ภาวการณ์ของสังคมไทยในปัจจุบัน มีความนิยมแพร่หลายทั่วไปอย่างหนึ่งนั่นก็คือ การเปลี่ยนชื่อ โดยมีความเชื่อว่า จะทำให้อะไรๆ ในชีวิตดีขึ้น เป็นสิริมงคล ทำให้เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน การศึกษาเล่าเรียน และเป็นผลดีต่อสุขภาพ ฯลฯ
แรกๆความคิดในการเปลี่ยนชื่อ นิยมทำกันในหมู่ของดารา นักแสดง ไฮโซไฮซ้อทั้งหลาย แล้วกระจายไปสู่กลุ่มอื่น จนกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนที่มีความเชื่อเรื่องเหล่านี้
ถ้าเรามองย้อนไปสู่อดีต จะเห็นว่าคนที่มีการศึกษาดีหน่อย ก็มักจะตั้งชื่อตามตำรับตำรา ที่เป็นแบบแผนตามความเชื่อแต่โบร่ำโบราณมาว่า คนเกิดวันเดือนปีนั้นๆ จะต้องมีชื่อประกอบด้วยสระพยัญชนะ อะไรบ้าง โดยมากผู้ที่จะตั้งชื่อให้มักเป็นพระเสียส่วนใหญ่ หรือมิฉะนั้นก็เป็นผู้ใหญ่ผู้คงแก่เรียน เป็นที่เคารพนับถือ ชื่อที่ท่านตั้งให้จึงมีความไพเราะ มีความหมายดี แต่ไม่ได้อวดอ้างสรรพคุณอย่างทุกวันนี้ รู้กันว่าเป็นมงคลนาม ก็พอแล้ว
ส่วนชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยพิถีพิถัน ชื่ออะไรก็ได้ นายแดง นายดำ นายอ่ำ นางมา นางมี เป็นต้น เพราะสมัยก่อนการศึกษาไม่ค่อยแพร่หลาย บางคนอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ชื่อซ้ำกันก็มี จึงต้องมีฉายากำกับหรือต่อท้ายชื่อ เช่น นายเขียนอ่านไม่ออก ก็รู้กันว่าหมายถึงนายเขียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ต่างกับนายเขียนลูกตาแดง เป็นต้น
แต่มา พ.ศ.นี้ การตั้งชื่อถ้าไม่เพราะ และไม่มีความหมายที่ดี รวมถึงไม่มีสัญญาณจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนแล้ว ก็จะมีการขอเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เกิดความเชื่อมั่นว่า เปลี่ยนชื่อแล้วจะดีขึ้น โดยไม่คำนึงว่าชื่อนั้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย ตั้งให้ ซึ่งก็เป็นมงคลอยู่แล้ว
ผู้ที่รับหน้าที่เปลี่ยนชื่อแก่คนทั้งหลาย ก็มีทั้งพระและฆราวาส ที่มีความรู้ในเรื่องโหราศาสตร์ และภาษา ศาสตร์พอสมควร สามารถอธิบายความให้คนที่มาขอตั้งชื่อให้ว่า เกิดวัน เดือน ปี เวลาตกฟาก เท่านั้นเท่านี้ ชื่อ ต้องประกอบด้วยสระพยัญชนะตัวนั้นตัวนี้ และแต่ละตัวของสระและพยัญชนะนั้นมีกำลังเป็นตัวเลขเท่านั้นเท่านี้ ถ้าชื่อตามนี้แล้ว ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คดีความที่ค้างคาอยู่ในศาลก็จะชนะ อุปสรรคต่างๆ จะน้อยลง เรียกได้ว่า การเปลี่ยนชื่อนั้นมีสรรพคุณท่วมหลังช้าง อธิบายได้ไม่รู้จบ คนจึงแห่กันไปเปลี่ยนชื่อกันเป็นแถว
เปลี่ยนชื่อคนยังไม่พอ ยังคิดเปลี่ยนชื่อสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น เหี้ย ที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ตัวเงินตัวทอง ก็เปลี่ยนชื่อเป็น “วรนุช” โดยอ้างว่าเป็นชื่อที่ได้มา จากภาษาต่างประเทศ เพราะฉะนั้น คนที่เดือดร้อนก็คือคนที่ชื่อวรนุชนั่นเอง จะเดือดร้อนมากหรือน้อย ก็อยู่ที่ใจของวรนุช จะยึดติดกับสิ่งที่เขาเรียกหรือไม่ ถ้าไม่ยึดติดก็ไม่มีอะไร เพราะมันแตกต่างกันอยู่แล้ว ระหว่างคนกับสัตว์ แต่ก็อดสงสารไม่ได้ว่า ทำไมเขาจึงทำแบบวรนุชๆ อย่างนี้
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ชื่อมีไว้สำหรับเรียกขาน เพื่อให้รู้ว่า คนนี้ชื่อนี้ เมื่อเวลาถูกเรียกชื่อจะได้รู้ว่าเรียกใคร หรือใครถูกเรียก คนจะดีจะชั่วไม่ได้อยู่ที่ชื่อเสมอไป ชื่อนายดี แต่เป็นคนชั่วก็เยอะแยะ แม้กระนั้น ความนิยมในการตั้งชื่อก็ยังมีอยู่จนกลายเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่มีมาก่อนครั้งพุทธกาลเป็นร้อยปีพันปี และยังครอบงำสังคมโลกอยู่จนทุกวันนี้
พระพุทธเจ้าเอง เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ก็มีพิธีขนานพระนามตามลัทธิพราหมณ์ว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “ผู้สำเร็จความปรารถนา” แล้วก็มีการทำนายทายทักว่า ถ้าสิทธัตถกุมารอยู่ครองฆราวาสวิสัย จักได้เป็นเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าออกผนวชก็จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่พราหมณ์หนุ่ม ชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า จักออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะตรัสรู้เมื่อไร ตรัสรู้ธรรมอะไร ตรัสรู้ที่ไหน บำเพ็ญเพียรนานเท่าไรจึงตรัสรู้ ไม่มีใครทำนายได้
แต่ที่พระองค์ตรัสรู้ เพราะมีความเพียรพยายามต่อเนื่องยาวนานถึง ๖ ปี และเป็นการกระทำของมนุษย์ที่อยู่เหนือมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย และอยู่เหนือศาสตร์แห่งการพยากรณ์ ที่ให้คำพยากรณ์ถูกเพียงครึ่งเดียว ที่เหลือนอกนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ในทำนองเดียวกัน เมื่อพูดถึงพระองคุลิมาล ชาวพุทธทุกคนรู้จักดี ตอนที่ท่านเกิดนั้น อาวุธทั้งหลายมีดาบและหอก เป็นต้น เกิดประกายไฟสว่างขึ้น บิดาของท่านเป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล รู้ว่าลูกเกิดในฤกษ์ดาวโจร กราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า เด็กคนนี้ต่อไปจะเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ขอให้พระองค์มีรับสั่งให้ประหารเสียเถิด พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า ถ้าเขาไม่ใช่โจรปล้นชิงราชบัลลังก์ก็เลี้ยงเขาไว้เถิดบิดาจึงตั้งชื่อเป็นมงคลนามว่า “อหิงสกะ” แปลว่า “ผู้ไม่เบียดเบียน”
ต่อมา เมื่ออหิงสกกุมารเติบใหญ่ บิดาส่งไปศึกษาศิลปวิทยาการในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จนสำเร็จการศึกษา แต่ถูก อาจารย์หลอกให้ไปฆ่าคน ๑,๐๐๐ คน เพื่อประกอบการเรียนมนต์วิเศษ จึงหลงเชื่อโดยฆ่าคนและตัดนิ้วหัวแม่มือของผู้ที่ถูกฆ่า ร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอ เขาจึงได้ชื่อว่า “โจร องคุลิมาล” แปลว่า โจรผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย
แต่สุดท้ายท่านได้พบพระพุทธเจ้า เกิดความ เลื่อมใสและขอบวชในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา แต่ท่านไปบิณฑบาตในที่ใด ก็มักถูกคนขว้างปาจนได้รับบาดเจ็บ แต่ท่านก็อดทน เพราะรู้ว่านั่นเป็นผลแห่งกรรมที่ได้กระทำไว้และต้องชดใช้ แม้จะเป็นพระอรหันต์ก็หนีวิบากแห่งกรรมไม่พ้น และชื่อของท่านก็ถูกเรียกขานว่า “องคุลิมาล” เหมือนเดิม มิได้เปลี่ยนไป แต่พฤติกรรมของท่านเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีชื่อเป็นมงคลนามดีปานใด แต่ถ้าได้ใกล้ชิดกับคนพาลมีจิตริษยา ผู้ที่ชื่อว่า “อหิงสกะ” ไม่เบียดเบียน ก็กลายเป็นโจรองคุลิมาลไปได้ โดยไม่ยากเลย คำพยากรณ์ของปุโรหิตผู้เป็นบิดาก็ถูกเพียงครึ่งเดียว คือรู้เพียงว่าลูกต้องเป็นโจร แต่ไม่รู้เลยว่า หลังจากเป็นโจรแล้ว ลูกจะเป็นอะไร หรืออะไรจะเกิดขึ้นแก่ลูก ลูกที่เป็นโจรจะกลับมาเป็นคนดีได้หรือไม่ ไม่รู้!
ก็ต้องขอฝากไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า การตั้งชื่อก็ดี การพยากรณ์ทำนายทายทักที่นิยมเรียกกันว่าโหราศาสตร์นั้น ขอให้มั่นใจได้เลยว่าจะทำนายได้เพียงครึ่งเดียวของความ จริงในชีวิต หรืออาจจะน้อยกว่าครึ่งด้วยซ้ำไป ก็อย่าได้ฝังใจ ติดใจ ยึดถือว่าจะต้องเป็นไปตามคำทำนาย แต่จะใส่ใจในเรื่องหลักกรรมที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะประเสริฐกว่าเยอะ
ชีวิตคนเรานั้น เมื่ออยู่ในโลก ย่อมต้องเป็นไปตามกระแสแห่งโลก หรือถูกกระแสของโลกครอบงำ คือ มีลาภ - เสื่อมลาภ, มียศ - เลื่อมยศ, นินทา - สรรเสริญ, สุข - ทุกข์ ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนเวียนเข้ามาสู่ชีวิตของคนทุกคน เป็นแต่ว่าจะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น และสำหรับปุถุชนผู้มิเคยสดับรับรู้ธรรมเหล่านี้ ก็จะยินดีหลงลืมตนระเริงไปเมื่อได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุข และจะหดหู่ท้อแท้สิ้นหวัง เศร้าเสียใจเมื่อเสื่อมลาภ เลื่อมยศ ถูกนินทา และได้ความทุกข์
วิธีแก้ปัญหานี้จึงไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนชื่อ แต่ต้องรู้อย่างเท่าทัน และเข้าถึงปัญหาว่า ชีวิตคนเราต้องเป็นอย่าง นั้นเอง เราไม่ได้ทำดีมาตลอด แต่ทำดีบ้างชั่วบ้าง คละ เคล้ากันไป ก็จะต้องประสบกับโลกธรรมทั้ง ๘ นี้แน่นอน แต่มันก็สามารถคลี่คลายได้โดยตัวของมันเอง โดยเราอย่ายินดีหรือยินร้ายจนเกินเหตุ มีสติพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเกิดได้และมันก็เสื่อมได้ ไม่มีอะไรคงทนอยู่ได้นาน เราก็ไม่ต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ถ้าไม่รู้ถึงธรรม เหล่านี้ ถึงจะเปลี่ยนชื่อใหม่ก็หาประโยชน์อะไรไม่ได้เลย
