๒. สมถกรรมฐาน
สมถกรรมฐานเป็นกรรมฐานเพื่อให้เกิดความสงบตั้งมั่นทางจิตใจ เป็นเครื่องข่มนิวรณ์ซึ่งขวางกั้นการเจริญปัญญา มีวิธีการที่สำคัญคือ ให้มีสติระลึกรู้อย่างสบายๆ และต่อเนื่องถึงอารมณ์บัญญัติอันใดอันหนึ่งที่ถูกกับจริตนิสัยของตน ซึ่งเมื่อระลึกแล้วเกิดความสบายใจ สิ่งสำคัญคือความสบายใจ เพราะถ้าไม่สบาย ใจ จิตจะไม่สงบ เนื่องจากความสุขความ สบายนั้นแหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดความสงบตั้งมั่นของจิต
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเจริญสมถกรรมฐานก็คือ (๑) จะต้องมีสติอยู่เนืองๆ เพราะการตามรู้อารมณ์แล้วเกิดความเผลอสติจัดเป็นวิธีการปฏิบัติที่ผิด ถึงจะเกิดความสงบก็เป็นความสงบที่จิตเจือด้วยโมหะและโลภะ (๒) ระหว่างที่เจริญสมถกรรมฐานอยู่นั้น หากเกิดอาการแปลกๆ ทางกายหรือทางใจ หรือเกิดนิมิต แปลกปลอมใดๆขึ้น ก็ให้ทิ้งอาการหรือนิมิตแปลกปลอมนั้นเสีย แล้วกลับมาอยู่กับอารมณ์กรรมฐานเดิมต่อไป อย่าอยากให้จิตสงบหรืออยากรู้อยากเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงให้มีสติระลึกรู้อารมณ์กรรมฐานไปอย่างสบายๆ เท่านั้นก็พอแล้ว
สำหรับผู้ที่ต้องการทำความสงบให้แนบแน่นยิ่งขึ้น ก็พึงศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเจริญสมถกรรมฐานเสียก่อน ซึ่งความรู้เหล่านี้มีสอนอยู่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ และคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น ผู้เขียนขอแนะนำให้พวกเราสนใจศึกษาคัมภีร์ชั้นเดิมเป็นหลัก เพราะทุกวันนี้เรามักสนใจศึกษาเฉพาะคำสอนชั้นหลัง ซึ่งหลายอย่างออกนอกลู่นอกทางของสัมมาสมาธิไปมาก เมื่อปฏิบัติแล้วแม้จะเกิดความสุขความสงบได้ก็จริง แต่จิตก็มักเจือด้วยโมหะและโลภะ ซึ่งไม่เอื้อต่อการก้าวไปเจริญวิปัสสนาในภายหลัง หรือก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าจิตเที่ยง จิตเป็นอัตตาคือเป็นสิ่งที่บังคับได้ และนิพพานเป็นบ้านเมือง เป็นลูกแก้ว หรือเป็นพระพุทธรูป เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานที่ผู้เจริญสมถกรรมฐานควรทราบโดยสังเขป มีดังนี้คือ
๒.๑ อารมณ์กรรมฐาน
อารมณ์ของสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ บัญญัติ ไม่ใช่อารมณ์ปรมัตถ์ เช่น (๑) คำบริกรรมต่างๆ เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ (๒) อวัยวะต่างๆ เช่น ลมหายใจ มือ เท้า ท้อง แม้กระทั่งกายทั้งกาย (๓) ภาพต่างๆที่มองเห็น เช่น พระพุทธรูปและลูกแก้วอันจัดเป็นกสิณดิน ตลอดจนไฟ น้ำ ลม สีต่างๆ และซากศพ (๔) ความคิด เช่น การคิดพิจารณากาย และการคิดพิจารณาธรรมเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และมหาสุญญตา และ (๕) การน้อมจิต เช่น การแผ่เมตตา และการน้อมเข้าหาความว่าง เป็นต้น ในทางปริยัติจำแนกอารมณ์ของสมถกรรมฐานเป็นตัวอย่างไว้ ๔๐ อย่างคือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ และอรูป ๔ ผู้สนใจรายละเอียดก็ควรหาตำราศึกษาต่อไป ผู้เขียนจะไม่นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้เพราะจะยืดยาวเกินไป
๒.๒ จริต
การจะเลือกใช้อารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่งอย่างใดนั้น ให้เลือกตามจริตอันได้แก่ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย สำหรับจริตที่ใช้พิจารณาเลือกอารมณ์ของสมถกรรมฐานมี ๖ จริต ได้แก่
ราคจริต จะเป็นคนเรียบร้อยนุ่มนวลและไม่รีบร้อน รักสวย รักงาม เจ้าระเบียบ เจ้าเล่ห์ ถือตัว โอ้อวด แง่งอน พิถีพิถัน ชอบยอ เหมาะที่จะเจริญอสุภกรรมฐาน และกายคตาสติ
โทสจริต จะเป็นคนกระด้าง รีบร้อน โกรธง่าย อาฆาต ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา เหมาะที่จะเจริญกสิณสี และอัปปมัญญา
โมหจริต จะเป็นคนช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก เซื่องซึม เหมาะที่จะเจริญอานาปานสติ
วิตกจริต จะเป็นคนฟุ้งซ่าน โลเล ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ เหมาะที่จะเจริญอานาปานสติ
สัทธาจริต จะเป็นคนแช่มช้อยละมุนละม่อม เบิกบานในการบุญ ซึ่งจะต่างกับผู้มีราคจริตที่เบิกบานในการได้หน้าเมื่อได้ทำบุญให้คนอื่นเห็น เหมาะที่จะเจริญอนุสติ ๖ อย่าง คือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ และเทวตานุสติ
พุทธิจริต จะเป็นคนว่องไวและเรียบ ร้อย ว่าง่าย ไม่ดื้อ มีสติสัมปชัญญะง่าย มีความเพียร รู้เร็ว เข้าใจง่าย เหมาะที่จะเจริญมรณานุสติ อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน
สำหรับอารมณ์กรรมฐานที่เหลือคือ ภูตกสิณหรือการเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ และอรูปกรรมฐานนั้น เหมาะกับทุกๆ จริต
๒.๓ นิมิต
คำว่า “นิมิต” ในที่นี้ไม่ได้หมายความ ถึงสิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็นหรือปรุงแต่งขึ้น เช่นภาพผี ภาพเปรต ภาพเทวดา เสียงกลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ตลอดจนสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเช่นอดีตและอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติ ผู้เจริญสมถกรรมฐานได้พบเห็นกันมาก แต่นิมิตในที่นี้หมายถึง “ตัวอารมณ์กรรมฐาน” นั่นเอง สามารถจำแนกได้ เป็น ๓ ลักษณะ คือ
บริกรรมนิมิต คำว่า “บริกรรม” แปลว่าท่องบ่นหรือกำหนดไว้ในใจ ส่วนบริกรรมนิมิตได้แก่อารมณ์ของสมถกรรมฐานทั้งหมด ที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตให้มาสนใจอยู่ในสิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไป สู่อารมณ์อื่นๆ เช่นเมื่อจะทำอานาปานสติก็ใช้ลมหายใจเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเพ่งไฟก็ใช้ไฟเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเจริญพุทธานุสติก็ใช้ความคิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นบริกรรมนิมิต เป็นต้น
อุคคหนิมิต มี ๒ อย่างคือ (๑) ถ้าเพ่ง บริกรรมนิมิตที่เป็นรูปร่างสีสันวรรณะ เช่น เมื่อเพ่งเปลวเทียนหรือศพ จนหลับตา ก็เห็นภาพเปลวเทียนหรือศพนั้นเหมือน จริงเมื่อลืมตาเห็น ภาพที่หลับตาก็เห็นเหมือนจริงนี่แหละเรียกว่าอุคคหนิมิต จัดว่าเป็นนิมิตติดตา และ (๒) ถ้าเพ่งบริกรรมนิมิตด้วยใจ ไม่ได้ใช้ตาเพ่ง เช่นการเจริญอนุสติมีพุทธานุสติเป็นต้น เมื่อจิตเกิดความซาบซึ้งในสิ่งที่คิดพิจารณานั้นอย่างชัดเจน เช่นคิดจนซาบซึ้งถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่าอุคคหนิมิตเหมือนกัน แต่เป็นนิมิตติดใจ เป็นความ รู้สึก ไม่มีรูปร่างแสงสีใดๆ
