ครั้งที่ 100
เหตุวิบัติ 4 ประการ ที่ทำให้บุคคลออกบวช
ครั้งนั้นพระเจ้าโกรัพยะรับสั่งให้พนักงานรักษาพระราชอุทยานตกแต่งพระราชอุทยานให้สะอาดเรียบร้อยจะเสด็จไปทอดพระเนตรในขณะที่เจ้าพนักงานกำลังตกแต่งพระราชอุทยานอยู่นั้นได้เห็นพระรัฐบาลนั่งอยู่โคนไม้แห่งหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ ทูลให้ทรงทราบว่า 'บัดนี้ พระรัฐบาลบุตรแห่งตระกูลผู้ดีในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ซึ่งพระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เนืองๆ กำลังนั่งพักอยู่ในพระราชอุทยาน'
พระเจ้าโกรัพยะทรงทราบดังนั้นมีพระประสงค์จะเสด็จไปเดี๋ยวนั้นเพื่อสนทนากับพระรัฐบาลจึงรับสั่งว่า
'ของเคี้ยวของบริโภคต่างๆ ที่เตรียมไว้สำหรับเสวยในสวนนั้นขอให้แจกจ่ายไปให้หมด' ดังนี้แล้วรับสั่งให้เทียมพระราชยานชั้นดีเสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพระราชยานไปจนสุดทางเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ แล้วลงจากพระราชยานเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยข้าราชบริพารชั้นสูงเข้าไปหาพระรัฐบาลทรงปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้วประทับยืน ณ ที่อันสมควรแก่พระองค์ อาราธนาให้พระรัฐบาลนั่งบนเครื่องลาดที่เจ้าพนักงานตกแต่งไว้
พระรัฐบาลถวายพระพรว่า
'เชิญมหาบพิตรประทับนั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของตนดีอยู่แล้ว'
พระเจ้าโกรัพยะจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เจ้าพนักงานจัดถวายและตรัสขึ้นว่า
'ท่านผู้เจริญ เหตุวิบัติ 4 ประการทำให้บุคคลออกบวช กล่าวคือ ความแก่ ความเจ็บป่วย ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ และความเสื่อมญาติ ข้าพเจ้าไม่เห็นความวิบัติแม้ประการเดียวในท่าน เหตุไฉนท่านจึงออกบวชประพฤติพรหมจรรย์'
พระรัฐบาลถวายพระพรว่า
'มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมุทเทสไว้ 4 ประการ ซึ่งอาตมภาพได้ฟังแล้ว ได้รู้เห็นแล้วจึงออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
ธัมมุทเทส 4 ประการนั้น คือ
1. โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน (อุปนียติ โลโก อทฺธุโว)
2. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่ (อตาโณ โลโก อนภิสฺสโร)
3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป (อสฺสโก โลโก สพฺพํ ปหาย คมนีย์)
4. โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา (อูโน โลโก อติตฺโต ตณฺหาทาโส)
มหาบพิตร อาตมภาพได้ฟังได้รู้เห็นธัมมุทเทสทั้ง 4 ประการนี้แล้วจึงออกบวช'
พระเจ้าโกรัพยะตรัสถามว่า
'ข้อว่า โลกถูกชราครอบงำ ไม่ยั่งยืนนั้น มีเนื้อความอย่างไร?'
พระรัฐบาลอธิบายว่า 'มหาบพิตร' เมื่อก่อนนี้ เมื่อพระองค์มีพระชนม์ยี่สิบก็ดียี่สิบห้าก็ดี ทรงคล่องแคล่วในเพลงช้างเพลงม้า เพลงอาวุธมากมิใช่หรือ? ทรงมีกำลังแขนขา และความสามารถทางพระกายดีมาก เคยทรงเข้าสงครามมาแล้วมิใช่หรือ?
'อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ' พระเจ้าโกรัพยะทรงรับ
'เดี๋ยวนี้เล่า เป็นอย่างไรมหาบพิตร?'
'โอ พระคุณเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าแก่แล้ว ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้า 80 แล้ว แม้จะเดินเหินก็ไม่คล่องแคล่ว ก้าวผิดก้าวถูก อย่าว่าแต่จะออกสงครามเลย'
'มหาบพิตร! ผู้อื่นเล่าถ้ามีอายุยืนถึง 80-90 จะเป็นเหมือนพระองค์หรือไม่?'
'เหมือนกัน พระคุณเจ้า บางคนยังไม่ถึง 80 เลย แก่หง่อมยิ่งกว่าข้าพเจ้าเสียอีก'
'มหาบพิตร!' พระรัฐบาลย้ำ ทรงเห็นหรือไม่ว่า โลกหรือสัตวโลกทั้งหมดโน้มไปในชรา น้อมไปเอียงไปในชรา อันชราครอบงำย่ำยี ไม่ยั่งยืนไม่ทนอยู่ได้นานเลย
ดูก่อนขอมชนชาวกุรุ! ความจริงมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งปวงเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ก้าวไปสู่ชราทุกลมหายใจเข้าออกหรือทุกๆ ขณะ และบ่ายหน้าไปสู่ความตายหรือความแตกดับไม่มีอะไรหยุดยั้งได้เลย
ดูก่อนภูมิบดี! ด้วยเหตุนี้พระศาสดาของข้าพเจ้าจึงตรัสว่า 'ความแก่และความตายต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไปเหมือนนายโคบาล (คนเลี้ยงโค)ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน'
อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นอยู่เสมอว่า ชีวิตนี้น้อยนักมนุษย์มักจะต้องตายภายในอายุ 100 ปี แม้จะมีที่อายุยืนกว่านั้นไปบ้างก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้ ผู้ใคร่ความดีไม่พึงประมาทมัวเมาในเรื่องอายุ ควรรีบบำเพ็ญคุณงามความดีรีบดับทุกข์เหมือนคนที่มีไฟไหม้ อยู่บนศีรษะรีบดับเสียโดยพลันความตายจะไม่มาถึงนั้นเป็นอันไม่มี วันคืนล่วงไป ชีวิตก็สั้นเข้าทุกทีเหมือนน้ำในแอ่งน้อยถูกแสงอาทิตย์ แผดเผาย่อมพลันเหือดแห้งไป...'
ราวป่าเงียบสงัด พฤกษชาติยืนต้นนิ่งเสมือนหนึ่งจงใจสดับธรรมของพระเถระผู้เลิศทางออกบวชด้วยศรัทธา ขณะนั้นใบไม้เหลืองใบหนึ่งหล่นลงเบื้องหน้าของผู้สนทนาทั้งสอง พระรัฐบาลหยิบขึ้นมาพิจารณาหน่อยหนึ่งแล้วส่งถวายพระเจ้าโกรัพยะ พลางกล่าวว่า
'มหาบพิตร! ทอดพระเนตรเถิดทั้งๆ ที่มิได้มีลมพัดเลยแม้หน่อยหนึ่ง แต่ใบไม้นี้ก็ร่วงลงมาได้เพราะความแก่รอบไม่อาจดำรงอยู่ในสภาพเดิมได้ ดูเถิดมหาบพิตรโลกอันชรานำไปก้าวไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน ใบไม้นี้เดิมทีก็เป็นใบอ่อนแล้วเป็นใบแก่และเหลือง-เหลืองจัดแล้วหล่น ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ ควรรีบบำเพ็ญคุณงามความดี ไม่ควรประมาท'
พระเจ้าโกรัพยะ น้อมพระเศียรลงหน่อยหนึ่งแล้วตรัสว่า 'พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง อัศจรรย์แท้ๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า โลกกว้าง ไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน'
'พระคุณเจ้าในธัมมุทเทสข้ออื่นๆ เล่ามีเนื้อความอย่างไร? ขอพระคุณเจ้าได้โปรดแสดงเพื่อเป็นมงคลแก่โสตของข้าพเจ้าด้วยเถิด'
หลับตาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพระรัฐบาลก็ถวายวิสัชนาว่า
'มหาบพิตร! ข้อว่า 'โลกไม่มีผู้ต้านทานไม่มีผู้เป็นใหญ่' นั้น เพื่อความชัดเจน อาตมภาพขอทูลถามสิ่งที่เกิดประจักษ์แก่พระองค์ก่อนทรงเห็นอย่างใดขอให้ทรงตอบอย่างนั้น มหาบพิตร! พระองค์เคยทรงพระประชวรหนักหรือไม่?'
'เคยพระคุณเจ้า เคยบ่อยไป' พระเจ้าโกรัพยะทรงรับ 'เมื่อข้าพเจ้าป่วยหนักนั้น ญาติสาโลหิตมิตรอำมาตย์ราชบริพารต่างก็มาห้อมล้อมอย่างใกล้ชิด บางคนวิตกว่าพระเจ้าโกรัพยะอาจสวรรคตบัดนี้แล้ว'
'มหาบพิตร! มีใครสามารถแบ่งทุกขเวทนาของพระองค์ไปได้บ้าง?'
