การบรรลุธรรม(ต่อ)
พระอุบาลี ครั้นบวชแล้วท่านได้อยู่เรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้า วันหนึ่งท่านประสงค์จะอยู่ตามลำพังจึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตโดยให้เหตุผลว่า
“อุบาลี หากไปอยู่ตามลำพัง เธอก็จักเจริญด้าน เดียวเท่านั้น คือ ด้านวิปัสสนาธุระ แต่ถ้าอยู่ในสำนักของตถาคต เธอจักเจริญทั้ง ๒ ด้าน คือ ทั้งด้านวิปัสสนาธุระและด้านคันถธุระ”
การที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพราะทรงเห็นว่า ในอนาคตท่านจักได้รับภาระสำคัญอย่างหนึ่งคือร่วมทำสังคายนา ฉะนั้น จึงทรงมีพระประสงค์ให้ท่านได้เรียนรู้พระพุทธพจน์อย่างกว้างขวาง จะได้เป็นประโยชน์แก่ภาระสำคัญนั้น
พระอุบาลีปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ คือ ศึกษาพระพุทธพจน์ควบคู่ ไปกับการเจริญวิปัสสนา ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระเมฆิยะ ครั้นบวช แล้ว ท่านก็อยู่ถวายการรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเวลานั้นพระพุทธเจ้ายังไม่มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันถวายการรับใช้ และท่านก็เป็นรูปหนึ่งที่ทำหน้าที่อยู่ด้วย
คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ที่เขตเมือง ชาลิกา (จาลิกาบรรพต) พระเมฆิยะในฐานะพระพุทธอุปัฏฐาก (ชั่วคราว) ก็ได้ตาม เสด็จไปด้วย ที่เขตเมืองชาลิกานั้นมีป่ามะม่วงอยู่แห่งหนึ่งน่ารื่นรมย์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ จะไปอยู่ตามลำพัง ป่ามะม่วงแห่งนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาลา พระเมฆิยะเห็นแล้วคิดอยากจะไปอยู่ จึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้า
“อย่าเลย เมฆิยะ เธออย่าเพิ่งไปอยู่ตามลำพังเลย”
พระพุทธเจ้าตรัสห้าม พระเมฆิยะไม่เชื่อ ยังคงทูลลาและยืนยันจะไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง เมื่อทรงเห็นว่าห้ามพระเมฆิยะไม่ได้แน่ พระองค์จึงทรงอนุญาต ท่านดีใจมาก รีบกราบลาพระพุทธเจ้า แล้วเดินทางไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นทันที
ป่ามะม่วงเงียบสงบ แต่จิตของพระเมฆิยะกลับไม่สงบ ท่านคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ โดยเฉพาะคิดถึงความ สุขสบายครั้งยังเป็นเจ้าชาย เมื่อไม่สามารถจะควบคุมให้สงบลงได้ จึงเดินทางกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกให้ท่านทราบถึงเหตุผล ที่ทรงทัดทานไว้แต่ตอนแรกว่า สภาพจิตของท่านยังไม่พร้อมที่จะอยู่ตามลำพัง จากนั้นจึงตรัสสอนถึงวิธีอบรมจิตให้สงบ ๕ วิธี
ประเด็นสำคัญทรงสอนให้อยู่ใกล้กัลยาณมิตร ท่านยอมปฏิบัติตาม ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าจิตของท่านสงบแล้ว จึงตรัสสอนให้เจริญวิปัสสนาต่อไป โดยทรงสอนให้ท่านเห็นว่า
“ความสำคัญว่าไม่มีอัตตา คือตัวตน ย่อมปรากฏ แก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ภิกษุผู้สำคัญว่าไม่ มีอัตตาคือตัวตนจึงบรรลุนิพพาน อันเป็นสภาพเพิกถอนความรู้สึกว่าเรามีเรา เป็นได้ในปัจจุบันนี้เอง”
ท่านปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระนาคิตะ ครั้นบวชแล้วก็ได้เจริญวิปัสสนาตาม แนวมธุปิณฑิกสูตรที่ท่านได้ฟังมา ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระสีวลี ได้ฟังตจปัญจกกรรมฐานจากพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นอันดับแรก โดยพระอุปัชฌาย์สอนให้ท่านกำหนดส่วนของร่างกายที่เห็นได้ง่ายก่อน ๕ ส่วน คือ เกสา (ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ(หนัง) จากนั้นพระอุปัชฌาย์ได้สอนให้ท่านพิจารณาถึงความทุกข์ทรมานขณะอยู่ในครรภ์พระมารดานานถึง ๗ ปี ท่านบรรลุอรหัตผลเวลาปลง ผมเสร็จพอดี มีหลักฐานเกี่ยวกับการบรรลุธรรมของ ท่านว่า ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลเวลาปลงผมจุกที่ ๑ เสร็จ บรรลุสกิทาคามิผล เวลาปลงผมจุกที่ ๒ เสร็จ บรรลุอนาคามิผล เวลาปลง ผมจุกที่ ๓ เสร็จ และบรรลุ อรหัตผลเวลาปลงผมจุกที่ ๔ ซึ่งเป็นจุกสุดท้ายเสร็จ
พระปุณณมันตานีบุตร ครั้นบวชแล้วได้เรียนกรรมฐานจากพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบำเพ็ญเพียรพิจารณาตามที่พระอุปัชฌาย์สอนไม่นานก็บรรลุอรหัตผล
พระกาฬุทายี บรรลุอรหัตผลก่อนบวช เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อทูลลาพระเจ้าสุทโธทนะแล้ว ท่านพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ก็รีบเดิน ทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันทันที และมาถึงเวลาเย็นซึ่งเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ท่านพร้อมด้วยบริวารจึงถือโอกาสยืนฟังอยู่ท้ายสุดพร้อมกับพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จนเกิดความรู้แจ้งได้บรรลุอรหัตผลพร้อมกับเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบพอดี จากนั้นจึงทูลขอบวช แล้วนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ตามที่พระพุทธบิดาประสงค์
พระมหาอุทายี ครั้นบวชแล้วท่านได้เจริญวิปัสสนา ตามแนวมธุปิณฑิกสูตรที่ได้ฟังมา ก่อนบวชไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)
พระอุบาลี ครั้นบวชแล้วท่านได้อยู่เรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้า วันหนึ่งท่านประสงค์จะอยู่ตามลำพังจึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาตโดยให้เหตุผลว่า
“อุบาลี หากไปอยู่ตามลำพัง เธอก็จักเจริญด้าน เดียวเท่านั้น คือ ด้านวิปัสสนาธุระ แต่ถ้าอยู่ในสำนักของตถาคต เธอจักเจริญทั้ง ๒ ด้าน คือ ทั้งด้านวิปัสสนาธุระและด้านคันถธุระ”
การที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ก็เพราะทรงเห็นว่า ในอนาคตท่านจักได้รับภาระสำคัญอย่างหนึ่งคือร่วมทำสังคายนา ฉะนั้น จึงทรงมีพระประสงค์ให้ท่านได้เรียนรู้พระพุทธพจน์อย่างกว้างขวาง จะได้เป็นประโยชน์แก่ภาระสำคัญนั้น
พระอุบาลีปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำ คือ ศึกษาพระพุทธพจน์ควบคู่ ไปกับการเจริญวิปัสสนา ไม่นาน ก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระเมฆิยะ ครั้นบวช แล้ว ท่านก็อยู่ถวายการรับใช้พระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเวลานั้นพระพุทธเจ้ายังไม่มีพระพุทธอุปัฏฐากประจำ พระสาวกต่างผลัดเปลี่ยนกันถวายการรับใช้ และท่านก็เป็นรูปหนึ่งที่ทำหน้าที่อยู่ด้วย
คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปประทับอยู่ที่เขตเมือง ชาลิกา (จาลิกาบรรพต) พระเมฆิยะในฐานะพระพุทธอุปัฏฐาก (ชั่วคราว) ก็ได้ตาม เสด็จไปด้วย ที่เขตเมืองชาลิกานั้นมีป่ามะม่วงอยู่แห่งหนึ่งน่ารื่นรมย์เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ จะไปอยู่ตามลำพัง ป่ามะม่วงแห่งนั้นอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาลา พระเมฆิยะเห็นแล้วคิดอยากจะไปอยู่ จึงเข้าไปทูลลาพระพุทธเจ้า
“อย่าเลย เมฆิยะ เธออย่าเพิ่งไปอยู่ตามลำพังเลย”
