เรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของคนเรานั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลิต การแลกเปลี่ยน การซื้อขาย การจ้าง ล้วนแล้วแต่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่นทั้งนั้น คนที่เกี่ยวข้องกันถ้าปราศจากพื้นฐานความสำนึกที่เป็นมิตรต่อกันหรือเป็นมิตรประเภทมิตรปฏิรูป หรือมิตรเทียมแล้ว ความเสื่อมทุกจุดก็จะเกิดขึ้น จนถึงกับประสบการล้มละลายได้ทีเดียว
เพื่อให้บุคคลสามารถจำแนกได้ว่า มิตรประเภทนี้มีลักษณะอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงมิตรปฏิรูป คือมิตรเทียมไว้ ๔ ประเภท พร้อมด้วยลักษณะที่พึงสังเกตไว้ ดังต่อไปนี้ คือ
๑. มิตรปอกลอกต้องการจะได้อย่างเดียว มีลักษณะดังนี้ คือ
๑.๑ ให้ของเพียงเล็กน้อยเพื่อต้องการได้มาก
๑.๒ ยามตนมีภัยจึงเต็มใจทำงานให้เพื่อน
๑.๓ คบเพื่อน เพราะต้องการผลประโยชน์จาก เพื่อน
๑.๔ ต้องการแต่จะได้จากเพื่อนอย่างเดียว
๒. มิตรดีแต่พูด มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
๒.๑ นำเอาเรื่องที่ผ่านมาแล้วมาพูด
๒.๒ นำเอาเรื่องที่ยังไม่มาถึงมาสนทนากัน
๒.๓ ยามสงเคราะห์เพื่อน จะสงเคราะห์ในสิ่งที่ไร้ประโยชน์
๒.๔ คราวจำเป็นจะต้องช่วยเหลือกัน จะอ้างความขัดข้องของตน
๓. มิตรหัวประจบ มีลักษณะที่พึงกำหนดดังต่อไปนี้ คือ
๓.๑ เมื่อเพื่อนทำชั่วทำผิดก็เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย
๓.๒ เมื่อเพื่อนทำถูกทำชอบก็คล้อยตามเพื่อน
๓.๓ ยามอยู่ต่อหน้าก็ยกย่องสรรเสริญเพื่อน
๓.๔ เมื่ออยู่ลับหลังตั้งหน้านินทาเพื่อน
๔. มิตรชักนำไปในทางเสื่อม มีลักษณะดังนี้ คือ
๔.๑ ชักนำให้ดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๔.๒ ชักชวนเพื่อนให้เที่ยวไปในที่ต่างๆ เวลากลางคืน
๔.๓ ชักชวนเพื่อนให้ไปดูการเล่นจนไม่เป็นอันทำงาน
๔.๔ ชักชวนเพื่อนให้เป็นนักเลงการพนันประเภทต่างๆ
เนื่องจากพระพุทธศาสนาถือว่า “เพื่อน” ไม่ว่าใกล้ชิดกันระดับใดก็ตาม เป็นตัวแปรสำคัญในการดำรงชีวิต ประกอบภารกิจการงานของตน คนเราอาจตกต่ำเสื่อมทรัพย์ ยศ เพราะเพื่อนเป็นเหตุ ดังที่ได้รับสั่งเล่าถึงบุตรเศรษฐีคนหนึ่งให้เป็นตัวอย่าง ความย่อว่า
“บุตรเศรษฐีคนหนึ่งได้รับมรดกถึง ๘๐ โกฏิ แม้ภรรยาของตนก็ได้รับมรดกจำนวนเท่ากัน แต่เพราะขาดพื้นฐานทางการศึกษา มีทรัพย์แต่ขาดปัญญาในการรักษา ใช้จ่าย และเพิ่มพูนทรัพย์สมบัติของตน ต่อมาได้คบมิตรเลวทั้ง ๔ ประเภทดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เพื่อนเหล่านั้นได้ประจบปอกลอกชักนำไปในทางเสื่อม จนทรัพย์จำนวนมหาศาลต้องเสื่อมไปในวัยที่คนทั้งสองชรา ต้องขายบ้านเรือน อสังหาริมทรัพย์เลี้ยงดูเพื่อนจนหมด สิ้น จบลงด้วยการต้องเที่ยวขอทานคนอื่นเลี้ยงชีวิตอยู่ไปเพื่อรอความตายเท่านั้น ซึ่งทรงอุปมาชีวิตของสามีภรรยาทั้งสองว่า “เป็นเหมือนนกกระเรียนที่ขนปีกเหี้ยนเกรียนหมดแล้ว นอนอยู่ที่หนองน้ำแห้งที่ไม่มีทั้งน้ำทั้งปลาสำหรับเป็นอาหาร”
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติของคนเหล่านั้น เกิดจากการมีมิตรชั่วดังกล่าว เรื่องของมิตรจึงมีผลกระทบโดย ตรงต่อเศรษฐกิจของคนเรา ไม่ว่าในกาลใดๆ ก็ตาม
ในกรณีที่บุคคลได้คบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ร่วมหลักความคิดร่วมกิจกรรม ร่วมผลประโยชน์กับมิตรเช่นนั้น ย่อมเป็นการได้เหตุปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว จนถึงประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้รับสั่งเล่าถึงบุรุษคนหนึ่งชื่อ จุลลกะ เป็นคนใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ได้รับการแนะนำจากท่านเศรษฐีผู้เป็นนาย สามารถตั้งตัวได้ด้วยการเริ่มทุนเพียงเล็กน้อย จากการนำหนูที่ตายแล้วไปขายเจ้าของแมวเท่านั้น ด้วยความเฉลียวฉลาดของเขา ช่วยให้เขาเปลี่ยนแปลงฐานะจากคนใช้ กลายเป็นบุตรเขยของเศรษฐีในเวลาไม่นานนัก ทรงปรารภท่านเศรษฐีผู้นี้ แล้วตรัสพระพุทธภาษิตไว้ในจุลลกเศรษฐีชาดกว่า “คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนไว้ได้แม้ด้วยต้นทุนมีประมาณเพียงเล็กน้อย ดุจคนก่อไฟกองน้อยๆ ให้เป็น กองไฟใหญ่ฉะนั้น”
แม้ว่าความมีกัลยาณมิตรจะเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา การปกครอง เป็นต้นก็ตาม ผลจะเกิดจากกัลยาณมิตรได้ก็ต่อเมื่อบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตนดีตามคำแนะนำของท่านที่เป็นกัลยาณมิตรของตน นั่นคือดำเนินชีวิตไปตามขั้นตอนแห่งวุฒิธรรม คือธรรมอันเป็นปัจจัยให้บุคคลประสบความเจริญในด้านต่างๆ คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าเป็นสัตบุรุษ คือ ต้องมีคนดีเป็นมิตร
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยความเคารพ
๓. โยมิโสมนสิการ ตริตรองพิจารณาให้เห็นสิ่งที่ดี ไม่ดี มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ เป็นต้น โดยอุบายวิธีที่สมเหตุผล ชอบธรรม
๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ กาละ เทศะ บุคคล กลุ่มคน ฐานะ หลังจากที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง การพิจารณามาด้วยดีแล้ว
หากปัจจัยเหล่านี้บกพร่องไป ผลคือความเจริญในด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ย่อมไม่อาจอำนวยผลให้เต็มตามที่ต้องการได้ เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เป็นปัญหาของชาวบ้านทั่วๆไป คำสอนแนวนี้จึงมักปรากฏในชาดก ทั้งระดับพระคาถาในพระไตรปิฎก และอรรถกถาแห่งชาดกนั้นๆ ข้อนี้พึงดูตัวอย่างพระพุทธดำรัสที่ตรัสถึงการอาศัยกัลยาณมิตร ทั้งที่เดินตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ และมีความบกพร่องในด้านขั้นตอน ในเอกนิบาตชาดก ดังต่อไปนี้
“ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก ย่อมถึงความฉิบหาย ย่อมถึงตาย” เป็นต้น
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)
เพื่อให้บุคคลสามารถจำแนกได้ว่า มิตรประเภทนี้มีลักษณะอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงมิตรปฏิรูป คือมิตรเทียมไว้ ๔ ประเภท พร้อมด้วยลักษณะที่พึงสังเกตไว้ ดังต่อไปนี้ คือ
๑. มิตรปอกลอกต้องการจะได้อย่างเดียว มีลักษณะดังนี้ คือ
๑.๑ ให้ของเพียงเล็กน้อยเพื่อต้องการได้มาก
๑.๒ ยามตนมีภัยจึงเต็มใจทำงานให้เพื่อน
๑.๓ คบเพื่อน เพราะต้องการผลประโยชน์จาก เพื่อน
๑.๔ ต้องการแต่จะได้จากเพื่อนอย่างเดียว
๒. มิตรดีแต่พูด มีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ
๒.๑ นำเอาเรื่องที่ผ่านมาแล้วมาพูด
๒.๒ นำเอาเรื่องที่ยังไม่มาถึงมาสนทนากัน
๒.๓ ยามสงเคราะห์เพื่อน จะสงเคราะห์ในสิ่งที่ไร้ประโยชน์
๒.๔ คราวจำเป็นจะต้องช่วยเหลือกัน จะอ้างความขัดข้องของตน
๓. มิตรหัวประจบ มีลักษณะที่พึงกำหนดดังต่อไปนี้ คือ
๓.๑ เมื่อเพื่อนทำชั่วทำผิดก็เห็นดีเห็นงามตามไปด้วย
๓.๒ เมื่อเพื่อนทำถูกทำชอบก็คล้อยตามเพื่อน
๓.๓ ยามอยู่ต่อหน้าก็ยกย่องสรรเสริญเพื่อน
๓.๔ เมื่ออยู่ลับหลังตั้งหน้านินทาเพื่อน
๔. มิตรชักนำไปในทางเสื่อม มีลักษณะดังนี้ คือ
๔.๑ ชักนำให้ดื่มน้ำเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๔.๒ ชักชวนเพื่อนให้เที่ยวไปในที่ต่างๆ เวลากลางคืน
๔.๓ ชักชวนเพื่อนให้ไปดูการเล่นจนไม่เป็นอันทำงาน
๔.๔ ชักชวนเพื่อนให้เป็นนักเลงการพนันประเภทต่างๆ
เนื่องจากพระพุทธศาสนาถือว่า “เพื่อน” ไม่ว่าใกล้ชิดกันระดับใดก็ตาม เป็นตัวแปรสำคัญในการดำรงชีวิต ประกอบภารกิจการงานของตน คนเราอาจตกต่ำเสื่อมทรัพย์ ยศ เพราะเพื่อนเป็นเหตุ ดังที่ได้รับสั่งเล่าถึงบุตรเศรษฐีคนหนึ่งให้เป็นตัวอย่าง ความย่อว่า
“บุตรเศรษฐีคนหนึ่งได้รับมรดกถึง ๘๐ โกฏิ แม้ภรรยาของตนก็ได้รับมรดกจำนวนเท่ากัน แต่เพราะขาดพื้นฐานทางการศึกษา มีทรัพย์แต่ขาดปัญญาในการรักษา ใช้จ่าย และเพิ่มพูนทรัพย์สมบัติของตน ต่อมาได้คบมิตรเลวทั้ง ๔ ประเภทดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เพื่อนเหล่านั้นได้ประจบปอกลอกชักนำไปในทางเสื่อม จนทรัพย์จำนวนมหาศาลต้องเสื่อมไปในวัยที่คนทั้งสองชรา ต้องขายบ้านเรือน อสังหาริมทรัพย์เลี้ยงดูเพื่อนจนหมด สิ้น จบลงด้วยการต้องเที่ยวขอทานคนอื่นเลี้ยงชีวิตอยู่ไปเพื่อรอความตายเท่านั้น ซึ่งทรงอุปมาชีวิตของสามีภรรยาทั้งสองว่า “เป็นเหมือนนกกระเรียนที่ขนปีกเหี้ยนเกรียนหมดแล้ว นอนอยู่ที่หนองน้ำแห้งที่ไม่มีทั้งน้ำทั้งปลาสำหรับเป็นอาหาร”
ความเสื่อมจากทรัพย์สมบัติของคนเหล่านั้น เกิดจากการมีมิตรชั่วดังกล่าว เรื่องของมิตรจึงมีผลกระทบโดย ตรงต่อเศรษฐกิจของคนเรา ไม่ว่าในกาลใดๆ ก็ตาม
ในกรณีที่บุคคลได้คบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร ร่วมหลักความคิดร่วมกิจกรรม ร่วมผลประโยชน์กับมิตรเช่นนั้น ย่อมเป็นการได้เหตุปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจของตนเอง ครอบครัว จนถึงประเทศชาติอันเป็นส่วนรวม ข้อนี้พระพุทธเจ้าได้รับสั่งเล่าถึงบุรุษคนหนึ่งชื่อ จุลลกะ เป็นคนใช้ของเศรษฐีคนหนึ่ง ได้รับการแนะนำจากท่านเศรษฐีผู้เป็นนาย สามารถตั้งตัวได้ด้วยการเริ่มทุนเพียงเล็กน้อย จากการนำหนูที่ตายแล้วไปขายเจ้าของแมวเท่านั้น ด้วยความเฉลียวฉลาดของเขา ช่วยให้เขาเปลี่ยนแปลงฐานะจากคนใช้ กลายเป็นบุตรเขยของเศรษฐีในเวลาไม่นานนัก ทรงปรารภท่านเศรษฐีผู้นี้ แล้วตรัสพระพุทธภาษิตไว้ในจุลลกเศรษฐีชาดกว่า “คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนไว้ได้แม้ด้วยต้นทุนมีประมาณเพียงเล็กน้อย ดุจคนก่อไฟกองน้อยๆ ให้เป็น กองไฟใหญ่ฉะนั้น”
แม้ว่าความมีกัลยาณมิตรจะเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิต ไม่ว่าจะเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา การปกครอง เป็นต้นก็ตาม ผลจะเกิดจากกัลยาณมิตรได้ก็ต่อเมื่อบุคคลเหล่านั้นปฏิบัติตนดีตามคำแนะนำของท่านที่เป็นกัลยาณมิตรของตน นั่นคือดำเนินชีวิตไปตามขั้นตอนแห่งวุฒิธรรม คือธรรมอันเป็นปัจจัยให้บุคคลประสบความเจริญในด้านต่างๆ คือ
๑. สัปปุริสสังเสวะ คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่าเป็นสัตบุรุษ คือ ต้องมีคนดีเป็นมิตร
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสั่งสอนของท่านโดยความเคารพ
๓. โยมิโสมนสิการ ตริตรองพิจารณาให้เห็นสิ่งที่ดี ไม่ดี มีประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ เป็นต้น โดยอุบายวิธีที่สมเหตุผล ชอบธรรม
๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ กาละ เทศะ บุคคล กลุ่มคน ฐานะ หลังจากที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง การพิจารณามาด้วยดีแล้ว
หากปัจจัยเหล่านี้บกพร่องไป ผลคือความเจริญในด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ย่อมไม่อาจอำนวยผลให้เต็มตามที่ต้องการได้ เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เป็นปัญหาของชาวบ้านทั่วๆไป คำสอนแนวนี้จึงมักปรากฏในชาดก ทั้งระดับพระคาถาในพระไตรปิฎก และอรรถกถาแห่งชาดกนั้นๆ ข้อนี้พึงดูตัวอย่างพระพุทธดำรัสที่ตรัสถึงการอาศัยกัลยาณมิตร ทั้งที่เดินตามขั้นตอนดังกล่าวอย่างสมบูรณ์ และมีความบกพร่องในด้านขั้นตอน ในเอกนิบาตชาดก ดังต่อไปนี้
“ผู้ใดบุคคลกล่าวสอนอยู่ ไม่ทำตามคำสอนของผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เกื้อกูล ผู้นั้นย่อมเศร้าโศก ย่อมถึงความฉิบหาย ย่อมถึงตาย” เป็นต้น
(จากส่วนหนึ่งของหนังสือพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 112 มีนาคม 2553 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ)