ความหลงยึดถือในขันธ์ห้า
อันผงที่เข้าตาบุคคลอยู่นี้อย่างละเอียดก็ได้แก่ความหลงยึดถือตัวเราของเรานั้นเอง และความหลงยึดถือตัวเราของเรานั้น ก็คือความหลงยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านั้นว่าเป็นตัวเราของเรา เพราะฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านี้จึงเรียกว่า อุปทานขันธ์ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ คือเป็นที่ยึดถือว่าตัวเราของ เรา คราวนี้ก็อาจที่จะมีคำถามแย้งว่า ความยึดถือของบุคคล นั้นก็มักยึดถืออยู่ในบรรดาสิ่งที่เป็นที่รักใคร่ปรารถนา เช่น แก้วแหวนเงินทองเป็นต้น ก็กล่าวชี้แจงได้ว่า บรรดาแก้วแหวนเงินทองเป็นต้นอันเป็นที่รักใคร่ปรารถนาพอใจอันเป็นสิ่งที่ยึดถือนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ก็เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นต้นนี้แหละ เป็นรูป ก็คือเป็นสิ่งต่างๆ ที่ เป็นวัตถุ เป็นรูปายตนะ ที่ต่อทางอายตนะคือจักษุเข้าไป ตั้งเป็นจักขุวิญญาณ เป็นเวทนาก็คือเป็นความสุข เป็นต้น เป็นสัญญาก็คือเป็นความจำ เพราะจะต้องมีความจำ ที่ว่าแก้วแหวนเงินทองเป็นต้นนั้นก็ตั้งอยู่ในความจำของบุคคล เป็นสัญญา ถ้าจำไม่ได้ก็ลืมเสีย สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะฉะนั้นที่มีอยู่ก็คือมีอยู่ในความจำนั้นเอง คือว่าจำได้ จึงยึดถืออยู่ในความจำนั้นหรือในสิ่งที่จำนั้น ถ้าจำไม่ได้ลืมเสียก็ไม่มีความยึดถือ และก็เป็นสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดนี้เอง
อันความยึดถือต่างๆ ตลอดถึงความรักความชังต่างๆ นั้น ก็ล้วนเป็นความคิดปรุงหรือปรุงคิดในจิตใจของบุคคลทั้งนั้น ความยึดถือก็เป็นความคิดปรุงขึ้นมา ความชอบหรือความชังต่างๆ ก็เป็นความปรุงคิดขึ้นมา เหล่านี้ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่มีความคิดปรุงหรือความปรุงคิดใดๆแล้ว ความชอบความยึดถือต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงรวมอยู่ในสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดนี้ และก็ เพราะมีวิญญาณคือความรู้สึกเห็นรูปได้ยินเสียงเป็นต้นที่เป็นไปทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ ถ้าหากว่าไม่มีทวารทั้งหกนี้ หรือทวารทั้งหกนี้ไม่ทำหน้าที่ บุคคลก็เป็นเหมือนอย่างนอนหลับหรือเป็นคน สลบไสล ไม่มีความรู้สึกอะไรในตัว ไม่เห็นอะไร ไม่ได้ยินอะไร ไม่ทราบกลิ่นรสสัมผัสอะไร ไม่รู้คิดอะไรได้ แต่ เพราะทวารทั้งหกทำหน้าที่ จึงมีความรู้สึกต่างๆ ก็เป็นตัววิญญาณ ตัววิญญาณนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มีความรัก ความชัง ความหลงเป็นต้น ปรากฏเป็นไปอยู่ในจิตใจ เมื่อรวมเข้า มาแล้วจะเป็นความยึดถือในอะไรก็ตามก็รวมอยู่ในความยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เท่านั้น และสิ่ง ที่เข้าใจว่าเป็นตัวเราของเราก็อยู่ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านี้เท่านั้น
การแยกพิจารณาขันธ์ห้า
เมื่อแยกพิจารณาออกไปทีละอย่างว่า ตัวเราของเรานั้นอยู่ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือมิใช่ ก็จะทำให้เห็นได้ว่าไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่นว่ารูป ก็อาจจะมีความยึดถือรวมๆ กันอยู่ว่า รูปของเรา เราเป็นรูป รูปเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังเช่นเมื่อส่องกระจกดูหรือว่าถ่ายรูปของตัวเอง หรือว่าคนอื่นถ่ายรูปของตัวดู ก็ย่อมจะรู้จักกันว่า นี่เป็นคนนั้น นี่เป็นคนโน้น ตัวเราดูรูปของตัวเราก็ย่อม จะรู้ว่านี่เป็นตัวเรา ก็มีความยึดถือกันอยู่ดังนี้ แต่เมื่อสอบถามเข้าไปให้ละเอียดแล้วเช่นว่าจับที่แขน ว่าตัวเราอยู่ที่แขนนี้หรือมิใช่ ก็จะต้องตอบว่าไม่ใช่ เพราะถ้าใช่แล้วถูกตัดแขนออกไปเสีย ตัวเราก็จะต้องถูกตัดออกไป แต่ถ้าตัดแขนออกไปแล้วตัวเราก็ยังอยู่ จับที่ผมแล้วถามว่าตัวเราใช่ไหม ก็จะต้องตอบว่าไม่ใช่ นี่เป็นผม เมื่อจับดูที่ตัวทุกส่วนอันเป็นส่วนรูปขันธ์ กองรูป ก็ย่อมจะตอบได้ว่าไม่ใช่ตัวเรา เพราะนั่นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง เป็นอวัยวะส่วนต่างๆ ทีแรกเมื่อดูห่างๆ ก็รู้สึกว่าเป็นตัวเรา แต่เมื่อจับพิจารณาใกล้เข้าไปแล้วก็จะจับได้เองว่า ไม่ใช่ตัวเรา หากเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย แต่ก็ยังมีความยึดถืออยู่ว่าเป็นของเรา คือว่าแม้จะเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย ก็ยังถือว่าเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของเรา เช่นว่าผมของเราขนของเรา เล็บ ฟัน หนังของเราดั่งนี้เป็นต้น
เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีกว่า ถ้าเป็นของเราจริงแล้วต้องบังคับได้ให้เป็นไปตามปรารถนา แต่นี่บังคับไม่ได้ให้เป็นไปตามปรารถนา เพราะต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ อยากจะให้ผมของเราไม่ หงอกก็ไม่สำเร็จ ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นไป ตามปรารถนา และในที่สุดก็ต้องแตกสลายไปหมด ดั่งนี้จึง เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน พิจารณาไปตามที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอน แยกแยะออกไปว่าเป็นอนัตตา เพราะบังคับ ให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เป็นไปเพื่ออาพาธ และเมื่อรูปอาพาธ ต้องชำรุดทรุดโทรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็อาพาธ ดังจะพึงเห็นได้ว่ารูปกายอันเป็นส่วนรูปขันธ์นี้เก่าแก่ทรุดโทรมเจ็บป่วยลงไป ก็จะมากไปด้วยทุกขเวทนา อันเป็นที่รับรองว่าอาพาธ คือความป่วยไข้ เป็นทุกข์ สัญญาเองก็อาพาธ เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่นจำอะไรได้ว่องไว ครั้นเมื่อแก่ลงไปความจำก็ยากเข้าเลอะเลือนเข้า ความคิดปรุง หรือความปรุงคิดที่เคยคิดอะไรได้ฉับพลัน ก็ชักช้าคิดไม่ใคร่ออก ความรู้สึกเห็นรูปได้ยินเสียง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อตาที่เป็นส่วนรูปมืดมัวลงไป จะอ่านหนังสือจะมองอะไรก็ไม่ใคร่เห็น จักษุวิญญาณคือ ความรู้สึกเห็นรูปทางตาก็ชักช้าไม่สะดวก เป็นไปตามกาย ก็เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ชำรุดทรุดโทรมไปโดยลำดับ เป็นอาพาธคือความที่ต้องถูกความแก่ ความเจ็บ ให้ชำรุดทรุดโทรมไปโดยลำดับ บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาก็ไม่ได้ ในเมื่อร่างกายชำรุดทรุดโทรมลงไป ทุกๆ ส่วนก็ชำรุดทรุดโทรมด้วยกัน ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา อันความแปรปรวนเปลี่ยน แปลงไปนี้แหละที่เป็นตัวทุกข์ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงไม่ควรที่จะ มีความเห็นยึดถือว่า นี่เป็นของเรา เราเป็นนี่ นี่เป็นอัตตาตัวตนของเราดั่งนี้
ความหมั่นพิจารณาให้มองเห็นสัจจะคือความจริงใจตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเป็นสัญญาและก็จะเป็นปัญญาขึ้นมาโดยลำดับ จะเป็นเครื่องทำลายผงที่เข้าตา เป็นการเขี่ยผงออกไปจากดวงตาโดยลำดับ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะมองเห็นแจ่มแจ้งขึ้น ก็ดวงประทีปดวงเดียวนี้เองที่พระพุทธเจ้าได้ทรงส่อง แต่เมื่อผงที่เข้าตานี้น้อยเข้า ความรู้ความเห็นก็จะแจ่มชัดขึ้น จะปรากฏเป็นปฏิเวธ คือความเจาะแทง รู้แจ้งแทงตลอด อันเป็นความรู้ที่ปรุโปร่งขึ้นโดยลำดับแห่งการปฏิบัติ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
อันผงที่เข้าตาบุคคลอยู่นี้อย่างละเอียดก็ได้แก่ความหลงยึดถือตัวเราของเรานั้นเอง และความหลงยึดถือตัวเราของเรานั้น ก็คือความหลงยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านั้นว่าเป็นตัวเราของเรา เพราะฉะนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านี้จึงเรียกว่า อุปทานขันธ์ ขันธ์เป็นที่ยึดถือ คือเป็นที่ยึดถือว่าตัวเราของ เรา คราวนี้ก็อาจที่จะมีคำถามแย้งว่า ความยึดถือของบุคคล นั้นก็มักยึดถืออยู่ในบรรดาสิ่งที่เป็นที่รักใคร่ปรารถนา เช่น แก้วแหวนเงินทองเป็นต้น ก็กล่าวชี้แจงได้ว่า บรรดาแก้วแหวนเงินทองเป็นต้นอันเป็นที่รักใคร่ปรารถนาพอใจอันเป็นสิ่งที่ยึดถือนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า ก็เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นต้นนี้แหละ เป็นรูป ก็คือเป็นสิ่งต่างๆ ที่ เป็นวัตถุ เป็นรูปายตนะ ที่ต่อทางอายตนะคือจักษุเข้าไป ตั้งเป็นจักขุวิญญาณ เป็นเวทนาก็คือเป็นความสุข เป็นต้น เป็นสัญญาก็คือเป็นความจำ เพราะจะต้องมีความจำ ที่ว่าแก้วแหวนเงินทองเป็นต้นนั้นก็ตั้งอยู่ในความจำของบุคคล เป็นสัญญา ถ้าจำไม่ได้ก็ลืมเสีย สิ่งเหล่านั้นก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะฉะนั้นที่มีอยู่ก็คือมีอยู่ในความจำนั้นเอง คือว่าจำได้ จึงยึดถืออยู่ในความจำนั้นหรือในสิ่งที่จำนั้น ถ้าจำไม่ได้ลืมเสียก็ไม่มีความยึดถือ และก็เป็นสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดนี้เอง
อันความยึดถือต่างๆ ตลอดถึงความรักความชังต่างๆ นั้น ก็ล้วนเป็นความคิดปรุงหรือปรุงคิดในจิตใจของบุคคลทั้งนั้น ความยึดถือก็เป็นความคิดปรุงขึ้นมา ความชอบหรือความชังต่างๆ ก็เป็นความปรุงคิดขึ้นมา เหล่านี้ก็เป็นสังขาร ถ้าไม่มีความคิดปรุงหรือความปรุงคิดใดๆแล้ว ความชอบความยึดถือต่างๆก็จะไม่เกิดขึ้นมา เพราะฉะนั้นจึงรวมอยู่ในสังขารคือความรู้คิดปรุงหรือปรุงคิดนี้ และก็ เพราะมีวิญญาณคือความรู้สึกเห็นรูปได้ยินเสียงเป็นต้นที่เป็นไปทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะคือใจ ถ้าหากว่าไม่มีทวารทั้งหกนี้ หรือทวารทั้งหกนี้ไม่ทำหน้าที่ บุคคลก็เป็นเหมือนอย่างนอนหลับหรือเป็นคน สลบไสล ไม่มีความรู้สึกอะไรในตัว ไม่เห็นอะไร ไม่ได้ยินอะไร ไม่ทราบกลิ่นรสสัมผัสอะไร ไม่รู้คิดอะไรได้ แต่ เพราะทวารทั้งหกทำหน้าที่ จึงมีความรู้สึกต่างๆ ก็เป็นตัววิญญาณ ตัววิญญาณนี้เองเป็นสิ่งที่ทำให้มีความรัก ความชัง ความหลงเป็นต้น ปรากฏเป็นไปอยู่ในจิตใจ เมื่อรวมเข้า มาแล้วจะเป็นความยึดถือในอะไรก็ตามก็รวมอยู่ในความยึดถือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เท่านั้น และสิ่ง ที่เข้าใจว่าเป็นตัวเราของเราก็อยู่ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณทั้งห้านี้เท่านั้น
การแยกพิจารณาขันธ์ห้า
เมื่อแยกพิจารณาออกไปทีละอย่างว่า ตัวเราของเรานั้นอยู่ที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือมิใช่ ก็จะทำให้เห็นได้ว่าไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่นว่ารูป ก็อาจจะมีความยึดถือรวมๆ กันอยู่ว่า รูปของเรา เราเป็นรูป รูปเป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังเช่นเมื่อส่องกระจกดูหรือว่าถ่ายรูปของตัวเอง หรือว่าคนอื่นถ่ายรูปของตัวดู ก็ย่อมจะรู้จักกันว่า นี่เป็นคนนั้น นี่เป็นคนโน้น ตัวเราดูรูปของตัวเราก็ย่อม จะรู้ว่านี่เป็นตัวเรา ก็มีความยึดถือกันอยู่ดังนี้ แต่เมื่อสอบถามเข้าไปให้ละเอียดแล้วเช่นว่าจับที่แขน ว่าตัวเราอยู่ที่แขนนี้หรือมิใช่ ก็จะต้องตอบว่าไม่ใช่ เพราะถ้าใช่แล้วถูกตัดแขนออกไปเสีย ตัวเราก็จะต้องถูกตัดออกไป แต่ถ้าตัดแขนออกไปแล้วตัวเราก็ยังอยู่ จับที่ผมแล้วถามว่าตัวเราใช่ไหม ก็จะต้องตอบว่าไม่ใช่ นี่เป็นผม เมื่อจับดูที่ตัวทุกส่วนอันเป็นส่วนรูปขันธ์ กองรูป ก็ย่อมจะตอบได้ว่าไม่ใช่ตัวเรา เพราะนั่นเป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง เป็นอวัยวะส่วนต่างๆ ทีแรกเมื่อดูห่างๆ ก็รู้สึกว่าเป็นตัวเรา แต่เมื่อจับพิจารณาใกล้เข้าไปแล้วก็จะจับได้เองว่า ไม่ใช่ตัวเรา หากเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย แต่ก็ยังมีความยึดถืออยู่ว่าเป็นของเรา คือว่าแม้จะเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย ก็ยังถือว่าเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของเรา เช่นว่าผมของเราขนของเรา เล็บ ฟัน หนังของเราดั่งนี้เป็นต้น
เมื่อพิจารณาให้ละเอียดลงไปอีกว่า ถ้าเป็นของเราจริงแล้วต้องบังคับได้ให้เป็นไปตามปรารถนา แต่นี่บังคับไม่ได้ให้เป็นไปตามปรารถนา เพราะต้องเป็นไปเพื่ออาพาธ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ อยากจะให้ผมของเราไม่ หงอกก็ไม่สำเร็จ ดั่งนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นไป ตามปรารถนา และในที่สุดก็ต้องแตกสลายไปหมด ดั่งนี้จึง เป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน พิจารณาไปตามที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงสั่งสอน แยกแยะออกไปว่าเป็นอนัตตา เพราะบังคับ ให้เป็นไปตามปรารถนาไม่ได้ เป็นไปเพื่ออาพาธ และเมื่อรูปอาพาธ ต้องชำรุดทรุดโทรม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็อาพาธ ดังจะพึงเห็นได้ว่ารูปกายอันเป็นส่วนรูปขันธ์นี้เก่าแก่ทรุดโทรมเจ็บป่วยลงไป ก็จะมากไปด้วยทุกขเวทนา อันเป็นที่รับรองว่าอาพาธ คือความป่วยไข้ เป็นทุกข์ สัญญาเองก็อาพาธ เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่มแน่นจำอะไรได้ว่องไว ครั้นเมื่อแก่ลงไปความจำก็ยากเข้าเลอะเลือนเข้า ความคิดปรุง หรือความปรุงคิดที่เคยคิดอะไรได้ฉับพลัน ก็ชักช้าคิดไม่ใคร่ออก ความรู้สึกเห็นรูปได้ยินเสียง ก็เช่นเดียวกัน เมื่อตาที่เป็นส่วนรูปมืดมัวลงไป จะอ่านหนังสือจะมองอะไรก็ไม่ใคร่เห็น จักษุวิญญาณคือ ความรู้สึกเห็นรูปทางตาก็ชักช้าไม่สะดวก เป็นไปตามกาย ก็เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้ชำรุดทรุดโทรมไปโดยลำดับ เป็นอาพาธคือความที่ต้องถูกความแก่ ความเจ็บ ให้ชำรุดทรุดโทรมไปโดยลำดับ บังคับให้เป็นไปตามปรารถนาก็ไม่ได้ ในเมื่อร่างกายชำรุดทรุดโทรมลงไป ทุกๆ ส่วนก็ชำรุดทรุดโทรมด้วยกัน ฉะนั้น จึงเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงไปเป็นธรรมดา อันความแปรปรวนเปลี่ยน แปลงไปนี้แหละที่เป็นตัวทุกข์ เมื่อเป็นดั่งนี้จึงไม่ควรที่จะ มีความเห็นยึดถือว่า นี่เป็นของเรา เราเป็นนี่ นี่เป็นอัตตาตัวตนของเราดั่งนี้
ความหมั่นพิจารณาให้มองเห็นสัจจะคือความจริงใจตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนเป็นสัญญาและก็จะเป็นปัญญาขึ้นมาโดยลำดับ จะเป็นเครื่องทำลายผงที่เข้าตา เป็นการเขี่ยผงออกไปจากดวงตาโดยลำดับ เมื่อเป็นดั่งนี้แล้วก็จะมองเห็นแจ่มแจ้งขึ้น ก็ดวงประทีปดวงเดียวนี้เองที่พระพุทธเจ้าได้ทรงส่อง แต่เมื่อผงที่เข้าตานี้น้อยเข้า ความรู้ความเห็นก็จะแจ่มชัดขึ้น จะปรากฏเป็นปฏิเวธ คือความเจาะแทง รู้แจ้งแทงตลอด อันเป็นความรู้ที่ปรุโปร่งขึ้นโดยลำดับแห่งการปฏิบัติ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 96 พ.ย. 51 พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)