สติควบคุมจิต นั่นคือรวบรวมจิตให้อยู่ในอำนาจของสติทุกอิริยาบถ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวไปมา แม้จะคิด จะพูด จะทำก็ให้มีสติปกครองจิตไว้ให้มันรู้เท่าต่อการกระทำของเราทุกอย่าง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายได้รับสัมผัส จิตได้รับอารมณ์ ต้องให้มีสติรู้เท่าทันตลอดเวลา เมื่อผัสสะกระทบให้มีสติรู้เท่าทันอย่าให้มันซึมลงถึงจิตได้ ถ้าเผลอสติเมื่อไรจะรู้สึกฟุ้งซ่านรำคาญหงุดหงิดส่งส่ายไปตามเรื่องที่มากระทบ เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง
โดยส่วนมากแล้วจิตของเรามันเอนเอียงไหลไปทางอกุศล เกิดเดือดร้อนเศร้าหมองขุ่นมัว บางทีก็หลงใหล เพลิดเพลินไปตามสิ่งภายนอกอยู่เรื่อยไป จิตมีแต่ความ โลภ ความโกรธ ความหลง นาทีผ่านไป ชั่วโมงผ่านไป แล้วก็วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่งผ่านไป โดยไม่มีอะไรเป็นสาระที่ระลึกได้เลย จะระลึกอะไรมาเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ เพราะว่าจิตของเราไม่เคยฝึกอบรมให้ระลึกเช่นนั้น เคยแต่อยากได้อันนี้มากๆ เมื่อได้อันนี้แล้วแทนที่จะสบายมีพอแล้ว ก็ไม่พอ อยากได้อันอื่นอีก เลยไม่มีวันพอ ก็เลยตายก่อน ทีนี้พอถึงเวลาจะตายเราไม่ให้จิตติดข้องได้อย่างไรเล่า ในเมื่อเราไม่ได้ฝึกฝนสติอบรมจิตไว้เสียก่อนแก่ ก่อนเจ็บ ก่อนตาย แล้วจะกะเกณฑ์ให้จิตที่มันติดข้องยุ่งอยู่กับเรื่องของกิเลสตัณหาอย่างหนาแน่นวางได้อย่างไร จิตเช่นนี้ถ้าตายแล้วก็ต้องจมอยู่ในกิเลสตัณหาอย่างแน่นอน เพราะว่ามันไม่ได้อบรมในทางกุศล มีแต่ส่งจิตไปตามความอยากได้ อยากดี อยากมั่ง อยากมี เลยเพลิดเพลินไปตามความอยากอยู่เรื่อยไป ไม่มีสติจะมองเข้ามาในตัวตนของเราสักที มีแต่เดือดร้อนวุ่นวายส่งส่ายไปตามความอยากจนลืมตัว ไม่รู้ตัวว่าแก่เท่าไรแล้ว ยิ่งแก่ก็ยิ่งมีความอยากมาก แบบนี้เรียกว่า แก่ไปทางกิเลสตัณหาอย่างไม่รู้ตัวว่าแก่ ใครเล่าจะมาแก้กิเลสตัณหาให้เราได้ ถ้าเราไม่รู้ของเราเอง ใครจะมารู้ให้เรา เราต้องสำนึกเอาเอง
เมื่อเรามีความขัดข้องหมองใจ เดือดร้อน ขุ่นมัว มันติดข้องอยู่ในจิตของเราหมดทุกอย่าง เราหามาถมจิตใจของเราเองทั้งนั้น มีเงินมีทอง มีที่ดิน มีบ้าน มีของเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ เรื่องของกิเลสตัณหานี้น่ากลัวมากที่สุด มันจะพาเราตายจมอยู่ในกิเลสตัณหา มันพาเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ในกองทุกข์ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าจิตของเรามันหลงใหลอยู่ในกาม หลงยึดหลงถือเอาไว้ว่าเป็นตัวเราตัวเขากันอยู่ทั้งโลก แย่งกัน ด่าว่ากัน ถกเถียงกันยังไม่พอ จิตที่ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนโน้น เกิดมาในชาตินี้ก็มาหลงเอาของเก่า มาแย่งชิงกัน ด่าว่ากัน ฆ่าตีกันจนล้มตายมากมายเหลือหลายอยู่ในโลกอันนี้นับไม่ถ้วนเลย ฝ่ายอกุศลมันหมุนวนอยู่ในห้วงของกาม มันติดข้องผูกพันอยู่ หาวิธีแก้ได้ยาก มันเหนียวแน่นอย่างแกะได้ยากที่สุด เพราะมันเกี่ยวเนื่องอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ จิตของเราติดอยู่ในภพทั้งสามนี้แหละ จึงออกจากทุกข์ได้ยาก
ที่ว่าหาวิธีแก้ได้ยากเพราะว่าเราไม่รู้จักทุกข์อย่างจริงจัง ถ้าเราทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ได้ชนะทุกข์มาแล้ว จึงจะรู้วิธีออกจากทุกข์มาได้ หากเราไม่ทำให้มันถึงทุกข์ จะเห็นทุกข์ได้อย่างไร เพราะว่าเราไม่ทันพบทุกข์ก็ไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง ถ้าไม่ได้ต่อสู้กับทุกข์เสียก่อนแล้ว เราจะรู้วิธีออกจากทุกข์ได้อย่างไรหนอ เปรียบเหมือนเรายังเดินทางไม่ถึงที่หมาย เราจะไปรู้จักได้อย่างไร ฉะนั้นผู้อยากจะพ้นทุกข์ ต้องทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ชนะทุกข์ได้แล้ว มันจึงพ้นทุกข์ เป็นปัจจัตตัง ผู้ประพฤติปฏิบัติในอรรถในธรรมรู้เองเห็นเอง ถ้าทำแท้ทำจริง ไม่เผลอสติ มีสติรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นมานั้น มันค่อยผ่อนจากหนักเป็นเบา รู้เท่าทันดีขึ้น
ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อยทั้งทานภายนอกทานภายใน รักษาศีล คือ รักษากาย วาจา และใจให้มันเป็นปกติหรือรักษาจิตนั่นเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิด สิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเราเป็นผู้มีศีล เราไม่ควรคิดไปทางอกุศล เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ ด่าว่าเสียดสี พูดเพ้อเจ้อ พูดไม่มีเหตุผล ทางกายก็ไปฆ่าสัตว์ ลักขโมย ของคนอื่นมาเป็นของตนเป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นอกุศลผิดหลักของศีลทั้งนั้น หากว่าจิตของเรามันยังอยากจะคิดอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้อยู่แล้ว ก็แปลว่าเรายังอยากก่อกรรมก่อเวรใส่ตัวเราเองทั้งนั้น คนอื่นไม่ได้มาทำให้เราเลย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเราทำไว้เองทั้งหมด คนอื่นมาแบ่งมาปันให้เราได้เมื่อไร ต่างคนต่างทำใส่ตัวเองมาทั้งนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)
โดยส่วนมากแล้วจิตของเรามันเอนเอียงไหลไปทางอกุศล เกิดเดือดร้อนเศร้าหมองขุ่นมัว บางทีก็หลงใหล เพลิดเพลินไปตามสิ่งภายนอกอยู่เรื่อยไป จิตมีแต่ความ โลภ ความโกรธ ความหลง นาทีผ่านไป ชั่วโมงผ่านไป แล้วก็วันหนึ่ง คืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง ปีหนึ่งผ่านไป โดยไม่มีอะไรเป็นสาระที่ระลึกได้เลย จะระลึกอะไรมาเป็นที่พึ่งก็ไม่ได้ เพราะว่าจิตของเราไม่เคยฝึกอบรมให้ระลึกเช่นนั้น เคยแต่อยากได้อันนี้มากๆ เมื่อได้อันนี้แล้วแทนที่จะสบายมีพอแล้ว ก็ไม่พอ อยากได้อันอื่นอีก เลยไม่มีวันพอ ก็เลยตายก่อน ทีนี้พอถึงเวลาจะตายเราไม่ให้จิตติดข้องได้อย่างไรเล่า ในเมื่อเราไม่ได้ฝึกฝนสติอบรมจิตไว้เสียก่อนแก่ ก่อนเจ็บ ก่อนตาย แล้วจะกะเกณฑ์ให้จิตที่มันติดข้องยุ่งอยู่กับเรื่องของกิเลสตัณหาอย่างหนาแน่นวางได้อย่างไร จิตเช่นนี้ถ้าตายแล้วก็ต้องจมอยู่ในกิเลสตัณหาอย่างแน่นอน เพราะว่ามันไม่ได้อบรมในทางกุศล มีแต่ส่งจิตไปตามความอยากได้ อยากดี อยากมั่ง อยากมี เลยเพลิดเพลินไปตามความอยากอยู่เรื่อยไป ไม่มีสติจะมองเข้ามาในตัวตนของเราสักที มีแต่เดือดร้อนวุ่นวายส่งส่ายไปตามความอยากจนลืมตัว ไม่รู้ตัวว่าแก่เท่าไรแล้ว ยิ่งแก่ก็ยิ่งมีความอยากมาก แบบนี้เรียกว่า แก่ไปทางกิเลสตัณหาอย่างไม่รู้ตัวว่าแก่ ใครเล่าจะมาแก้กิเลสตัณหาให้เราได้ ถ้าเราไม่รู้ของเราเอง ใครจะมารู้ให้เรา เราต้องสำนึกเอาเอง
เมื่อเรามีความขัดข้องหมองใจ เดือดร้อน ขุ่นมัว มันติดข้องอยู่ในจิตของเราหมดทุกอย่าง เราหามาถมจิตใจของเราเองทั้งนั้น มีเงินมีทอง มีที่ดิน มีบ้าน มีของเท่าไรก็ไม่อิ่มไม่พอ เรื่องของกิเลสตัณหานี้น่ากลัวมากที่สุด มันจะพาเราตายจมอยู่ในกิเลสตัณหา มันพาเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ในกองทุกข์ทุกวันนี้ ก็เพราะว่าจิตของเรามันหลงใหลอยู่ในกาม หลงยึดหลงถือเอาไว้ว่าเป็นตัวเราตัวเขากันอยู่ทั้งโลก แย่งกัน ด่าว่ากัน ถกเถียงกันยังไม่พอ จิตที่ผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรไว้ตั้งแต่ครั้งก่อนโน้น เกิดมาในชาตินี้ก็มาหลงเอาของเก่า มาแย่งชิงกัน ด่าว่ากัน ฆ่าตีกันจนล้มตายมากมายเหลือหลายอยู่ในโลกอันนี้นับไม่ถ้วนเลย ฝ่ายอกุศลมันหมุนวนอยู่ในห้วงของกาม มันติดข้องผูกพันอยู่ หาวิธีแก้ได้ยาก มันเหนียวแน่นอย่างแกะได้ยากที่สุด เพราะมันเกี่ยวเนื่องอยู่ในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ จิตของเราติดอยู่ในภพทั้งสามนี้แหละ จึงออกจากทุกข์ได้ยาก
ที่ว่าหาวิธีแก้ได้ยากเพราะว่าเราไม่รู้จักทุกข์อย่างจริงจัง ถ้าเราทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ได้ชนะทุกข์มาแล้ว จึงจะรู้วิธีออกจากทุกข์มาได้ หากเราไม่ทำให้มันถึงทุกข์ จะเห็นทุกข์ได้อย่างไร เพราะว่าเราไม่ทันพบทุกข์ก็ไม่รู้จักทุกข์อย่างแท้จริง ถ้าไม่ได้ต่อสู้กับทุกข์เสียก่อนแล้ว เราจะรู้วิธีออกจากทุกข์ได้อย่างไรหนอ เปรียบเหมือนเรายังเดินทางไม่ถึงที่หมาย เราจะไปรู้จักได้อย่างไร ฉะนั้นผู้อยากจะพ้นทุกข์ ต้องทำให้มันถึงทุกข์ ได้ต่อสู้กับทุกข์ ชนะทุกข์ได้แล้ว มันจึงพ้นทุกข์ เป็นปัจจัตตัง ผู้ประพฤติปฏิบัติในอรรถในธรรมรู้เองเห็นเอง ถ้าทำแท้ทำจริง ไม่เผลอสติ มีสติรู้เท่าทันต่อเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้นมานั้น มันค่อยผ่อนจากหนักเป็นเบา รู้เท่าทันดีขึ้น
ขอให้มีศรัทธา ทำทานไปเรื่อยทั้งทานภายนอกทานภายใน รักษาศีล คือ รักษากาย วาจา และใจให้มันเป็นปกติหรือรักษาจิตนั่นเอง คอยมีสติปกครองจิตใจ สิ่งใดไม่ควรคิดก็ไม่คิด สิ่งใดไม่ควรพูดก็ไม่พูด สิ่งใดไม่ควรทำก็ไม่ทำ เพราะเรามีสติรู้อยู่ว่าเราเป็นผู้มีศีล เราไม่ควรคิดไปทางอกุศล เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ ด่าว่าเสียดสี พูดเพ้อเจ้อ พูดไม่มีเหตุผล ทางกายก็ไปฆ่าสัตว์ ลักขโมย ของคนอื่นมาเป็นของตนเป็นต้น ล้วนแล้วแต่เป็นอกุศลผิดหลักของศีลทั้งนั้น หากว่าจิตของเรามันยังอยากจะคิดอย่างนี้ พูดอย่างนี้ ทำอย่างนี้อยู่แล้ว ก็แปลว่าเรายังอยากก่อกรรมก่อเวรใส่ตัวเราเองทั้งนั้น คนอื่นไม่ได้มาทำให้เราเลย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอยู่นี้ล้วนแล้วแต่เป็นของเราทำไว้เองทั้งหมด คนอื่นมาแบ่งมาปันให้เราได้เมื่อไร ต่างคนต่างทำใส่ตัวเองมาทั้งนั้น
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)