เดือนกรกฎาคมนี้ มีวันสำคัญทางพุทธศาสนา ๒ วัน คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า วันอาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่เบญจวัคคีย์ ๕ รูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี และเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นครั้งแรกในพระพุทธศาสนา
รุ่งขึ้น คือวันที่ ๘ กรกฎาคม ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันเข้าพรรษา ที่มีพระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุต้องอยู่จำพรรษา ๓ เดือน ในฤดูฝน โดยไม่ไปค้างแรมในที่ใด โดยไม่จำเป็น หรือไม่มีเหตุอันสมควรอย่างใดอย่างหนึ่ง
วันอาสาฬบูชา และวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นวันสำคัญ จึงนิยมที่จะเข้าวัด ถือศีล ฟังธรรม และบำเพ็ญกุศลอื่นๆ ตามสมควรแก่ความศรัทธาแห่งตน
ในเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือนนี้ พระภิกษุ สามเณร ก็จะมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้สัญจรไปในที่ใดๆ ส่วนฆราวาสก็จะเข้า วัด ถือศีลฟังธรรม ถวายไทยทาน ทุกวันพระตลอดพรรษา บางท่านก็อธิษฐานจิต งดเว้นอบายมุข เช่น งดเว้นจากการดื่มเหล้า เป็นต้น ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี และน่าอนุโมทนา เพราะบางทีออกพรรษาแล้ว ก็งดดื่มเหล้าตลอดไปก็มี ทำให้ครอบครัว คนใกล้ชิด พลอยสุขสบาย ใจไปด้วย เพราะเหล้าทำให้คนทำความผิดได้มากมายเป็นสาเหตุให้ละเมิดศีล ๔ ข้อที่เหลือ คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมยทรัพย์ การประพฤติในภรรยาและสตรีอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาของตน และการพูดโกหกหลอกลวง
นอกจากนั้นยังเป็นเหตุแห่งความประมาท ทำให้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทรัพย์สิน เป็นต้น ถ้าไม่เสียชีวิต ก็อาจจะพิการไปตลอดชีวิต บางคนไม่พิการไม่เสียชีวิต แต่ทำให้ทรัพย์สมบัติพินาศย่อยยับ จนตนเองต้องตกยากเป็นขอทานก็มี ดังเช่นเรื่องในครั้งพุทธกาล
ในคัมภีร์พระธรรมบทได้กล่าวถึงเรื่องเศรษฐีบุตรคนหนึ่งในเมืองพาราณสี มีทรัพย์มากถึง ๘๐ โกฏิ เป็นลูก คนเดียวของมารดาบิดา ไม่ต้องทำการงานใดๆ เพราะมารดาบิดาเกรงว่าลูกจะลำบาก และคิดว่าทรัพย์ที่มีอยู่ นั้น จะทำให้ลูกมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
และในเมืองพาราณสีเช่นกัน มีเศรษฐีอีกตระกูลหนึ่ง มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีลูกสาวคนเดียว มารดาบิดาไม่ได้ให้ การศึกษาอะไร นอกจากการเรียนศิลปะ การขับร้องและการฟ้อนเท่านั้น
