พระอยู่ที่ใจของเรา ถ้าเมื่อใดใจเราดีเรางาม ใจก็มีพระ ใจชั่วเมื่อใดก็ไม่มีพระ เช่นว่า ใจโลภมันก็ ไม่มีพระ ใจโกรธก็ไม่มีพระ ใจหลงก็ไม่มีพระ แต่ถ้าใจเรามีเมตตาปรารถนา ดีแก่คนอื่น ก็เรียกว่าใจเรามีพระ
เราสร้างพระกรุณา สร้างพระปัญญาไว้ในใจ สร้างพระบริสุทธิ์ไว้ในใจของเรา เวลาจะคิดอะไร จะพูดอะไร จะเกี่ยวข้องกับใคร จะไปไหนอย่าลืมเอาพระไปด้วย พระที่อยู่ข้างในอย่าลืม แต่โดยมากไม่เอาพระข้างใน เอาพระข้างนอกแขวนเป็นพวงไปเลยทีเดียว มีแต่พระนอกไม่มีพระใน มันก็ใช้ไม่ได้
เราต้องสร้างพระข้างใน พระข้างใน นั่นแหละเป็นพระแท้ เป็นพระที่รักษา เราคุ้มครองเรา ให้เราอยู่รอดปลอดภัย ด้วยประการทั้งปวง เราจึงต้องหมั่นสร้างพระขึ้นในใจของเรา หัดคิดด้วยความเมตตาปรานี มีฐานไว้ในใจว่า เราจะคิดให้คนอื่นสบาย เราจะพูดเพื่อให้ คนอื่นสบาย เราจะทำเพื่อให้คนอื่นสบาย อย่าคิดเบียดเบียนใคร อย่าทำ ให้ใครเดือดร้อนใจ อย่างนี้เรียกว่าเราอยู่กับพระ มีพระข้างใน ไม่ต้องให้ใคร มาเสก เราเสกของเราเอง
ตื่นเช้านั่งสงบจิตสงบใจ แล้วนั่งอธิษฐานใจว่า “วันนี้... ข้าพเจ้าจะคิด พูด ทำ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คิดด้วยปัญญา พูดด้วยปัญญา ทำอะไรด้วยปัญญา จะไม่คิดไม่พูดไม่ทำในสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ก่อทุกข์ก่อโทษให้กับตัวเรา เราอยู่เพื่อชำระชะล้างเพื่อ ขูดเกลาจิตใจ ให้สะอาด สว่าง สงบทาง จิตใจ” แล้วก็คิดพูดทำเพื่อให้เกิดความ สะอาด สว่าง สงบทางจิตใจ ท่านก็จะมี ความสุข
ความสุขเป็นของที่หาได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนไปซื้อไปหา ลำบากยากเข็ญอะไรเพียงแต่ทำใจของเราให้มีความคิดถูกต้องเท่านั้นเอง เมื่อใดเราคิดถูกต้องเราก็สบายใจ แต่เมื่อเราคิดไม่ถูกต้องก็ไม่สุขใจ
เวลามีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ก็ต้องรู้ว่า อ้อ ..เรามันคิดไม่ดีแล้ว คิดให้เป็นทุกข์แล้ว พูดให้เป็นทุกข์แล้ว หรือคบคนสร้างความทุกข์ ไปที่ไหนก็ไปเพื่อหาความทุกข์อย่างนี้มันก็ไม่ดี ไม่มีพระประจำใจ เกิดปัญหาเกิดความ เดือดร้อนใจ
เราจะไม่คิด ไม่ทำอย่างนั้น คอยควบคุมจิตใจ คุมด้วยอะไร คุมด้วยสติด้วยปัญญา สติปัญญาสองตัวนี้ต้องใช้อยู่ตลอดเวลา นั่งด้วยสติปัญญา ลุก ขึ้นด้วยสติปัญญา ยืนด้วยสติปัญญา เคลื่อนไหวด้วยสติปัญญา ทำอะไรก็ด้วยสติปัญญา เรื่องมันก็ไม่ยุ่งไม่มีปัญหา เพราะเราอยู่กับพระตลอดเวลา นี่แหละพระแท้ ที่เราควรจะสร้างจะทำในใจ ไม่ต้องไปเที่ยวซื้อเที่ยวหาที่เขาขายราคาแพงๆ
...วัตถุกับพระมันคนละอัน พระนั่นคือคุณค่าทางจิตใจ วัตถุเป็นเปลือก ของพระ เราไม่เอาเปลือกก็ได้ แต่เราเอา คุณค่าทางจิตใจ เอาคุณงามความดีของ พระพุทธเจ้า มาเสริมสร้างไว้ในใจของ เรา แล้วก็ใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องคุ้มครอง จิตใจของเรา คุ้มครองการงานของเรา ครอบครัวของเรา และคุ้มครองประเทศชาติ เพราะเราคิดถูก พูดถูก ทำถูก คบคนถูก ไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง ก็มีแต่ความสุขสบาย
เวลานี้โยมมานั่งที่นี่ ทานอาหาร แล้ว ถ้าไม่รีบกลับ นั่งพักที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องพูดกับใคร พูดกับตัวเอง มองดู ตัวเอง พิจารณาตัวเอง ว่าเราคือใคร เรามีความคิดอย่างไร เรามีปกติคิดอะไร พูดอะไร คบหาสมาคมกับใคร ในชีวิตประจำวันของเรานั้นอยู่ด้วยความทุกข์หรืออยู่ด้วยความสุขสงบใจ มีอะไรเป็นปัญหาเกิดขึ้นในตัวของเราบ้าง แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ต้องแก้ตามหลักการของพระพุทธเจ้า อย่าไปแก้ตามวิธีไสยศาสตร์ มันแก้ไม่ได้
แต่เราต้องแก้ว่า“สิ่งทั้งหลายมันเกิด จากเหตุ” เหตุอยู่ที่ไหน ก็อยู่ในตัวเรานั่นเอง ต้องมองภายในว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์อย่างนี้ ให้ไม่สบายใจอย่างนี้ ค้นหาไป เดี๋ยวก็เจอ พอเจอแล้ว ก็ตัดมันเสียเลย ถอนรากถอนโคน ไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในใจของเราต่อไป แต่ต้องเลิกด้วยความเข้มแข็งอดทนหนักแน่น ถ้าไม่มีความเข้มแข็งมันก็เลิกไม่ได้ เลิกไม่ได้ก็ต้องทุกข์ต่อไป
เราไม่ได้เกิดมาเพื่อความเป็นทุกข์ เราเกิดมาเพื่อความเบาใจโปร่งใจ ไม่มีเรื่องเป็นทุกข์ทางใจ เวลาเราทุกข์ทีใด ก็เรียกว่า “เราโง่” ทุกที พอกลุ้มใจเราก็โง่ เป็นทุกข์ก็โง่อีกแล้ว ถ้ารู้สึกเป็น ทุกข์ก็รีบเขกหัวตัวเอง“อะไรๆ เอ็งนี่โง่จริง” หรือไปที่หน้ากระจกไปด่าตัวเองที่ หน้ากระจก “เอ..แกนี่โง่จริง” เป็นทุกข์เรื่องอะไร ทำไมจึงเป็นทุกข์ ทุกข์ไม่เข้า เรื่อง แล้วก็นั่งค้นหา เป็นทุกข์เรื่องอะไร คิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร คบกับใคร ไปที่ไหน มันจึงเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน
บางทีมันก็เป็นทุกข์ ถ้าเราคิดไม่ดีมันก็เป็นทุกข์ ถ้าคิดให้ดีมันก็สบายใจ ไม่มีเรื่องทุกข์เรื่องร้อน คนไม่มีความทุกข์อายุมั่นขวัญยืน แล้วก็หน้าตาผ่องใส มีเลือดฝาด เพราะใจมันไม่ยุ่ง ถ้าคนยุ่งก็หน้ายุ่งอยู่ตลอดเวลา คิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลา มันก็แก่เร็ว เพราะว่ามีความทุกข์มาก
แต่ถ้าไม่มีความทุกข์ใจมันก็สบาย มี อารมณ์สดชื่นรื่นเริง ถึงเวลาเจ็บมันก็เจ็บตามเรื่อง เวลาตายก็ตายตามเรื่อง เราไม่ต้องเป็นทุกข์กับเรื่องอย่างนั้น เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดา ให้เข้าใจไว้อย่างนี้ สภาพจิตใจก็จะดี ขึ้น ไม่มีปัญหาให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)
เราสร้างพระกรุณา สร้างพระปัญญาไว้ในใจ สร้างพระบริสุทธิ์ไว้ในใจของเรา เวลาจะคิดอะไร จะพูดอะไร จะเกี่ยวข้องกับใคร จะไปไหนอย่าลืมเอาพระไปด้วย พระที่อยู่ข้างในอย่าลืม แต่โดยมากไม่เอาพระข้างใน เอาพระข้างนอกแขวนเป็นพวงไปเลยทีเดียว มีแต่พระนอกไม่มีพระใน มันก็ใช้ไม่ได้
เราต้องสร้างพระข้างใน พระข้างใน นั่นแหละเป็นพระแท้ เป็นพระที่รักษา เราคุ้มครองเรา ให้เราอยู่รอดปลอดภัย ด้วยประการทั้งปวง เราจึงต้องหมั่นสร้างพระขึ้นในใจของเรา หัดคิดด้วยความเมตตาปรานี มีฐานไว้ในใจว่า เราจะคิดให้คนอื่นสบาย เราจะพูดเพื่อให้ คนอื่นสบาย เราจะทำเพื่อให้คนอื่นสบาย อย่าคิดเบียดเบียนใคร อย่าทำ ให้ใครเดือดร้อนใจ อย่างนี้เรียกว่าเราอยู่กับพระ มีพระข้างใน ไม่ต้องให้ใคร มาเสก เราเสกของเราเอง
ตื่นเช้านั่งสงบจิตสงบใจ แล้วนั่งอธิษฐานใจว่า “วันนี้... ข้าพเจ้าจะคิด พูด ทำ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คิดด้วยปัญญา พูดด้วยปัญญา ทำอะไรด้วยปัญญา จะไม่คิดไม่พูดไม่ทำในสิ่ง ที่ไม่เป็นประโยชน์ ก่อทุกข์ก่อโทษให้กับตัวเรา เราอยู่เพื่อชำระชะล้างเพื่อ ขูดเกลาจิตใจ ให้สะอาด สว่าง สงบทาง จิตใจ” แล้วก็คิดพูดทำเพื่อให้เกิดความ สะอาด สว่าง สงบทางจิตใจ ท่านก็จะมี ความสุข
ความสุขเป็นของที่หาได้ง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนไปซื้อไปหา ลำบากยากเข็ญอะไรเพียงแต่ทำใจของเราให้มีความคิดถูกต้องเท่านั้นเอง เมื่อใดเราคิดถูกต้องเราก็สบายใจ แต่เมื่อเราคิดไม่ถูกต้องก็ไม่สุขใจ
เวลามีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ก็ต้องรู้ว่า อ้อ ..เรามันคิดไม่ดีแล้ว คิดให้เป็นทุกข์แล้ว พูดให้เป็นทุกข์แล้ว หรือคบคนสร้างความทุกข์ ไปที่ไหนก็ไปเพื่อหาความทุกข์อย่างนี้มันก็ไม่ดี ไม่มีพระประจำใจ เกิดปัญหาเกิดความ เดือดร้อนใจ
เราจะไม่คิด ไม่ทำอย่างนั้น คอยควบคุมจิตใจ คุมด้วยอะไร คุมด้วยสติด้วยปัญญา สติปัญญาสองตัวนี้ต้องใช้อยู่ตลอดเวลา นั่งด้วยสติปัญญา ลุก ขึ้นด้วยสติปัญญา ยืนด้วยสติปัญญา เคลื่อนไหวด้วยสติปัญญา ทำอะไรก็ด้วยสติปัญญา เรื่องมันก็ไม่ยุ่งไม่มีปัญหา เพราะเราอยู่กับพระตลอดเวลา นี่แหละพระแท้ ที่เราควรจะสร้างจะทำในใจ ไม่ต้องไปเที่ยวซื้อเที่ยวหาที่เขาขายราคาแพงๆ
...วัตถุกับพระมันคนละอัน พระนั่นคือคุณค่าทางจิตใจ วัตถุเป็นเปลือก ของพระ เราไม่เอาเปลือกก็ได้ แต่เราเอา คุณค่าทางจิตใจ เอาคุณงามความดีของ พระพุทธเจ้า มาเสริมสร้างไว้ในใจของ เรา แล้วก็ใช้สิ่งนั้นเป็นเครื่องคุ้มครอง จิตใจของเรา คุ้มครองการงานของเรา ครอบครัวของเรา และคุ้มครองประเทศชาติ เพราะเราคิดถูก พูดถูก ทำถูก คบคนถูก ไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง ก็มีแต่ความสุขสบาย
เวลานี้โยมมานั่งที่นี่ ทานอาหาร แล้ว ถ้าไม่รีบกลับ นั่งพักที่ใดที่หนึ่ง ไม่ต้องพูดกับใคร พูดกับตัวเอง มองดู ตัวเอง พิจารณาตัวเอง ว่าเราคือใคร เรามีความคิดอย่างไร เรามีปกติคิดอะไร พูดอะไร คบหาสมาคมกับใคร ในชีวิตประจำวันของเรานั้นอยู่ด้วยความทุกข์หรืออยู่ด้วยความสุขสงบใจ มีอะไรเป็นปัญหาเกิดขึ้นในตัวของเราบ้าง แล้วเราจะแก้ปัญหานั้นได้อย่างไร ต้องแก้ตามหลักการของพระพุทธเจ้า อย่าไปแก้ตามวิธีไสยศาสตร์ มันแก้ไม่ได้
แต่เราต้องแก้ว่า“สิ่งทั้งหลายมันเกิด จากเหตุ” เหตุอยู่ที่ไหน ก็อยู่ในตัวเรานั่นเอง ต้องมองภายในว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์อย่างนี้ ให้ไม่สบายใจอย่างนี้ ค้นหาไป เดี๋ยวก็เจอ พอเจอแล้ว ก็ตัดมันเสียเลย ถอนรากถอนโคน ไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นในใจของเราต่อไป แต่ต้องเลิกด้วยความเข้มแข็งอดทนหนักแน่น ถ้าไม่มีความเข้มแข็งมันก็เลิกไม่ได้ เลิกไม่ได้ก็ต้องทุกข์ต่อไป
เราไม่ได้เกิดมาเพื่อความเป็นทุกข์ เราเกิดมาเพื่อความเบาใจโปร่งใจ ไม่มีเรื่องเป็นทุกข์ทางใจ เวลาเราทุกข์ทีใด ก็เรียกว่า “เราโง่” ทุกที พอกลุ้มใจเราก็โง่ เป็นทุกข์ก็โง่อีกแล้ว ถ้ารู้สึกเป็น ทุกข์ก็รีบเขกหัวตัวเอง“อะไรๆ เอ็งนี่โง่จริง” หรือไปที่หน้ากระจกไปด่าตัวเองที่ หน้ากระจก “เอ..แกนี่โง่จริง” เป็นทุกข์เรื่องอะไร ทำไมจึงเป็นทุกข์ ทุกข์ไม่เข้า เรื่อง แล้วก็นั่งค้นหา เป็นทุกข์เรื่องอะไร คิดอะไร พูดอะไร ทำอะไร คบกับใคร ไปที่ไหน มันจึงเกิดความทุกข์ความเดือดร้อน
บางทีมันก็เป็นทุกข์ ถ้าเราคิดไม่ดีมันก็เป็นทุกข์ ถ้าคิดให้ดีมันก็สบายใจ ไม่มีเรื่องทุกข์เรื่องร้อน คนไม่มีความทุกข์อายุมั่นขวัญยืน แล้วก็หน้าตาผ่องใส มีเลือดฝาด เพราะใจมันไม่ยุ่ง ถ้าคนยุ่งก็หน้ายุ่งอยู่ตลอดเวลา คิ้วขมวดอยู่ตลอดเวลา มันก็แก่เร็ว เพราะว่ามีความทุกข์มาก
แต่ถ้าไม่มีความทุกข์ใจมันก็สบาย มี อารมณ์สดชื่นรื่นเริง ถึงเวลาเจ็บมันก็เจ็บตามเรื่อง เวลาตายก็ตายตามเรื่อง เราไม่ต้องเป็นทุกข์กับเรื่องอย่างนั้น เพราะมันเป็นเรื่องธรรมชาติธรรมดา ให้เข้าใจไว้อย่างนี้ สภาพจิตใจก็จะดี ขึ้น ไม่มีปัญหาให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนอะไร
(เรียบเรียงจากส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรมวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๖)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 91 มิ.ย. 51 โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จ.นนทบุรี)