สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร)วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน พรรณนาเรื่องความเคารพ ไว้ในหนังสือมงคลยอดชีวิต มีความตอนหนึ่งที่คัดย่อนำมาแสดงพอเป็นนิทัศนะดังนี้
“กลุ่มโลกที่หมุนเวียนรอบดวงอาทิตย์ เป็นระเบียบ เรียบร้อยอยู่ได้ตามวิถีโคจรนั้น เพราะอาศัยอำนาจดึง ดูดของดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์ไม่มีอำนาจดึงดูด ไว้ได้แล้ว กลุ่มโลกนั้นก็ต้องลอยเปะปะ ไม่เป็นส่ำแน่นอน แม้คนเราก็เช่นกัน จะมีชีวิตอยู่เป็นระเบียบ เรียบร้อย ดำเนินสะดวกราบรื่น และอยู่สงบสุขชื่นบาน สราญใจ ก็เพราะอาศัยอำนาจดึงดูดของความเคารพที่มีอยู่ต่อกัน ถ้าอยู่กันอย่างไม่มีความเคารพ เป็นระเบียบวินัยแล้ว ก็จะต่างอะไรกับกองโจร และจะประพฤติตัวเลอะเทอะเหลวแหลกไปตามอำเภอใจ
ให้คิดดูเถอะว่า เราจะประพฤติคุณงามความดี อันเป็นตัวเหตุอำนวยผลให้เป็นคนดี มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า เช่น เราจะศึกษาศิลปวิทยา จะตั้งใจรับ ภารกิจของท่านผู้มีพระคุณ จะอยู่ในปกครองของท่านอย่างสงบ จะรักษาศีล ปฏิบัติธรรมในพระศาสนา แม้ชั้นจะใช้สอยไหว้วานกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้สะดวก ราบรื่น และเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็ต้องอาศัยความเคารพเป็นพื้นฐาน
จริงทีเดียว เพราะความเคารพ เป็นระเบียบวินัยสำหรับร้อยรัดคนให้รวมกันเป็นหมู่คณะ และจัดสรรให้หมู่คณะร่วมฉันทะกันประพฤติคุณงามความดี นอกจากจะเป็นระเบียบวินัยแล้ว ความเคารพนั้นยังเป็นอำนาจดึงดูดหมู่คณะให้รักใคร่นับถือกัน ยกย่องเชิดชูกันตามฐานะผู้ใหญ่ผู้น้อย มีความสามัคคีสนิทสนมกลมเกลียวกัน มีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจกัน และให้รวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนา เป็นที่สง่างามแก่ชาติศาสนา
ความเคารพเป็นคุณธรรมชั้นสูง คือยอดดีของคนอย่างหนึ่ง ซึ่งมิใช่ของต่ำของพื้นๆ และสูงกระทั่งคนใจต่ำทำตามไม่ไหว พระบางรูปยอมต้องอาบัติ ทหารบางคนยอมถูกกักขัง คนบางพวกยอมสละ วัฒนธรรม และคนบางคนยอมเสียสมบัติผู้ดี นั่นก็เพราะเขาใจต่ำ ไม่อาจทำความเคารพที่เป็นของสูงได้
เพื่อให้ทราบความหมายและแนวทางปฏิบัติ จึงจะตั้งประเด็นบรรยายความไว้ ๔ ข้อ ดังนี้
๑. ลักษณะความเคารพ
.....เราควรศึกษาให้รู้ก่อนว่า อะไรคือความเคารพ ?
ความตระหนักปักใจลงในบุคคลและวัตถุที่ควรเทิดทูนยกย่องเชิดชู และควรเอื้อเฟื้อ เชื่อถือตามสถานะที่ควร กอปรด้วยกิริยาอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวาน และน้ำใจอ่อนโยน ซึ่งเป็นไปโดยสม่ำเสมอ เช่นนี้นี่เอง คือความเคารพ
ความเคารพนี้เป็นคุณสมบัติจูงใจให้ปรารภความดีของบุคคลและวัตถุอื่นที่ควรเทอดทูนยกย่องเชิดชู และเป็นอุบายกำจัดกิเลส ๔ อย่างออกจากใจ คือ มักขะ -ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ-ยกตนเทียมท่าน ถัมภะ-ดื้อดึงแข็งกระด้าง และอติมานะ-ดูหมิ่นท่าน
ที่จริงนอกจากความเคารพแล้ว ไม่มีอะไรภายใต้ท้องฟ้าอันสูงลิบนี้ จะกำจัดกิเลสเหล่านี้ให้สิ้นไปได้ เราจึงควรหลีกเว้นมันเสียด้วยความเคารพ ให้เหมือนเราหลบหลีกอสรพิษ เลี่ยงไปเสียทางหนึ่ง
มักขะ ชักนำคนให้เป็นคนอกตัญญู ลบหลู่คุณของผู้มีคุณแก่ตน นิสัยเคารพ จูงใจให้ยำเกรง รู้คุณของผู้มีคุณ ยกท่านขึ้นไว้ในตำแหน่งเจ้าพระคุณ