ปฏิภาคนิมิต ก็คือภาพของอุคคหนิมิตบางอย่างที่พัฒนาต่อไปจนเป็นความใสกระจ่างปราศจากริ้วรอย และสามารถย่อหรือขยายภาพนั้นได้ตามใจปรารถนา เช่นเมื่อเพ่งศพอันเป็นบริกรรมนิมิต จนจิตจำภาพศพนั้นได้ แม้หลับตาก็เห็นภาพนั้นเหมือนลืมตา จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดตา เมื่อเพ่งอุคคหนิมิตไปเรื่อยๆ ภาพศพที่ติดตากลายเป็นแสงสว่างรูปศพ ไม่มีหน้าตาหรือรายละเอียดอีกต่อไป ถัดจากนั้นแสงสว่างจะรวมตัวเข้าเป็นดวงสว่างซึ่งจะกำหนดจิตให้ดวงนั้นเล็กหรือใหญ่ก็ได้ อย่างนี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต
นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้เพ่งศพจริงๆ แต่คิดพิจารณากายว่าเป็นอวัยวะน้อยใหญ่หรืออาการ ๓๒ อันเป็นการเจริญกายคตาสติ คิดไปจนจิตเกิดความซาบ ซึ้งสลดสังเวชใจ ก็จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดใจ เมื่อพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือพิจารณากายทั้งกายต่อไปก็เกิดปฏิภาคนิมิตได้ คือกายสลายตัวไปหมดเหลือแต่แสงสว่าง อันนี้ก็เป็นปฏิภาคนิมิต สามารถข่มกามฉันทนิวรณ์ลงได้ แต่ก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
กรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่างสามารถเป็นได้ทั้งบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิต แต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นได้กับกรรมฐาน ๒๒ อย่าง คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติและอานาปานสติเท่านั้น แม้แต่อัปมัญญา ๔ และ อรูป ๔ ที่ใช้ทำฌานหรืออัปปนาภาวนาได้ ก็เป็นได้เพียงอุคคหนิมิต ไม่ถึงปฏิภาคนิมิต
(อ่านต่อฉบับหน้า)
สมถกรรมฐานเป็นกรรมฐานเพื่อให้เกิดความสงบตั้งมั่นทางจิตใจ เป็นเครื่องข่มนิวรณ์ซึ่งขวางกั้นการเจริญปัญญา มีวิธีการที่สำคัญคือ ให้มีสติระลึกรู้อย่างสบายๆ และต่อเนื่องถึงอารมณ์บัญญัติอันใดอันหนึ่งที่ถูกกับจริตนิสัยของตน ซึ่งเมื่อระลึกแล้วเกิดความสบายใจ สิ่งสำคัญคือความสบายใจ เพราะถ้าไม่สบาย ใจ จิตจะไม่สงบ เนื่องจากความสุขความ สบายนั้นแหละเป็นเหตุใกล้ให้เกิดความสงบตั้งมั่นของจิต
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการเจริญสมถกรรมฐานก็คือ (๑) จะต้องมีสติอยู่เนืองๆ เพราะการตามรู้อารมณ์แล้วเกิดความเผลอสติจัดเป็นวิธีการปฏิบัติที่ผิด ถึงจะเกิดความสงบก็เป็นความสงบที่จิตเจือด้วยโมหะและโลภะ (๒) ระหว่างที่เจริญสมถกรรมฐานอยู่นั้น หากเกิดอาการแปลกๆ ทางกายหรือทางใจ หรือเกิดนิมิต แปลกปลอมใดๆขึ้น ก็ให้ทิ้งอาการหรือนิมิตแปลกปลอมนั้นเสีย แล้วกลับมาอยู่กับอารมณ์กรรมฐานเดิมต่อไป อย่าอยากให้จิตสงบหรืออยากรู้อยากเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพียงให้มีสติระลึกรู้อารมณ์กรรมฐานไปอย่างสบายๆ เท่านั้นก็พอแล้ว
สำหรับผู้ที่ต้องการทำความสงบให้แนบแน่นยิ่งขึ้น ก็พึงศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเจริญสมถกรรมฐานเสียก่อน ซึ่งความรู้เหล่านี้มีสอนอยู่ในคัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๙ และคัมภีร์วิสุทธิมรรค เป็นต้น ผู้เขียนขอแนะนำให้พวกเราสนใจศึกษาคัมภีร์ชั้นเดิมเป็นหลัก เพราะทุกวันนี้เรามักสนใจศึกษาเฉพาะคำสอนชั้นหลัง ซึ่งหลายอย่างออกนอกลู่นอกทางของสัมมาสมาธิไปมาก เมื่อปฏิบัติแล้วแม้จะเกิดความสุขความสงบได้ก็จริง แต่จิตก็มักเจือด้วยโมหะและโลภะ ซึ่งไม่เอื้อต่อการก้าวไปเจริญวิปัสสนาในภายหลัง หรือก่อให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ เช่น เห็นว่าจิตเที่ยง จิตเป็นอัตตาคือเป็นสิ่งที่บังคับได้ และนิพพานเป็นบ้านเมือง เป็นลูกแก้ว หรือเป็นพระพุทธรูป เป็นต้น
ความรู้พื้นฐานที่ผู้เจริญสมถกรรมฐานควรทราบโดยสังเขป มีดังนี้คือ
๒.๑ อารมณ์กรรมฐาน
อารมณ์ของสมถกรรมฐานเป็นอารมณ์ บัญญัติ ไม่ใช่อารมณ์ปรมัตถ์ เช่น (๑) คำบริกรรมต่างๆ เช่น พุทโธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ (๒) อวัยวะต่างๆ เช่น ลมหายใจ มือ เท้า ท้อง แม้กระทั่งกายทั้งกาย (๓) ภาพต่างๆที่มองเห็น เช่น พระพุทธรูปและลูกแก้วอันจัดเป็นกสิณดิน ตลอดจนไฟ น้ำ ลม สีต่างๆ และซากศพ (๔) ความคิด เช่น การคิดพิจารณากาย และการคิดพิจารณาธรรมเรื่องต่างๆ เช่น เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และมหาสุญญตา และ (๕) การน้อมจิต เช่น การแผ่เมตตา และการน้อมเข้าหาความว่าง เป็นต้น ในทางปริยัติจำแนกอารมณ์ของสมถกรรมฐานเป็นตัวอย่างไว้ ๔๐ อย่างคือ กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ อัปปมัญญา ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ จตุธาตุววัตถาน ๑ และอรูป ๔ ผู้สนใจรายละเอียดก็ควรหาตำราศึกษาต่อไป ผู้เขียนจะไม่นำมากล่าวไว้ในหนังสือเล่มนี้เพราะจะยืดยาวเกินไป
๒.๒ จริต
การจะเลือกใช้อารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่งอย่างใดนั้น ให้เลือกตามจริตอันได้แก่ความประพฤติจนเคยชินเป็นนิสัย สำหรับจริตที่ใช้พิจารณาเลือกอารมณ์ของสมถกรรมฐานมี ๖ จริต ได้แก่
ราคจริต จะเป็นคนเรียบร้อยนุ่มนวลและไม่รีบร้อน รักสวย รักงาม เจ้าระเบียบ เจ้าเล่ห์ ถือตัว โอ้อวด แง่งอน พิถีพิถัน ชอบยอ เหมาะที่จะเจริญอสุภกรรมฐาน และกายคตาสติ
โทสจริต จะเป็นคนกระด้าง รีบร้อน โกรธง่าย อาฆาต ลบหลู่บุญคุณ ตีเสมอ ขี้อิจฉา เหมาะที่จะเจริญกสิณสี และอัปปมัญญา
โมหจริต จะเป็นคนช่างสงสัย เข้าใจอะไรยาก เซื่องซึม เหมาะที่จะเจริญอานาปานสติ
วิตกจริต จะเป็นคนฟุ้งซ่าน โลเล ชอบคลุกคลีกับหมู่คณะ เหมาะที่จะเจริญอานาปานสติ
สัทธาจริต จะเป็นคนแช่มช้อยละมุนละม่อม เบิกบานในการบุญ ซึ่งจะต่างกับผู้มีราคจริตที่เบิกบานในการได้หน้าเมื่อได้ทำบุญให้คนอื่นเห็น เหมาะที่จะเจริญอนุสติ ๖ อย่าง คือพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ และเทวตานุสติ
พุทธิจริต จะเป็นคนว่องไวและเรียบ ร้อย ว่าง่าย ไม่ดื้อ มีสติสัมปชัญญะง่าย มีความเพียร รู้เร็ว เข้าใจง่าย เหมาะที่จะเจริญมรณานุสติ อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา และจตุธาตุววัตถาน
สำหรับอารมณ์กรรมฐานที่เหลือคือ ภูตกสิณหรือการเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสกสิณ อาโลกกสิณ และอรูปกรรมฐานนั้น เหมาะกับทุกๆ จริต
๒.๓ นิมิต
คำว่า “นิมิต” ในที่นี้ไม่ได้หมายความ ถึงสิ่งที่จิตไปรู้ไปเห็นหรือปรุงแต่งขึ้น เช่นภาพผี ภาพเปรต ภาพเทวดา เสียงกลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ตลอดจนสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเช่นอดีตและอนาคต ซึ่งนักปฏิบัติ ผู้เจริญสมถกรรมฐานได้พบเห็นกันมาก แต่นิมิตในที่นี้หมายถึง “ตัวอารมณ์กรรมฐาน” นั่นเอง สามารถจำแนกได้ เป็น ๓ ลักษณะ คือ
บริกรรมนิมิต คำว่า “บริกรรม” แปลว่าท่องบ่นหรือกำหนดไว้ในใจ ส่วนบริกรรมนิมิตได้แก่อารมณ์ของสมถกรรมฐานทั้งหมด ที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตให้มาสนใจอยู่ในสิ่งเดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไป สู่อารมณ์อื่นๆ เช่นเมื่อจะทำอานาปานสติก็ใช้ลมหายใจเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเพ่งไฟก็ใช้ไฟเป็นบริกรรมนิมิต เมื่อจะเจริญพุทธานุสติก็ใช้ความคิดถึงคุณของพระพุทธเจ้าเป็นบริกรรมนิมิต เป็นต้น
อุคคหนิมิต มี ๒ อย่างคือ (๑) ถ้าเพ่ง บริกรรมนิมิตที่เป็นรูปร่างสีสันวรรณะ เช่น เมื่อเพ่งเปลวเทียนหรือศพ จนหลับตา ก็เห็นภาพเปลวเทียนหรือศพนั้นเหมือน จริงเมื่อลืมตาเห็น ภาพที่หลับตาก็เห็นเหมือนจริงนี่แหละเรียกว่าอุคคหนิมิต จัดว่าเป็นนิมิตติดตา และ (๒) ถ้าเพ่งบริกรรมนิมิตด้วยใจ ไม่ได้ใช้ตาเพ่ง เช่นการเจริญอนุสติมีพุทธานุสติเป็นต้น เมื่อจิตเกิดความซาบซึ้งในสิ่งที่คิดพิจารณานั้นอย่างชัดเจน เช่นคิดจนซาบซึ้งถึงคุณของพระพุทธเจ้า ก็เรียกว่าอุคคหนิมิตเหมือนกัน แต่เป็นนิมิตติดใจ เป็นความ รู้สึก ไม่มีรูปร่างแสงสีใดๆ
ปฏิภาคนิมิต ก็คือภาพของอุคคหนิมิตบางอย่างที่พัฒนาต่อไปจนเป็นความใสกระจ่างปราศจากริ้วรอย และสามารถย่อหรือขยายภาพนั้นได้ตามใจปรารถนา เช่นเมื่อเพ่งศพอันเป็นบริกรรมนิมิต จนจิตจำภาพศพนั้นได้ แม้หลับตาก็เห็นภาพนั้นเหมือนลืมตา จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดตา เมื่อเพ่งอุคคหนิมิตไปเรื่อยๆ ภาพศพที่ติดตากลายเป็นแสงสว่างรูปศพ ไม่มีหน้าตาหรือรายละเอียดอีกต่อไป ถัดจากนั้นแสงสว่างจะรวมตัวเข้าเป็นดวงสว่างซึ่งจะกำหนดจิตให้ดวงนั้นเล็กหรือใหญ่ก็ได้ อย่างนี้เรียกว่าปฏิภาคนิมิต
นักปฏิบัติบางท่านไม่ได้เพ่งศพจริงๆ แต่คิดพิจารณากายว่าเป็นอวัยวะน้อยใหญ่หรืออาการ ๓๒ อันเป็นการเจริญกายคตาสติ คิดไปจนจิตเกิดความซาบ ซึ้งสลดสังเวชใจ ก็จัดเป็นอุคคหนิมิตประเภทนิมิตติดใจ เมื่อพิจารณากายส่วนใดส่วนหนึ่งหรือพิจารณากายทั้งกายต่อไปก็เกิดปฏิภาคนิมิตได้ คือกายสลายตัวไปหมดเหลือแต่แสงสว่าง อันนี้ก็เป็นปฏิภาคนิมิต สามารถข่มกามฉันทนิวรณ์ลงได้ แต่ก็ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
กรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่างสามารถเป็นได้ทั้งบริกรรมนิมิตและอุคคหนิมิต แต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นได้กับกรรมฐาน ๒๒ อย่าง คือกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กายคตาสติและอานาปานสติเท่านั้น แม้แต่อัปมัญญา ๔ และ อรูป ๔ ที่ใช้ทำฌานหรืออัปปนาภาวนาได้ ก็เป็นได้เพียงอุคคหนิมิต ไม่ถึงปฏิภาคนิมิต
(อ่านต่อฉบับหน้า)