ความคิดอย่างหนึ่งที่สมควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นประจำ คือความคิดว่าพอ คิดให้รู้จักพอ ผู้รู้จักพอจะเป็นผู้ที่มีความสบายใจ ส่วนผู้ไม่รู้จักพอจะเป็นผู้ร้อนเร่าแสวงหาไม่หยุดยั้ง ความไม่รู้จักพอมีอยู่ได้แม้ในผู้เป็นใหญ่เป็นโต มั่งมีมหาศาล และความรู้จักพอก็มีได้แม้ในผู้ยากจน ต่ำต้อย ทั้งนี้ก็เพราะความพอเป็นเรื่องของใจที่ไม่เกี่ยวกับฐานะภายนอก คนรวยที่ไม่รู้จักพอก็เป็นคนจนอยู่ตลอดเวลา คนจนที่รู้จักพอก็เป็นคนมั่งมีอยู่ตลอดเวลา
การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้นทำได้ไม่ง่าย บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ แต่การยกระดับใจให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคนแม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริง
คนรู้จักพอไม่ใช่คนเกียจคร้าน และคนเกียจคร้านก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน แต่ให้เป็นคนรู้จักพอ
เมื่อรู้สึกไม่สบายใจให้รีบระงับเสียทันที อย่าชักช้า ตั้งสติให้ได้ในทันที รวมใจไม่ให้ความคิดวุ่นวายไปสู่เรื่อง อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความไม่สบายใจ อย่าอ้อยอิ่งลังเลว่าควรจะต้องคิดอย่างนั้นก่อน ควรจะต้องคิดอย่างนี้ก่อน ทั้งๆ ที่ความไม่สบายใจหรือความร้อนเริ่มกรุ่นขึ้นในใจแล้ว ถ้าต้องการความสบายใจก็ต้องเชื่อว่าไม่มีความคิดใดทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องคิดก่อน ทำใจให้รวมอยู่ ไม่ให้วุ่นวายไปในความคิดใดๆทั้งนั้น ต้องเชื่อว่าต้องรวม ใจไว้ให้ได้ในจุดที่ไม่มีเรื่องอันเป็นเหตุแห่งความร้อนเกี่ยวข้อง
ที่ท่านสอนให้ท่องพุทโธก็ตาม ให้ดูลมหายใจเข้าออกก็ตาม นั่นคือการสอนเพื่อให้ใจไม่วุ่นวายซัดส่ายไปหาเรื่องร้อน เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงแน่นอน
ไม่ว่าจะเผชิญกับความยากลำบากกายใจอย่างใดทั้งสิ้น ให้มั่นใจว่า การจะทำให้ความยากลำบากนั่นคลี่คลาย ก็ต้องกระทำเมื่อมีจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้น ใจที่เร่าร้อนขุ่นมัวไม่อาจคิดนึกตรึกตรองให้เห็นความปลอดโปร่งได้ ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้
อย่าคิดว่าเป็นความงมงาย เป็นการเสียเวลาที่จะปฏิบัติสิ่งที่เรียกกันว่าธรรมในขณะที่กำลังมีปัญหาประจำวันวุ่นวาย ให้เชื่อว่ายิ่งมีปัญหาชีวิตมากมายหนักหนาเพียงไรยิ่งจำเป็นต้องทำจิตใจให้สงบเยือกเย็นเพียงนั้น พยายามฝืนใจไม่นึกถึงปัญหายุ่งยากทั้งหลายเสียชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อเตรียมกำลังไว้ต่อสู้แก้ไข กำลังนั้นคืออำนาจที่เข้มแข็งบริบูรณ์ด้วย ปัญญาของใจที่สงบ
ใจที่สงบมีพลังเข้มแข็ง และเข้มแข็งทั้งสติปัญญา ใจที่สงบจะทำให้มีสติปัญญามากและแจ่มใสไม่ขุ่นมัว ความแจ่มใสนี้เปรียบเหมือนแสงสว่างที่สามารถส่องให้เห็นความควรไม่ควร คือควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควรปฏิบัติอย่างไร ใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวายไม่แจ่มใส ซึ่งเปรียบเหมือนความมืด ย่อมไม่สามารถ ช่วยให้เห็นความถูกต้องความควรไม่ควรได้ มีแต่จะพาให้ผิดพลาดเท่านั้น
ความโลภไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้เลย วัตถุสิ่งของเงินทองทั้งหลายที่ได้จากความโลภนั้น ดูเผินๆ เหมือนเป็นการยกฐานะเพิ่มความมั่นคง แต่ลึกลงไปจะเป็นการทำลายมากกว่า สิ่งที่ได้จากความโลภมักจะเป็นสิ่งไม่สมควร มักจะเป็นการได้จากความต้องเสียของผู้อื่น ผู้อื่นทั้งหลายที่ต้องเสียนั้นแหละจะเป็นเหตุทำลาย ความไม่ไว้วางใจของคนทั้งหลายจะเป็นเครื่องทำลายอย่างยิ่ง จะเป็นเหตุให้อะไรร้ายๆ ตามมา เมื่อถึงเวลา อะไรร้ายๆนั้นก็จะทำลายผู้มีความโลภจนเกินการ เมื่อเวลานั้นมาถึงก็จะสายเกินไป จนไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ ฉะนั้น ก็ควรหมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของกิเลสคือความโลภเสีย ตั้งแต่ยังไม่สายเกินไป
ถ้าความโลภเป็นความดี พระพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงสอน ให้ละความโลภ และพระองค์เองก็จะไม่ทรงพากเพียร ปฏิบัติละความโลภ จนเป็นที่ปรากฏประจักษ์ว่า ทรงละความโลภได้อย่างหมดจดสิ้นเชิง เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์สูงส่งยั่งยืนอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ แม้ว่าจะได้ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปี
เราเป็นพุทธศาสนิก นับถือพระพุทธเจ้า อย่าให้สักแต่ว่านับถือเพียงที่ปาก ต้องนับถือให้ถึงใจ การนับถือให้ถึงใจนั้นต้องหมายความว่า ทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไรต้องตั้งใจทำตามให้เต็มสติปัญญาความสามารถ
ที่สวดกันว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า ที่เป็นที่พึ่ง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง หมายถึงจะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่างจริงจัง
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้สวดมนต์เพื่อขอร้องวิงวอนให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี โดยเจ้าตัวเองไม่ปฏิบัติดี ความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์ ที่ผู้สวดจะได้รับผล เป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองสวัสดีถ้าปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์ หรือเช่นไม่ปฏิบัติตามที่สวดว่าข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ก็จะไม่ได้รับผลอันเลิศที่ควรได้รับเลย
ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติให้ได้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง คือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน และปฏิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้เถิด จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งตลอดไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
น่าจะไม่มีผู้ใดเลยที่เห็นว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความดี ทุกคนเห็นว่าไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น นับว่าเป็นความเห็นถูก แต่เพราะเห็นถูกไม่ตลอดจึงเกิดปัญหาในเรื่องกิเลสสามกองนี้ขึ้น ที่ว่าเห็นถูกไม่ตลอดก็คือแทบทุกคนไปเห็นว่าคนอื่นโลภโกรธหลงไม่ดี แต่ไม่เห็นด้วยว่าตนเองโลภโกรธหลงก็ไม่ดีเช่นกัน กลับเห็นผิดไปเสียว่าความโลภโกรธหลง ที่เกิดขึ้นในใจตนนั้น ไม่มีอะไรไม่ดี นี่คือความเห็นถูกไม่ตลอด ไปยกเว้นที่ว่าดีที่ตนเอง
เมื่อเห็นผู้อื่นที่โลภโกรธหลงน่ารังเกียจเพียงใด ให้เห็นว่าตนเองที่มีความโลภโกรธหลงนั้นน่ารังเกียจยิ่งกว่า แล้วพยายามทำตนให้พ้นจากความน่ารังเกียจนั้นให้เต็ม สติปัญญา ความสามารถ จะเรียกได้ว่าเป็นผู้มีปัญญา ไม่ปล่อยตนให้ตกอยู่ใต้ความสกปรกของความโลภโกรธหลง
โอกาสที่จะได้เห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง มีอยู่ทุกเวลานาที เรียกได้ว่าโอกาสที่จะดูแลตนเองให้เห็นโทษเห็นผิดของตนเองนั้นมีอยู่มากมายทุกเวลานาทีเช่นเดียว กัน สำคัญที่ว่าจะต้องไม่ละเลยปล่อยโอกาสอันงามนั้นให้พ้นไป อย่าลืมนึกถึงตนเองด้วยทุกครั้งไปที่พบเห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง
การแก้ความวุ่นวายทั้งหลายนั้น ที่ถูกแท้จะให้ผลจริง ต้องต่างคนต่างพร้อมใจกันแก้ที่ตัวเองเท่านั้น พร้อมใจกันและแก้ที่ตัวเองเท่านั้นที่จะให้ผลสำเร็จได้จริง
ไม่มีอำนาจของบุคคลอื่นใดที่จะสามารถบังคับบัญชา ให้ใครหันเข้าแก้ไขตนเองได้ นอกจากอำนาจใจของตัวเองเท่านั้นที่จะบังคับตัวเอง ทั้งยังจะต้องเป็นอำนาจใจที่เกิดจากปัญญาความเห็นถูกด้วย จึงจะสามารถนำให้หันเข้าแก้ไขตนเอง
ควรพยายามทำความเชื่อให้แน่นอนมั่นคงเสียก่อนว่า การแก้ที่ตนเองนั้นสำคัญที่สุด ต้องกระทำกันทุกคน ผลดีของส่วนรวม ของชาติ ของโลกจึงจะเกิดขึ้นได้
ทุกคนขอให้เริ่มแก้ตัวเองก่อน แก้ให้ใจวุ่นวายเร่าร้อน ด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง ให้กลับเป็นใจที่สงบเย็น บางเบาจากกิเลสคือ โลภ โกรธ หลง ที่เคยโลภมากก็ให้ลดลงเสียบ้าง ที่เคยโกรธแรงก็ให้โกรธเบาลง ที่เคยหลงจัดก็ให้พยายามใช้สติปัญญาให้ถูกต้องตามความจริงให้มากกว่าเดิม ตนเองจะเป็นผู้สงบเย็นก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบเย็น กว้างขวางออกไปได้อย่างไม่ต้องลังเลสงสัย
ความทุกข์จะต้องมีอยู่ตราบที่กิเลสทั้งสามกองคือ โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ กิเลสมีมากเพียงใดทุกข์มีมากเพียงนั้น เมื่อใดกิเลสสามกองหมดจากจิตใจอย่างสิ้นเชิงแล้วนั่นแหละ ความทุกข์จึงจะหมดไปอย่างสิ้นเชิงได้ จึงควรพยายามทำกิเลสให้หมดสิ้นให้จงได้ มีมานะพากเพียรใช้ปัญญาให้รอบคอบเต็มความสามารถให้ทุกเวลานาทีที่ทำได้ แล้วจะเป็นผู้ชนะได้มีความสุขอย่างยิ่ง
เราทุกคนต้องการเป็นสุข ต้องการพ้นทุกข์ แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นสุข เพื่อความสิ้นทุกข์ แล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ความคิดเร่าร้อนต่างๆ อันเป็นเหตุให้เป็นทุกข์กันอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากกิเลสในใจเป็นเหตุสำคัญทั้งสิ้น กิเลสนั่นแหละเป็นเครื่องบัญชาให้ความคิดเป็นไปในทางก่อทุกข์ทุกประการ ถ้าไม่มีกิเลสพาให้เป็นไปแล้ว ความคิดจะไม่เป็นไปในทางก่อทุกข์เลย ความคิดจะเป็นไปเพื่อความสงบสุขของตนเอง ของส่วนรวม ตลอดจนถึงของชาติ ของโลก
ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ต้องพยายามทำความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นสียก่อน ว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง คือกิเลสนี้แหละทำให้คิดไปในทางเป็นทุกข์ต่างๆ เมื่อยังกำจัดกิเลสไม่ได้จริงๆ ก็ต้องฝืนใจหยุดความคิดอันเต็มไปด้วยกิเลสเร่าร้อนเสียก่อน การหยุดความคิดที่เป็นโทษเป็นความร้อนนั้นทำได้ง่ายกว่าตัดรากถอนโคนกิเลส ฉะนั้น ในขั้นแรกก่อนที่จะสามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ก็ให้ฝืนใจไม่คิดไปในทางเป็นทุกข์เป็นโทษให้ได้เป็นครั้งคราวก่อนก็ยังดี
อย่าเข้าข้างตัวเองผิดๆ ดูตัวเองให้เข้าใจ เมื่อโลภเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโลภแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อโกรธเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโกรธแล้วและหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อหลงให้รู้ว่ากำลังคิดหลงแล้วและหยุดความคิดนั้นเสีย หัดหยุดความคิดที่เป็นกิเลสเสียก่อนตั้งแต่บัดนี้เถิด จะเป็นการเริ่มฐานต่อต้านกำราบปราบทุกข์ให้สิ้นไป ที่จะให้ผลจริงแท้แน่นอน
ความคิดของคนทุกคนแยกออกได้เป็นสอง อย่างหนึ่งคือ ความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลส มีโลภโกรธ หลง อีกอย่างหนึ่งคือความคิดที่พ้นจากอำนาจของความโลภโกรธหลง ความคิดอย่างแรกเป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อนความคิดอย่างหลังไม่เป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน
จะถือผู้ใดสิ่งใดเป็นครูได้ ก็ต่อเมื่อผู้นั้นสอนความถูกต้องดีงามให้เท่านั้น ต้องไม่ถือผู้ที่สอนความไม่ถูกไม่งามเป็นครูโดยเด็ดขาด และที่ว่าต้องไม่ถือเป็นครูก็หมายความว่า ต้องปฏิบัติตามที่ว่าให้ถือเป็นครู ก็คือให้ ปฏิบัติตาม
ทุกคนมีหน้าที่เป็นศิษย์ หน้าที่ของศิษย์ก็คือปฏิบัติตามครู อย่างให้ความเคารพ กล่าวได้ว่าให้เคารพและปฏิบัติตามคนดี แบบอย่างที่ดี รำลึกถึงคนดีและแบบอย่างที่ดีไว้เสมอ อย่างมีกตัญญูกตเวที คือรู้พระคุณท่าน และตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนก็คือทำตนเองให้ได้เหมือนครู นั่นเป็นสิ่งถูกต้องสมควรที่สุด จะได้รับความสุขสวัสดีตลอดไป
ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ ผู้ทำบุญทำกุศลอยู่สม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความดี และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากแสงสว่างนั้น แต่ถ้าตกค่ำมีความมืดมาบดบัง แสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไรๆได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อมไม่อาจขจัดความมืด ได้ ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้
ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคือที่คับขัน ย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับความดีที่ทำอยู่ ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดี ซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่างอยู่ในความสว่างก็ไม่ได้รับความเดือดร้อน แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือที่คับขัน ย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็นไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดีแตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
การยกฐานะจากยากจนให้มั่งมีนั้นทำได้ไม่ง่าย บางคนตลอดชาตินี้อาจทำไม่สำเร็จ แต่การยกระดับใจให้มั่งมีนั้นทำได้ทุกคนแม้มีความมุ่งมั่นจะทำจริง
คนรู้จักพอไม่ใช่คนเกียจคร้าน และคนเกียจคร้านก็ไม่ใช่คนรู้จักพอ ควรทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ถูกต้อง แล้วอบรมตนเองให้ไม่เป็นคนเกียจคร้าน แต่ให้เป็นคนรู้จักพอ
เมื่อรู้สึกไม่สบายใจให้รีบระงับเสียทันที อย่าชักช้า ตั้งสติให้ได้ในทันที รวมใจไม่ให้ความคิดวุ่นวายไปสู่เรื่อง อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์ความไม่สบายใจ อย่าอ้อยอิ่งลังเลว่าควรจะต้องคิดอย่างนั้นก่อน ควรจะต้องคิดอย่างนี้ก่อน ทั้งๆ ที่ความไม่สบายใจหรือความร้อนเริ่มกรุ่นขึ้นในใจแล้ว ถ้าต้องการความสบายใจก็ต้องเชื่อว่าไม่มีความคิดใดทั้งสิ้นที่จำเป็นต้องคิดก่อน ทำใจให้รวมอยู่ ไม่ให้วุ่นวายไปในความคิดใดๆทั้งนั้น ต้องเชื่อว่าต้องรวม ใจไว้ให้ได้ในจุดที่ไม่มีเรื่องอันเป็นเหตุแห่งความร้อนเกี่ยวข้อง
ที่ท่านสอนให้ท่องพุทโธก็ตาม ให้ดูลมหายใจเข้าออกก็ตาม นั่นคือการสอนเพื่อให้ใจไม่วุ่นวายซัดส่ายไปหาเรื่องร้อน เป็นวิธีที่จะให้ผลแท้จริงแน่นอน
ไม่ว่าจะเผชิญกับความยากลำบากกายใจอย่างใดทั้งสิ้น ให้มั่นใจว่า การจะทำให้ความยากลำบากนั่นคลี่คลาย ก็ต้องกระทำเมื่อมีจิตใจสงบเยือกเย็นแล้วเท่านั้น ใจที่เร่าร้อนขุ่นมัวไม่อาจคิดนึกตรึกตรองให้เห็นความปลอดโปร่งได้ ไม่อาจช่วยให้ร้ายกลายเป็นดีได้
อย่าคิดว่าเป็นความงมงาย เป็นการเสียเวลาที่จะปฏิบัติสิ่งที่เรียกกันว่าธรรมในขณะที่กำลังมีปัญหาประจำวันวุ่นวาย ให้เชื่อว่ายิ่งมีปัญหาชีวิตมากมายหนักหนาเพียงไรยิ่งจำเป็นต้องทำจิตใจให้สงบเยือกเย็นเพียงนั้น พยายามฝืนใจไม่นึกถึงปัญหายุ่งยากทั้งหลายเสียชั่วเวลาเพียงเล็กน้อย เพื่อเตรียมกำลังไว้ต่อสู้แก้ไข กำลังนั้นคืออำนาจที่เข้มแข็งบริบูรณ์ด้วย ปัญญาของใจที่สงบ
ใจที่สงบมีพลังเข้มแข็ง และเข้มแข็งทั้งสติปัญญา ใจที่สงบจะทำให้มีสติปัญญามากและแจ่มใสไม่ขุ่นมัว ความแจ่มใสนี้เปรียบเหมือนแสงสว่างที่สามารถส่องให้เห็นความควรไม่ควร คือควรปฏิบัติอย่างไร ไม่ควรปฏิบัติอย่างไร ใจที่สงบก็จะรู้ชัดถูกต้อง ตรงกันข้ามกับใจที่วุ่นวายไม่แจ่มใส ซึ่งเปรียบเหมือนความมืด ย่อมไม่สามารถ ช่วยให้เห็นความถูกต้องความควรไม่ควรได้ มีแต่จะพาให้ผิดพลาดเท่านั้น
ความโลภไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้นได้เลย วัตถุสิ่งของเงินทองทั้งหลายที่ได้จากความโลภนั้น ดูเผินๆ เหมือนเป็นการยกฐานะเพิ่มความมั่นคง แต่ลึกลงไปจะเป็นการทำลายมากกว่า สิ่งที่ได้จากความโลภมักจะเป็นสิ่งไม่สมควร มักจะเป็นการได้จากความต้องเสียของผู้อื่น ผู้อื่นทั้งหลายที่ต้องเสียนั้นแหละจะเป็นเหตุทำลาย ความไม่ไว้วางใจของคนทั้งหลายจะเป็นเครื่องทำลายอย่างยิ่ง จะเป็นเหตุให้อะไรร้ายๆ ตามมา เมื่อถึงเวลา อะไรร้ายๆนั้นก็จะทำลายผู้มีความโลภจนเกินการ เมื่อเวลานั้นมาถึงก็จะสายเกินไป จนไม่มีผู้ใดจะช่วยได้ ฉะนั้น ก็ควรหมั่นพิจารณาให้เห็นโทษของกิเลสคือความโลภเสีย ตั้งแต่ยังไม่สายเกินไป
ถ้าความโลภเป็นความดี พระพุทธเจ้าก็จักไม่ทรงสอน ให้ละความโลภ และพระองค์เองก็จะไม่ทรงพากเพียร ปฏิบัติละความโลภ จนเป็นที่ปรากฏประจักษ์ว่า ทรงละความโลภได้อย่างหมดจดสิ้นเชิง เป็นแบบอย่างที่บริสุทธิ์สูงส่งยั่งยืนอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้ แม้ว่าจะได้ทรงดับขันธปรินิพพานไปแล้วกว่าสองพันห้าร้อยปี
เราเป็นพุทธศาสนิก นับถือพระพุทธเจ้า อย่าให้สักแต่ว่านับถือเพียงที่ปาก ต้องนับถือให้ถึงใจ การนับถือให้ถึงใจนั้นต้องหมายความว่า ทรงสอนให้ปฏิบัติอย่างไรต้องตั้งใจทำตามให้เต็มสติปัญญาความสามารถ
ที่สวดกันว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า ที่เป็นที่พึ่ง ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง หมายถึงจะปฏิบัติตามพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อย่างจริงจัง
พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงสอนให้สวดมนต์เพื่อขอร้องวิงวอนให้ทรงบันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี โดยเจ้าตัวเองไม่ปฏิบัติดี ความหมายในบทสวดมีอยู่บริบูรณ์ ที่ผู้สวดจะได้รับผล เป็นความสุขความเจริญรุ่งเรืองสวัสดีถ้าปฏิบัติตาม แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามความหมายของบทสวดมนต์ หรือเช่นไม่ปฏิบัติตามที่สวดว่าข้าพเจ้าถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ก็จะไม่ได้รับผลอันเลิศที่ควรได้รับเลย
ฉะนั้น จึงควรปฏิบัติให้ได้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง คือปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิบัติ ปฏิบัติตามพระธรรมที่ทรงสั่งสอน และปฏิบัติตามพระสงฆ์สาวกที่ปฏิบัติเป็นแบบอย่างไว้เถิด จะได้รับความสุขสวัสดีอย่างยิ่งตลอดไปไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม
น่าจะไม่มีผู้ใดเลยที่เห็นว่าความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นความดี ทุกคนเห็นว่าไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น นับว่าเป็นความเห็นถูก แต่เพราะเห็นถูกไม่ตลอดจึงเกิดปัญหาในเรื่องกิเลสสามกองนี้ขึ้น ที่ว่าเห็นถูกไม่ตลอดก็คือแทบทุกคนไปเห็นว่าคนอื่นโลภโกรธหลงไม่ดี แต่ไม่เห็นด้วยว่าตนเองโลภโกรธหลงก็ไม่ดีเช่นกัน กลับเห็นผิดไปเสียว่าความโลภโกรธหลง ที่เกิดขึ้นในใจตนนั้น ไม่มีอะไรไม่ดี นี่คือความเห็นถูกไม่ตลอด ไปยกเว้นที่ว่าดีที่ตนเอง
เมื่อเห็นผู้อื่นที่โลภโกรธหลงน่ารังเกียจเพียงใด ให้เห็นว่าตนเองที่มีความโลภโกรธหลงนั้นน่ารังเกียจยิ่งกว่า แล้วพยายามทำตนให้พ้นจากความน่ารังเกียจนั้นให้เต็ม สติปัญญา ความสามารถ จะเรียกได้ว่าเป็นผู้มีปัญญา ไม่ปล่อยตนให้ตกอยู่ใต้ความสกปรกของความโลภโกรธหลง
โอกาสที่จะได้เห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง มีอยู่ทุกเวลานาที เรียกได้ว่าโอกาสที่จะดูแลตนเองให้เห็นโทษเห็นผิดของตนเองนั้นมีอยู่มากมายทุกเวลานาทีเช่นเดียว กัน สำคัญที่ว่าจะต้องไม่ละเลยปล่อยโอกาสอันงามนั้นให้พ้นไป อย่าลืมนึกถึงตนเองด้วยทุกครั้งไปที่พบเห็นคนโลภ คนโกรธ คนหลง
การแก้ความวุ่นวายทั้งหลายนั้น ที่ถูกแท้จะให้ผลจริง ต้องต่างคนต่างพร้อมใจกันแก้ที่ตัวเองเท่านั้น พร้อมใจกันและแก้ที่ตัวเองเท่านั้นที่จะให้ผลสำเร็จได้จริง
ไม่มีอำนาจของบุคคลอื่นใดที่จะสามารถบังคับบัญชา ให้ใครหันเข้าแก้ไขตนเองได้ นอกจากอำนาจใจของตัวเองเท่านั้นที่จะบังคับตัวเอง ทั้งยังจะต้องเป็นอำนาจใจที่เกิดจากปัญญาความเห็นถูกด้วย จึงจะสามารถนำให้หันเข้าแก้ไขตนเอง
ควรพยายามทำความเชื่อให้แน่นอนมั่นคงเสียก่อนว่า การแก้ที่ตนเองนั้นสำคัญที่สุด ต้องกระทำกันทุกคน ผลดีของส่วนรวม ของชาติ ของโลกจึงจะเกิดขึ้นได้
ทุกคนขอให้เริ่มแก้ตัวเองก่อน แก้ให้ใจวุ่นวายเร่าร้อน ด้วยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง ให้กลับเป็นใจที่สงบเย็น บางเบาจากกิเลสคือ โลภ โกรธ หลง ที่เคยโลภมากก็ให้ลดลงเสียบ้าง ที่เคยโกรธแรงก็ให้โกรธเบาลง ที่เคยหลงจัดก็ให้พยายามใช้สติปัญญาให้ถูกต้องตามความจริงให้มากกว่าเดิม ตนเองจะเป็นผู้สงบเย็นก่อน ซึ่งจะเป็นเหตุให้เกิดความสงบเย็น กว้างขวางออกไปได้อย่างไม่ต้องลังเลสงสัย
ความทุกข์จะต้องมีอยู่ตราบที่กิเลสทั้งสามกองคือ โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ กิเลสมีมากเพียงใดทุกข์มีมากเพียงนั้น เมื่อใดกิเลสสามกองหมดจากจิตใจอย่างสิ้นเชิงแล้วนั่นแหละ ความทุกข์จึงจะหมดไปอย่างสิ้นเชิงได้ จึงควรพยายามทำกิเลสให้หมดสิ้นให้จงได้ มีมานะพากเพียรใช้ปัญญาให้รอบคอบเต็มความสามารถให้ทุกเวลานาทีที่ทำได้ แล้วจะเป็นผู้ชนะได้มีความสุขอย่างยิ่ง
เราทุกคนต้องการเป็นสุข ต้องการพ้นทุกข์ แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นสุข เพื่อความสิ้นทุกข์ แล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ความคิดเร่าร้อนต่างๆ อันเป็นเหตุให้เป็นทุกข์กันอยู่ในทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากกิเลสในใจเป็นเหตุสำคัญทั้งสิ้น กิเลสนั่นแหละเป็นเครื่องบัญชาให้ความคิดเป็นไปในทางก่อทุกข์ทุกประการ ถ้าไม่มีกิเลสพาให้เป็นไปแล้ว ความคิดจะไม่เป็นไปในทางก่อทุกข์เลย ความคิดจะเป็นไปเพื่อความสงบสุขของตนเอง ของส่วนรวม ตลอดจนถึงของชาติ ของโลก
ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ต้องพยายามทำความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นสียก่อน ว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง คือกิเลสนี้แหละทำให้คิดไปในทางเป็นทุกข์ต่างๆ เมื่อยังกำจัดกิเลสไม่ได้จริงๆ ก็ต้องฝืนใจหยุดความคิดอันเต็มไปด้วยกิเลสเร่าร้อนเสียก่อน การหยุดความคิดที่เป็นโทษเป็นความร้อนนั้นทำได้ง่ายกว่าตัดรากถอนโคนกิเลส ฉะนั้น ในขั้นแรกก่อนที่จะสามารถทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ก็ให้ฝืนใจไม่คิดไปในทางเป็นทุกข์เป็นโทษให้ได้เป็นครั้งคราวก่อนก็ยังดี
อย่าเข้าข้างตัวเองผิดๆ ดูตัวเองให้เข้าใจ เมื่อโลภเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโลภแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อโกรธเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลังคิดโกรธแล้วและหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อหลงให้รู้ว่ากำลังคิดหลงแล้วและหยุดความคิดนั้นเสีย หัดหยุดความคิดที่เป็นกิเลสเสียก่อนตั้งแต่บัดนี้เถิด จะเป็นการเริ่มฐานต่อต้านกำราบปราบทุกข์ให้สิ้นไป ที่จะให้ผลจริงแท้แน่นอน
ความคิดของคนทุกคนแยกออกได้เป็นสอง อย่างหนึ่งคือ ความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของกิเลส มีโลภโกรธ หลง อีกอย่างหนึ่งคือความคิดที่พ้นจากอำนาจของความโลภโกรธหลง ความคิดอย่างแรกเป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อนความคิดอย่างหลังไม่เป็นเหตุให้ทุกข์ให้ร้อน
จะถือผู้ใดสิ่งใดเป็นครูได้ ก็ต่อเมื่อผู้นั้นสอนความถูกต้องดีงามให้เท่านั้น ต้องไม่ถือผู้ที่สอนความไม่ถูกไม่งามเป็นครูโดยเด็ดขาด และที่ว่าต้องไม่ถือเป็นครูก็หมายความว่า ต้องปฏิบัติตามที่ว่าให้ถือเป็นครู ก็คือให้ ปฏิบัติตาม
ทุกคนมีหน้าที่เป็นศิษย์ หน้าที่ของศิษย์ก็คือปฏิบัติตามครู อย่างให้ความเคารพ กล่าวได้ว่าให้เคารพและปฏิบัติตามคนดี แบบอย่างที่ดี รำลึกถึงคนดีและแบบอย่างที่ดีไว้เสมอ อย่างมีกตัญญูกตเวที คือรู้พระคุณท่าน และตอบแทนพระคุณท่าน การตอบแทนก็คือทำตนเองให้ได้เหมือนครู นั่นเป็นสิ่งถูกต้องสมควรที่สุด จะได้รับความสุขสวัสดีตลอดไป
ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแสงไฟ ผู้ทำบุญทำกุศลอยู่สม่ำเสมอเพียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความดี และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ดี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลางแสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากแสงสว่างนั้น แต่ถ้าตกค่ำมีความมืดมาบดบัง แสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความมืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไรๆได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสียได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด ย่อมไม่อาจขจัดความมืด ได้ ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้
ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคือที่คับขัน ย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพอสมควรกับความดีที่ทำอยู่ ตรงกันข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดี ซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่างอยู่ในความสว่างก็ไม่ได้รับความเดือดร้อน แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือที่คับขัน ย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่างสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็นไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดีแตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 107 ตุลาคม 2552 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)