ปลาสะ ลวงให้คนหลงผิดว่าตนดีเสมอเขา เกิดเหิมฮึกไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง นิสัยเคารพ เหนี่ยวรั้งมาให้เจียมตัว เป็นคนนุ่งเจียมห่มเจียม ไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง
ถัมภะ ยุให้เป็นคนหัวดื้อ ถือรั้น ดันทุรัง นิสัยเคารพ ปราบให้อ่อนลงมา ถือคติว่า “ไม้อ่อนบ่ห่อนหัก”
อติมานะ ยั่วให้หมิ่นประมาท หรือสบประมาทผู้อื่น เห็นเขาเลวกว่าตัวไปหมด จนกลายเป็นคนหยิ่ง จมไม่ลง นิสัยเคารพ ชวนให้เห็นคนเป็นคน แสดงคารวะกันตามที่เหมาะที่ควร
ในทางพระศาสนา ท่านระบุตัวบุคคลและวัตถุควรเคารพไว้ ๖ ประเภท และยกการแสดงลักษณะเคารพในบุคคลและวัตถุควรเคารพนั้น ขึ้นเป็นจารีตประเพณีที่ถูกต้องเป็นขนบประเพณีที่ชอบ และเป็นธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ได้จำแนกลักษณะเคารพ ไว้ ๖ ประการ คือ ๑. เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. เคารพใน พระธรรม ๓. เคารพในพระสงฆ์ ๔. เคารพในการศึกษา ๕. เคารพในความไม่ประมาท ๖. เคารพในปฏิสันถาร การต้อนรับ
ความเคารพเป็นคุณธรรมชั้นสูง มีอยู่ในจิตใจของ ผู้ปฏิบัติ แต่เนื้อแท้ของความเคารพในจิตใจนั้น เราจะดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยตาใจ จึงจะรู้เห็นได้ เปรียบเหมือนความรู้หนังสือ ซึ่งความรู้นั้นอยู่ในใจ ของผู้เรียนรู้ เราดูความรู้ของเขาไม่เห็น แต่เราจะรู้ได้ ว่าเขามีความรู้ ก็ต่อเมื่อเขาเขียนหรืออ่านหนังสือ ที่แสดงลักษณะออกมาจากความรู้ในใจของเขา แม้ความ เคารพนี้ก็เช่นกัน ซึ่งมีทั้งภายในและภายนอก เราจะรู้ได้ แต่ลักษณะภายนอก เช่น ท่ากราบ ท่าไหว้ ท่าหมอบ ท่าคลาน ท่ายืนตรง ท่าโค้ง ท่าวันทยาหัตถ์ หรือท่า วันทยาวุธ คนไม่มีความเคารพในใจเลยอาจแสร้ง แสดงลักษณะออกมาอย่างจำใจก็ได้ นั่นดูเถอะ เหล่าทหารที่ยืนเรียงแถวรับการตรวจพล เมื่อผู้บังคับแถวตะโกนสั่งให้ทำความเคารพแม่ทัพ เขาก็ทำความเคารพพร้อมกันทุกคน แต่ไม่หมายว่าทหารเหล่านั้นมีลักษณะเคารพทุกคน พึงสังเกตว่าการทำความเคารพ ตามคำสั่งนั้น นั่นคือวินัย ส่วนการมีความเคารพในใจ นี้ นี่คือคุณธรรม ซึ่งบ่งชี้ชัดว่าการทำกับการมีนั้นเป็นคนละเรื่อง มิใช่เรื่องเดียวกัน
ความเคารพนี่นะ เป็นคุณสมบัติทั่วไปแก่ทุกเพศทุกวัย ผู้ใหญ่และผู้น้อยจำเป็นต้องปฏิบัติร่วมกัน เพราะมารยาทที่ดีงาม นับเป็นจริยาวัตรทั้งของผู้ใหญ่และของผู้น้อย เมื่อผู้น้อยและผู้ใหญ่มีความเคารพต่อกัน ชื่อว่าได้แสดงออกซึ่งกิริยา วาจา ใจ ที่สุภาพต่อสังคม ประกาศให้มวลชนรู้ว่าเป็นผู้มีมารยาทชั้นสูง ปิดเสียซึ่งกิริยาดูหมิ่นถิ่นแคลนต่อกัน จะนำให้ผู้น้อยได้รับเมตตากรุณาจากผู้ใหญ่ และให้ผู้ใหญ่เป็นที่น่าเคารพน่านับถือของผู้น้อย และเป็นการวางแบบอย่างที่สุภาพ ให้เป็นวัฒนธรรมแก่อนุชนรุ่นหลัง
เมื่อสรุปความแล้ว เราจะได้ลักษณะเคารพเป็น ๓ ประการ คือ
๑.๑ เคารพตน ผู้รักตน มุ่งทำความดี เว้นชั่ว ให้แก่ตน โดยละอายชั่วกลัวผิด ตั้งใจเว้นสิ่งที่ไม่ดีให้ห่าง ไกล และมีฉันทะมุ่งมั่นบำเพ็ญสิ่งที่ดีให้ดีเรียบร้อยเพื่อให้ตนดี มีความเจริญก้าวหน้า ปลอดเวรภัย มี ความสุขสำราญเย็นใจ นี่คือคนเคารพตน
๑.๒ เคารพคนอื่น ผู้นับถือรักใคร่คนอื่น มีอัธยาศัย น้ำใจกว้าง ไม่เห็นแก่ตนฝ่ายเดียว มุ่งทำความดีแก่กัน เว้นทำความไม่ดีแก่กัน อ่อนโยนเพื่อบำรุงน้ำใจกัน และถ่อมตนลงเพื่อแสดงความนับถือยำเกรงกัน นี่คือผู้เคารพคนอื่น
๑.๓ เคารพธรรม หน้าที่และความเที่ยงตรง ชื่อว่าธรรม ผู้ถือหน้าที่และความเที่ยงตรงเป็นสำคัญ เมื่อเห็นว่าเป็นหน้าที่และมีความเที่ยงตรงแล้วก็ทำ ไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาขัดขวางให้เสียหน้าที่และความเที่ยงตรง ตั้งใจประพฤติยุติธรรมให้สมควรแก่หน้าที่ ไม่ลุอำนาจแก่อคติ เพราะรักชังโง่เขลาและเกรงกลัว นี่คือผู้เคารพธรรม
๒. บุคคลและวัตถุควรเคารพ
พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ อุปัชฌาย์ อาจารย์ ครู พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ท่านผู้ใหญ่เหนือตน ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า ลุง อา น้า นี่คือบุคคลควรเคารพ
พระธรรม การศึกษา ความไม่ประมาท การปฏิสันถาร ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ นี่คือ วัตถุควรเคารพ
เมื่อเราเคารพบุคคล และวัตถุควรเคารพ เหล่านี้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และสมควรแก่ฐานะของตนแล้ว ก็เป็นที่นิยมนับถือและเมตตากรุณาของคนอื่น แม้นักปราชญ์ก็ชื่นชมยินดี ไม่ติเตียนคัดค้าน ในทางพระศาสนาได้แบ่งบุคคลควรเคารพไว้ ๓ ประการ คือ
๒.๑ ชาติวุฑฺโฒ ผู้เจริญโดยกำเนิดสูง หมายเอาบุคคลที่มหาชนยกย่องนับถือว่าเป็นผู้ดี มีศีลธรรม และเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ คือสูงศักดิ์โดยชาติ เช่น พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ แม้จะอยู่วัยใดก็ตาม ซึ่งมีธรรมสำหรับตระกูลวงศ์เป็น เครื่องวัด นี่คือบุคคลควรเคารพยำเกรง
๒.๒ วยวุฑฺโฒ ผู้เจริญโดยวัย หมายเอาผู้เฒ่าผู้แก่ อยู่ในปูนปัจฉิมวัย มีอายุมั่นขวัญยืน หรือสูงโดยวยายุกาล และมีคุณสมบัติสำหรับวัยเป็นเครื่องวัด ว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ มีธรรมเป็นอำนาจ คราร้อนก็เท่าแสงอาทิตย์ ไม่ร้อนถึงกับไหม้ คราเย็นก็เท่าแสงจันทร์ ไม่เย็นถึงกับหนาว ดึงดูดมหาชนในถิ่นนั้น มาให้นิยม นับถือ และนี่ก็คือบุคคลควรเคารพยำเกรง
๒.๓ คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณงามความดี หมายเอาผู้มีคุณสมบัติสำหรับตนเป็นเครื่องวัด จะเป็นครูอาจารย์ หรือดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดๆ โดยที่สุดแม้ ผู้เยาว์วัย เมื่อมีคุณสมบัติในสันดาน เป็นผู้น้อยน่า เมตตา เป็นผู้ใหญ่น่านับถือ เป็นผู้เฒ่าก็น่ากราบไหว้ แม้นี่ก็บุคคลควรเคารพยำเกรง
ในบุคคลควรเคารพ ๓ ประเภทนี้ มีอยู่ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต ใช้เคารพกันตามพระพุทธบัญญัติ โดยถือเวลาบวชก่อนและหลังเป็นหลัก พระผู้บวชทีหลัง แม้จะเจริญโดยชาติ โดยวัย หรือโดยคุณอย่างไร ก็ต้องเคารพพระผู้บวชก่อน ส่วนฝ่ายคฤหัสถ์ใช้ เคารพกันโดยชาติ โดยวัย และโดยคุณ ดังกล่าวมา
๓. ระเบียบแสดงความเคารพ
ระเบียบแบบแผนที่แสดงความเคารพต่อกันนั้น มีอยู่มากมายหลายสถาน แต่ว่าโดยเฉพาะเพศ ก็มีอยู่ ๒ สถาน คือ ของบรรพชิต และของคฤหัสถ์ พึงศึกษา ต่อไปดังนี้
๓.๑ ระเบียบแสดงความเคารพของบรรพชิต ระเบียบนี้ ทางการคณะสงฆ์ได้วางไว้ให้ภิกษุ สามเณรถือเป็นหลักปฏิบัติ มีอยู่ ๔ ข้อ คือ
ก. อภิวาท กราบไหว้ ลักษณะกราบ นิยมใช้ให้ประกอบด้วยองค์ ๕ เรียก เบญจางคประดิษฐ์ คือจดเข่าทั้งสอง จดฝ่ามือทั้งสอง และจดหน้าผากหนึ่ง ลงที่พื้น รวมองค์ ๕ นี้เข้าด้วยกัน จัดเป็นกราบ การกราบนี้ตามระเบียบนิยม ให้กราบ ๓ หน
ส่วนลักษณะไหว้ นิยมให้รวมนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว เข้าเป็นกระพุ่ม ยกกระพุ่มมือขึ้นประณม เหนือศีรษะ หรือเสมอหน้าผาก แล้วก้มศีรษะลงน้อยหนึ่ง ให้พองาม การไหว้นี้ตามระเบียบนิยมให้ทำคาบเดียว...
