สติเป็นเครื่องตี คือตีสนิมของจิต ดวงจิตมีความหลงเรียกว่าอวิชชา จิตนั่นแหละมันหลง ความหลงคืออวิชชา ขี้สนิมมันก็อยู่กับอวิชชา คือที่มันหลงนั้นขี้สนิมโอบมัน แต่ก่อนจิตผ่องใส พระพุทธเจ้าจึงว่า จิตเดิมธรรมชาติเลื่อมประภัสสร แต่อาศัยอาคันตุกะกิเลส คือ รูป เสียงกลิ่น รส เครื่องสัมผัสทั้งหลายเข้ามาสัมผัสแล้ว มันจึงหลงไปตาม จึงเป็นเหตุให้จิตนั้นเศร้าหมองขุ่นมัวจึงไม่รู้เท่าตามความเป็นจริงไป
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
“สติ” ก็มีอยู่กับทุกคนทุกชีวิต ถ้าเราไม่สร้างไม่ประกอบ มันก็ไม่มี ถ้าเราสร้างมันก็มีขึ้นมา ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกผู้คน ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย “สติ” ถ้าผู้ใดต้องการจะมี แสวงที่จะรู้ ก็รู้ได้ เป็นของผู้ที่รู้ เป็นของผู้ที่อยากรู้ ผู้ใดอยาก รู้ก็รู้ได้ทันทีไม่ต้องรอ
หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
ให้มีสติอยู่ในตัวเองก็ยังทำไม่ได้ แล้วท่านเอา ชีวิตให้มีค่าได้อย่างไร? ชีวิตท่านก็จะไม่มีค่าอีกต่อไปแล้ว ประโยชน์ต่อการงานในหน้าที่ไม่มีอีกแล้ว
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
การกำหนดลมนี้ บางคนกำหนดไม่ได้ การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่ หายใจเข้า ยาว หายใจออก สั้น เท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณ เป็นประมาณที่ว่า มันสบายอย่างไร หายใจแรง หรือมันค่อย หรือมันยาว หรือมันสั้น เราจะต้องทดลองหายใจดู มันถูกจริตที่ตรงไหน มันสบายอย่างไร ลมไม่ขัดข้อง จะกำหนดลมก็สบาย สะดวก ตัวอย่างเช่น เราฝึกเย็บผ้าด้วยจักร เราก็ควรเอาจักรมาลอง เอาเท้าเราถีบจักรเข้า ถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้า ให้มันชำนาญเสียก่อน เมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่ เย็บไปพิจารณาไป การกำหนดลมหายใจนี้เหมือนกัน ก็หายใจเบาๆ เสียก่อน ไม่ต้องกำหนดอะไร มันยาว มันสั้น มันหยาบ มันละเอียด มันสบายอย่างไร อันนั้นเป็นจริตของเรา ความพอดีของมันนั้น ไม่ยาว ไม่สั้น พอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณ
หลวงพ่อชา สุภัทฺโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51)
หลวงปู่ขาว อนาลโย
วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
“สติ” ก็มีอยู่กับทุกคนทุกชีวิต ถ้าเราไม่สร้างไม่ประกอบ มันก็ไม่มี ถ้าเราสร้างมันก็มีขึ้นมา ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกผู้คน ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย “สติ” ถ้าผู้ใดต้องการจะมี แสวงที่จะรู้ ก็รู้ได้ เป็นของผู้ที่รู้ เป็นของผู้ที่อยากรู้ ผู้ใดอยาก รู้ก็รู้ได้ทันทีไม่ต้องรอ
หลวงพ่อคำเขียน สุวณฺโณ
วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ
ให้มีสติอยู่ในตัวเองก็ยังทำไม่ได้ แล้วท่านเอา ชีวิตให้มีค่าได้อย่างไร? ชีวิตท่านก็จะไม่มีค่าอีกต่อไปแล้ว ประโยชน์ต่อการงานในหน้าที่ไม่มีอีกแล้ว
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม
วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
การกำหนดลมนี้ บางคนกำหนดไม่ได้ การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่ หายใจเข้า ยาว หายใจออก สั้น เท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณ เป็นประมาณที่ว่า มันสบายอย่างไร หายใจแรง หรือมันค่อย หรือมันยาว หรือมันสั้น เราจะต้องทดลองหายใจดู มันถูกจริตที่ตรงไหน มันสบายอย่างไร ลมไม่ขัดข้อง จะกำหนดลมก็สบาย สะดวก ตัวอย่างเช่น เราฝึกเย็บผ้าด้วยจักร เราก็ควรเอาจักรมาลอง เอาเท้าเราถีบจักรเข้า ถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้า ให้มันชำนาญเสียก่อน เมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่ เย็บไปพิจารณาไป การกำหนดลมหายใจนี้เหมือนกัน ก็หายใจเบาๆ เสียก่อน ไม่ต้องกำหนดอะไร มันยาว มันสั้น มันหยาบ มันละเอียด มันสบายอย่างไร อันนั้นเป็นจริตของเรา ความพอดีของมันนั้น ไม่ยาว ไม่สั้น พอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณ
หลวงพ่อชา สุภัทฺโท
วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51)