ต่อมาลูกเศรษฐีทั้งสองตระกูลได้แต่งงานกัน จึงทำ ให้มีทรัพย์รวมกัน ๑๖๐ โกฏิ เมื่อมารดาบิดาของคนทั้งสองถึงแก่กรรม เศรษฐีบุตรได้ครอบครองสมบัติสืบต่อมา เขาไปสู่ราชสำนักวันละ ๓ ครั้ง พวกนักเลงสุราเห็นเข้า จึงคิดวางแผนจะให้เศรษฐีบุตรเป็นนักเลงสุรา เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของพวกตนในการดื่มกินอย่างมีความสุข ดังนั้น เมื่อเห็นเขากลับออกมาจากราชสำนัก ก็นั่งคอยท่าอยู่ แล้วยกเหล้าขึ้นดื่ม กล่าวว่า ขอให้เศรษฐีบุตรมีอายุยืน ๑๐๐ ปี
เศรษฐีบุตรจึงถามคนใช้ว่า คนพวกนี้เขาดื่มอะไรกัน รสของมันอร่อยหรือไม่ เมื่อคนใช้ตอบว่าดื่มน้ำชนิดหนึ่ง เป็นน้ำที่ควรแก่การดื่ม ที่ไม่มีน้ำชนิดไหนเทียบได้ในโลกนี้ เศรษฐีบุตรจึงให้คนใช้นำสุรามาทดลองดื่ม และได้ดื่มเป็นประจำ
พวกนักเลงสุราพอรู้ว่าเศรษฐีบุตรดื่มสุรา ก็พากันตี สนิทเป็นพรรคพวก หาสุราและกับแกล้มมาให้เศรษฐีบุตร ด้วยทรัพย์ของเศรษฐีบุตรนั่นเอง เขากลายเป็นคนมีบริวารมากมาย ดื่มกินอย่างไม่อั้น ใช้ทรัพย์มากมาย เพื่อสุรารสเลิศ ให้นำดอกไม้เครื่องหอมมาตกแต่งห้องให้ สวยงาม หาสตรีสาวสวยที่มีความสามารถในการขับประโคมและการฟ้อน และให้รางวัลแก่สตรีเหล่านั้น วันๆ หมกมุ่น อยู่กับการดื่มสุราและเพลิดเพลินอยู่กับสตรี จนละเลยราชการที่เคยเข้าเฝ้าในราชสำนักเสียสิ้น
เมื่อเศรษฐีบุตรใช้จ่ายทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ช้า ทรัพย์ทั้ง ๑๖๐ โกฏิ ก็หมดลง เขาต้องขายบ้าน ที่นา ที่สวน เครื่องเรือน ฯลฯ จนไม่มีอะไรเหลือ ต้องถือชิ้นกระเบื้องเที่ยวขอทานเลี้ยงชีพ อาศัยนอนตามฝาเรือนของคนอื่นไปวันๆ เป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก
วันหนึ่งพระบรมศาสดา ทรงเห็นเขาที่ประตูโรงฉันอาหาร ซึ่งเขายืนรอขอเศษอาหารจากพระภิกษุสามเณร ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เห็นเช่นนั้นจึงกราบทูลถามถึงเหตุแห่งการแย้มนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า เศรษฐีบุตรผู้นี้ผลาญทรัพย์เสีย ๑๖๐ โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทานในนครนี้ ถ้าเขาประกอบ การงานในปฐมวัยก็จะเป็นเศรษฐีชั้นเลิศของนครนี้ ถ้าออกบวชก็จะเป็นพระอรหันต์ ภรรยาของเขาจะเป็นอนาคามี ถ้าเขาประกอบการงานในมัชฌิมวัย เขาจะเป็นเศรษฐี ที่ ๒ ในนครนี้ ถ้าออกบวชจะเป็นพระอนาคามี ภรรยาของเขาจะเป็นสกทาคามี ถ้าเขาประกอบการงานในปัจฉิมวัย เขาจะได้เป็นเศรษฐีอันดับ ๓ ในนครนี้ ถ้าออกบวช จะได้เป็นสกทาคามี ภรรยาของเขาจะเป็นโสดาบัน
แต่บัดนี้ เศรษฐีบุตรนี้เสื่อมแล้วจากโภคทรัพย์ และสามัญผลคือ การบรรลุธรรม เป็นเหมือนนกกระเรียนแก่ ที่จับเจ่าอยู่ในแอ่งน้ำที่แห้ง ไม่มีปูปลาให้ถือเป็นอาหารได้ เลย ได้แต่นอนทอดถอนถึงอดีต ถึงทรัพย์เก่า ถึงความ สุขสบายเก่าๆ เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่ง ฉะนั้น
......
การที่เศรษฐีบุตรผลาญทรัพย์ย่อยยับ เพราะโดนกลยุทธ์ทางการตลาดเล่นงาน จะเห็นได้ว่า เมื่อลูกเศรษฐีบุตรถามคนใช้ว่า นักเลงสุราดื่มน้ำอะไร คนใช้ไม่บอกว่าเป็นสุรา เพราะถ้าเป็นสุรา เศรษฐีบุตรก็อาจจะ รังเกียจที่จะดื่ม แต่พอได้ยินว่าเป็นน้ำดื่มชั้นเลิศของ โลก ก็เลยอยากทดลองดื่ม พรีเซ็นเตอร์ของเรื่องนี้ คือ นักเลงสุราที่แสดงการดื่มเป็นการปลุกเร้าความสนใจให้ลูกค้าต้องการ สุราที่นักเลงสุราให้คนใช้นำไปให้เศรษฐีบุตร คือ การโปรโมต แจกฟรีให้ลูกค้า เมื่อดื่มแล้วก็จะชอบ เพราะมันมีรูป กลิ่น เสียง และสัมผัสที่น่าพึงพอใจ ทำให้ลูกค้าติดใจ และซื้อไปบริโภค เมื่อปริโภคเป็นประจำ ก็แสดงว่าลูกค้านั้นเกิดความภักดีในตัวสินค้า ผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มจำนวนการบริโภคให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มความ ถี่ของการบริโภคมากกว่าเดิม ก็จะทำกำไรได้จากตัวสินค้านั้นมากขึ้น จากนั้นก็เริ่มผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับสินค้าตัวเดิม เอามาแจกมาแถม จัดสถานที่จำหน่ายให้น่า ดูน่าชม ใช้คนที่มีความสามารถเรียกลูกค้าได้ อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการบริโภคสินค้า ดังเช่นเศรษฐีบุตรจัดแต่งห้องดื่มสุราของเขา
เพราะฉะนั้น กลยุทธ์ทางการตลาดสุรา เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ที่เกิดขึ้นในอินเดีย ไม่มีอะไรแตกต่างจากปัจจุบัน ถ้ามองไปในสถานบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีพนักงานหญิง มีนักดนตรี มีนักร้อง มาขับกล่อมผู้บริโภค แม้การโฆษณาจะถูกห้าม แต่ภาพของผู้บริโภคที่อยู่ในร้านก็คือตัวพรีเซ็นเตอร์ชั้นดีนั่นเอง
ที่นำเรื่องนี้มากล่าวไว้ ก็เพื่อให้เห็นว่า เรื่องราวในศาสนานั้น สามารถบอกให้เรารู้ถึงกลยุทธ์ทางการตลาดได้ และทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับอดีตและปัจจุบัน ที่ทำให้พุทธศาสนาไม่ได้มีแต่เรื่องคร่ำครึ ล้าสมัยอย่างที่ หลายคนเข้าใจ ถ้าอ่านและคิดดีๆ จะพบกับความน่าทึ่งไม่น้อยเลย
(จากธรรมลีลา ฉบับ 104 กรกฎาคม 52 โดยธมฺมจจรถ)
รุ่งขึ้น คือวันที่ ๘ กรกฎาคม ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันเข้าพรรษา ที่มีพระพุทธบัญญัติให้พระภิกษุต้องอยู่จำพรรษา ๓ เดือน ในฤดูฝน โดยไม่ไปค้างแรมในที่ใด โดยไม่จำเป็น หรือไม่มีเหตุอันสมควรอย่างใดอย่างหนึ่ง
วันอาสาฬบูชา และวันเข้าพรรษานี้ พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นวันสำคัญ จึงนิยมที่จะเข้าวัด ถือศีล ฟังธรรม และบำเพ็ญกุศลอื่นๆ ตามสมควรแก่ความศรัทธาแห่งตน
ในเทศกาลเข้าพรรษา ๓ เดือนนี้ พระภิกษุ สามเณร ก็จะมีโอกาสศึกษาพระธรรมวินัย และปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ เพราะไม่ได้สัญจรไปในที่ใดๆ ส่วนฆราวาสก็จะเข้า วัด ถือศีลฟังธรรม ถวายไทยทาน ทุกวันพระตลอดพรรษา บางท่านก็อธิษฐานจิต งดเว้นอบายมุข เช่น งดเว้นจากการดื่มเหล้า เป็นต้น ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี และน่าอนุโมทนา เพราะบางทีออกพรรษาแล้ว ก็งดดื่มเหล้าตลอดไปก็มี ทำให้ครอบครัว คนใกล้ชิด พลอยสุขสบาย ใจไปด้วย เพราะเหล้าทำให้คนทำความผิดได้มากมายเป็นสาเหตุให้ละเมิดศีล ๔ ข้อที่เหลือ คือ การฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การลักขโมยทรัพย์ การประพฤติในภรรยาและสตรีอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาของตน และการพูดโกหกหลอกลวง
นอกจากนั้นยังเป็นเหตุแห่งความประมาท ทำให้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทรัพย์สิน เป็นต้น ถ้าไม่เสียชีวิต ก็อาจจะพิการไปตลอดชีวิต บางคนไม่พิการไม่เสียชีวิต แต่ทำให้ทรัพย์สมบัติพินาศย่อยยับ จนตนเองต้องตกยากเป็นขอทานก็มี ดังเช่นเรื่องในครั้งพุทธกาล
ในคัมภีร์พระธรรมบทได้กล่าวถึงเรื่องเศรษฐีบุตรคนหนึ่งในเมืองพาราณสี มีทรัพย์มากถึง ๘๐ โกฏิ เป็นลูก คนเดียวของมารดาบิดา ไม่ต้องทำการงานใดๆ เพราะมารดาบิดาเกรงว่าลูกจะลำบาก และคิดว่าทรัพย์ที่มีอยู่ นั้น จะทำให้ลูกมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย
และในเมืองพาราณสีเช่นกัน มีเศรษฐีอีกตระกูลหนึ่ง มีทรัพย์ ๘๐ โกฏิ มีลูกสาวคนเดียว มารดาบิดาไม่ได้ให้ การศึกษาอะไร นอกจากการเรียนศิลปะ การขับร้องและการฟ้อนเท่านั้น
ต่อมาลูกเศรษฐีทั้งสองตระกูลได้แต่งงานกัน จึงทำ ให้มีทรัพย์รวมกัน ๑๖๐ โกฏิ เมื่อมารดาบิดาของคนทั้งสองถึงแก่กรรม เศรษฐีบุตรได้ครอบครองสมบัติสืบต่อมา เขาไปสู่ราชสำนักวันละ ๓ ครั้ง พวกนักเลงสุราเห็นเข้า จึงคิดวางแผนจะให้เศรษฐีบุตรเป็นนักเลงสุรา เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของพวกตนในการดื่มกินอย่างมีความสุข ดังนั้น เมื่อเห็นเขากลับออกมาจากราชสำนัก ก็นั่งคอยท่าอยู่ แล้วยกเหล้าขึ้นดื่ม กล่าวว่า ขอให้เศรษฐีบุตรมีอายุยืน ๑๐๐ ปี
เศรษฐีบุตรจึงถามคนใช้ว่า คนพวกนี้เขาดื่มอะไรกัน รสของมันอร่อยหรือไม่ เมื่อคนใช้ตอบว่าดื่มน้ำชนิดหนึ่ง เป็นน้ำที่ควรแก่การดื่ม ที่ไม่มีน้ำชนิดไหนเทียบได้ในโลกนี้ เศรษฐีบุตรจึงให้คนใช้นำสุรามาทดลองดื่ม และได้ดื่มเป็นประจำ
พวกนักเลงสุราพอรู้ว่าเศรษฐีบุตรดื่มสุรา ก็พากันตี สนิทเป็นพรรคพวก หาสุราและกับแกล้มมาให้เศรษฐีบุตร ด้วยทรัพย์ของเศรษฐีบุตรนั่นเอง เขากลายเป็นคนมีบริวารมากมาย ดื่มกินอย่างไม่อั้น ใช้ทรัพย์มากมาย เพื่อสุรารสเลิศ ให้นำดอกไม้เครื่องหอมมาตกแต่งห้องให้ สวยงาม หาสตรีสาวสวยที่มีความสามารถในการขับประโคมและการฟ้อน และให้รางวัลแก่สตรีเหล่านั้น วันๆ หมกมุ่น อยู่กับการดื่มสุราและเพลิดเพลินอยู่กับสตรี จนละเลยราชการที่เคยเข้าเฝ้าในราชสำนักเสียสิ้น
เมื่อเศรษฐีบุตรใช้จ่ายทรัพย์อย่างสุรุ่ยสุร่าย ไม่ช้า ทรัพย์ทั้ง ๑๖๐ โกฏิ ก็หมดลง เขาต้องขายบ้าน ที่นา ที่สวน เครื่องเรือน ฯลฯ จนไม่มีอะไรเหลือ ต้องถือชิ้นกระเบื้องเที่ยวขอทานเลี้ยงชีพ อาศัยนอนตามฝาเรือนของคนอื่นไปวันๆ เป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก
วันหนึ่งพระบรมศาสดา ทรงเห็นเขาที่ประตูโรงฉันอาหาร ซึ่งเขายืนรอขอเศษอาหารจากพระภิกษุสามเณร ก็ทรงแย้มพระโอษฐ์ พระอานนท์เห็นเช่นนั้นจึงกราบทูลถามถึงเหตุแห่งการแย้มนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า เศรษฐีบุตรผู้นี้ผลาญทรัพย์เสีย ๑๖๐ โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทานในนครนี้ ถ้าเขาประกอบ การงานในปฐมวัยก็จะเป็นเศรษฐีชั้นเลิศของนครนี้ ถ้าออกบวชก็จะเป็นพระอรหันต์ ภรรยาของเขาจะเป็นอนาคามี ถ้าเขาประกอบการงานในมัชฌิมวัย เขาจะเป็นเศรษฐี ที่ ๒ ในนครนี้ ถ้าออกบวชจะเป็นพระอนาคามี ภรรยาของเขาจะเป็นสกทาคามี ถ้าเขาประกอบการงานในปัจฉิมวัย เขาจะได้เป็นเศรษฐีอันดับ ๓ ในนครนี้ ถ้าออกบวช จะได้เป็นสกทาคามี ภรรยาของเขาจะเป็นโสดาบัน
แต่บัดนี้ เศรษฐีบุตรนี้เสื่อมแล้วจากโภคทรัพย์ และสามัญผลคือ การบรรลุธรรม เป็นเหมือนนกกระเรียนแก่ ที่จับเจ่าอยู่ในแอ่งน้ำที่แห้ง ไม่มีปูปลาให้ถือเป็นอาหารได้ เลย ได้แต่นอนทอดถอนถึงอดีต ถึงทรัพย์เก่า ถึงความ สุขสบายเก่าๆ เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่ง ฉะนั้น
......
การที่เศรษฐีบุตรผลาญทรัพย์ย่อยยับ เพราะโดนกลยุทธ์ทางการตลาดเล่นงาน จะเห็นได้ว่า เมื่อลูกเศรษฐีบุตรถามคนใช้ว่า นักเลงสุราดื่มน้ำอะไร คนใช้ไม่บอกว่าเป็นสุรา เพราะถ้าเป็นสุรา เศรษฐีบุตรก็อาจจะ รังเกียจที่จะดื่ม แต่พอได้ยินว่าเป็นน้ำดื่มชั้นเลิศของ โลก ก็เลยอยากทดลองดื่ม พรีเซ็นเตอร์ของเรื่องนี้ คือ นักเลงสุราที่แสดงการดื่มเป็นการปลุกเร้าความสนใจให้ลูกค้าต้องการ สุราที่นักเลงสุราให้คนใช้นำไปให้เศรษฐีบุตร คือ การโปรโมต แจกฟรีให้ลูกค้า เมื่อดื่มแล้วก็จะชอบ เพราะมันมีรูป กลิ่น เสียง และสัมผัสที่น่าพึงพอใจ ทำให้ลูกค้าติดใจ และซื้อไปบริโภค เมื่อปริโภคเป็นประจำ ก็แสดงว่าลูกค้านั้นเกิดความภักดีในตัวสินค้า ผู้ผลิตจึงต้องเพิ่มจำนวนการบริโภคให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มความ ถี่ของการบริโภคมากกว่าเดิม ก็จะทำกำไรได้จากตัวสินค้านั้นมากขึ้น จากนั้นก็เริ่มผลิตสินค้าที่สอดคล้องกับสินค้าตัวเดิม เอามาแจกมาแถม จัดสถานที่จำหน่ายให้น่า ดูน่าชม ใช้คนที่มีความสามารถเรียกลูกค้าได้ อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการบริโภคสินค้า ดังเช่นเศรษฐีบุตรจัดแต่งห้องดื่มสุราของเขา
เพราะฉะนั้น กลยุทธ์ทางการตลาดสุรา เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว ที่เกิดขึ้นในอินเดีย ไม่มีอะไรแตกต่างจากปัจจุบัน ถ้ามองไปในสถานบริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะมีพนักงานหญิง มีนักดนตรี มีนักร้อง มาขับกล่อมผู้บริโภค แม้การโฆษณาจะถูกห้าม แต่ภาพของผู้บริโภคที่อยู่ในร้านก็คือตัวพรีเซ็นเตอร์ชั้นดีนั่นเอง
ที่นำเรื่องนี้มากล่าวไว้ ก็เพื่อให้เห็นว่า เรื่องราวในศาสนานั้น สามารถบอกให้เรารู้ถึงกลยุทธ์ทางการตลาดได้ และทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับอดีตและปัจจุบัน ที่ทำให้พุทธศาสนาไม่ได้มีแต่เรื่องคร่ำครึ ล้าสมัยอย่างที่ หลายคนเข้าใจ ถ้าอ่านและคิดดีๆ จะพบกับความน่าทึ่งไม่น้อยเลย
(จากธรรมลีลา ฉบับ 104 กรกฎาคม 52 โดยธมฺมจจรถ)