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยธมมฺจจรถ)
แรกๆความคิดในการเปลี่ยนชื่อ นิยมทำกันในหมู่ของดารา นักแสดง ไฮโซไฮซ้อทั้งหลาย แล้วกระจายไปสู่กลุ่มอื่น จนกลายเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับคนที่มีความเชื่อเรื่องเหล่านี้
ถ้าเรามองย้อนไปสู่อดีต จะเห็นว่าคนที่มีการศึกษาดีหน่อย ก็มักจะตั้งชื่อตามตำรับตำรา ที่เป็นแบบแผนตามความเชื่อแต่โบร่ำโบราณมาว่า คนเกิดวันเดือนปีนั้นๆ จะต้องมีชื่อประกอบด้วยสระพยัญชนะ อะไรบ้าง โดยมากผู้ที่จะตั้งชื่อให้มักเป็นพระเสียส่วนใหญ่ หรือมิฉะนั้นก็เป็นผู้ใหญ่ผู้คงแก่เรียน เป็นที่เคารพนับถือ ชื่อที่ท่านตั้งให้จึงมีความไพเราะ มีความหมายดี แต่ไม่ได้อวดอ้างสรรพคุณอย่างทุกวันนี้ รู้กันว่าเป็นมงคลนาม ก็พอแล้ว
ส่วนชาวบ้านทั่วไปไม่ค่อยพิถีพิถัน ชื่ออะไรก็ได้ นายแดง นายดำ นายอ่ำ นางมา นางมี เป็นต้น เพราะสมัยก่อนการศึกษาไม่ค่อยแพร่หลาย บางคนอยู่หมู่บ้านเดียวกัน ชื่อซ้ำกันก็มี จึงต้องมีฉายากำกับหรือต่อท้ายชื่อ เช่น นายเขียนอ่านไม่ออก ก็รู้กันว่าหมายถึงนายเขียนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ต่างกับนายเขียนลูกตาแดง เป็นต้น
แต่มา พ.ศ.นี้ การตั้งชื่อถ้าไม่เพราะ และไม่มีความหมายที่ดี รวมถึงไม่มีสัญญาณจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนแล้ว ก็จะมีการขอเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เกิดความเชื่อมั่นว่า เปลี่ยนชื่อแล้วจะดีขึ้น โดยไม่คำนึงว่าชื่อนั้น มารดาบิดา ปู่ย่า ตายาย ตั้งให้ ซึ่งก็เป็นมงคลอยู่แล้ว
ผู้ที่รับหน้าที่เปลี่ยนชื่อแก่คนทั้งหลาย ก็มีทั้งพระและฆราวาส ที่มีความรู้ในเรื่องโหราศาสตร์ และภาษา ศาสตร์พอสมควร สามารถอธิบายความให้คนที่มาขอตั้งชื่อให้ว่า เกิดวัน เดือน ปี เวลาตกฟาก เท่านั้นเท่านี้ ชื่อ ต้องประกอบด้วยสระพยัญชนะตัวนั้นตัวนี้ และแต่ละตัวของสระและพยัญชนะนั้นมีกำลังเป็นตัวเลขเท่านั้นเท่านี้ ถ้าชื่อตามนี้แล้ว ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน คดีความที่ค้างคาอยู่ในศาลก็จะชนะ อุปสรรคต่างๆ จะน้อยลง เรียกได้ว่า การเปลี่ยนชื่อนั้นมีสรรพคุณท่วมหลังช้าง อธิบายได้ไม่รู้จบ คนจึงแห่กันไปเปลี่ยนชื่อกันเป็นแถว
เปลี่ยนชื่อคนยังไม่พอ ยังคิดเปลี่ยนชื่อสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น เหี้ย ที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า ตัวเงินตัวทอง ก็เปลี่ยนชื่อเป็น “วรนุช” โดยอ้างว่าเป็นชื่อที่ได้มา จากภาษาต่างประเทศ เพราะฉะนั้น คนที่เดือดร้อนก็คือคนที่ชื่อวรนุชนั่นเอง จะเดือดร้อนมากหรือน้อย ก็อยู่ที่ใจของวรนุช จะยึดติดกับสิ่งที่เขาเรียกหรือไม่ ถ้าไม่ยึดติดก็ไม่มีอะไร เพราะมันแตกต่างกันอยู่แล้ว ระหว่างคนกับสัตว์ แต่ก็อดสงสารไม่ได้ว่า ทำไมเขาจึงทำแบบวรนุชๆ อย่างนี้
สำหรับพระพุทธศาสนานั้น ชื่อมีไว้สำหรับเรียกขาน เพื่อให้รู้ว่า คนนี้ชื่อนี้ เมื่อเวลาถูกเรียกชื่อจะได้รู้ว่าเรียกใคร หรือใครถูกเรียก คนจะดีจะชั่วไม่ได้อยู่ที่ชื่อเสมอไป ชื่อนายดี แต่เป็นคนชั่วก็เยอะแยะ แม้กระนั้น ความนิยมในการตั้งชื่อก็ยังมีอยู่จนกลายเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่มีมาก่อนครั้งพุทธกาลเป็นร้อยปีพันปี และยังครอบงำสังคมโลกอยู่จนทุกวันนี้
พระพุทธเจ้าเอง เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ ก็มีพิธีขนานพระนามตามลัทธิพราหมณ์ว่า “สิทธัตถะ” แปลว่า “ผู้สำเร็จความปรารถนา” แล้วก็มีการทำนายทายทักว่า ถ้าสิทธัตถกุมารอยู่ครองฆราวาสวิสัย จักได้เป็นเจ้าจักรพรรดิ มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ถ้าออกผนวชก็จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่พราหมณ์หนุ่ม ชื่อ โกณฑัญญะ ทำนายว่า จักออกผนวชและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะตรัสรู้เมื่อไร ตรัสรู้ธรรมอะไร ตรัสรู้ที่ไหน บำเพ็ญเพียรนานเท่าไรจึงตรัสรู้ ไม่มีใครทำนายได้
แต่ที่พระองค์ตรัสรู้ เพราะมีความเพียรพยายามต่อเนื่องยาวนานถึง ๖ ปี และเป็นการกระทำของมนุษย์ที่อยู่เหนือมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย และอยู่เหนือศาสตร์แห่งการพยากรณ์ ที่ให้คำพยากรณ์ถูกเพียงครึ่งเดียว ที่เหลือนอกนั้นไม่รู้เรื่องอะไรเลย
ในทำนองเดียวกัน เมื่อพูดถึงพระองคุลิมาล ชาวพุทธทุกคนรู้จักดี ตอนที่ท่านเกิดนั้น อาวุธทั้งหลายมีดาบและหอก เป็นต้น เกิดประกายไฟสว่างขึ้น บิดาของท่านเป็นพราหมณ์ปุโรหิตของพระเจ้าปเสนทิโกศล รู้ว่าลูกเกิดในฤกษ์ดาวโจร กราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า เด็กคนนี้ต่อไปจะเป็นโจรฆ่าชาวบ้าน เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ขอให้พระองค์มีรับสั่งให้ประหารเสียเถิด พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสว่า ถ้าเขาไม่ใช่โจรปล้นชิงราชบัลลังก์ก็เลี้ยงเขาไว้เถิดบิดาจึงตั้งชื่อเป็นมงคลนามว่า “อหิงสกะ” แปลว่า “ผู้ไม่เบียดเบียน”
ต่อมา เมื่ออหิงสกกุมารเติบใหญ่ บิดาส่งไปศึกษาศิลปวิทยาการในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ จนสำเร็จการศึกษา แต่ถูก อาจารย์หลอกให้ไปฆ่าคน ๑,๐๐๐ คน เพื่อประกอบการเรียนมนต์วิเศษ จึงหลงเชื่อโดยฆ่าคนและตัดนิ้วหัวแม่มือของผู้ที่ถูกฆ่า ร้อยเป็นพวงมาลัยคล้องคอ เขาจึงได้ชื่อว่า “โจร องคุลิมาล” แปลว่า โจรผู้มีนิ้วมือเป็นพวงมาลัย
แต่สุดท้ายท่านได้พบพระพุทธเจ้า เกิดความ เลื่อมใสและขอบวชในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา แต่ท่านไปบิณฑบาตในที่ใด ก็มักถูกคนขว้างปาจนได้รับบาดเจ็บ แต่ท่านก็อดทน เพราะรู้ว่านั่นเป็นผลแห่งกรรมที่ได้กระทำไว้และต้องชดใช้ แม้จะเป็นพระอรหันต์ก็หนีวิบากแห่งกรรมไม่พ้น และชื่อของท่านก็ถูกเรียกขานว่า “องคุลิมาล” เหมือนเดิม มิได้เปลี่ยนไป แต่พฤติกรรมของท่านเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า แม้จะมีชื่อเป็นมงคลนามดีปานใด แต่ถ้าได้ใกล้ชิดกับคนพาลมีจิตริษยา ผู้ที่ชื่อว่า “อหิงสกะ” ไม่เบียดเบียน ก็กลายเป็นโจรองคุลิมาลไปได้ โดยไม่ยากเลย คำพยากรณ์ของปุโรหิตผู้เป็นบิดาก็ถูกเพียงครึ่งเดียว คือรู้เพียงว่าลูกต้องเป็นโจร แต่ไม่รู้เลยว่า หลังจากเป็นโจรแล้ว ลูกจะเป็นอะไร หรืออะไรจะเกิดขึ้นแก่ลูก ลูกที่เป็นโจรจะกลับมาเป็นคนดีได้หรือไม่ ไม่รู้!
ก็ต้องขอฝากไว้เป็นอุทาหรณ์ว่า การตั้งชื่อก็ดี การพยากรณ์ทำนายทายทักที่นิยมเรียกกันว่าโหราศาสตร์นั้น ขอให้มั่นใจได้เลยว่าจะทำนายได้เพียงครึ่งเดียวของความ จริงในชีวิต หรืออาจจะน้อยกว่าครึ่งด้วยซ้ำไป ก็อย่าได้ฝังใจ ติดใจ ยึดถือว่าจะต้องเป็นไปตามคำทำนาย แต่จะใส่ใจในเรื่องหลักกรรมที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จะประเสริฐกว่าเยอะ
ชีวิตคนเรานั้น เมื่ออยู่ในโลก ย่อมต้องเป็นไปตามกระแสแห่งโลก หรือถูกกระแสของโลกครอบงำ คือ มีลาภ - เสื่อมลาภ, มียศ - เลื่อมยศ, นินทา - สรรเสริญ, สุข - ทุกข์ ธรรม ๘ ประการนี้ ย่อมหมุนเวียนเข้ามาสู่ชีวิตของคนทุกคน เป็นแต่ว่าจะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น และสำหรับปุถุชนผู้มิเคยสดับรับรู้ธรรมเหล่านี้ ก็จะยินดีหลงลืมตนระเริงไปเมื่อได้ลาภ ได้ยศ ได้สรรเสริญ ได้สุข และจะหดหู่ท้อแท้สิ้นหวัง เศร้าเสียใจเมื่อเสื่อมลาภ เลื่อมยศ ถูกนินทา และได้ความทุกข์
วิธีแก้ปัญหานี้จึงไม่ได้อยู่ที่การเปลี่ยนชื่อ แต่ต้องรู้อย่างเท่าทัน และเข้าถึงปัญหาว่า ชีวิตคนเราต้องเป็นอย่าง นั้นเอง เราไม่ได้ทำดีมาตลอด แต่ทำดีบ้างชั่วบ้าง คละ เคล้ากันไป ก็จะต้องประสบกับโลกธรรมทั้ง ๘ นี้แน่นอน แต่มันก็สามารถคลี่คลายได้โดยตัวของมันเอง โดยเราอย่ายินดีหรือยินร้ายจนเกินเหตุ มีสติพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเกิดได้และมันก็เสื่อมได้ ไม่มีอะไรคงทนอยู่ได้นาน เราก็ไม่ต้องโศกเศร้าเสียใจ แต่ถ้าไม่รู้ถึงธรรม เหล่านี้ ถึงจะเปลี่ยนชื่อใหม่ก็หาประโยชน์อะไรไม่ได้เลย
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยธมมฺจจรถ)