่าเป็นอาลัยก็ย่อมเป็นเช่นนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
ในเบื้องต้นก็ขอเชิญชวนให้ทุกๆ ท่านทำสติระลึกถึงอุปสมะ คือ ธรรมเป็นที่สงบระงับหรือความสงบระงับ อันเรียกว่า อุปสมานุสสติ ได้แสดงเรื่องอุปสมะ หรือสันตินี้มาโดยลำดับ คือ อุปสมะหรือสันติด้วยอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ ในข้อที่เป็นขั้นวิมุตตินี้ก็ได้แสดงถึงลักษณะว่า มีลักษณะเป็นที่ถ่ายถอนความเมา เป็นที่กำจัดความกระหาย ในวันนี้จะได้แสดงถึงลักษณะตามพระบาลีว่า
“อาลยสมุคฺฆาโต เป็นที่ทำลายกำจัดอาลัย”
แต่ว่าในเบื้องต้นก็ขอให้ระลึกถึงสถานที่อันสงบสงัด ถึงความสงบสงัดซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ ซึ่งทุกๆ คนได้เคยประสบผ่าน เช่น ในป่าหรือในเรือนว่างหรือในที่ที่เคยไม่สงบ แต่เมื่อสิ่งที่ไม่สงบหายไปแล้ว ก็กลับเป็นความสงบอันมีอยู่ในที่ทั้งปวง ทั้งในที่ใกล้และทั้งในที่ไกล เมื่อระลึกถึงที่อันสงบระงับหรือที่อันสงบสงัดและความสงบสงัดดังกล่าว ก็ย่อมจะพบความสงบใจไม่วุ่นวายเดือดร้อนใจ นี้เป็นความสงบระงับหรือเป็นความสงบสงัดทั่วๆ ไป
แต่เมื่อมาปฏิบัติให้ถึงความสงบสงัด ด้วยศีลอันเป็นความสงบเวรสงบภัยทั้งปวง ด้วยสมาธิอันเป็นความสงบจากใจอารมณ์และกิเลส อันเป็นเครื่องทำใจให้กลุ้มกลัดเดือดร้อนทั้งหลาย และด้วยปัญญา อันเป็นเครื่องทำให้เกิดความสงบระงับจากตัณหาอุปาทานทั้งหลาย ย่อมจะได้พบความสงบอันประณีตยิ่งขึ้นไปโดยลำดับ
และผลของความปฏิบัติในศีลสมาธิปัญญาอันเป็นความสงบดังกล่าวนั้น ก็กล่าวได้ว่าเป็นวิมุตติ ความหลุดพ้นตามขั้นของการปฏิบัติ คือ เป็นวิมุตติในขั้นศีลก็เป็นความพ้นจากภัยเวร เป็นวิมุตติในขั้นสมาธิก็เป็นความพ้นจากอารมณ์และกิเลสที่มากลุ้มกลัดจิตใจ และเป็นวิมุตติคือความพ้นขั้นปัญญาก็เป็นความสงบจากตัณหาอุปาทาน ซึ่งทำให้พ้นจากความทุกข์อันเกิดขึ้นในจิตใจได้มากยิ่งขึ้น
และศีลสมาธิปัญญาที่ปฏิบัติมาโดยลำดับ อันให้ผลเป็นวิมุตติความหลุดพ้นตามขึ้นที่กล่าวมานี้ ประมวลกันเข้าก็มีลักษณะเป็นเครื่องถ่ายถอนความเมา เป็นเครื่องกำจัดความกระหาย เป็นเครื่องทำลาย หรือว่าถอนอาลัย
อาลัยของจิต
คำว่า “อาลัย” หมายถึงที่อาศัย มีใช้ในภาษาไทย เช่น วิทยาลัย ประกอบขึ้นด้วยคำว่า “วิทยา+อาลัย” รวมกันเป็นวิทยาลัย ก็แปลว่าที่อาศัยแห่งวิทยา
อาลัยจึงหมายถึงที่อาศัย ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน อาลัยที่เป็นภายนอกนั้นก็เช่น บ้านเรือนอันเป็นที่อาศัยของร่างกายของบุคคลก็เป็นอาลัยแต่ละอย่าง น้ำเป็นที่อาศัยของปลาก็เรียกว่าเป็นอาลัยอย่างหนึ่ง ส่วนอาลัยที่เป็นภายในนั้นก็ได้แก่อารมณ์และกิเลสอันบังเกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากอารมณ์ ก็หมายถึงอารมณ์และกิเลสเป็นที่อาศัยของจิตใจอันนี้ เมื่อจิตใจอันนี้อาศัยอยู่เร้นในอารมณ์และกิเลสอันใด อารมณ์และกิเลสอันนั้นก็ชื่อว่าเป็นอาลัยของจิต
ในข้อนี้แม้ภาษาไทยเราก็ยังนำเอามาพูดเช่นว่า มีอาลัยอยู่ในบุคคลนั้นบุคคลนี้ อยู่ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็คือมีความหมายว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้หรือสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นที่รักผูกพันอยู่ในจิตใจ จิตใจจึงอาศัยอยู่จึงติดอยู่เร้น อยู่ในบุคคลนั้นในสิ่งอันนั้น และเมื่อเป็นดังนี้จึงชื่อว่ามีอาลัย และหากว่าต้องพลัดพรากจากกันก็ย่อมมีความเศร้าโศก มีความทุกข์ระทมต่างๆ ก็เพราะมีอาลัยดังกล่าว
บุคคลสามัญทั่วไปย่อมมีอาลัยดังกล่าวนี้อยู่ในสิ่งอันเป็นที่รักทั้งหลาย และก็ย่อมมีความทุกข์อยู่เพราะความอาลัยดังกล่าวนี้มากหรือน้อย บุคคลหรือ สิ่งอันจะเป็นเหตุให้เกิดความอาลัยนั้นโดยตรง ก็เป็นบุคคลหรือสิ่งอันเป็นที่รักนั้นเอง หรือว่าเป็นบุคคลหรือสิ่งที่ทำให้บังเกิดความสุข เช่นว่าอยู่ในที่ใดมีความสุขก็ย่อมจะติดในที่นั้น อาลัยอยู่ในที่นั้นเพราะเหตุแห่งความสุข ดังนี้ก็เป็นเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกิดความอาลัย ก็รวมความว่า ความรักความชอบอันเกิดขึ้นเพราะเหตุที่ได้รับความสุขโสมนัส หรือเพราะเหตุอื่นอันใดอันหนึ่งก็ตาม ก็เป็นเหตุให้เกิดอาลัยได้ทั้งนั้น
อาลัยดังกล่าวมานี้ เมื่อรวมเข้าแล้วก็ไม่พ้นไปจากกามคุณทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจทั้งหลายดังกล่าวในข้อที่ว่าด้วยกำจัดความกระหายนั้นเอง เพราะความกระหายนั้นก็หมายถึงกระหายในรูปเสียง เป็นต้น อันเป็นที่รักใคร่น่าปรารถนาน่าพอใจ แต่ในที่นี้มุ่งลักษณะเป็นอาลัย คือเป็นที่อยู่อาศัยซึ่งแสดงถึงความติดความผูกพัน เพราะว่าเป็นที่อยู่อาศัยจึงเรียกว่าอยู่ด้วยกัน เหมือนอย่างว่าอาศัยอยู่ในบ้านก็คือว่าอยู่ด้วยกันในบ้าน อันแสดงถึงความผูกพันหรือความติดพันอย่างใกล้ชิด ลักษณะที่เรียกว่าเป็นอาลัยก็ย่อมเป็นเช่นนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 127 มิถุนายน 2554 โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)