สังคมปัจจุบันมีการใส่ร้ายป้ายสีกันมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนของประชาชนก็ตาม จนทำให้สังคมเกิดความสับสันว่าอะไรคือความจริง ความเท็จ รวมทั้งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองที่มักพูดคำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดศีล เพราะฉะนั้นทุกคนจึงต้องระมัดระวังคำพูดให้มาก ผู้ไม่สำรวมระวังในการพูด ตายแล้วจะไปเกิดเป็นเปรต ดังตัวอย่างในครั้งพุทธกาล เรื่องมีอยู่ว่า
ภิกษุประมาณ ๑๒ รูป หลังจากเรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เดินทางไปแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมตอนช่วงใกล้จะเข้าพรรษา ได้พากันเดินทางไปถึงป่าแห่งหนึ่งซึ่งน่ารื่นรมย์ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนัก จึงพากันปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ในป่านั้น หนึ่งคืน รุ่งเช้าก็ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ช่างหูก ๑๑ คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น เมื่อเห็นพระมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็เกิดความปีติยินดี จึงนิมนต์เข้ามา ที่บ้าน แล้วถวายภัตตาหารอันประณีต และเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปที่ไหน เมื่อบรรดาภิกษุบอกว่ากำลังแสวงหา ที่เหมาะๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม พวกช่างหูกจึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้อยู่จำพรรษา ในหมู่บ้าน และพากันสร้างกระท่อมในป่าถวาย พวกภิกษุทั้งหมดจึงได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น
ในบรรดาช่างหูกเหล่านั้น หัวหน้าช่างหูกได้รับอุปัฏฐากภิกษุ ๒ รูป ด้วยความยินดียิ่ง ส่วนช่างหูกคนอื่นๆได้ อุปัฏฐากภิกษุคนละรูป ฝ่ายภรรยาหัวหน้าช่างหูก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เป็นมิจฉา-ทิฏฐิ มีความตระหนี่ ไม่สนใจ ที่จะอุปถัมภ์ภิกษุเลย ดังนั้น หัวหน้าช่างหูกจึงได้พาน้องสาวของภรรยามาอยู่ด้วย เพราะนางเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส นางได้ ปรนนิบัติภิกษุทั้งหลายด้วยความยินดียิ่ง ช่างหูกทุกคนพร้อมภรรยาได้ถวายผ้าสาฎกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารูปละผืน ยกเว้นภรรยาของหัวหน้าช่างหูก ซึ่งได้ด่าสามีของตนว่า
“ทานที่ท่านถวายแก่พวกพระสงฆ์ จะเป็นข้าว เป็นน้ำก็ดี จงบังเกิดเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นหนองและเลือดแก่ท่านในโลกหน้า ผ้าสาฎกก็จงเป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงเถิด”
ต่อมาหัวหน้าช่างหูกตายลง และไปเกิดเป็นรุกขเทวดา ในป่า ที่พวกพระมาปฏิบัติธรรม แต่ภรรยาที่ปากพล่อย เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นนางเปรต อยู่ไม่ไกลจากที่อยู่ของ รุกเทวดาเท่าใดนัก นางเปรต นั้นอยู่ในสภาพเปลือยกาย รูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ มีความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา นางเปรตได้เดินไปหารุกขเทวดาแล้วบอกว่า
“นาย.. ฉันไม่มีผ้านุ่งและหิวกระหายเหลือเกิน ขอผ้านุ่ง ข้าว และน้ำให้ฉันหน่อยเถิด”
รุกขเทวดาจึงได้ให้ข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์แก่นางเปรต แต่สิ่งของต่างๆ อันเป็นทิพย์ที่รุกขเทวดาได้ให้แก่นางไปนั้น ได้กลับกลายเป็นอุจจาระ เป็นหนอง และเลือด ผ้านุ่งก็กลาย เป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา!! นางเปรตจึงร้องไห้คร่ำครวญด้วยทุกข์อย่างมหันต์
ขณะนั้นมีภิกษุรูปหนึ่ง หลังจากออกพรรษาแล้ว ก็เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยอาศัยไปกับหมู่เกวียนหมู่ใหญ่ พวกหมู่เกวียนได้เดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อไปถึงป่าแห่งนั้นตอนกลางวัน เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่า มีร่มเงาเย็นสบาย จึงปลดเกวียนแล้วนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ ฝ่ายภิกษุก็แยกไปหาที่สงบ ปูผ้าลงที่ใต้ต้นไม้อันร่มรื่น กะว่าจะนอนพักสักครู่ แต่จู่ๆ ก็ม่อยหลับไป เพราะเหน็ดเหนื่อย จากการเดินทางมาตลอดทั้งคืน ส่วนหมู่เกวียนพอพักจนหายเหนื่อยแล้วก็ออกเดินทางต่อ โดยลืมภิกษุที่มาด้วยกัน ซึ่งหลับอยู่ใต้ร่มไม้
ภิกษุรูปนั้นหลับไปจนกระทั่งเย็น เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เห็น ใคร จึงออกเดินทางต่อไปเรื่อยๆ เพียงลำพัง จนกระทั่งไปถึงต้นไม้ที่เทวดาสิงสถิตอยู่ ฝ่ายรุกขเทวดาเห็นภิกษุเดินมุ่งหน้ามาที่ต้นไม้ ก็แปลงร่างเป็นคนธรรมดาเข้าไปไหว้ และนิมนต์ให้เข้าไปพักใต้ต้นไม้อันเป็นวิมานของตน ถวายยาทาแก้ปวดเมื่อยแก่ท่าน
ขณะเดียวกันนั่นเอง นางเปรตผู้มีความหิวโหยก็เข้ามาขอข้าว น้ำ และเสื้อผ้า รุกขเทวดาก็ได้ให้ตามที่ขอ แต่พอนางรับไป ทุกอย่างก็กลับกลายเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ หนอง เลือด และแผ่นเหล็กร้อนอันลุกโชน เหมือนที่เคยเป็นมา ฝ่ายภิกษุเห็นเหตุการณ์นั้นจึงเกิดความสลดสังเวชใจเป็นยิ่งนัก จึงถามรุกขเทวดาว่า
“หญิงเปรตนี้กินอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด และหนองเช่นนี้ เพราะได้ทำกรรมอะไรไว้หรือ? ผ้าผืนใหม่ที่สวยงาม อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อนที่ท่านมอบให้แก่หญิงผู้นี้ ทำไมจึงกลายเป็น แผ่นเหล็กร้อนไปได้”
รุกขเทวดาได้เล่าให้ภิกษุรูปนั้นฟังว่า เมื่อก่อนหญิงเปรต นี้เป็นภรรยาของตน นางเป็นคนตระหนี่ไม่รู้จักให้ทาน และได้ด่าทอตอนที่ตนกำลังทำบุญอยู่ กรรมนี้เองทำให้นางมาเกิดเป็นเปรตกินแต่อุจจาระ ปัสสาวะ เลือดและหนอง ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้นานแสนนาน
พอรุกขเทวดาเล่าบุพกรรมของนางเปรตที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อนให้พระภิกษุฟังแล้ว จึงได้ถามว่าทำอย่างไรนางนี้จึงจะพ้นจากการเป็นเปรต ภิกษุจึงได้บอกวิธีการที่จะทำ ให้กรรมชั่วของนางเปรตหมดไปว่า
“ถ้าท่านอยากให้นางเปรตนี้พ้นจากกรรมชั่ว ท่านก็จงทำบุญถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง แล้วอุทิศให้แก่นางเปรตนี้ เมื่อนางเปรต นี้อนุโมทนากับบุญที่ท่านทำ นางก็จะได้บุญและพ้นจาก ความทุกข์ทรมานได้”
เมื่อรุกขเทวดาทราบวิธีช่วยเหลือนางเปรตแล้ว จึงได้ถวายภัตตาหารอันประณีตแก่ภิกษุรูปนั้น แล้วอุทิศบุญให้แก่นางเปรตอดีตภรรยา ทันทีที่นางเปรตอนุโมทนาบุญ จิตใจก็อิ่มเอิบ ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ท้องก็อิ่มด้วยอาหาร อันเป็นทิพย์ ต่อมารุกขเทวดาได้ถวายผ้าทิพย์ เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่นางเปรตอีก นางเปรตก็ได้นุ่งผ้าทิพย์พร้อม เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อนางเปรต ได้สิ่งที่อยากได้ทุกอย่างแล้ว ร่างที่น่าเกลียดน่ากลัวก็กลาย เป็นสวยงามประดุจนางเทพอัปสร เพราะอานุภาพแห่งบุญ นั้นนั่นเอง
........
หากไม่มีบุญที่คนอื่นทำอุทิศไปให้ นางเปรตคงต้องทุกข์ ทรมานไปอีกนานแสนนานกว่าจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อเป็น เช่นนี้ คนที่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ควรประมาท ต้องรีบขวนขวาย ทำความดีให้มาก ไม่เช่นนั้นจะต้องไปชดใช้กรรม ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนางเปรตแน่นอน
ยุคปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่ไม่กลัวบาปกรรม เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง จึงดำเนินชีวิตด้วยความประมาท กล้าทำความชั่วอย่างไม่ละอาย มีจิตใจหยาบกระด้าง คิด ไม่ถึงว่ากรรมชั่วนั้นจะย้อนกลับมาหาตนเอง ทำให้ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ผู้มีปัญญาจึงควรมองถึงผลในระยะยาว มองชีวิตทั้งระบบทั้งกระบวน ชีวิตของเราไม่ได้สิ้นสุดเพียงชาตินี้ แต่ต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ความดีความชั่วที่ทำไว้แล้ว ไม่มีสูญหาย ต้องตามให้ผลแก่ผู้ทำอย่างแน่นอน แต่อย่างน้อยคนที่ทำความดีก็ย่อมจะได้ผลดีตอบแทนทันทีทันใดในขณะที่ทำ นั่นก็คือทำให้เกิดความสุขใจขึ้นมาทันที ในทางตรงกันข้าม คนที่ทำชั่วก็จะได้รับความกระวนกระวายใจ ความทุกข์ใจในทันทีที่ทำความชั่ว ผู้มีปัญญาจึง ควรละกรรมชั่วทั้งหลายให้ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย มาลาวชิโร)
ภิกษุประมาณ ๑๒ รูป หลังจากเรียนกรรมฐานกับพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เดินทางไปแสวงหาสถานที่ที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมตอนช่วงใกล้จะเข้าพรรษา ได้พากันเดินทางไปถึงป่าแห่งหนึ่งซึ่งน่ารื่นรมย์ และอยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านเท่าใดนัก จึงพากันปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ในป่านั้น หนึ่งคืน รุ่งเช้าก็ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน
ช่างหูก ๑๑ คน ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนั้น เมื่อเห็นพระมาบิณฑบาตในหมู่บ้าน ก็เกิดความปีติยินดี จึงนิมนต์เข้ามา ที่บ้าน แล้วถวายภัตตาหารอันประณีต และเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปที่ไหน เมื่อบรรดาภิกษุบอกว่ากำลังแสวงหา ที่เหมาะๆ สำหรับการปฏิบัติธรรม พวกช่างหูกจึงได้นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้อยู่จำพรรษา ในหมู่บ้าน และพากันสร้างกระท่อมในป่าถวาย พวกภิกษุทั้งหมดจึงได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น
ในบรรดาช่างหูกเหล่านั้น หัวหน้าช่างหูกได้รับอุปัฏฐากภิกษุ ๒ รูป ด้วยความยินดียิ่ง ส่วนช่างหูกคนอื่นๆได้ อุปัฏฐากภิกษุคนละรูป ฝ่ายภรรยาหัวหน้าช่างหูก เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา เป็นมิจฉา-ทิฏฐิ มีความตระหนี่ ไม่สนใจ ที่จะอุปถัมภ์ภิกษุเลย ดังนั้น หัวหน้าช่างหูกจึงได้พาน้องสาวของภรรยามาอยู่ด้วย เพราะนางเป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส นางได้ ปรนนิบัติภิกษุทั้งหลายด้วยความยินดียิ่ง ช่างหูกทุกคนพร้อมภรรยาได้ถวายผ้าสาฎกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารูปละผืน ยกเว้นภรรยาของหัวหน้าช่างหูก ซึ่งได้ด่าสามีของตนว่า
“ทานที่ท่านถวายแก่พวกพระสงฆ์ จะเป็นข้าว เป็นน้ำก็ดี จงบังเกิดเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นหนองและเลือดแก่ท่านในโลกหน้า ผ้าสาฎกก็จงเป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงเถิด”
ต่อมาหัวหน้าช่างหูกตายลง และไปเกิดเป็นรุกขเทวดา ในป่า ที่พวกพระมาปฏิบัติธรรม แต่ภรรยาที่ปากพล่อย เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นนางเปรต อยู่ไม่ไกลจากที่อยู่ของ รุกเทวดาเท่าใดนัก นางเปรต นั้นอยู่ในสภาพเปลือยกาย รูปร่างขี้ริ้วขี้เหร่ มีความหิวกระหายอยู่ตลอดเวลา นางเปรตได้เดินไปหารุกขเทวดาแล้วบอกว่า
“นาย.. ฉันไม่มีผ้านุ่งและหิวกระหายเหลือเกิน ขอผ้านุ่ง ข้าว และน้ำให้ฉันหน่อยเถิด”
รุกขเทวดาจึงได้ให้ข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์แก่นางเปรต แต่สิ่งของต่างๆ อันเป็นทิพย์ที่รุกขเทวดาได้ให้แก่นางไปนั้น ได้กลับกลายเป็นอุจจาระ เป็นหนอง และเลือด ผ้านุ่งก็กลาย เป็นแผ่นเหล็กร้อนลุกโพลงอยู่ตลอดเวลา!! นางเปรตจึงร้องไห้คร่ำครวญด้วยทุกข์อย่างมหันต์
ขณะนั้นมีภิกษุรูปหนึ่ง หลังจากออกพรรษาแล้ว ก็เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยอาศัยไปกับหมู่เกวียนหมู่ใหญ่ พวกหมู่เกวียนได้เดินทางทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อไปถึงป่าแห่งนั้นตอนกลางวัน เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่า มีร่มเงาเย็นสบาย จึงปลดเกวียนแล้วนั่งพักอยู่ใต้ร่มไม้ ฝ่ายภิกษุก็แยกไปหาที่สงบ ปูผ้าลงที่ใต้ต้นไม้อันร่มรื่น กะว่าจะนอนพักสักครู่ แต่จู่ๆ ก็ม่อยหลับไป เพราะเหน็ดเหนื่อย จากการเดินทางมาตลอดทั้งคืน ส่วนหมู่เกวียนพอพักจนหายเหนื่อยแล้วก็ออกเดินทางต่อ โดยลืมภิกษุที่มาด้วยกัน ซึ่งหลับอยู่ใต้ร่มไม้
ภิกษุรูปนั้นหลับไปจนกระทั่งเย็น เมื่อตื่นขึ้นมาไม่เห็น ใคร จึงออกเดินทางต่อไปเรื่อยๆ เพียงลำพัง จนกระทั่งไปถึงต้นไม้ที่เทวดาสิงสถิตอยู่ ฝ่ายรุกขเทวดาเห็นภิกษุเดินมุ่งหน้ามาที่ต้นไม้ ก็แปลงร่างเป็นคนธรรมดาเข้าไปไหว้ และนิมนต์ให้เข้าไปพักใต้ต้นไม้อันเป็นวิมานของตน ถวายยาทาแก้ปวดเมื่อยแก่ท่าน
ขณะเดียวกันนั่นเอง นางเปรตผู้มีความหิวโหยก็เข้ามาขอข้าว น้ำ และเสื้อผ้า รุกขเทวดาก็ได้ให้ตามที่ขอ แต่พอนางรับไป ทุกอย่างก็กลับกลายเป็นอุจจาระ ปัสสาวะ หนอง เลือด และแผ่นเหล็กร้อนอันลุกโชน เหมือนที่เคยเป็นมา ฝ่ายภิกษุเห็นเหตุการณ์นั้นจึงเกิดความสลดสังเวชใจเป็นยิ่งนัก จึงถามรุกขเทวดาว่า
“หญิงเปรตนี้กินอุจจาระ ปัสสาวะ เลือด และหนองเช่นนี้ เพราะได้ทำกรรมอะไรไว้หรือ? ผ้าผืนใหม่ที่สวยงาม อ่อนนุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อนที่ท่านมอบให้แก่หญิงผู้นี้ ทำไมจึงกลายเป็น แผ่นเหล็กร้อนไปได้”
รุกขเทวดาได้เล่าให้ภิกษุรูปนั้นฟังว่า เมื่อก่อนหญิงเปรต นี้เป็นภรรยาของตน นางเป็นคนตระหนี่ไม่รู้จักให้ทาน และได้ด่าทอตอนที่ตนกำลังทำบุญอยู่ กรรมนี้เองทำให้นางมาเกิดเป็นเปรตกินแต่อุจจาระ ปัสสาวะ เลือดและหนอง ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนี้นานแสนนาน
พอรุกขเทวดาเล่าบุพกรรมของนางเปรตที่ได้กระทำไว้ในชาติก่อนให้พระภิกษุฟังแล้ว จึงได้ถามว่าทำอย่างไรนางนี้จึงจะพ้นจากการเป็นเปรต ภิกษุจึงได้บอกวิธีการที่จะทำ ให้กรรมชั่วของนางเปรตหมดไปว่า
“ถ้าท่านอยากให้นางเปรตนี้พ้นจากกรรมชั่ว ท่านก็จงทำบุญถวายทานแก่พระพุทธเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง แล้วอุทิศให้แก่นางเปรตนี้ เมื่อนางเปรต นี้อนุโมทนากับบุญที่ท่านทำ นางก็จะได้บุญและพ้นจาก ความทุกข์ทรมานได้”
เมื่อรุกขเทวดาทราบวิธีช่วยเหลือนางเปรตแล้ว จึงได้ถวายภัตตาหารอันประณีตแก่ภิกษุรูปนั้น แล้วอุทิศบุญให้แก่นางเปรตอดีตภรรยา ทันทีที่นางเปรตอนุโมทนาบุญ จิตใจก็อิ่มเอิบ ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ท้องก็อิ่มด้วยอาหาร อันเป็นทิพย์ ต่อมารุกขเทวดาได้ถวายผ้าทิพย์ เพื่ออุทิศบุญกุศลให้แก่นางเปรตอีก นางเปรตก็ได้นุ่งผ้าทิพย์พร้อม เครื่องประดับอันเป็นทิพย์ในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อนางเปรต ได้สิ่งที่อยากได้ทุกอย่างแล้ว ร่างที่น่าเกลียดน่ากลัวก็กลาย เป็นสวยงามประดุจนางเทพอัปสร เพราะอานุภาพแห่งบุญ นั้นนั่นเอง
........
หากไม่มีบุญที่คนอื่นทำอุทิศไปให้ นางเปรตคงต้องทุกข์ ทรมานไปอีกนานแสนนานกว่าจะพ้นจากความทุกข์ เมื่อเป็น เช่นนี้ คนที่ยังมีชีวิตอยู่จึงไม่ควรประมาท ต้องรีบขวนขวาย ทำความดีให้มาก ไม่เช่นนั้นจะต้องไปชดใช้กรรม ทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนางเปรตแน่นอน
ยุคปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่ไม่กลัวบาปกรรม เพราะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่มีอยู่จริง จึงดำเนินชีวิตด้วยความประมาท กล้าทำความชั่วอย่างไม่ละอาย มีจิตใจหยาบกระด้าง คิด ไม่ถึงว่ากรรมชั่วนั้นจะย้อนกลับมาหาตนเอง ทำให้ต้องเดือดร้อนในภายหลัง ผู้มีปัญญาจึงควรมองถึงผลในระยะยาว มองชีวิตทั้งระบบทั้งกระบวน ชีวิตของเราไม่ได้สิ้นสุดเพียงชาตินี้ แต่ต้องดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ความดีความชั่วที่ทำไว้แล้ว ไม่มีสูญหาย ต้องตามให้ผลแก่ผู้ทำอย่างแน่นอน แต่อย่างน้อยคนที่ทำความดีก็ย่อมจะได้ผลดีตอบแทนทันทีทันใดในขณะที่ทำ นั่นก็คือทำให้เกิดความสุขใจขึ้นมาทันที ในทางตรงกันข้าม คนที่ทำชั่วก็จะได้รับความกระวนกระวายใจ ความทุกข์ใจในทันทีที่ทำความชั่ว ผู้มีปัญญาจึง ควรละกรรมชั่วทั้งหลายให้ได้อย่างสิ้นเชิง เพราะจะทำให้ชีวิตมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย มาลาวชิโร)