สืบเนื่องจากปัญหาการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก จึงได้จัดประชุมแพทย์แผนไทย แพทย์ และเภสัชกร ซึ่งมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการใช้สมุนไพร และยาจากสมุนไพร เพื่อระดมสมองหาแนวทางในการใช้สมุนไพรและยาจากสมุนไพร เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนให้แข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายให้สามารถป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ได้ดีขึ้น และช่วยบรรเทาอาการของโรค อันจะช่วยผู้ป่วยในการดูแลตนเองที่บ้าน และแบ่งเบาภาระของระบบบริการสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนมากร้อยละ 90 อาการจะไม่รุนแรง เพียงแต่หยุดงานอยู่กับบ้าน ดื่มน้ำ และพักผ่อนมากๆ ก็จะหายจากโรคได้เอง ข้อสรุปที่ได้จากการประชุมดังกล่าว คือ ควรสนับสนุนให้ใช้สมุนไพรหรือยาจาก สมุนไพรใน 2 กรณีต่อไปนี้ คือ
1. การป้องกันตนเองจากการเป็นหวัด ให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ออกกำลังกาย ใช้มาส์ค) และส่งเสริมสุขภาพด้วยการรับประทานสมุนไพรในรูปของอาหารและเครื่องดื่มให้มากขึ้น เพื่อบำรุงสุขภาพ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่
• ผัก ผลไม้ และผักพื้นบ้าน ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ยอดมะยม ฝักมะรุม ยอดสะเดา มะระขี้นก พริกหวาน และพริกอื่นทุกชนิด ฟักข้าว แครอท มะขามป้อม ฝรั่ง ส้ม มะม่วง มะละกอ ผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น คะน้าบรอคโคลี ผักโขม
• ผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารเคอร์ซีติน (quercetin) สูง ได้แก่ หอมแดง กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ผักใบเขียว แอปเปิ้ล ผลไม้จำพวกส้ม รวมทั้งชาจากต้นชา และชาใบหม่อน
• อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น พลูคาวหรือคาวตอง หรือพลูแก กินสดๆ กับน้ำพริก กระเทียม ขิง กะเพรา ตะไคร้ ตัวอย่างอาหาร ได้แก่ แกงเลียง ผัดกะเพรา ต้มยำ แกง ส้มผักรวม น้ำพริกกับผักต่างๆ เมี่ยงคำ เป็นต้น รวมทั้งน้ำสมุนไพร หรือชาสมุนไพร เช่น ชาเห็ดหลินจือ ชาปัญจขันธ์หรือชาเจียวกู่หลาน ชาเขียว ชาใบหม่อน น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบ
2. การบรรเทาอาการเมื่อเริ่มเป็นหวัด เช่น เริ่มมีอาการไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ ให้หยุดงานหรือหยุดเรียน พักผ่อนอยู่บ้าน ดื่มน้ำมากๆ โดยอาจดื่มชาสมุนไพรหรือน้ำสมุนไพรที่แนะนำข้างต้นต่างน้ำเพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย และใช้สมุนไพรและยาจากสมุนไพรต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการ
• ฟ้าทะลายโจร เป็นยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) และงานวิจัยเบื้องต้นของสถาบันการแพทย์แผนไทยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีเพื่อศึกษาประสิทธิผลของฟ้าทะลายโจร ในการบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ (influenza) ชี้ให้เห็นว่าเมื่อใช้ฟ้าทะลาย-โจรร่วมกับยาพาราเซตามอลสามารถลดความรุนแรงของอาการโดยรวมของไข้หวัดใหญ่ และช่วยให้อาการหลายอาการ ของไข้หวัดใหญ่ทุเลาลงได้เร็วกว่าเมื่อได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเดียว โดยแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรแคปซูลครั้งละ3-4 แคปซูล ขึ้นกับขนาดบรรจุต่อแคปซูล (375-500 มิลลิกรัม/แคปซูล) โดยให้ได้รับยาครั้งละ 1500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน และแนะนำว่าไม่ควรรับประทานนานเกิน 7 วัน เพราะอาจทำให้มีอาการมือเท้า ชาหรืออ่อนแรงได้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
สำหรับการใช้ฟ้าทะลายโจรที่ปลูกในครัวเรือนนั้น อาจใช้ในรูปของยาต้ม โดยใช้ส่วนเหนือดินสับเป็นท่อนสั้นๆ หรือใช้ใบสด นำมาล้างให้สะอาด แล้วต้มประมาณ 1 กำมือ กับน้ำ นาน 10-15 นาที ดื่มวันละ 3 เวลา
• ยาแผนไทยบรรเทาอาการไข้ ยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติที่สามารถนำมาใช้ในการบรรเทาอาการไข้ได้มี 3 รายการ ได้แก่ ยาห้าราก (เบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง) ยาจันทลีลา (เหมาะสำหรับอาการไข้ที่มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย) สำหรับผู้ใหญ่ หรือยาเขียวหอมสำหรับเด็ก
• ยาบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และ/หรือมีเสมหะควรอมบ้วนปาก กลั้วคอด้วยน้ำมัน กานพลู 1-2 หยดในน้ำ 1 แก้ว ใช้กลั้วคอ เช้าและเย็น หรือเคี้ยวดอกกานพลูแห้ง หรือทำน้ำยาบ้วนปากจากเปลือกมังคุด หรือเคี้ยวใบฝรั่งสดก็ได้ หรืออมลูกอมหรือกินยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยให้ชุ่มคอ ลดเสมหะ ได้แก่ มะแว้ง มะขามป้อม ชะเอม หรือดื่มน้ำขิง หรือถ้าไอแห้ง อาจใช้สมุนไพรที่ช่วยขับน้ำลายให้มาชุ่มคอ เช่น มะนาวแทรกเกลือ
หากปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้น 1-2 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้นในวันที่ 3 ของการป่วย หรือมีอาการคือ หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึมผิดปกติ กินไม่ได้ ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
ใส่หน้ากากอนามัยถูกวิธี ชีวีจะปลอดภัย
1. เลือกหน้ากากอนามัยขนาดพอดีกับใบหน้า
2. ก่อนสวมหน้ากาก ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
3. สวมหน้ากากให้คลุมทั้งจมูกและปาก ปรับสายหน้ากากให้พอดีกับใบหน้า หน้ากากควรมีความกระชับเมื่อสวมใส่ แนบกับใบหน้าตั้งแต่จมูกถึงคาง ไม่ให้มีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากาก
4. หลังจากที่มีการใช้หน้ากากที่ทำจากผ้า สามารถซักเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การซัก ควรซักให้สะอาดด้วยน้ำและผงซักฟอก และตากให้แห้ง
5. หากใช้หน้ากากที่ทำจากกระดาษ ควรเปลี่ยนทุกวัน และทิ้งหน้ากากที่ใช้แล้วลงถังขยะที่มีฝาปิด
6. หากหน้ากากมีการปนเปื้อนหรือชำรุด ควรเปลี่ยนอันใหม่ทันที
7. หลังจากเลิกใช้หน้ากาก หรือหลังจากการเปลี่ยนหน้ากาก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดยสถาบันการแพทย์แผนไทย)
1. การป้องกันตนเองจากการเป็นหวัด ให้ปฏิบัติตนตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ออกกำลังกาย ใช้มาส์ค) และส่งเสริมสุขภาพด้วยการรับประทานสมุนไพรในรูปของอาหารและเครื่องดื่มให้มากขึ้น เพื่อบำรุงสุขภาพ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ได้แก่
• ผัก ผลไม้ และผักพื้นบ้าน ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ยอดมะยม ฝักมะรุม ยอดสะเดา มะระขี้นก พริกหวาน และพริกอื่นทุกชนิด ฟักข้าว แครอท มะขามป้อม ฝรั่ง ส้ม มะม่วง มะละกอ ผักที่มีสีเขียวเข้ม เช่น คะน้าบรอคโคลี ผักโขม
• ผัก ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารเคอร์ซีติน (quercetin) สูง ได้แก่ หอมแดง กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ผักใบเขียว แอปเปิ้ล ผลไม้จำพวกส้ม รวมทั้งชาจากต้นชา และชาใบหม่อน
• อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของสมุนไพร ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือที่มีรายงานว่ามีฤทธิ์ ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เช่น พลูคาวหรือคาวตอง หรือพลูแก กินสดๆ กับน้ำพริก กระเทียม ขิง กะเพรา ตะไคร้ ตัวอย่างอาหาร ได้แก่ แกงเลียง ผัดกะเพรา ต้มยำ แกง ส้มผักรวม น้ำพริกกับผักต่างๆ เมี่ยงคำ เป็นต้น รวมทั้งน้ำสมุนไพร หรือชาสมุนไพร เช่น ชาเห็ดหลินจือ ชาปัญจขันธ์หรือชาเจียวกู่หลาน ชาเขียว ชาใบหม่อน น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำขิง น้ำตะไคร้ น้ำกระเจี๊ยบ
2. การบรรเทาอาการเมื่อเริ่มเป็นหวัด เช่น เริ่มมีอาการไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ ให้หยุดงานหรือหยุดเรียน พักผ่อนอยู่บ้าน ดื่มน้ำมากๆ โดยอาจดื่มชาสมุนไพรหรือน้ำสมุนไพรที่แนะนำข้างต้นต่างน้ำเพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกาย และใช้สมุนไพรและยาจากสมุนไพรต่อไปนี้เพื่อบรรเทาอาการ
• ฟ้าทะลายโจร เป็นยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติที่มีสรรพคุณในการบรรเทาอาการของโรคหวัด (common cold) และงานวิจัยเบื้องต้นของสถาบันการแพทย์แผนไทยร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรีเพื่อศึกษาประสิทธิผลของฟ้าทะลายโจร ในการบรรเทาอาการของโรคไข้หวัดใหญ่ (influenza) ชี้ให้เห็นว่าเมื่อใช้ฟ้าทะลาย-โจรร่วมกับยาพาราเซตามอลสามารถลดความรุนแรงของอาการโดยรวมของไข้หวัดใหญ่ และช่วยให้อาการหลายอาการ ของไข้หวัดใหญ่ทุเลาลงได้เร็วกว่าเมื่อได้รับยาพาราเซตามอลอย่างเดียว โดยแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรแคปซูลครั้งละ3-4 แคปซูล ขึ้นกับขนาดบรรจุต่อแคปซูล (375-500 มิลลิกรัม/แคปซูล) โดยให้ได้รับยาครั้งละ 1500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน และแนะนำว่าไม่ควรรับประทานนานเกิน 7 วัน เพราะอาจทำให้มีอาการมือเท้า ชาหรืออ่อนแรงได้ในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ
สำหรับการใช้ฟ้าทะลายโจรที่ปลูกในครัวเรือนนั้น อาจใช้ในรูปของยาต้ม โดยใช้ส่วนเหนือดินสับเป็นท่อนสั้นๆ หรือใช้ใบสด นำมาล้างให้สะอาด แล้วต้มประมาณ 1 กำมือ กับน้ำ นาน 10-15 นาที ดื่มวันละ 3 เวลา
• ยาแผนไทยบรรเทาอาการไข้ ยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติที่สามารถนำมาใช้ในการบรรเทาอาการไข้ได้มี 3 รายการ ได้แก่ ยาห้าราก (เบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง) ยาจันทลีลา (เหมาะสำหรับอาการไข้ที่มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวร่วมด้วย) สำหรับผู้ใหญ่ หรือยาเขียวหอมสำหรับเด็ก
• ยาบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ และ/หรือมีเสมหะควรอมบ้วนปาก กลั้วคอด้วยน้ำมัน กานพลู 1-2 หยดในน้ำ 1 แก้ว ใช้กลั้วคอ เช้าและเย็น หรือเคี้ยวดอกกานพลูแห้ง หรือทำน้ำยาบ้วนปากจากเปลือกมังคุด หรือเคี้ยวใบฝรั่งสดก็ได้ หรืออมลูกอมหรือกินยาน้ำแก้ไอที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่ช่วยให้ชุ่มคอ ลดเสมหะ ได้แก่ มะแว้ง มะขามป้อม ชะเอม หรือดื่มน้ำขิง หรือถ้าไอแห้ง อาจใช้สมุนไพรที่ช่วยขับน้ำลายให้มาชุ่มคอ เช่น มะนาวแทรกเกลือ
หากปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้น 1-2 วันแล้ว อาการไม่ดีขึ้นในวันที่ 3 ของการป่วย หรือมีอาการคือ หายใจเร็ว หายใจลำบาก ซึมผิดปกติ กินไม่ได้ ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันที
ใส่หน้ากากอนามัยถูกวิธี ชีวีจะปลอดภัย
1. เลือกหน้ากากอนามัยขนาดพอดีกับใบหน้า
2. ก่อนสวมหน้ากาก ควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด
3. สวมหน้ากากให้คลุมทั้งจมูกและปาก ปรับสายหน้ากากให้พอดีกับใบหน้า หน้ากากควรมีความกระชับเมื่อสวมใส่ แนบกับใบหน้าตั้งแต่จมูกถึงคาง ไม่ให้มีช่องว่างระหว่างใบหน้ากับหน้ากาก
4. หลังจากที่มีการใช้หน้ากากที่ทำจากผ้า สามารถซักเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การซัก ควรซักให้สะอาดด้วยน้ำและผงซักฟอก และตากให้แห้ง
5. หากใช้หน้ากากที่ทำจากกระดาษ ควรเปลี่ยนทุกวัน และทิ้งหน้ากากที่ใช้แล้วลงถังขยะที่มีฝาปิด
6. หากหน้ากากมีการปนเปื้อนหรือชำรุด ควรเปลี่ยนอันใหม่ทันที
7. หลังจากเลิกใช้หน้ากาก หรือหลังจากการเปลี่ยนหน้ากาก ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 109 ธันวาคม 2552 โดยสถาบันการแพทย์แผนไทย)