'ไม่เลยพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกขเวทนาไปเพียงผู้เดียว แม้ข้าพเจ้าจะปรารถนาความสุขสำราญหรือความหายโรคเพียงใดก็หาสำเร็จสมปรารถนาไม่จนกว่าโรคจะทุเลาลงด้วยโอสถอย่างใดอย่างหนึ่ง'
'นี่แลมหาบพิตรคือความหมายแห่งพระภาษิตที่พระศาสดาตรัสว่า โลก ไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่'
'ดูก่อนภูมิบดี! พระศาสดาตรัสไว้อีกว่า 'สัตว์ที่เกิดแล้วต้องเผชิญภัยใหญ่คือความตายทั่วทุกคน ผลไม้ทุกชนิดเมื่อสุกแล้วย่อมหล่น จากต้น ภาชนะดินทุกชนิดมีการแตกทำลายเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นมีความตายเป็นที่สุด เมื่อความตายมาถึงเข้าใครเล่าจักต้านทานได้ มิตรอำมาตย์สาโลหิตทั้งหลายก็ได้แต่นั่งมองดูหรือรำพันกำสรดปริเวทนาการ เขาต้องไปผู้เดียวโดยแท้'
นี่แลมหาบพิตร โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่'
'ท่านผู้เจริญ! ข้อว่าสัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปนั้น มีความหมายอย่างไร?'
'มหาบพิตร! บัดนี้พระองค์ทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ 5 เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วจักนำเอาทรัพย์สินสมบัติ บุรุษสตรี ปราสาทราชวังไปในโลกหน้าได้หรือไม่?'
'ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า ต้องทิ้งไว้ให้คนอื่น หรือให้เป็นสมบัติของโลกต่อไป'
'มหาบพิตร! นี่แล สัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
ราชัน! พระบรมศาสดายังตรัสไว้อีกว่า 'เมื่อบุคคลเข้าไปยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน เขาย่อมเศร้าโศกเสียใจเพราะความแปรปรวนไปของสิ่งนั้น สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราย่อมมีความพลัดพรากเป็นที่สุดคือในที่สุดก็ต้องพลัดพรากจากกันไป' แม้ข้อนี้ก็แสดงว่าสัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป'
'ราชัน! โภคสมบัติทั้งหลายละทิ้งบุคคลไปก่อนเพราะแตกทำลายบ้างบุคคลละทิ้งโภคสมบัติไปก่อนในเพราะความตายบ้าง รู้ดังนี้แล้วจึงไม่ควรเศร้าโศกในเพราะความพลัดพราก ดวงจันทร์เต็มดวงบ้าง เว้าแหว่งบ้าง มืดมิดบ้างฉันใด บุคคลในโลกนี้ก็ฉันนั้นได้สิ่งต่างๆ เต็มความปรารถนาบ้าง ไม่เต็มความปรารถนาบ้าง ผิดหวังทั้งหมดคือไม่ได้ดังปรารถนาเลยบ้าง โลกธรรมเป็นอย่างนี้เอง จึงไม่ควรเศร้าโศก ตราบใดที่ยังยึดถือว่านั่นเป็นของเรานี่เป็นของเราบุคคลย่อมไม่สามารถพ้นจากความโศกได้ตราบนั้น ความเป็นจริงแล้วไม่มีอะไรเป็นของเรา เราเพียงอาศัยใช้ชั่วคราวแล้วต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป มุนีไม่รักสิ่งใด ไม่ชังสิ่งใด ไม่หวงแหนสิ่งใด เมื่อเป็นดังนี้ ความเศร้าโศกรำพันย่อมไม่มีในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดใบบัวและใบบัวไม่ติดน้ำ'
'พระคุณเจ้า ข้อว่าสัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่อิ่มไม่เบื่อเป็นทาสของตัณหานั้นมีความหมายอย่างไร?'
'มหาบพิตร! บัดนี้พระองค์ทรงปกครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่ ถ้ามีราชบุรุษที่มีวาจาพอเชื่อถือได้มาจากทิศทั้ง 4 ของกุรุรัฐนี้กราบทูลว่า ในทิศนั้นๆ มีชนบทใหญ่มั่งคั่งเจริญมีคนมาก มีสัตว์ชนิดที่ฝึกแล้วมาก มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเหลือเกินในชนบทนั้นมีสตรีปกครอง พระองค์อาจรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านี้ๆ มหาบพิตรทรงทราบแล้วจะทำอย่างไร?'