พระพุทธเจ้าตรัสห้าม พระเมฆิยะไม่เชื่อ ยังคงทูลลาและยืนยันจะไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นให้ได้ พระพุทธเจ้าตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง เมื่อทรงเห็นว่าห้ามพระเมฆิยะไม่ได้แน่ พระองค์จึงทรงอนุญาต ท่านดีใจมาก รีบกราบลาพระพุทธเจ้า แล้วเดินทางไปอยู่ป่ามะม่วงนั้นทันที
ป่ามะม่วงเงียบสงบ แต่จิตของพระเมฆิยะกลับไม่สงบ ท่านคิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ โดยเฉพาะคิดถึงความ สุขสบายครั้งยังเป็นเจ้าชาย เมื่อไม่สามารถจะควบคุมให้สงบลงได้ จึงเดินทางกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ
พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกให้ท่านทราบถึงเหตุผล ที่ทรงทัดทานไว้แต่ตอนแรกว่า สภาพจิตของท่านยังไม่พร้อมที่จะอยู่ตามลำพัง จากนั้นจึงตรัสสอนถึงวิธีอบรมจิตให้สงบ ๕ วิธี
ประเด็นสำคัญทรงสอนให้อยู่ใกล้กัลยาณมิตร ท่านยอมปฏิบัติตาม ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าจิตของท่านสงบแล้ว จึงตรัสสอนให้เจริญวิปัสสนาต่อไป โดยทรงสอนให้ท่านเห็นว่า
“ความสำคัญว่าไม่มีอัตตา คือตัวตน ย่อมปรากฏ แก่ภิกษุผู้มีความสำคัญว่าไม่เที่ยง ภิกษุผู้สำคัญว่าไม่ มีอัตตาคือตัวตนจึงบรรลุนิพพาน อันเป็นสภาพเพิกถอนความรู้สึกว่าเรามีเรา เป็นได้ในปัจจุบันนี้เอง”
ท่านปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระนาคิตะ ครั้นบวชแล้วก็ได้เจริญวิปัสสนาตาม แนวมธุปิณฑิกสูตรที่ท่านได้ฟังมา ไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
พระสีวลี ได้ฟังตจปัญจกกรรมฐานจากพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นอันดับแรก โดยพระอุปัชฌาย์สอนให้ท่านกำหนดส่วนของร่างกายที่เห็นได้ง่ายก่อน ๕ ส่วน คือ เกสา (ผม) โลมา(ขน) นขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตโจ(หนัง) จากนั้นพระอุปัชฌาย์ได้สอนให้ท่านพิจารณาถึงความทุกข์ทรมานขณะอยู่ในครรภ์พระมารดานานถึง ๗ ปี ท่านบรรลุอรหัตผลเวลาปลง ผมเสร็จพอดี มีหลักฐานเกี่ยวกับการบรรลุธรรมของ ท่านว่า ท่านได้บรรลุโสดาปัตติผลเวลาปลงผมจุกที่ ๑ เสร็จ บรรลุสกิทาคามิผล เวลาปลงผมจุกที่ ๒ เสร็จ บรรลุอนาคามิผล เวลาปลง ผมจุกที่ ๓ เสร็จ และบรรลุ อรหัตผลเวลาปลงผมจุกที่ ๔ ซึ่งเป็นจุกสุดท้ายเสร็จ
พระปุณณมันตานีบุตร ครั้นบวชแล้วได้เรียนกรรมฐานจากพระอัญญาโกณฑัญญะ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านบำเพ็ญเพียรพิจารณาตามที่พระอุปัชฌาย์สอนไม่นานก็บรรลุอรหัตผล
พระกาฬุทายี บรรลุอรหัตผลก่อนบวช เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อทูลลาพระเจ้าสุทโธทนะแล้ว ท่านพร้อมด้วยบริวาร ๑,๐๐๐ คน ก็รีบเดิน ทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวันทันที และมาถึงเวลาเย็นซึ่งเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ ท่านพร้อมด้วยบริวารจึงถือโอกาสยืนฟังอยู่ท้ายสุดพร้อมกับพิจารณาตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จนเกิดความรู้แจ้งได้บรรลุอรหัตผลพร้อมกับเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบพอดี จากนั้นจึงทูลขอบวช แล้วนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ ตามที่พระพุทธบิดาประสงค์
พระมหาอุทายี ครั้นบวชแล้วท่านได้เจริญวิปัสสนา ตามแนวมธุปิณฑิกสูตรที่ได้ฟังมา ก่อนบวชไม่นานก็ได้บรรลุอรหัตผล
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 โดย ผศ.ร.ท.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ)