รูปแบบของมณฑปในประวัติศาสตร์ศิลปะไทย มีความหลากหลายไปตามค่านิยมของแต่ละยุค ซึ่งนั่นเป็นการยืนยันว่า มณฑปมีบทบาทสำคัญต่อวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาอย่างมาก
ลักษณะโดยทั่วไปของมณฑป คือ อาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ที่มีความแตกต่างกันนั้นคือรูปแบบของหลังคา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ โดยนักวิชาการได้จำแนกไว้ ๙ รูปทรง ดังนี้
๑. มณฑปทรงคฤห์ เป็นมณฑปที่ใช้รูปทรงหลังคาเป็นจั่วแหลมอย่างหลังคาเรือน รูปแบบนี้พบในช่วงปลาย สมัยสุโขทัยที่มีการสร้างด้วยศิลาแลงซ้อนเหลี่ยมขึ้นไปบรรจบที่กึ่งกลางหลังคา ได้แก่ มณฑปวัดกุฎีราย จ.สุโขทัย
๒. มณฑปทรงโรง มีลักษณะคล้ายทรงคฤห์ แต่สร้าง จากโครงสร้างไม้ หลังคามุงกระเบื้อง และมีปีกนกชักคลุม โดยรอบ เช่น มณฑปวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ
๓. มณฑปทรงจัตุรมุข เป็นรูปทรงที่พัฒนาจากทรงโรง โดยเพิ่มจั่วให้เชื่อมต่อกันอย่างรูปกากบาท เป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน เช่น มณฑปวัดพระเชตุพน จ.สุโขทัย และมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร
๔. มณฑปทรงกรวยเหลี่ยม เป็นรูปแบบหลังคาที่มีการลาดชั้นอย่างปิรามิด มีตับหลังคาซ้อนกัน ๓-๔ ชั้น มีการประดับปลายยอดด้วยปูนปั้นรูปดอกบัวตูม เช่น มณฑปวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๕. มณฑปทรงบุษบก เป็นรูปแบบของทรงหลังคาเช่นเดียวกับหลังคาของบุษบก ใช้โครงสร้างไม้ หลังคามุง กระเบื้องดินเผาเคลือบหรือหุ้มดีบุก มีความนิยมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เช่น มณฑปวัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี
๖. มณฑปแบบทรงมงกุฎ ใช้รูปแบบของมงกุฎเป็นองค์ประกอบของทรงหลังคา มีโครงสร้างเป็นอาคารเครื่องก่อ ปั้นปูนประดับลายภายนอก เช่น มณฑปวัดพระงาม จ.พระนครศรีอยุธยา
๗. มณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ เป็นลักษณะผสมผสานกันระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือมีการก่อมุขยื่น ออกไปอีกทั้งสี่ด้าน ยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน ดังมณฑปวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
๘. มณฑปทรงปราสาทยอดปรางค์ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ แตกต่างกันตรงที่ส่วนยอดสร้างอย่างเจดีย์ทรงปรางค์ ทั้งห้ายอด เช่น มณฑปวัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพฯ
๙. มณฑปทรงเจดีย์ ๕ ยอด มีองค์ประกอบเช่นเดียว กับทรงปราสาทยอดปรางค์ เพียงแต่ในส่วนยอดนั้น ประดิษฐานเจดีย์ทรงระฆังทั้ง ๕ ยอด เช่น มณฑปวัดพระฉาย จ.สระบุรี
จากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่ารูปแบบที่มีความเรียบง่าย นั้น มักมีอายุที่เก่ากว่าสมัยหลัง ซึ่งมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ด้วยปัจจัยของวัสดุและแบบแผนของการก่อสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการตกแต่งและดูแลรักษา ซึ่งรูปแบบของทรงหลังคาที่มีความแตกต่างกันนี้ ได้สะท้อน
รสนิยม และเอกลักษณ์ตามยุคสมัยเอาไว้
เอกสารอ่านประกอบ
กรมศิลปากร. วัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๐.
สมคิด จิระทัศนกุล. รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
............................ วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยนฤมล สารากรบริรักษ์)
ลักษณะโดยทั่วไปของมณฑป คือ อาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ที่มีความแตกต่างกันนั้นคือรูปแบบของหลังคา อันเป็นที่มาของชื่อเรียกมณฑปทรงต่างๆ โดยนักวิชาการได้จำแนกไว้ ๙ รูปทรง ดังนี้
๑. มณฑปทรงคฤห์ เป็นมณฑปที่ใช้รูปทรงหลังคาเป็นจั่วแหลมอย่างหลังคาเรือน รูปแบบนี้พบในช่วงปลาย สมัยสุโขทัยที่มีการสร้างด้วยศิลาแลงซ้อนเหลี่ยมขึ้นไปบรรจบที่กึ่งกลางหลังคา ได้แก่ มณฑปวัดกุฎีราย จ.สุโขทัย
๒. มณฑปทรงโรง มีลักษณะคล้ายทรงคฤห์ แต่สร้าง จากโครงสร้างไม้ หลังคามุงกระเบื้อง และมีปีกนกชักคลุม โดยรอบ เช่น มณฑปวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ
๓. มณฑปทรงจัตุรมุข เป็นรูปทรงที่พัฒนาจากทรงโรง โดยเพิ่มจั่วให้เชื่อมต่อกันอย่างรูปกากบาท เป็นมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้าน เช่น มณฑปวัดพระเชตุพน จ.สุโขทัย และมณฑปวัดพระสี่อิริยาบถ จ.กำแพงเพชร
๔. มณฑปทรงกรวยเหลี่ยม เป็นรูปแบบหลังคาที่มีการลาดชั้นอย่างปิรามิด มีตับหลังคาซ้อนกัน ๓-๔ ชั้น มีการประดับปลายยอดด้วยปูนปั้นรูปดอกบัวตูม เช่น มณฑปวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
๕. มณฑปทรงบุษบก เป็นรูปแบบของทรงหลังคาเช่นเดียวกับหลังคาของบุษบก ใช้โครงสร้างไม้ หลังคามุง กระเบื้องดินเผาเคลือบหรือหุ้มดีบุก มีความนิยมมาแต่ครั้งสมัยอยุธยา เช่น มณฑปวัดพระพุทธบาท จ.สระบุรี
๖. มณฑปแบบทรงมงกุฎ ใช้รูปแบบของมงกุฎเป็นองค์ประกอบของทรงหลังคา มีโครงสร้างเป็นอาคารเครื่องก่อ ปั้นปูนประดับลายภายนอก เช่น มณฑปวัดพระงาม จ.พระนครศรีอยุธยา
๗. มณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ เป็นลักษณะผสมผสานกันระหว่างทรงมงกุฎและจัตุรมุข คือมีการก่อมุขยื่น ออกไปอีกทั้งสี่ด้าน ยอดประดับด้วยมงกุฎเช่นกัน ดังมณฑปวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
๘. มณฑปทรงปราสาทยอดปรางค์ มีลักษณะเช่นเดียวกันกับมณฑปทรงปราสาทยอดมงกุฎ แตกต่างกันตรงที่ส่วนยอดสร้างอย่างเจดีย์ทรงปรางค์ ทั้งห้ายอด เช่น มณฑปวัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพฯ
๙. มณฑปทรงเจดีย์ ๕ ยอด มีองค์ประกอบเช่นเดียว กับทรงปราสาทยอดปรางค์ เพียงแต่ในส่วนยอดนั้น ประดิษฐานเจดีย์ทรงระฆังทั้ง ๕ ยอด เช่น มณฑปวัดพระฉาย จ.สระบุรี
จากที่กล่าวมาข้างต้น พบว่ารูปแบบที่มีความเรียบง่าย นั้น มักมีอายุที่เก่ากว่าสมัยหลัง ซึ่งมีการประดับตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง ด้วยปัจจัยของวัสดุและแบบแผนของการก่อสร้างที่เอื้ออำนวยต่อการตกแต่งและดูแลรักษา ซึ่งรูปแบบของทรงหลังคาที่มีความแตกต่างกันนี้ ได้สะท้อน
รสนิยม และเอกลักษณ์ตามยุคสมัยเอาไว้
เอกสารอ่านประกอบ
กรมศิลปากร. วัดหลวงสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรม, ๒๕๔๐.
สมคิด จิระทัศนกุล. รูปแบบพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, ๒๕๔๗.
............................ วัด : พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๔.
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดยนฤมล สารากรบริรักษ์)