'ข้าพเจ้าคิดว่าจะไปรบให้ชนะแล้วครอบครองชนบทนั้นๆ'
'นี่แลมหาบพิตร สัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่มไม่เบื่อ เป็นทาสแห่งตัณหา
'ดูก่อนราชัน! มนุษย์ทั้งหลายพากันแสวงหาสิ่งที่ยังไม่มีหรือสิ่งที่ตนเข้าใจเอาว่า 'ยังขาด' ทั้งๆ ที่หาได้ขาดจริงๆ ไม่ เมื่อยังไม่ได้ ก็กระสบกระส่ายกระวนกระวายเร่าร้อน เมื่อได้มาแล้วก็หมกมุ่น พัวพันติดอยู่ ตกเป็นทาสของสิ่งนั้นไม่เป็นอิสระไม่เป็นกลาง หวงแหน เฝ้าพิทักษ์รักษาด้วยใจจดจ่อกังวล ริษยา อาฆาตผู้อื่น เพราะอาศัยสิ่งที่ตนได้มานั้นเป็นปัจจัยเมื่อพลัดพรากก็เศร้าโศกรำพัน
ดูก่อนภูมิบดี! ความพอจะไม่มี ถ้ามนุษย์ไม่จำกัดขอบเขตแห่งความพอไว้สิ่งที่ได้มาจึงเป็นเหมือนเชื้อไฟมาเพิ่มให้ความต้องการอย่างใหม่เจริญขึ้น รุนแรงมากขึ้น กระเถิบไปข้างหน้าอยู่เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์ได้พากันแสวงหาสิ่งภายนอกมาบำรุงปรนเปรอตนก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ไม่เคยพบจุดอิ่มเหมือนไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ เขาจะไม่พบความสงบสุขหรือความปรารถนาที่ถาวรแท้จริงได้ แต่เมื่อใดบุคคลใดมากำหนดรู้ความอยาก โทษของความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุดแล้วละความอยากในส่วนที่ไม่จำเป็นเสีย ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ คนส่วนมากประพฤติตามความอยากมีใจพร่องอยู่เป็นนิตย์ เมื่อมโนรถของเขายังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง มัจจุราชก็มาเยือนและดึงตัวเขาไป ญาติทั้งหลายก็พากันคร่ำครวญ คลุมเขา ผู้ตายแล้วด้วยผ้า นำไปสู่เชิงตะกอน เขาละสมบัติทั้งปวงไป ญาติพี่น้องบริวารก็ต้านทานไว้ไม่ได้ เขามาคนเดียวและไปคนเดียวตามกรรมของตนๆ ผู้สั่งสมบาป ไว้ย่อมต้องประสบทุกข์ในโลกหน้า ส่วนผู้สั่งสมบุญไว้ย่อมประสบสุข บุญบาปนี่ต่างหากที่จะติดตามเขาไป เป็นสมบัติของเขาหาใช่สมบัติภายนอกไม่ ด้วยเหตุนี้ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์จึงควรสั่งสมกรรมดีไม่ควรเบื่อหน่ายในการสั่งสมกรรมดี'
เมื่อพระรัฐบาลกล่าวจบลง พระเจ้าโกรัพยะจึงตรัสว่า
'อัศจรรย์จริงท่านรัฐบาล อัศจรรย์จริง ข้อที่ท่านกล่าวว่าสัตวโลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่ก็ดี สัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนล้วนต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปก็ดี สัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่มไม่เบื่อเป็นทาสของตัณหาก็ดี ล้วนเป็นความจริงที่น่าอัศจรรย์ทั้งสิ้น พระธรรม ของพระผู้มีพระภาคเป็นสวากขาตธรรม = ธรรมที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วโดยแท้ เป็นนิยยานิกธรรม = ที่นำออกจากทุกข์ได้โดยแท้
แสงแดดอ่อนลงมากแล้ว บริเวณราชอุธยานร่มรื่นมากขึ้นยังความรื่นรมย์ให้เกิดแก่กายและจิตของชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่ ณ ราชอุทยานนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าโกรัพยะทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทรงสดับธัมมุทเทสอันเป็นสัจธรรมที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้เพ่งธรรมมิใช่น้อย
พระรัฐบาลอาศัยราชอุทยานมิคาจีระตามสมควรแล้วก็จาริกไปตามอัธยาศัยประดุจเนื้อที่ไม่ติดบ่วงเที่ยวไปในป่าได้อย่างเสรีตามปรารถนา
พระรัฐบาลได้รับการยกย่องจากพระสุคตเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ-ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ออกบวชด้วยศรัทธา
เหตุวิบัติ 4 ประการ ที่ทำให้บุคคลออกบวช
ครั้งนั้นพระเจ้าโกรัพยะรับสั่งให้พนักงานรักษาพระราชอุทยานตกแต่งพระราชอุทยานให้สะอาดเรียบร้อยจะเสด็จไปทอดพระเนตรในขณะที่เจ้าพนักงานกำลังตกแต่งพระราชอุทยานอยู่นั้นได้เห็นพระรัฐบาลนั่งอยู่โคนไม้แห่งหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าโกรัพยะ ทูลให้ทรงทราบว่า 'บัดนี้ พระรัฐบาลบุตรแห่งตระกูลผู้ดีในถุลลโกฏฐิตนิคมนี้ซึ่งพระองค์ทรงสรรเสริญอยู่เนืองๆ กำลังนั่งพักอยู่ในพระราชอุทยาน'
พระเจ้าโกรัพยะทรงทราบดังนั้นมีพระประสงค์จะเสด็จไปเดี๋ยวนั้นเพื่อสนทนากับพระรัฐบาลจึงรับสั่งว่า
'ของเคี้ยวของบริโภคต่างๆ ที่เตรียมไว้สำหรับเสวยในสวนนั้นขอให้แจกจ่ายไปให้หมด' ดังนี้แล้วรับสั่งให้เทียมพระราชยานชั้นดีเสด็จออกจากถุลลโกฏฐิตนิคมด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพระราชยานไปจนสุดทางเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ แล้วลงจากพระราชยานเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยข้าราชบริพารชั้นสูงเข้าไปหาพระรัฐบาลทรงปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้วประทับยืน ณ ที่อันสมควรแก่พระองค์ อาราธนาให้พระรัฐบาลนั่งบนเครื่องลาดที่เจ้าพนักงานตกแต่งไว้
พระรัฐบาลถวายพระพรว่า
'เชิญมหาบพิตรประทับนั่งเถิด อาตมภาพนั่งที่อาสนะของตนดีอยู่แล้ว'
พระเจ้าโกรัพยะจึงประทับนั่งบนอาสนะที่เจ้าพนักงานจัดถวายและตรัสขึ้นว่า
'ท่านผู้เจริญ เหตุวิบัติ 4 ประการทำให้บุคคลออกบวช กล่าวคือ ความแก่ ความเจ็บป่วย ความเสื่อมจากโภคทรัพย์ และความเสื่อมญาติ ข้าพเจ้าไม่เห็นความวิบัติแม้ประการเดียวในท่าน เหตุไฉนท่านจึงออกบวชประพฤติพรหมจรรย์'
พระรัฐบาลถวายพระพรว่า
'มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธัมมุทเทสไว้ 4 ประการ ซึ่งอาตมภาพได้ฟังแล้ว ได้รู้เห็นแล้วจึงออกบวชประพฤติพรหมจรรย์
ธัมมุทเทส 4 ประการนั้น คือ
1. โลกอยู่ภายใต้การครอบงำของชรา ก้าวเข้าไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน (อุปนียติ โลโก อทฺธุโว)
2. โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่ (อตาโณ โลโก อนภิสฺสโร)
3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป (อสฺสโก โลโก สพฺพํ ปหาย คมนีย์)
4. โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา (อูโน โลโก อติตฺโต ตณฺหาทาโส)
มหาบพิตร อาตมภาพได้ฟังได้รู้เห็นธัมมุทเทสทั้ง 4 ประการนี้แล้วจึงออกบวช'
พระเจ้าโกรัพยะตรัสถามว่า
'ข้อว่า โลกถูกชราครอบงำ ไม่ยั่งยืนนั้น มีเนื้อความอย่างไร?'
พระรัฐบาลอธิบายว่า 'มหาบพิตร' เมื่อก่อนนี้ เมื่อพระองค์มีพระชนม์ยี่สิบก็ดียี่สิบห้าก็ดี ทรงคล่องแคล่วในเพลงช้างเพลงม้า เพลงอาวุธมากมิใช่หรือ? ทรงมีกำลังแขนขา และความสามารถทางพระกายดีมาก เคยทรงเข้าสงครามมาแล้วมิใช่หรือ?
'อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ' พระเจ้าโกรัพยะทรงรับ
'เดี๋ยวนี้เล่า เป็นอย่างไรมหาบพิตร?'
'โอ พระคุณเจ้า บัดนี้ข้าพเจ้าแก่แล้ว ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับแล้ว วัยของข้าพเจ้าล่วงเข้า 80 แล้ว แม้จะเดินเหินก็ไม่คล่องแคล่ว ก้าวผิดก้าวถูก อย่าว่าแต่จะออกสงครามเลย'
'มหาบพิตร! ผู้อื่นเล่าถ้ามีอายุยืนถึง 80-90 จะเป็นเหมือนพระองค์หรือไม่?'
'เหมือนกัน พระคุณเจ้า บางคนยังไม่ถึง 80 เลย แก่หง่อมยิ่งกว่าข้าพเจ้าเสียอีก'
'มหาบพิตร!' พระรัฐบาลย้ำ ทรงเห็นหรือไม่ว่า โลกหรือสัตวโลกทั้งหมดโน้มไปในชรา น้อมไปเอียงไปในชรา อันชราครอบงำย่ำยี ไม่ยั่งยืนไม่ทนอยู่ได้นานเลย
ดูก่อนขอมชนชาวกุรุ! ความจริงมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งปวงเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ก้าวไปสู่ชราทุกลมหายใจเข้าออกหรือทุกๆ ขณะ และบ่ายหน้าไปสู่ความตายหรือความแตกดับไม่มีอะไรหยุดยั้งได้เลย
ดูก่อนภูมิบดี! ด้วยเหตุนี้พระศาสดาของข้าพเจ้าจึงตรัสว่า 'ความแก่และความตายต้อนอายุของสัตว์ทั้งหลายไปเหมือนนายโคบาล (คนเลี้ยงโค)ต้อนฝูงโคไปสู่ที่หากิน'
อนึ่ง พระพุทธองค์ทรงชี้ให้เห็นอยู่เสมอว่า ชีวิตนี้น้อยนักมนุษย์มักจะต้องตายภายในอายุ 100 ปี แม้จะมีที่อายุยืนกว่านั้นไปบ้างก็ต้องตายเพราะชราเป็นแน่แท้ ผู้ใคร่ความดีไม่พึงประมาทมัวเมาในเรื่องอายุ ควรรีบบำเพ็ญคุณงามความดีรีบดับทุกข์เหมือนคนที่มีไฟไหม้ อยู่บนศีรษะรีบดับเสียโดยพลันความตายจะไม่มาถึงนั้นเป็นอันไม่มี วันคืนล่วงไป ชีวิตก็สั้นเข้าทุกทีเหมือนน้ำในแอ่งน้อยถูกแสงอาทิตย์ แผดเผาย่อมพลันเหือดแห้งไป...'
ราวป่าเงียบสงัด พฤกษชาติยืนต้นนิ่งเสมือนหนึ่งจงใจสดับธรรมของพระเถระผู้เลิศทางออกบวชด้วยศรัทธา ขณะนั้นใบไม้เหลืองใบหนึ่งหล่นลงเบื้องหน้าของผู้สนทนาทั้งสอง พระรัฐบาลหยิบขึ้นมาพิจารณาหน่อยหนึ่งแล้วส่งถวายพระเจ้าโกรัพยะ พลางกล่าวว่า
'มหาบพิตร! ทอดพระเนตรเถิดทั้งๆ ที่มิได้มีลมพัดเลยแม้หน่อยหนึ่ง แต่ใบไม้นี้ก็ร่วงลงมาได้เพราะความแก่รอบไม่อาจดำรงอยู่ในสภาพเดิมได้ ดูเถิดมหาบพิตรโลกอันชรานำไปก้าวไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน ใบไม้นี้เดิมทีก็เป็นใบอ่อนแล้วเป็นใบแก่และเหลือง-เหลืองจัดแล้วหล่น ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ ควรรีบบำเพ็ญคุณงามความดี ไม่ควรประมาท'
พระเจ้าโกรัพยะ น้อมพระเศียรลงหน่อยหนึ่งแล้วตรัสว่า 'พระคุณเจ้า น่าอัศจรรย์จริง อัศจรรย์แท้ๆ ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า โลกกว้าง ไปสู่ชรา ไม่ยั่งยืน'
'พระคุณเจ้าในธัมมุทเทสข้ออื่นๆ เล่ามีเนื้อความอย่างไร? ขอพระคุณเจ้าได้โปรดแสดงเพื่อเป็นมงคลแก่โสตของข้าพเจ้าด้วยเถิด'
หลับตาอยู่ครู่หนึ่ง แล้วพระรัฐบาลก็ถวายวิสัชนาว่า
'มหาบพิตร! ข้อว่า 'โลกไม่มีผู้ต้านทานไม่มีผู้เป็นใหญ่' นั้น เพื่อความชัดเจน อาตมภาพขอทูลถามสิ่งที่เกิดประจักษ์แก่พระองค์ก่อนทรงเห็นอย่างใดขอให้ทรงตอบอย่างนั้น มหาบพิตร! พระองค์เคยทรงพระประชวรหนักหรือไม่?'
'เคยพระคุณเจ้า เคยบ่อยไป' พระเจ้าโกรัพยะทรงรับ 'เมื่อข้าพเจ้าป่วยหนักนั้น ญาติสาโลหิตมิตรอำมาตย์ราชบริพารต่างก็มาห้อมล้อมอย่างใกล้ชิด บางคนวิตกว่าพระเจ้าโกรัพยะอาจสวรรคตบัดนี้แล้ว'
'มหาบพิตร! มีใครสามารถแบ่งทุกขเวทนาของพระองค์ไปได้บ้าง?'
'ไม่เลยพระคุณเจ้า ข้าพเจ้าต้องเสวยทุกขเวทนาไปเพียงผู้เดียว แม้ข้าพเจ้าจะปรารถนาความสุขสำราญหรือความหายโรคเพียงใดก็หาสำเร็จสมปรารถนาไม่จนกว่าโรคจะทุเลาลงด้วยโอสถอย่างใดอย่างหนึ่ง'
'นี่แลมหาบพิตรคือความหมายแห่งพระภาษิตที่พระศาสดาตรัสว่า โลก ไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่'
'ดูก่อนภูมิบดี! พระศาสดาตรัสไว้อีกว่า 'สัตว์ที่เกิดแล้วต้องเผชิญภัยใหญ่คือความตายทั่วทุกคน ผลไม้ทุกชนิดเมื่อสุกแล้วย่อมหล่น จากต้น ภาชนะดินทุกชนิดมีการแตกทำลายเป็นที่สุดฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นมีความตายเป็นที่สุด เมื่อความตายมาถึงเข้าใครเล่าจักต้านทานได้ มิตรอำมาตย์สาโลหิตทั้งหลายก็ได้แต่นั่งมองดูหรือรำพันกำสรดปริเวทนาการ เขาต้องไปผู้เดียวโดยแท้'
นี่แลมหาบพิตร โลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่'
'ท่านผู้เจริญ! ข้อว่าสัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปนั้น มีความหมายอย่างไร?'
'มหาบพิตร! บัดนี้พระองค์ทรงเอิบอิ่มพรั่งพร้อมอยู่ด้วยกามคุณ 5 เมื่อพระองค์สวรรคตแล้วจักนำเอาทรัพย์สินสมบัติ บุรุษสตรี ปราสาทราชวังไปในโลกหน้าได้หรือไม่?'
'ไม่ได้เลย พระคุณเจ้า ต้องทิ้งไว้ให้คนอื่น หรือให้เป็นสมบัติของโลกต่อไป'
'มหาบพิตร! นี่แล สัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนจำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป
ราชัน! พระบรมศาสดายังตรัสไว้อีกว่า 'เมื่อบุคคลเข้าไปยึดถือสิ่งใดว่าเป็นของตน เขาย่อมเศร้าโศกเสียใจเพราะความแปรปรวนไปของสิ่งนั้น สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยงมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นของเราย่อมมีความพลัดพรากเป็นที่สุดคือในที่สุดก็ต้องพลัดพรากจากกันไป' แม้ข้อนี้ก็แสดงว่าสัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป'
'ราชัน! โภคสมบัติทั้งหลายละทิ้งบุคคลไปก่อนเพราะแตกทำลายบ้างบุคคลละทิ้งโภคสมบัติไปก่อนในเพราะความตายบ้าง รู้ดังนี้แล้วจึงไม่ควรเศร้าโศกในเพราะความพลัดพราก ดวงจันทร์เต็มดวงบ้าง เว้าแหว่งบ้าง มืดมิดบ้างฉันใด บุคคลในโลกนี้ก็ฉันนั้นได้สิ่งต่างๆ เต็มความปรารถนาบ้าง ไม่เต็มความปรารถนาบ้าง ผิดหวังทั้งหมดคือไม่ได้ดังปรารถนาเลยบ้าง โลกธรรมเป็นอย่างนี้เอง จึงไม่ควรเศร้าโศก ตราบใดที่ยังยึดถือว่านั่นเป็นของเรานี่เป็นของเราบุคคลย่อมไม่สามารถพ้นจากความโศกได้ตราบนั้น ความเป็นจริงแล้วไม่มีอะไรเป็นของเรา เราเพียงอาศัยใช้ชั่วคราวแล้วต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป มุนีไม่รักสิ่งใด ไม่ชังสิ่งใด ไม่หวงแหนสิ่งใด เมื่อเป็นดังนี้ ความเศร้าโศกรำพันย่อมไม่มีในมุนีนั้น เหมือนน้ำไม่ติดใบบัวและใบบัวไม่ติดน้ำ'
'พระคุณเจ้า ข้อว่าสัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่อิ่มไม่เบื่อเป็นทาสของตัณหานั้นมีความหมายอย่างไร?'
'มหาบพิตร! บัดนี้พระองค์ทรงปกครองกุรุรัฐอันเจริญอยู่ ถ้ามีราชบุรุษที่มีวาจาพอเชื่อถือได้มาจากทิศทั้ง 4 ของกุรุรัฐนี้กราบทูลว่า ในทิศนั้นๆ มีชนบทใหญ่มั่งคั่งเจริญมีคนมาก มีสัตว์ชนิดที่ฝึกแล้วมาก มีทรัพย์สินเงินทองมากมายเหลือเกินในชนบทนั้นมีสตรีปกครอง พระองค์อาจรบชนะได้ด้วยกำลังพลประมาณเท่านี้ๆ มหาบพิตรทรงทราบแล้วจะทำอย่างไร?'
'ข้าพเจ้าคิดว่าจะไปรบให้ชนะแล้วครอบครองชนบทนั้นๆ'
'นี่แลมหาบพิตร สัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่มไม่เบื่อ เป็นทาสแห่งตัณหา
'ดูก่อนราชัน! มนุษย์ทั้งหลายพากันแสวงหาสิ่งที่ยังไม่มีหรือสิ่งที่ตนเข้าใจเอาว่า 'ยังขาด' ทั้งๆ ที่หาได้ขาดจริงๆ ไม่ เมื่อยังไม่ได้ ก็กระสบกระส่ายกระวนกระวายเร่าร้อน เมื่อได้มาแล้วก็หมกมุ่น พัวพันติดอยู่ ตกเป็นทาสของสิ่งนั้นไม่เป็นอิสระไม่เป็นกลาง หวงแหน เฝ้าพิทักษ์รักษาด้วยใจจดจ่อกังวล ริษยา อาฆาตผู้อื่น เพราะอาศัยสิ่งที่ตนได้มานั้นเป็นปัจจัยเมื่อพลัดพรากก็เศร้าโศกรำพัน
ดูก่อนภูมิบดี! ความพอจะไม่มี ถ้ามนุษย์ไม่จำกัดขอบเขตแห่งความพอไว้สิ่งที่ได้มาจึงเป็นเหมือนเชื้อไฟมาเพิ่มให้ความต้องการอย่างใหม่เจริญขึ้น รุนแรงมากขึ้น กระเถิบไปข้างหน้าอยู่เรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด
มนุษย์ได้พากันแสวงหาสิ่งภายนอกมาบำรุงปรนเปรอตนก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ไม่เคยพบจุดอิ่มเหมือนไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ เขาจะไม่พบความสงบสุขหรือความปรารถนาที่ถาวรแท้จริงได้ แต่เมื่อใดบุคคลใดมากำหนดรู้ความอยาก โทษของความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุดแล้วละความอยากในส่วนที่ไม่จำเป็นเสีย ดำรงชีวิตอยู่อย่างง่ายๆ ด้วยเหตุผลบริสุทธิ์ คนส่วนมากประพฤติตามความอยากมีใจพร่องอยู่เป็นนิตย์ เมื่อมโนรถของเขายังไม่ถึงที่สุดนั่นเอง มัจจุราชก็มาเยือนและดึงตัวเขาไป ญาติทั้งหลายก็พากันคร่ำครวญ คลุมเขา ผู้ตายแล้วด้วยผ้า นำไปสู่เชิงตะกอน เขาละสมบัติทั้งปวงไป ญาติพี่น้องบริวารก็ต้านทานไว้ไม่ได้ เขามาคนเดียวและไปคนเดียวตามกรรมของตนๆ ผู้สั่งสมบาป ไว้ย่อมต้องประสบทุกข์ในโลกหน้า ส่วนผู้สั่งสมบุญไว้ย่อมประสบสุข บุญบาปนี่ต่างหากที่จะติดตามเขาไป เป็นสมบัติของเขาหาใช่สมบัติภายนอกไม่ ด้วยเหตุนี้ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์จึงควรสั่งสมกรรมดีไม่ควรเบื่อหน่ายในการสั่งสมกรรมดี'
เมื่อพระรัฐบาลกล่าวจบลง พระเจ้าโกรัพยะจึงตรัสว่า
'อัศจรรย์จริงท่านรัฐบาล อัศจรรย์จริง ข้อที่ท่านกล่าวว่าสัตวโลกไม่มีผู้ต้านทาน ไม่มีผู้เป็นใหญ่ก็ดี สัตวโลกไม่มีอะไรเป็นของตนล้วนต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไปก็ดี สัตวโลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ไม่อิ่มไม่เบื่อเป็นทาสของตัณหาก็ดี ล้วนเป็นความจริงที่น่าอัศจรรย์ทั้งสิ้น พระธรรม ของพระผู้มีพระภาคเป็นสวากขาตธรรม = ธรรมที่พระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วโดยแท้ เป็นนิยยานิกธรรม = ที่นำออกจากทุกข์ได้โดยแท้
แสงแดดอ่อนลงมากแล้ว บริเวณราชอุธยานร่มรื่นมากขึ้นยังความรื่นรมย์ให้เกิดแก่กายและจิตของชีวิตทั้งปวงที่อาศัยอยู่ ณ ราชอุทยานนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระเจ้าโกรัพยะทรงโสมนัสเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทรงสดับธัมมุทเทสอันเป็นสัจธรรมที่อำนวยประโยชน์แก่ผู้เพ่งธรรมมิใช่น้อย
พระรัฐบาลอาศัยราชอุทยานมิคาจีระตามสมควรแล้วก็จาริกไปตามอัธยาศัยประดุจเนื้อที่ไม่ติดบ่วงเที่ยวไปในป่าได้อย่างเสรีตามปรารถนา
พระรัฐบาลได้รับการยกย่องจากพระสุคตเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ-ผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ออกบวชด้วยศรัทธา