ข. อุฏฐานะ คือ ลุกยืน การลุกยืนนี้ มิใช่ลุกยืนเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถตามปกติ แต่หมายถึงการลุกขึ้นยืนรับ แสดงความเคารพ พระผู้ใหญ่กว่า ที่ตรงมาหรือผ่านไปในระยะใกล้ เป็นธรรมเนียมที่ใช้อยู่ในครั้งพุทธกาล เช่น ภิกษุยืนรับเสด็จ ภิกษุยืนเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา และถือเป็นธรรมเนียมมาจนบัดนี้
ค. อัญชลีกรรม คือ ประณมมือ ลักษณะประณมมือนี้ นิยมให้รวมนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว เข้าเป็นกระพุ่ม และยกกระพุ่มมือขึ้นเพียงอก ใช้ได้ทั้งขณะยืนและนั่งโดยปกติใช้ทำแก่ท่านผู้ใหญ่ แต่บางคราวใช้ทำแก่ผู้ น้อย แม้แก่คฤหัสถ์และกิจอื่นอันควรแก่ความเคารพ
ง. สามีจิกรรม คือ การแสดงอัธยาศัย การแสดงอัธยาศัย เช่น เดินหลัง นั่งหลัง ให้ที่นั่ง หลีกทาง ลดร่ม ถอดรองเท้า เป็นตัวอย่าง ใช้ทำแก่ผู้แก่กว่า หรือผู้อ่อน กว่า โดยสมควรแก่ประเภทแห่งการ บางอย่างใช้ทำ แม้แก่คฤหัสถ์ เช่นมีวัตรของภิกษุ ไม่สวมรองเท้า ไม่กั้นร่ม เข้าไปในบ้าน
๓.๒ ระเบียบแสดงความเคารพของคฤหัสถ์ ระเบียบที่คฤหัสถ์ใช้เป็นธรรมเนียมอยู่ในปัจจุบันนี้ มีดังนี้คือ กราบ ไหว้ เปิดหมวก ลุกยืน นั่งลง ประณมมือ วันทยาหัตถ์ วันทยาวุธ ทำท่าตรง แลขวาแลซ้าย ยิงสลุต สลุตธง ลดธง ดนตรี เป็นต้น
ระเบียบแสดงความเคารพทั้งของบรรพชิตและของคฤหัสถ์นี้ จัดเป็นสังคมจรรยาที่ดีงาม นำให้หมู่คณะปฏิบัติต่อกัน และได้รับตอบจากกันด้วยอัธยาศัย ไมตรี เข้าในหลักที่ว่าผู้สักการะย่อมได้สักการะตอบ ผู้นับถือย่อมได้นับถือตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ผู้ บูชาย่อมได้บูชาตอบ
๔. มงคลจากการแสดงความเคารพ
ความเคารพนี้ นอกจากจะเป็นระเบียบวินัยและอำนาจดึงดูดแล้วยังเป็นเกลียวสัมพันธ์นำให้คนเข้ากันได้สนิท และปรับคนให้เหมาะกับสังคม จะเข้านมัสการพระ เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าเจ้านาย เข้าสมาคมต่างชาติ หรือไปในงานพิธีรีตองใดๆ ก็รู้จักอนุโลมตัวตามกาลเทศะ ควรกราบก็กราบ ควรไหว้ก็ไหว ควรคำนับก็คำนับ ประดับผู้ใหญ่ให้น่าเคารพสักการบูชาของผู้น้อย ส่งเสริมผู้น้อยให้น่ารักน่าใคร่ไว้วางใจของผู้ใหญ่ นับว่าเป็นทางมาแห่งความดีความเจริญ นี่มงคลจากความเคารพ
เรามารู้จักบุคคลและวัตถุควรเคารพแล้ว ปฏิบัติตนให้มีสัมมาคารวะ ตามควรแก่บุคคลและวัตถุควรเคารพนั้นๆ แสดงออกเป็นกิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ และใจสุภาพ ผู้น้อยเป็นที่รักใคร่เมตตากรุณาของผู้ใหญ่ แม้ผู้ใหญ่ก็เป็นที่เคารพนับถือของผู้น้อย ถึงบัณฑิตก็ยกย่องสรรเสริญ สามารถดำเนินชีวิตไปให้ลุถึงความเจริญก้าวหน้าได้ ดูเถอะ เมื่อลูกมีความเคารพกราบไหว้พ่อแม่ของตน เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ประพฤติตามโดยเคารพ เว้นชั่ว ประพฤติดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ก็ชวนให้พ่อแม่รักใคร่เมตตากรุณามาก และเป็นกำลังส่งเสริมให้ลูกเจริญรุ่งเรือง ไม่มีเวลาตกต่ำ นี่ก็มงคลจากความเคารพ
เอาเป็นว่านิสัยเคารพนี้ คือชีวิตแห่งความระลึกถึง กัน ชีวิตแห่งความจงรักภักดี ชีวิตแห่งความเอื้อเฟื้อเชื่อถือกัน ชีวิตแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และชีวิตแห่งความสงบสุขชื่นบานหรรษา สำหรับยึดเหนี่ยว น้ำใจให้ร่วมกัน เป็นเสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกัน มี กฎเกณฑ์ชิ้นเดียวกัน มีกฎหมายบทเดียวกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยกิริยาเคารพ วาจาเคารพ และน้ำใจเคารพ ตามฐานะผู้ใหญ่ผู้น้อย เป็นเหตุหลั่งไหลมาแห่งความ สงบสุข ชื่นบานสราญรมย์ นี่ก็มงคลจากความเคารพ
ดังนั้น ความเคารพนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เป็นมงคลยอดชีวิตข้อหนึ่งในมงคล ๓๘
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)
“กลุ่มโลกที่หมุนเวียนรอบดวงอาทิตย์ เป็นระเบียบ เรียบร้อยอยู่ได้ตามวิถีโคจรนั้น เพราะอาศัยอำนาจดึง ดูดของดวงอาทิตย์ ถ้าดวงอาทิตย์ไม่มีอำนาจดึงดูด ไว้ได้แล้ว กลุ่มโลกนั้นก็ต้องลอยเปะปะ ไม่เป็นส่ำแน่นอน แม้คนเราก็เช่นกัน จะมีชีวิตอยู่เป็นระเบียบ เรียบร้อย ดำเนินสะดวกราบรื่น และอยู่สงบสุขชื่นบาน สราญใจ ก็เพราะอาศัยอำนาจดึงดูดของความเคารพที่มีอยู่ต่อกัน ถ้าอยู่กันอย่างไม่มีความเคารพ เป็นระเบียบวินัยแล้ว ก็จะต่างอะไรกับกองโจร และจะประพฤติตัวเลอะเทอะเหลวแหลกไปตามอำเภอใจ
ให้คิดดูเถอะว่า เราจะประพฤติคุณงามความดี อันเป็นตัวเหตุอำนวยผลให้เป็นคนดี มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า เช่น เราจะศึกษาศิลปวิทยา จะตั้งใจรับ ภารกิจของท่านผู้มีพระคุณ จะอยู่ในปกครองของท่านอย่างสงบ จะรักษาศีล ปฏิบัติธรรมในพระศาสนา แม้ชั้นจะใช้สอยไหว้วานกันให้สำเร็จลุล่วงไปได้สะดวก ราบรื่น และเป็นระเบียบเรียบร้อย ก็ต้องอาศัยความเคารพเป็นพื้นฐาน
จริงทีเดียว เพราะความเคารพ เป็นระเบียบวินัยสำหรับร้อยรัดคนให้รวมกันเป็นหมู่คณะ และจัดสรรให้หมู่คณะร่วมฉันทะกันประพฤติคุณงามความดี นอกจากจะเป็นระเบียบวินัยแล้ว ความเคารพนั้นยังเป็นอำนาจดึงดูดหมู่คณะให้รักใคร่นับถือกัน ยกย่องเชิดชูกันตามฐานะผู้ใหญ่ผู้น้อย มีความสามัคคีสนิทสนมกลมเกลียวกัน มีเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเห็นอกเห็นใจกัน และให้รวมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนา เป็นที่สง่างามแก่ชาติศาสนา
ความเคารพเป็นคุณธรรมชั้นสูง คือยอดดีของคนอย่างหนึ่ง ซึ่งมิใช่ของต่ำของพื้นๆ และสูงกระทั่งคนใจต่ำทำตามไม่ไหว พระบางรูปยอมต้องอาบัติ ทหารบางคนยอมถูกกักขัง คนบางพวกยอมสละ วัฒนธรรม และคนบางคนยอมเสียสมบัติผู้ดี นั่นก็เพราะเขาใจต่ำ ไม่อาจทำความเคารพที่เป็นของสูงได้
เพื่อให้ทราบความหมายและแนวทางปฏิบัติ จึงจะตั้งประเด็นบรรยายความไว้ ๔ ข้อ ดังนี้
๑. ลักษณะความเคารพ
.....เราควรศึกษาให้รู้ก่อนว่า อะไรคือความเคารพ ?
ความตระหนักปักใจลงในบุคคลและวัตถุที่ควรเทิดทูนยกย่องเชิดชู และควรเอื้อเฟื้อ เชื่อถือตามสถานะที่ควร กอปรด้วยกิริยาอ่อนน้อม วาจาอ่อนหวาน และน้ำใจอ่อนโยน ซึ่งเป็นไปโดยสม่ำเสมอ เช่นนี้นี่เอง คือความเคารพ
ความเคารพนี้เป็นคุณสมบัติจูงใจให้ปรารภความดีของบุคคลและวัตถุอื่นที่ควรเทอดทูนยกย่องเชิดชู และเป็นอุบายกำจัดกิเลส ๔ อย่างออกจากใจ คือ มักขะ -ลบหลู่คุณท่าน ปลาสะ-ยกตนเทียมท่าน ถัมภะ-ดื้อดึงแข็งกระด้าง และอติมานะ-ดูหมิ่นท่าน
ที่จริงนอกจากความเคารพแล้ว ไม่มีอะไรภายใต้ท้องฟ้าอันสูงลิบนี้ จะกำจัดกิเลสเหล่านี้ให้สิ้นไปได้ เราจึงควรหลีกเว้นมันเสียด้วยความเคารพ ให้เหมือนเราหลบหลีกอสรพิษ เลี่ยงไปเสียทางหนึ่ง
มักขะ ชักนำคนให้เป็นคนอกตัญญู ลบหลู่คุณของผู้มีคุณแก่ตน นิสัยเคารพ จูงใจให้ยำเกรง รู้คุณของผู้มีคุณ ยกท่านขึ้นไว้ในตำแหน่งเจ้าพระคุณ
ปลาสะ ลวงให้คนหลงผิดว่าตนดีเสมอเขา เกิดเหิมฮึกไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง นิสัยเคารพ เหนี่ยวรั้งมาให้เจียมตัว เป็นคนนุ่งเจียมห่มเจียม ไม่อาจเอื้อมในที่ต่ำสูง
ถัมภะ ยุให้เป็นคนหัวดื้อ ถือรั้น ดันทุรัง นิสัยเคารพ ปราบให้อ่อนลงมา ถือคติว่า “ไม้อ่อนบ่ห่อนหัก”
อติมานะ ยั่วให้หมิ่นประมาท หรือสบประมาทผู้อื่น เห็นเขาเลวกว่าตัวไปหมด จนกลายเป็นคนหยิ่ง จมไม่ลง นิสัยเคารพ ชวนให้เห็นคนเป็นคน แสดงคารวะกันตามที่เหมาะที่ควร
ในทางพระศาสนา ท่านระบุตัวบุคคลและวัตถุควรเคารพไว้ ๖ ประเภท และยกการแสดงลักษณะเคารพในบุคคลและวัตถุควรเคารพนั้น ขึ้นเป็นจารีตประเพณีที่ถูกต้องเป็นขนบประเพณีที่ชอบ และเป็นธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ได้จำแนกลักษณะเคารพ ไว้ ๖ ประการ คือ ๑. เคารพในพระพุทธเจ้า ๒. เคารพใน พระธรรม ๓. เคารพในพระสงฆ์ ๔. เคารพในการศึกษา ๕. เคารพในความไม่ประมาท ๖. เคารพในปฏิสันถาร การต้อนรับ
ความเคารพเป็นคุณธรรมชั้นสูง มีอยู่ในจิตใจของ ผู้ปฏิบัติ แต่เนื้อแท้ของความเคารพในจิตใจนั้น เราจะดูด้วยตาเนื้อไม่เห็น ต้องดูด้วยตาใจ จึงจะรู้เห็นได้ เปรียบเหมือนความรู้หนังสือ ซึ่งความรู้นั้นอยู่ในใจ ของผู้เรียนรู้ เราดูความรู้ของเขาไม่เห็น แต่เราจะรู้ได้ ว่าเขามีความรู้ ก็ต่อเมื่อเขาเขียนหรืออ่านหนังสือ ที่แสดงลักษณะออกมาจากความรู้ในใจของเขา แม้ความ เคารพนี้ก็เช่นกัน ซึ่งมีทั้งภายในและภายนอก เราจะรู้ได้ แต่ลักษณะภายนอก เช่น ท่ากราบ ท่าไหว้ ท่าหมอบ ท่าคลาน ท่ายืนตรง ท่าโค้ง ท่าวันทยาหัตถ์ หรือท่า วันทยาวุธ คนไม่มีความเคารพในใจเลยอาจแสร้ง แสดงลักษณะออกมาอย่างจำใจก็ได้ นั่นดูเถอะ เหล่าทหารที่ยืนเรียงแถวรับการตรวจพล เมื่อผู้บังคับแถวตะโกนสั่งให้ทำความเคารพแม่ทัพ เขาก็ทำความเคารพพร้อมกันทุกคน แต่ไม่หมายว่าทหารเหล่านั้นมีลักษณะเคารพทุกคน พึงสังเกตว่าการทำความเคารพ ตามคำสั่งนั้น นั่นคือวินัย ส่วนการมีความเคารพในใจ นี้ นี่คือคุณธรรม ซึ่งบ่งชี้ชัดว่าการทำกับการมีนั้นเป็นคนละเรื่อง มิใช่เรื่องเดียวกัน
ความเคารพนี่นะ เป็นคุณสมบัติทั่วไปแก่ทุกเพศทุกวัย ผู้ใหญ่และผู้น้อยจำเป็นต้องปฏิบัติร่วมกัน เพราะมารยาทที่ดีงาม นับเป็นจริยาวัตรทั้งของผู้ใหญ่และของผู้น้อย เมื่อผู้น้อยและผู้ใหญ่มีความเคารพต่อกัน ชื่อว่าได้แสดงออกซึ่งกิริยา วาจา ใจ ที่สุภาพต่อสังคม ประกาศให้มวลชนรู้ว่าเป็นผู้มีมารยาทชั้นสูง ปิดเสียซึ่งกิริยาดูหมิ่นถิ่นแคลนต่อกัน จะนำให้ผู้น้อยได้รับเมตตากรุณาจากผู้ใหญ่ และให้ผู้ใหญ่เป็นที่น่าเคารพน่านับถือของผู้น้อย และเป็นการวางแบบอย่างที่สุภาพ ให้เป็นวัฒนธรรมแก่อนุชนรุ่นหลัง
เมื่อสรุปความแล้ว เราจะได้ลักษณะเคารพเป็น ๓ ประการ คือ
๑.๑ เคารพตน ผู้รักตน มุ่งทำความดี เว้นชั่ว ให้แก่ตน โดยละอายชั่วกลัวผิด ตั้งใจเว้นสิ่งที่ไม่ดีให้ห่าง ไกล และมีฉันทะมุ่งมั่นบำเพ็ญสิ่งที่ดีให้ดีเรียบร้อยเพื่อให้ตนดี มีความเจริญก้าวหน้า ปลอดเวรภัย มี ความสุขสำราญเย็นใจ นี่คือคนเคารพตน
๑.๒ เคารพคนอื่น ผู้นับถือรักใคร่คนอื่น มีอัธยาศัย น้ำใจกว้าง ไม่เห็นแก่ตนฝ่ายเดียว มุ่งทำความดีแก่กัน เว้นทำความไม่ดีแก่กัน อ่อนโยนเพื่อบำรุงน้ำใจกัน และถ่อมตนลงเพื่อแสดงความนับถือยำเกรงกัน นี่คือผู้เคารพคนอื่น
๑.๓ เคารพธรรม หน้าที่และความเที่ยงตรง ชื่อว่าธรรม ผู้ถือหน้าที่และความเที่ยงตรงเป็นสำคัญ เมื่อเห็นว่าเป็นหน้าที่และมีความเที่ยงตรงแล้วก็ทำ ไม่เอาความรู้สึกส่วนตัวมาขัดขวางให้เสียหน้าที่และความเที่ยงตรง ตั้งใจประพฤติยุติธรรมให้สมควรแก่หน้าที่ ไม่ลุอำนาจแก่อคติ เพราะรักชังโง่เขลาและเกรงกลัว นี่คือผู้เคารพธรรม
๒. บุคคลและวัตถุควรเคารพ
พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ อุปัชฌาย์ อาจารย์ ครู พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ท่านผู้ใหญ่เหนือตน ปู่ ย่า ตา ยาย พี่ ป้า ลุง อา น้า นี่คือบุคคลควรเคารพ
พระธรรม การศึกษา ความไม่ประมาท การปฏิสันถาร ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ บริโภคเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ นี่คือ วัตถุควรเคารพ
เมื่อเราเคารพบุคคล และวัตถุควรเคารพ เหล่านี้ให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และสมควรแก่ฐานะของตนแล้ว ก็เป็นที่นิยมนับถือและเมตตากรุณาของคนอื่น แม้นักปราชญ์ก็ชื่นชมยินดี ไม่ติเตียนคัดค้าน ในทางพระศาสนาได้แบ่งบุคคลควรเคารพไว้ ๓ ประการ คือ
๒.๑ ชาติวุฑฺโฒ ผู้เจริญโดยกำเนิดสูง หมายเอาบุคคลที่มหาชนยกย่องนับถือว่าเป็นผู้ดี มีศีลธรรม และเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ คือสูงศักดิ์โดยชาติ เช่น พระมหากษัตริย์ และพระราชวงศ์ แม้จะอยู่วัยใดก็ตาม ซึ่งมีธรรมสำหรับตระกูลวงศ์เป็น เครื่องวัด นี่คือบุคคลควรเคารพยำเกรง
๒.๒ วยวุฑฺโฒ ผู้เจริญโดยวัย หมายเอาผู้เฒ่าผู้แก่ อยู่ในปูนปัจฉิมวัย มีอายุมั่นขวัญยืน หรือสูงโดยวยายุกาล และมีคุณสมบัติสำหรับวัยเป็นเครื่องวัด ว่าเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ มีธรรมเป็นอำนาจ คราร้อนก็เท่าแสงอาทิตย์ ไม่ร้อนถึงกับไหม้ คราเย็นก็เท่าแสงจันทร์ ไม่เย็นถึงกับหนาว ดึงดูดมหาชนในถิ่นนั้น มาให้นิยม นับถือ และนี่ก็คือบุคคลควรเคารพยำเกรง
๒.๓ คุณวุฑโฒ ผู้เจริญโดยคุณงามความดี หมายเอาผู้มีคุณสมบัติสำหรับตนเป็นเครื่องวัด จะเป็นครูอาจารย์ หรือดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดๆ โดยที่สุดแม้ ผู้เยาว์วัย เมื่อมีคุณสมบัติในสันดาน เป็นผู้น้อยน่า เมตตา เป็นผู้ใหญ่น่านับถือ เป็นผู้เฒ่าก็น่ากราบไหว้ แม้นี่ก็บุคคลควรเคารพยำเกรง
ในบุคคลควรเคารพ ๓ ประเภทนี้ มีอยู่ ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายบรรพชิต ใช้เคารพกันตามพระพุทธบัญญัติ โดยถือเวลาบวชก่อนและหลังเป็นหลัก พระผู้บวชทีหลัง แม้จะเจริญโดยชาติ โดยวัย หรือโดยคุณอย่างไร ก็ต้องเคารพพระผู้บวชก่อน ส่วนฝ่ายคฤหัสถ์ใช้ เคารพกันโดยชาติ โดยวัย และโดยคุณ ดังกล่าวมา
๓. ระเบียบแสดงความเคารพ
ระเบียบแบบแผนที่แสดงความเคารพต่อกันนั้น มีอยู่มากมายหลายสถาน แต่ว่าโดยเฉพาะเพศ ก็มีอยู่ ๒ สถาน คือ ของบรรพชิต และของคฤหัสถ์ พึงศึกษา ต่อไปดังนี้
๓.๑ ระเบียบแสดงความเคารพของบรรพชิต ระเบียบนี้ ทางการคณะสงฆ์ได้วางไว้ให้ภิกษุ สามเณรถือเป็นหลักปฏิบัติ มีอยู่ ๔ ข้อ คือ
ก. อภิวาท กราบไหว้ ลักษณะกราบ นิยมใช้ให้ประกอบด้วยองค์ ๕ เรียก เบญจางคประดิษฐ์ คือจดเข่าทั้งสอง จดฝ่ามือทั้งสอง และจดหน้าผากหนึ่ง ลงที่พื้น รวมองค์ ๕ นี้เข้าด้วยกัน จัดเป็นกราบ การกราบนี้ตามระเบียบนิยม ให้กราบ ๓ หน
ส่วนลักษณะไหว้ นิยมให้รวมนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว เข้าเป็นกระพุ่ม ยกกระพุ่มมือขึ้นประณม เหนือศีรษะ หรือเสมอหน้าผาก แล้วก้มศีรษะลงน้อยหนึ่ง ให้พองาม การไหว้นี้ตามระเบียบนิยมให้ทำคาบเดียว...
ข. อุฏฐานะ คือ ลุกยืน การลุกยืนนี้ มิใช่ลุกยืนเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถตามปกติ แต่หมายถึงการลุกขึ้นยืนรับ แสดงความเคารพ พระผู้ใหญ่กว่า ที่ตรงมาหรือผ่านไปในระยะใกล้ เป็นธรรมเนียมที่ใช้อยู่ในครั้งพุทธกาล เช่น ภิกษุยืนรับเสด็จ ภิกษุยืนเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา และถือเป็นธรรมเนียมมาจนบัดนี้
ค. อัญชลีกรรม คือ ประณมมือ ลักษณะประณมมือนี้ นิยมให้รวมนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว เข้าเป็นกระพุ่ม และยกกระพุ่มมือขึ้นเพียงอก ใช้ได้ทั้งขณะยืนและนั่งโดยปกติใช้ทำแก่ท่านผู้ใหญ่ แต่บางคราวใช้ทำแก่ผู้ น้อย แม้แก่คฤหัสถ์และกิจอื่นอันควรแก่ความเคารพ
ง. สามีจิกรรม คือ การแสดงอัธยาศัย การแสดงอัธยาศัย เช่น เดินหลัง นั่งหลัง ให้ที่นั่ง หลีกทาง ลดร่ม ถอดรองเท้า เป็นตัวอย่าง ใช้ทำแก่ผู้แก่กว่า หรือผู้อ่อน กว่า โดยสมควรแก่ประเภทแห่งการ บางอย่างใช้ทำ แม้แก่คฤหัสถ์ เช่นมีวัตรของภิกษุ ไม่สวมรองเท้า ไม่กั้นร่ม เข้าไปในบ้าน
๓.๒ ระเบียบแสดงความเคารพของคฤหัสถ์ ระเบียบที่คฤหัสถ์ใช้เป็นธรรมเนียมอยู่ในปัจจุบันนี้ มีดังนี้คือ กราบ ไหว้ เปิดหมวก ลุกยืน นั่งลง ประณมมือ วันทยาหัตถ์ วันทยาวุธ ทำท่าตรง แลขวาแลซ้าย ยิงสลุต สลุตธง ลดธง ดนตรี เป็นต้น
ระเบียบแสดงความเคารพทั้งของบรรพชิตและของคฤหัสถ์นี้ จัดเป็นสังคมจรรยาที่ดีงาม นำให้หมู่คณะปฏิบัติต่อกัน และได้รับตอบจากกันด้วยอัธยาศัย ไมตรี เข้าในหลักที่ว่าผู้สักการะย่อมได้สักการะตอบ ผู้นับถือย่อมได้นับถือตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ผู้ บูชาย่อมได้บูชาตอบ
๔. มงคลจากการแสดงความเคารพ
ความเคารพนี้ นอกจากจะเป็นระเบียบวินัยและอำนาจดึงดูดแล้วยังเป็นเกลียวสัมพันธ์นำให้คนเข้ากันได้สนิท และปรับคนให้เหมาะกับสังคม จะเข้านมัสการพระ เข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ เข้าเฝ้าเจ้านาย เข้าสมาคมต่างชาติ หรือไปในงานพิธีรีตองใดๆ ก็รู้จักอนุโลมตัวตามกาลเทศะ ควรกราบก็กราบ ควรไหว้ก็ไหว ควรคำนับก็คำนับ ประดับผู้ใหญ่ให้น่าเคารพสักการบูชาของผู้น้อย ส่งเสริมผู้น้อยให้น่ารักน่าใคร่ไว้วางใจของผู้ใหญ่ นับว่าเป็นทางมาแห่งความดีความเจริญ นี่มงคลจากความเคารพ
เรามารู้จักบุคคลและวัตถุควรเคารพแล้ว ปฏิบัติตนให้มีสัมมาคารวะ ตามควรแก่บุคคลและวัตถุควรเคารพนั้นๆ แสดงออกเป็นกิริยาสุภาพ วาจาสุภาพ และใจสุภาพ ผู้น้อยเป็นที่รักใคร่เมตตากรุณาของผู้ใหญ่ แม้ผู้ใหญ่ก็เป็นที่เคารพนับถือของผู้น้อย ถึงบัณฑิตก็ยกย่องสรรเสริญ สามารถดำเนินชีวิตไปให้ลุถึงความเจริญก้าวหน้าได้ ดูเถอะ เมื่อลูกมีความเคารพกราบไหว้พ่อแม่ของตน เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ประพฤติตามโดยเคารพ เว้นชั่ว ประพฤติดี ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ก็ชวนให้พ่อแม่รักใคร่เมตตากรุณามาก และเป็นกำลังส่งเสริมให้ลูกเจริญรุ่งเรือง ไม่มีเวลาตกต่ำ นี่ก็มงคลจากความเคารพ
เอาเป็นว่านิสัยเคารพนี้ คือชีวิตแห่งความระลึกถึง กัน ชีวิตแห่งความจงรักภักดี ชีวิตแห่งความเอื้อเฟื้อเชื่อถือกัน ชีวิตแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และชีวิตแห่งความสงบสุขชื่นบานหรรษา สำหรับยึดเหนี่ยว น้ำใจให้ร่วมกัน เป็นเสมือนหนึ่งครอบครัวเดียวกัน มี กฎเกณฑ์ชิ้นเดียวกัน มีกฎหมายบทเดียวกัน ปฏิบัติต่อกันด้วยกิริยาเคารพ วาจาเคารพ และน้ำใจเคารพ ตามฐานะผู้ใหญ่ผู้น้อย เป็นเหตุหลั่งไหลมาแห่งความ สงบสุข ชื่นบานสราญรมย์ นี่ก็มงคลจากความเคารพ
ดังนั้น ความเคารพนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า เป็นมงคลยอดชีวิตข้อหนึ่งในมงคล ๓๘
(โปรดติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม)