ปุจฉา
ขอแนวปฏิบัติให้ชีวิตเป็นสุข สำหรับฆราวาสทั่วไป
วิสัชนา
ประการแรก ควรจะทำหน้าที่ของตนโดยฐานะ โดยสภาวะ คือ ได้ทำหน้าที่ตามสถานะ คือ เป็นพ่อที่ดี เมื่อเราคิดจะเป็นพ่อคน ต้องถาม ตัวเองว่าเราจะเป็นพ่อที่ดีของลูกและเมียของเราได้หรือเปล่า จึงคิดจะเป็นผู้นำครอบครัว แต่ถ้าเราไม่สามารถจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ไม่สามารถจะรับผิดชอบลูกเมียและเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัวได้ ถ้าขืนนำไป ก็จะพาลูกพาเมียไปตกระกำลำบาก และทำให้เกิดความระยำอัปรีย์ตามมา เป็นขยะสังคม เป็นปัญหาวุ่นวายภายหลัง
และถ้าเราคิดอยากจะมีลูก โดยฐานะของความเป็นแม่และเมีย ก็ต้องถามตัวเราเองว่า เรารับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นศรีภรรยาที่ดีต่อผัวได้ไหม และก็เป็นแม่ที่ดี คือ เป็น แม่พระแก่ลูกได้หรือเปล่า
ถ้าเราเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ให้แก่ลูกเราได้ ถือว่าครอบครัวนี้จะมีความสุข ไม่มีใครจะมาปรามาส ด่าว่า ใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุเพราะความไม่ถูกต้องและบกพร่องในหน้าที่ของตน
พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ใครเข้าป่า แต่สอนให้เรามีชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยความพึ่งพิงอิงแอบอาศัย เราอยู่ร่วมกันโดย ความสมัครสมานกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประดุจดั่งแขนและขาในร่างกายของเรา ไม่ใช่ประดุจดั่งพี่น้อง เพราะบางทีพี่น้องมันยังฆ่ากัน
คำว่า พี่น้อง เป็นคำเปรียบเทียบที่ล้าสมัยไปแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องเปรียบดั่งแขนและขาและอวัยวะทุกส่วนของเราทีเดียว คือ มันต้องรักกันถึงขนาดนั้น และเมื่อใดเรามีความรักกันถึงขนาดนี้ คิดว่าไม่มีใครจะกัดกัน ไม่มีใคร จะทำร้ายร่างกายกัน และต่างคน ก็ต่างจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราจะสังเกตได้จากตรงนี้ว่า เมื่อใดที่ใจเราชอบอะไร ถึงมันจะเหม็น เราก็ยังบอกว่าชอบ เพราะฉะนั้นถ้าเรารักกันจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรน่ารังเกียจสำหรับพวกเรา และหมู่วงสังคมที่เราร่วมอยู่
แต่ถ้าหากเราเห็นแล้วไม่ชอบขี้หน้ากัน บางทีนอนกอดกันเมื่อคืน พอรุ่งเช้าก็มาด่ากัน อะไรอย่างนี้ เพราะว่าเรามีความ ร้าวฉานในความคิด มีความแตกแยกในความเป็นอยู่ และก็มีความแบ่งแยกว่า มึงเลวกูดี
อย่าลืมว่านิพพานมี 2 ชนิด นิพพาน ที่แปลว่าดับและเย็น มีทั้งส่วนโลกียะ และโลกุตตระ
นิพพานอย่างโลกียะ แปลว่า อารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นกับเราให้มันดับ และเย็น ความชอบก็ดี ความชังก็ดี ความยอมรับ ปฏิเสธ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราเกลียดและไม่ชอบ ก็รู้จักให้มันดับและเย็นไปซะบ้าง เมื่อเราเข้าใกล้และเข้าหน้าใครไม่เคยติด เราก็จะรู้สึกว่าเข้าใกล้และเข้าหน้าเขาติดขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เขามี เขาก็ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เรามี เพราะต่างคนต่างที่จะมองเห็นประโยชน์ต่อกันและกัน ก็จะช่วยกันรักษาประโยชน์ อันนั้น
แต่ถ้าทุกคนมองไม่เห็นประโยชน์ของกันและกัน สังเกตดูเถอะ มันจะคอยเอารัด เอาเปรียบกัน คอยจะว่ากัน คอยจะทะเลาะกัน คอยจะจงเกลียดจงชังกัน มันก็กลายเป็นเรื่องราว ร้าวฉาน แตกความสามัคคี และสุดท้ายก็จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แม้แต่ลูกเมียครอบครัว ก็จะแตกแยกกัน สมัยเรารักกันใหม่ๆ ถ้าเรารู้จักคิด แม้แต่ตดของเขาเราก็ยังว่าหอมเหมือนดอกไม้ยามเช้าเลย แต่อยู่นานไปอะไรๆ มันก็เหม็นไปหมด มันเกิดจากอะไร ไม่ใช่เกิดจากหัวใจเราหรือ ที่มันไม่เหม็นตอนรักกันใหม่ๆ ก็เพราะว่ายังรักกันอยู่ แต่ที่ว่าวันนี้เราไม่รักกัน ก็เพราะว่าเกิดความแตกแยก คิดกันคนละเรื่อง มีความเห็นไม่ตรงกัน มันก็เลยกลายเป็นศัตรูกันเราก็เลยไม่ รู้สึกรัก หรือความรักหมดไป จืดจางไป
แต่ถ้าจักตอบตามตำรา ก็ต้องตอบว่า ต้องมีสัจจะ ต้องรู้จักข่มใจ ต้องอดทน และก็ต้องรู้จักสละ และแบ่งปัน
ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนให้เป็นสุขสำหรับปุถุชนกันแล้ว ก็ขอให้ความกระจ่างในความหมายของ คำว่า ปุถุชน และ ผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน กันเสียเลย จะได้รู้จักทำใจในการ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจกัน และเผื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตนให้มีสุขยิ่งขึ้นไปอีก คือ ดับ และเย็น กันบ้าง
ลูกรัก ปุถุชน ไม่ใช่หมายถึงการถือเพศคฤหัสถ์ ปุถุชนไม่ใช่ชาวบ้านฆราวาส ตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก หรือไม่ใช่นุ่งเขียว ห่มขาว นุ่งเหลืองห่มแดงอะไรก็ไม่ใช่ แต่ "ปุถุชน" ในที่นี้หมายถึง สภาวะที่สภาพจิตของตนตกอยู่ในมายา ตกอยู่ในความงมงาย และหลงใหล
ถ้าจะพูดกับปุถุชนเรื่องคุณธรรม พวกเขาจะไม่รู้จัก ถึงรู้จักก็เป็นเพียงคุณธรรมของพวกปริยัติ (พวกเอาแต่เรียน) ถึงจะเป็นคุณธรรมที่เขามีอยู่ เช่น ขันติ ความอดทน ความสงบเสงี่ยม หรือเมตตากรุณา ถ้าเป็นของปุถุชนแล้วมันเป็นไปโดยที่เหมือนกับลมเพลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง บางเวลาเขาก็อาจจะมีขันติ แต่บางเวลาเขาอาจจะเป็นขันแตก บางเวลามันก็จะขึ้นๆ ลงๆ
เพราะฉะนั้น ปุถุชน จึงเป็นผู้ที่มีความเพียรต่ำ มีความสามารถน้อย มีขีดจำกัด และมีข้อแม้มาก ไม่ว่าจะทำอะไรกับปุถุชนแล้ว มีข้อแม้เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก มีเงื่อนไขมาก ไอ้โน่นก็ต้องได้ ไอ้นี่ก็ต้องได้ หรือไม่ก็ ไอ้นั่นก็ทำไม่ได้ ไอ้นี่ก็มีปัญหาเยอะ เลยทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปุถุชนจึงถึงที่สุดได้ง่าย ไม่ใช่ถึงที่สุดของความเจริญรุ่งเรือง แต่ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย ถึงที่สุดของความทำลายตัวเองได้ง่าย ถึงที่สุดของความเสื่อมได้ง่าย
และถ้าจะพูดถึงศีล ศีลของปุถุชน ก็คือ ศีลปริยัติ ถึงจะเป็นศีลก็เป็นศีลของพวกท่องจำ ไม่ใช่ศีลด้วยการปฏิบัติอย่างแท้จริง ถึงจะปฏิบัติก็ปฏิบัติไม่ได้ข้ามวันข้ามคืน รับศีลจากพระ ปาณาติปาตา หรือ สุราเมระยะ พอพ้นจากหน้าพระก็ไปฉะเหล้าเป็นระยะ อะไรประเภทนั้น จึงเรียกว่าเป็นศีลปริยัติ
แม้แต่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในศาสนา ถ้ายังมีหัวใจที่เป็นปุถุชน ถ้าจะพูดถึงเรื่องศีล เขาก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับมันมากนัก เพราะว่านั่นเป็นเพียงข้อวัตรปฏิบัติที่อยู่ในปริยัติ คือ การเรียนรู้เท่านั้น
ส่วนสมาธิสำหรับปุถุชนนั้น มันก็คือ กิริยาอาการเพื่อความอยู่รอดเอาตัวรอด สุดท้ายเขาก็อยู่ไม่รอด
แต่ถ้าจะพูดถึงวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้น) สำหรับปุถุชน เอาเพียงแค่ว่า ตรงนี้เป็นทุกข์ ก็ออกจากตรงนี้ไปอยู่ตรงนั้น มันจะได้เป็นสุข พอตรงนั้นเป็นทุกข์ อีก ก็ไปตรงโน้นซะ นี่คือวิมุตติของปุถุชน
เพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นปุถุชนกันอยู่่ยังจะต้องทำงานกับปุถุชนคนธรรมดา ก็ต้องขอเตือนว่า ขอจงมีความระวัง อาจจะต้องชนกันด้วยความรู้สึกหยุมหยิม ยึกยัก ความสามารถต่ำ ความรู้น้อย ความทะเยอ- ทะยานสูง หรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องมีข้อแม้มาก แล้วก็ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย
ผู้ที่จะเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำของปุถุชน จึงควรจะต้องรู้ว่าการทำงานเป็นผู้นำเขานั้น มันลำบากยากเย็นแสนเข็ญอย่างไร ยิ่งทำกับพวกปุถุชน ซึ่งมีความสามารถต่ำ ความรู้น้อย ก็ยิ่งต้องมีขันติ พยายามเจริญ พรหมวิหารธรรม 4 ให้มาก คือ มีพร้อมทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
และเมื่อพูดถึงเรื่องปุถุชนแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า อะไรที่ไม่ใช่ปุถุชน ซึ่งก็คือ กิริยาอาการที่ไม่ปล่อยให้ตนตกเป็นทาสของมายาขจิต
ลักษณะมายาขจิตของปุถุชนที่เกิดๆ ดับๆ แล้วที่มีสิ่งอื่นมาปลอมแปลง เปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไข ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของจิตดวงที่เกิดๆ ดับๆ ให้มันต้องเสื่อมโทรมฉิบหาย และทำลายลงไปด้วยความรู้สึกไร้ความอิสระ เช่นนี้ เป็นลักษณะ ที่แสดงว่า คนเช่นนั้นยังเป็นปุถุชนอยู่
แต่ถ้าเมื่อใดที่เขาไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ หรือไม่ปล่อยให้ขบวนการเกาะกินจิต หรือที่เรียกว่ามายาขจิต คือ สิ่งที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส หรือความปรุงอารมณ์ต่างๆ ทำอารมณ์ให้เป็นอะไร ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น คนคนนั้นไม่ใช่ปุถุชน
คนพวกที่ไม่ใช่ปุถุชนนี้ เป็นพวกที่มีข้อแม้น้อย มีเงื่อนไขไม่มาก เพราะอะไรๆ ก็ได้ง่ายๆ สบายๆ แม้แต่ชีวิตความเป็นอยู่ก็ง่ายๆ สบายๆ ให้มันเป็นไปโดยง่ายๆ เพราะทุกอย่างมันง่าย พูดน้อยแต่ทำมาก
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน ไม่มีคำว่าถึงที่สุด เพราะมันจะมีทางเดินสำหรับเขาอยู่ตลอด เขาจะไม่สร้างอะไรเป็นเครื่องกีดขวางทางเดินของเขา
และสำหรับหลวงปู่แล้ว ชั่วชีวิตของหลวงปู่นั้น ทางเดินไม่เคยตัน ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร แม้จะใหญ่ หรือเล็กน้อย นิดหน่อย เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก หลวงปู่มีทางเดินของ ตัวเองตลอด ปัญหาใดๆ ก็ไม่เคยให้ตกค้าง มีแต่สะสางให้มันลุล่วงไปได้ตลอด
จึงอยากจะถือโอกาสนี้ บอกไว้ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาตน จากความเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไปสู่ความเป็นคนที่มีธรรมอันเป็นคุณ เพื่อความเป็นสุข ดับและเย็น ได้ในที่สุด
ขอแนวปฏิบัติให้ชีวิตเป็นสุข สำหรับฆราวาสทั่วไป
วิสัชนา
ประการแรก ควรจะทำหน้าที่ของตนโดยฐานะ โดยสภาวะ คือ ได้ทำหน้าที่ตามสถานะ คือ เป็นพ่อที่ดี เมื่อเราคิดจะเป็นพ่อคน ต้องถาม ตัวเองว่าเราจะเป็นพ่อที่ดีของลูกและเมียของเราได้หรือเปล่า จึงคิดจะเป็นผู้นำครอบครัว แต่ถ้าเราไม่สามารถจะเป็นพ่อที่ดีของลูก ไม่สามารถจะรับผิดชอบลูกเมียและเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัวได้ ถ้าขืนนำไป ก็จะพาลูกพาเมียไปตกระกำลำบาก และทำให้เกิดความระยำอัปรีย์ตามมา เป็นขยะสังคม เป็นปัญหาวุ่นวายภายหลัง
และถ้าเราคิดอยากจะมีลูก โดยฐานะของความเป็นแม่และเมีย ก็ต้องถามตัวเราเองว่า เรารับผิดชอบต่อหน้าที่ของความเป็นศรีภรรยาที่ดีต่อผัวได้ไหม และก็เป็นแม่ที่ดี คือ เป็น แม่พระแก่ลูกได้หรือเปล่า
ถ้าเราเป็นทั้งเพื่อน เป็นทั้งพ่อ เป็นทั้งแม่ให้แก่ลูกเราได้ ถือว่าครอบครัวนี้จะมีความสุข ไม่มีใครจะมาปรามาส ด่าว่า ใส่ร้ายป้ายสีซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุเพราะความไม่ถูกต้องและบกพร่องในหน้าที่ของตน
พุทธศาสนาไม่ได้สอนให้ใครเข้าป่า แต่สอนให้เรามีชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยความพึ่งพิงอิงแอบอาศัย เราอยู่ร่วมกันโดย ความสมัครสมานกลมเกลียว เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ประดุจดั่งแขนและขาในร่างกายของเรา ไม่ใช่ประดุจดั่งพี่น้อง เพราะบางทีพี่น้องมันยังฆ่ากัน
คำว่า พี่น้อง เป็นคำเปรียบเทียบที่ล้าสมัยไปแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องเปรียบดั่งแขนและขาและอวัยวะทุกส่วนของเราทีเดียว คือ มันต้องรักกันถึงขนาดนั้น และเมื่อใดเรามีความรักกันถึงขนาดนี้ คิดว่าไม่มีใครจะกัดกัน ไม่มีใคร จะทำร้ายร่างกายกัน และต่างคน ก็ต่างจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราจะสังเกตได้จากตรงนี้ว่า เมื่อใดที่ใจเราชอบอะไร ถึงมันจะเหม็น เราก็ยังบอกว่าชอบ เพราะฉะนั้นถ้าเรารักกันจริงๆ แล้ว ไม่มีอะไรน่ารังเกียจสำหรับพวกเรา และหมู่วงสังคมที่เราร่วมอยู่
แต่ถ้าหากเราเห็นแล้วไม่ชอบขี้หน้ากัน บางทีนอนกอดกันเมื่อคืน พอรุ่งเช้าก็มาด่ากัน อะไรอย่างนี้ เพราะว่าเรามีความ ร้าวฉานในความคิด มีความแตกแยกในความเป็นอยู่ และก็มีความแบ่งแยกว่า มึงเลวกูดี
อย่าลืมว่านิพพานมี 2 ชนิด นิพพาน ที่แปลว่าดับและเย็น มีทั้งส่วนโลกียะ และโลกุตตระ
นิพพานอย่างโลกียะ แปลว่า อารมณ์ทั้งหลายที่มันเกิดขึ้นกับเราให้มันดับ และเย็น ความชอบก็ดี ความชังก็ดี ความยอมรับ ปฏิเสธ ที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เราเกลียดและไม่ชอบ ก็รู้จักให้มันดับและเย็นไปซะบ้าง เมื่อเราเข้าใกล้และเข้าหน้าใครไม่เคยติด เราก็จะรู้สึกว่าเข้าใกล้และเข้าหน้าเขาติดขึ้น เพราะเราไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เขามี เขาก็ไม่ได้ตั้งข้อรังเกียจต่อสิ่งที่เรามี เพราะต่างคนต่างที่จะมองเห็นประโยชน์ต่อกันและกัน ก็จะช่วยกันรักษาประโยชน์ อันนั้น
แต่ถ้าทุกคนมองไม่เห็นประโยชน์ของกันและกัน สังเกตดูเถอะ มันจะคอยเอารัด เอาเปรียบกัน คอยจะว่ากัน คอยจะทะเลาะกัน คอยจะจงเกลียดจงชังกัน มันก็กลายเป็นเรื่องราว ร้าวฉาน แตกความสามัคคี และสุดท้ายก็จะต้องมีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แม้แต่ลูกเมียครอบครัว ก็จะแตกแยกกัน สมัยเรารักกันใหม่ๆ ถ้าเรารู้จักคิด แม้แต่ตดของเขาเราก็ยังว่าหอมเหมือนดอกไม้ยามเช้าเลย แต่อยู่นานไปอะไรๆ มันก็เหม็นไปหมด มันเกิดจากอะไร ไม่ใช่เกิดจากหัวใจเราหรือ ที่มันไม่เหม็นตอนรักกันใหม่ๆ ก็เพราะว่ายังรักกันอยู่ แต่ที่ว่าวันนี้เราไม่รักกัน ก็เพราะว่าเกิดความแตกแยก คิดกันคนละเรื่อง มีความเห็นไม่ตรงกัน มันก็เลยกลายเป็นศัตรูกันเราก็เลยไม่ รู้สึกรัก หรือความรักหมดไป จืดจางไป
แต่ถ้าจักตอบตามตำรา ก็ต้องตอบว่า ต้องมีสัจจะ ต้องรู้จักข่มใจ ต้องอดทน และก็ต้องรู้จักสละ และแบ่งปัน
ไหนๆ ก็พูดถึงเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนให้เป็นสุขสำหรับปุถุชนกันแล้ว ก็ขอให้ความกระจ่างในความหมายของ คำว่า ปุถุชน และ ผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน กันเสียเลย จะได้รู้จักทำใจในการ อยู่ร่วมกันได้ด้วยความเข้าใจกัน และเผื่อจะเป็นแนวทางในการพัฒนาตนให้มีสุขยิ่งขึ้นไปอีก คือ ดับ และเย็น กันบ้าง
ลูกรัก ปุถุชน ไม่ใช่หมายถึงการถือเพศคฤหัสถ์ ปุถุชนไม่ใช่ชาวบ้านฆราวาส ตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก หรือไม่ใช่นุ่งเขียว ห่มขาว นุ่งเหลืองห่มแดงอะไรก็ไม่ใช่ แต่ "ปุถุชน" ในที่นี้หมายถึง สภาวะที่สภาพจิตของตนตกอยู่ในมายา ตกอยู่ในความงมงาย และหลงใหล
ถ้าจะพูดกับปุถุชนเรื่องคุณธรรม พวกเขาจะไม่รู้จัก ถึงรู้จักก็เป็นเพียงคุณธรรมของพวกปริยัติ (พวกเอาแต่เรียน) ถึงจะเป็นคุณธรรมที่เขามีอยู่ เช่น ขันติ ความอดทน ความสงบเสงี่ยม หรือเมตตากรุณา ถ้าเป็นของปุถุชนแล้วมันเป็นไปโดยที่เหมือนกับลมเพลมพัด น้ำขึ้นน้ำลง บางเวลาเขาก็อาจจะมีขันติ แต่บางเวลาเขาอาจจะเป็นขันแตก บางเวลามันก็จะขึ้นๆ ลงๆ
เพราะฉะนั้น ปุถุชน จึงเป็นผู้ที่มีความเพียรต่ำ มีความสามารถน้อย มีขีดจำกัด และมีข้อแม้มาก ไม่ว่าจะทำอะไรกับปุถุชนแล้ว มีข้อแม้เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก มีเงื่อนไขมาก ไอ้โน่นก็ต้องได้ ไอ้นี่ก็ต้องได้ หรือไม่ก็ ไอ้นั่นก็ทำไม่ได้ ไอ้นี่ก็มีปัญหาเยอะ เลยทำไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปุถุชนจึงถึงที่สุดได้ง่าย ไม่ใช่ถึงที่สุดของความเจริญรุ่งเรือง แต่ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย ถึงที่สุดของความทำลายตัวเองได้ง่าย ถึงที่สุดของความเสื่อมได้ง่าย
และถ้าจะพูดถึงศีล ศีลของปุถุชน ก็คือ ศีลปริยัติ ถึงจะเป็นศีลก็เป็นศีลของพวกท่องจำ ไม่ใช่ศีลด้วยการปฏิบัติอย่างแท้จริง ถึงจะปฏิบัติก็ปฏิบัติไม่ได้ข้ามวันข้ามคืน รับศีลจากพระ ปาณาติปาตา หรือ สุราเมระยะ พอพ้นจากหน้าพระก็ไปฉะเหล้าเป็นระยะ อะไรประเภทนั้น จึงเรียกว่าเป็นศีลปริยัติ
แม้แต่ผู้ที่เข้ามาอยู่ในศาสนา ถ้ายังมีหัวใจที่เป็นปุถุชน ถ้าจะพูดถึงเรื่องศีล เขาก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรกับมันมากนัก เพราะว่านั่นเป็นเพียงข้อวัตรปฏิบัติที่อยู่ในปริยัติ คือ การเรียนรู้เท่านั้น
ส่วนสมาธิสำหรับปุถุชนนั้น มันก็คือ กิริยาอาการเพื่อความอยู่รอดเอาตัวรอด สุดท้ายเขาก็อยู่ไม่รอด
แต่ถ้าจะพูดถึงวิมุตติ (คือ ความหลุดพ้น) สำหรับปุถุชน เอาเพียงแค่ว่า ตรงนี้เป็นทุกข์ ก็ออกจากตรงนี้ไปอยู่ตรงนั้น มันจะได้เป็นสุข พอตรงนั้นเป็นทุกข์ อีก ก็ไปตรงโน้นซะ นี่คือวิมุตติของปุถุชน
เพราะฉะนั้น เมื่อยังเป็นปุถุชนกันอยู่่ยังจะต้องทำงานกับปุถุชนคนธรรมดา ก็ต้องขอเตือนว่า ขอจงมีความระวัง อาจจะต้องชนกันด้วยความรู้สึกหยุมหยิม ยึกยัก ความสามารถต่ำ ความรู้น้อย ความทะเยอ- ทะยานสูง หรือไม่ก็กลายเป็นเรื่องมีข้อแม้มาก แล้วก็ถึงที่สุดของความฉิบหายได้ง่าย
ผู้ที่จะเป็นหัวหน้า หรือ ผู้นำของปุถุชน จึงควรจะต้องรู้ว่าการทำงานเป็นผู้นำเขานั้น มันลำบากยากเย็นแสนเข็ญอย่างไร ยิ่งทำกับพวกปุถุชน ซึ่งมีความสามารถต่ำ ความรู้น้อย ก็ยิ่งต้องมีขันติ พยายามเจริญ พรหมวิหารธรรม 4 ให้มาก คือ มีพร้อมทั้ง เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา
และเมื่อพูดถึงเรื่องปุถุชนแล้ว คราวนี้มาดูกันว่า อะไรที่ไม่ใช่ปุถุชน ซึ่งก็คือ กิริยาอาการที่ไม่ปล่อยให้ตนตกเป็นทาสของมายาขจิต
ลักษณะมายาขจิตของปุถุชนที่เกิดๆ ดับๆ แล้วที่มีสิ่งอื่นมาปลอมแปลง เปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไข ความบริสุทธิ์ยุติธรรมของจิตดวงที่เกิดๆ ดับๆ ให้มันต้องเสื่อมโทรมฉิบหาย และทำลายลงไปด้วยความรู้สึกไร้ความอิสระ เช่นนี้ เป็นลักษณะ ที่แสดงว่า คนเช่นนั้นยังเป็นปุถุชนอยู่
แต่ถ้าเมื่อใดที่เขาไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ หรือไม่ปล่อยให้ขบวนการเกาะกินจิต หรือที่เรียกว่ามายาขจิต คือ สิ่งที่ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัส หรือความปรุงอารมณ์ต่างๆ ทำอารมณ์ให้เป็นอะไร ไม่ทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น คนคนนั้นไม่ใช่ปุถุชน
คนพวกที่ไม่ใช่ปุถุชนนี้ เป็นพวกที่มีข้อแม้น้อย มีเงื่อนไขไม่มาก เพราะอะไรๆ ก็ได้ง่ายๆ สบายๆ แม้แต่ชีวิตความเป็นอยู่ก็ง่ายๆ สบายๆ ให้มันเป็นไปโดยง่ายๆ เพราะทุกอย่างมันง่าย พูดน้อยแต่ทำมาก
สำหรับผู้ที่ไม่ใช่ปุถุชน ไม่มีคำว่าถึงที่สุด เพราะมันจะมีทางเดินสำหรับเขาอยู่ตลอด เขาจะไม่สร้างอะไรเป็นเครื่องกีดขวางทางเดินของเขา
และสำหรับหลวงปู่แล้ว ชั่วชีวิตของหลวงปู่นั้น ทางเดินไม่เคยตัน ไม่ว่าจะมีปัญหาอะไร แม้จะใหญ่ หรือเล็กน้อย นิดหน่อย เยอะแยะ หยุมหยิม ยึกยัก หลวงปู่มีทางเดินของ ตัวเองตลอด ปัญหาใดๆ ก็ไม่เคยให้ตกค้าง มีแต่สะสางให้มันลุล่วงไปได้ตลอด
จึงอยากจะถือโอกาสนี้ บอกไว้ให้เป็นแนวทางในการพัฒนาตน จากความเป็นปุถุชนคนธรรมดา ไปสู่ความเป็นคนที่มีธรรมอันเป็นคุณ เพื่อความเป็นสุข ดับและเย็น ได้ในที่สุด