จุดเด่นของการปฏิบัติแนวการกำหนดอิริยาบถ 4
คือการพยายามรู้รูปนามให้ตรงตามความเป็นจริง
ซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจของการเจริญวิปัสสนาทีเดียว
ครั้งที่ 101 บทที่ 8. ของฝาก
ตอน การปฏิบัติด้วยการกำหนดรู้อิริยาบถ 4
ถาม ดิฉันเคยกำหนดอิริยาบถย่อยอย่างละเอียดจนจิตวูบหายไป นั่นเป็นการบรรลุมรรคผลเบื้องต้นใช่ไหมคะ เพราะขณะนั้นไม่มีรูปนาม คือไม่มีทั้งจิต เจตสิก รูป ซึ่งสิ่งที่ พ้นจากจิต เจตสิกและรูปก็คือนิพพานใช่ไหม
ตอบนิพพานพ้นจากรูปนามก็จริง แต่การที่ จิตของคุณดับวูบไปนั้นเกิดจากการเพ่งรูปโดยไม่สนใจนาม เป็นการเอาจิตไปผูกไว้กับรูปจนมีความสงบแนบแน่นถึงระดับจตุตถฌาน เมื่อรูปซึ่งเป็นอารมณ์ดับลง จิตซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์ก็ย่อมดับลงไปพร้อมกัน เพราะจิตกับอารมณ์เป็นสิ่งที่อิงอาศัยกันอยู่ แต่นั่นไม่เกี่ยวอะไรกับการบรรลุมรรคผลเลย เพราะในขณะที่บรรลุมรรคผลต้องมีจิตเรียกว่ามัคคจิตและผลจิต ทั้งยังประกอบด้วยเจตสิกเป็นจำนวนมากด้วย อย่างน้อยก็ต้องมีเจตสิกที่เป็นองค์มรรค และเจตสิกที่เป็นองค์ฌาน เป็นต้น ส่วนอารมณ์ที่มัคคจิต และผลจิตไปรู้คืออารมณ์นิพพาน การที่จิตของคุณดับลงไปนั้นเป็นการน้อมไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก เหลือเพียงร่างกายที่นั่งแข็งทื่ออยู่เท่านั้น
ถาม ดิฉันยังไม่แน่ใจในสิ่งที่หลวงพ่อกล่าวมานี้ จะขอรับไปพิจารณาดูอีกครั้งหนึ่ง
ตอบดีแล้วที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงความเห็นของอาตมาเท่านั้น คุณลองไปพิจารณาดูก็แล้วกัน
ถาม ผมชอบปฏิบัติด้วยการกำหนดรู้อิริยาบถ 4 ปฏิบัติมาหลายปีแล้วจิตใจได้รับความสงบพอสมควร แต่ยังไม่เห็นผลของ การปฏิบัติมากกว่านี้ คงต้องค่อยๆ ปฏิบัติไปอีกเป็นแสนๆ ชาติกระมังครับ
ตอบขออนุโมทนาด้วยที่คุณมีโอกาสได้ศึกษา พระอภิธรรม คนที่จะศึกษาพระอภิธรรมได้ดีจะต้องเป็นคนที่มีเหตุผล และพระพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาที่เต็มบริบูรณ์ไปด้วยเหตุผล ถ้ามีแต่ศรัทธาก็ยากที่จะรู้จริงได้
จุดเด่นของการปฏิบัติแนวการกำหนด อิริยาบถ 4 คือการพยายามรู้รูปนามให้ตรง ตามความเป็นจริง ซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจของการเจริญวิปัสสนาทีเดียว แต่อยากจะฝากให้คุณลองพิจารณาใน 2-3 ประเด็น
คือ (1) คุณจงใจรู้รูปนามโดยมีตัณหา และทิฏฐินำหน้าหรือเปล่า ทั้งนี้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องทำด้วยจิตที่เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต จะทำโดยมีตัณหาแทรกอยู่ไม่ได้ (2) คุณคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหาหรือตัดความปรุงแต่งของจิตหรือเปล่า หรือคุณรู้ลักษณะของรูปนามจนตัณหาไม่อาจเกิดขึ้นได้ (3) สติของคุณระลึกรู้สภาวะของรูปนามโดยไม่ได้จงใจแล้วสติก็ดับไปตามธรรมดา หรือคุณบังคับให้สติเข้าไปตั้งแช่อยู่กับอารมณ์รูปนามได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ขอฝากให้คุณลองพิจารณาในประเด็นเหล่านี้ดู
ถาม หลวงพ่อช่วยขยายความเรื่องการจงใจ รู้รูปนามด้วยเถอะครับ
ตอบเครื่องมือในการรู้รูปนามคือสติ และสติที่แท้จริงนั้นต้องเกิดขึ้นเพราะมีเหตุอันได้แก่ การที่จิตจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ด้วยความจงใจหรือความอยากจะให้สติเกิดขึ้น แล้วพยายามไปกำหนดจดจ้องรูปนาม โดยหวังว่าจะทำสติให้ เกิดขึ้นได้ หรือจะบังคับจิตไม่ให้ขาดสติได้ตามใจปรารถนา นักปฏิบัติจำนวนมากพยายามบังคับให้สติเกิดขึ้นด้วยความอยาก ซึ่งคุณก็ศึกษาพระอภิธรรมมาแล้วก็คงทราบดีว่าสติเป็นอนัตตา สติไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเราอยากให้เกิดหรือเราบังคับให้เกิดได้ แต่ถ้ามีเหตุ สติจึงจะเกิดขึ้น
อาตมารู้จักผู้ที่ปฏิบัติในแนวอิริยาบถ 4 หลายท่าน แต่ละท่านล้วนปฏิเสธแนวทางการปฏิบัติที่จะต้องมีการกระทำ "บางสิ่งบางอย่าง" ขึ้นมาก่อนเพื่อจะเจริญสติ เช่นการกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวมือ และเท้า อันเป็นการดัดแปลงอาการทางกายและ ทางใจ
แนวทางของคุณต้องการ ใช้อารมณ์รูปนามที่ปกติธรรมดาที่สุดเป็นอารมณ์กรรมฐาน แต่อาตมาก็สังเกตว่าผู้ปฏิบัติแนวอิริยาบถ 4 บางท่านก็อาจจะเผลอสร้าง "บางสิ่งบางอย่าง" ขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะเท่าที่เคยเห็นมาจะพบว่า ผู้ปฏิบัติแนวนี้มีความเคลื่อนไหวทางกายและวาจาน้อยกว่าคนปกติมาก ไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอนก็อดจะช้ากว่าปกติไม่ได้ ทั้งนี้อาจ เกิดจากความจงใจจะรู้รูปยืนเดินนั่งนอนก็เป็นได้ คือพอจงใจก็เกิดการรอดู ทำให้ทุกอย่างนิ่งหรือช้าผิดความเป็นจริงไปได้ อนึ่งความจงใจนั้นเกิดจากความอยากจะปฏิบัติธรรมนั่นเอง คุณลองพิจารณาดูเถิดว่ากายกับ จิตใจของคุณในเวลาที่ปฏิบัติ มันถูกดัดแปลง ให้ต่างไปจากในเวลาอื่นหรือเปล่า
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
การคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหา)
คือการพยายามรู้รูปนามให้ตรงตามความเป็นจริง
ซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจของการเจริญวิปัสสนาทีเดียว
ครั้งที่ 101 บทที่ 8. ของฝาก
ตอน การปฏิบัติด้วยการกำหนดรู้อิริยาบถ 4
ถาม ดิฉันเคยกำหนดอิริยาบถย่อยอย่างละเอียดจนจิตวูบหายไป นั่นเป็นการบรรลุมรรคผลเบื้องต้นใช่ไหมคะ เพราะขณะนั้นไม่มีรูปนาม คือไม่มีทั้งจิต เจตสิก รูป ซึ่งสิ่งที่ พ้นจากจิต เจตสิกและรูปก็คือนิพพานใช่ไหม
ตอบนิพพานพ้นจากรูปนามก็จริง แต่การที่ จิตของคุณดับวูบไปนั้นเกิดจากการเพ่งรูปโดยไม่สนใจนาม เป็นการเอาจิตไปผูกไว้กับรูปจนมีความสงบแนบแน่นถึงระดับจตุตถฌาน เมื่อรูปซึ่งเป็นอารมณ์ดับลง จิตซึ่งเป็นผู้รู้อารมณ์ก็ย่อมดับลงไปพร้อมกัน เพราะจิตกับอารมณ์เป็นสิ่งที่อิงอาศัยกันอยู่ แต่นั่นไม่เกี่ยวอะไรกับการบรรลุมรรคผลเลย เพราะในขณะที่บรรลุมรรคผลต้องมีจิตเรียกว่ามัคคจิตและผลจิต ทั้งยังประกอบด้วยเจตสิกเป็นจำนวนมากด้วย อย่างน้อยก็ต้องมีเจตสิกที่เป็นองค์มรรค และเจตสิกที่เป็นองค์ฌาน เป็นต้น ส่วนอารมณ์ที่มัคคจิต และผลจิตไปรู้คืออารมณ์นิพพาน การที่จิตของคุณดับลงไปนั้นเป็นการน้อมไปสู่อสัญญสัตตาภูมิหรือพรหมลูกฟัก เหลือเพียงร่างกายที่นั่งแข็งทื่ออยู่เท่านั้น
ถาม ดิฉันยังไม่แน่ใจในสิ่งที่หลวงพ่อกล่าวมานี้ จะขอรับไปพิจารณาดูอีกครั้งหนึ่ง
ตอบดีแล้วที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงความเห็นของอาตมาเท่านั้น คุณลองไปพิจารณาดูก็แล้วกัน
ถาม ผมชอบปฏิบัติด้วยการกำหนดรู้อิริยาบถ 4 ปฏิบัติมาหลายปีแล้วจิตใจได้รับความสงบพอสมควร แต่ยังไม่เห็นผลของ การปฏิบัติมากกว่านี้ คงต้องค่อยๆ ปฏิบัติไปอีกเป็นแสนๆ ชาติกระมังครับ
ตอบขออนุโมทนาด้วยที่คุณมีโอกาสได้ศึกษา พระอภิธรรม คนที่จะศึกษาพระอภิธรรมได้ดีจะต้องเป็นคนที่มีเหตุผล และพระพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาที่เต็มบริบูรณ์ไปด้วยเหตุผล ถ้ามีแต่ศรัทธาก็ยากที่จะรู้จริงได้
จุดเด่นของการปฏิบัติแนวการกำหนด อิริยาบถ 4 คือการพยายามรู้รูปนามให้ตรง ตามความเป็นจริง ซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจของการเจริญวิปัสสนาทีเดียว แต่อยากจะฝากให้คุณลองพิจารณาใน 2-3 ประเด็น
คือ (1) คุณจงใจรู้รูปนามโดยมีตัณหา และทิฏฐินำหน้าหรือเปล่า ทั้งนี้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องทำด้วยจิตที่เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต จะทำโดยมีตัณหาแทรกอยู่ไม่ได้ (2) คุณคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหาหรือตัดความปรุงแต่งของจิตหรือเปล่า หรือคุณรู้ลักษณะของรูปนามจนตัณหาไม่อาจเกิดขึ้นได้ (3) สติของคุณระลึกรู้สภาวะของรูปนามโดยไม่ได้จงใจแล้วสติก็ดับไปตามธรรมดา หรือคุณบังคับให้สติเข้าไปตั้งแช่อยู่กับอารมณ์รูปนามได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน ขอฝากให้คุณลองพิจารณาในประเด็นเหล่านี้ดู
ถาม หลวงพ่อช่วยขยายความเรื่องการจงใจ รู้รูปนามด้วยเถอะครับ
ตอบเครื่องมือในการรู้รูปนามคือสติ และสติที่แท้จริงนั้นต้องเกิดขึ้นเพราะมีเหตุอันได้แก่ การที่จิตจดจำสภาวะของรูปนามได้แม่นยำ ไม่ใช่เกิดขึ้นได้ด้วยความจงใจหรือความอยากจะให้สติเกิดขึ้น แล้วพยายามไปกำหนดจดจ้องรูปนาม โดยหวังว่าจะทำสติให้ เกิดขึ้นได้ หรือจะบังคับจิตไม่ให้ขาดสติได้ตามใจปรารถนา นักปฏิบัติจำนวนมากพยายามบังคับให้สติเกิดขึ้นด้วยความอยาก ซึ่งคุณก็ศึกษาพระอภิธรรมมาแล้วก็คงทราบดีว่าสติเป็นอนัตตา สติไม่ได้เกิดขึ้นเพราะเราอยากให้เกิดหรือเราบังคับให้เกิดได้ แต่ถ้ามีเหตุ สติจึงจะเกิดขึ้น
อาตมารู้จักผู้ที่ปฏิบัติในแนวอิริยาบถ 4 หลายท่าน แต่ละท่านล้วนปฏิเสธแนวทางการปฏิบัติที่จะต้องมีการกระทำ "บางสิ่งบางอย่าง" ขึ้นมาก่อนเพื่อจะเจริญสติ เช่นการกำหนดจังหวะการเคลื่อนไหวมือ และเท้า อันเป็นการดัดแปลงอาการทางกายและ ทางใจ
แนวทางของคุณต้องการ ใช้อารมณ์รูปนามที่ปกติธรรมดาที่สุดเป็นอารมณ์กรรมฐาน แต่อาตมาก็สังเกตว่าผู้ปฏิบัติแนวอิริยาบถ 4 บางท่านก็อาจจะเผลอสร้าง "บางสิ่งบางอย่าง" ขึ้นมาได้เหมือนกัน เพราะเท่าที่เคยเห็นมาจะพบว่า ผู้ปฏิบัติแนวนี้มีความเคลื่อนไหวทางกายและวาจาน้อยกว่าคนปกติมาก ไม่ว่าจะยืนเดินนั่งนอนก็อดจะช้ากว่าปกติไม่ได้ ทั้งนี้อาจ เกิดจากความจงใจจะรู้รูปยืนเดินนั่งนอนก็เป็นได้ คือพอจงใจก็เกิดการรอดู ทำให้ทุกอย่างนิ่งหรือช้าผิดความเป็นจริงไปได้ อนึ่งความจงใจนั้นเกิดจากความอยากจะปฏิบัติธรรมนั่นเอง คุณลองพิจารณาดูเถิดว่ากายกับ จิตใจของคุณในเวลาที่ปฏิบัติ มันถูกดัดแปลง ให้ต่างไปจากในเวลาอื่นหรือเปล่า
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
การคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหา)