ครั้งที่ 68
ความลำบากในการแบกทิฐิมานะของตน
จิตตคหบดีชาวนครมัจฉิกาสณฑ์ เห็นพระมหานามเถระ หนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ เลื่อมใสในอิริยาบถสมณสารูปของท่าน จึงรับบาตรอาราธนาเข้าไปสู่เรือนของตน อังคาสด้วยอาหารอันประณีต เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว ได้ฟังธรรมกถาแล้ว บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยเรื่องความเชื่อในคำสอนของพระศาสดา มีความประสงค์จะถวายอุทยานอัมพาฏกวันของตนให้เป็นสังฆารามที่พักอาศัยบำเพ็ญสมณธรรมของสาวกแห่งพระศาสดา จึงหลั่งน้ำลงในมือของพระเถระถวายสวนนั้นอุทิศสงฆ์ซึ่งจรมาจากจตุรทิศ ขณะนั้นเองปฐพีแสดงอาการหวั่นไหว เป็นเครื่องบอกเหตุว่าพระพุทธศาสนา ได้ตั้งมั่นแล้ว
จิตตคหบดี ผู้พรั่งพร้อมด้วยศรัทธาและโภคะ ได้สร้างวิหารใหญ่ในอุทยาน เพื่อสงฆ์ซึ่งจรมาจากทิศทั้งปวงเป็นผู้มีประตูเรือนเปิดแล้วสำหรับสาวกของพระศาสดา ครั้งนั้น พระสุธรรมเถระ เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดที่จิตตคหบดีสร้างถวายนั้น
ฝ่ายพระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้สดับเสียงสรรเสริญคุณของจิตตคหบดีมีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้ประสบบุญเป็นอันมาก จึงเดินทางไปสู่นครมัจฉิกาสณฑ์
คหบดีทราบการมาของพระอัครสาวกทั้งสอง ปราโมชเป็นที่ยิ่ง เดินทางไปต้อนรับในระยะกึ่งโยชน์ พาท่านผู้ประเสริฐทั้งสองไปสู่อารามของตน กระทำอาคันตุกวัตรเป็นอย่างดี แล้วอ้อนวอนพระธรรมเสนาบดีว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าใคร่ฟังธรรม หากไม่เป็นการลำบากแก่ท่านแล้ว ขอได้โปรดแสดงธรรมสักหน่อยหนึ่งเถิด
ดูก่อนอุบาสก พระธรรมเสนาบดีกล่าว อาตมภาพทั้งสองเดินทางไกลมาเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน แม้ปรารถนาจะแสดงธรรมแก่ท่านให้มากสมศรัทธาของท่าน ก็คงทำไม่ได้ในเวลานี้ ขอท่านฟังสักหน่อยหนึ่งก่อนเถิด เมื่ออาตมภาพทั้งสองหายเหนื่อยแล้วจักแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดาร
พระคุณเจ้า ธรรมกถาของท่านผู้เปรียบปานพระศาสดานั้น จะมากหรือน้อยไม่สำคัญ มธุรสวาจานั้นย่อมเหมือนน้ำอมฤต
เมื่อพระธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรมแสดงหลักคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาจบลงนั่นเอง คหบดีได้บรรลุอริยผลชั้นอนาคามี เป็นผู้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก ท่านปลาบปลื้มเป็นนักหนาที่ได้ลิ้มรสอมตธรรม ที่สุขุมลุ่มลึกถึงปานนี้
ท่านผู้เจริญ ! พรุ่งนี้ขอท่านและพระผู้เป็นบริวารได้โปรดรับภิกษาที่เรือนของข้าพเจ้าด้วยเถิด คหบดีอาราธนา
พระมหาสาวกรับนิมนต์ด้วยดุษณีแล้ว คหบดีจึงนิมนต์พระสุธรรมเถระภายหลังว่า ท่านขอรับ แม้ท่านก็ขอนิมนต์ไปกับพระอัครสาวกด้วย
มานะแห่งเจ้าอาวาสเกิดขึ้นแก่พระสุธรรมว่า เราเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นี่ แต่คหบดีกลับนิมนต์เราทีหลังพระอาคันตุกะ คหบดีมิได้ให้ความสำคัญแก่เราเลย ภายใต้บัญชาการของทิฐิมานะ กิเลสร้ายนั่นเอง พระสุธรรมจึงกล่าวว่า
อย่าเลย คหบดี ขอท่านได้เลี้ยงพระอัครสาวกและพระอาคันตุกะอื่นๆ ให้อิ่มหนำสำราญเถิด อย่าได้พะวงถึงอาตมาเลย อาตมาไม่สำคัญดอก
พระคุณเจ้า อย่าทำอย่างนั้นเลย คหบดีอ้อนวอน อย่าทำให้ข้าพเจ้าเสียความตั้งใจเลย ท่านเป็นผู้มีความสำคัญสำหรับอาวาสนี้เป็นอันมาก
แม้คหบดีจะอ้อนวอนสักเท่าใด พระสุธรรมก็หายินยอมรับนิมนต์ไม่ ในที่สุดจิตตคหบดีจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านจักปรากฏด้วยกรรมของตนเอง ดังนี้แล้วหลีกไป
วันรุ่งขึ้น คหบดีก็จัดแจงเตรียมไทยธรรมเพื่ออัครสาวกและภิกษุสงฆ์อื่นๆ อันตนนิมนต์ไว้แล้ว ฝ่ายพระสุธรรม ในเวลาใกล้รุ่งคิดว่าคหบดีจัดแจงสักการะอย่างไรหนอเพื่ออัครสาวก เราควรไปดู
พร้อมด้วยจิตอันรุ่มร้อนด้วยแรงริษยานั่นเอง พระสุธรรมไปสู่เรือนของจิตตคหบดีแต่เช้าตรู่ คหบดีต้อนรับด้วยกิริยาอ่อนน้อม และเชื้อเชิญด้วยวาจาว่า ขอนิมนต์นั่งก่อนเถิดขอรับ
แต่พระสุธรรมก็หาเอื้อเฟื้อต่อคำวิงวอนไม่ กล่าวอย่างมีโทสะว่า เราไม่นั่ง จักเที่ยวไปบิณฑบาต พลางตรวจดูสักการะที่คหบดีเตรียมไว้เพื่ออัครสาวกทั้งสอง ประสงค์จะเสียดสีคหบดีโดยชาติกำเนิดจึงกล่าวว่า สักการะไทยธรรมของท่านคราวนี้มีเหลือล้น ขาดอยู่อย่างเดียวเท่านั้น อย่างเดียวจริงๆ คือ ขาดขนมแดกงา พระสุธรรมพูดปล่อยออกมาอย่างจงใจเต็มที่
ด้วยความรู้สึกว่า พระรูปนี้ควรได้รับบทเรียนอันสมควรแก่ความหยาบคายของตน คหบดีจึงกล่าวตำหนิพระสุธรรมว่าเป็น ผู้กล้าเหมือนกา มิได้มีกาย วาจา ใจ อ่อนโยนเยี่ยงสมณะที่ดีทั้งหลาย
พระสุธรรมโกรธมาก บอกมอบคืนอาวาสให้คหบดีว่า นั่นอาวาสของท่าน เราจักไป ณ บัดนี้ จะไม่กลับมายังอาวาสของท่านอีก
คหบดีพยายามอ้อนวอนพระสุธรรมถึง 3 ครั้งว่า ขอให้อยู่ในอาวาสของตนอย่างเดิม แต่พระสุธรรมหาฟังไม่ ท่านละมัจฉิกาสณฑ์ ไว้เบื้องหลัง มุ่งหน้าไปสู่สำนักพระศาสดา ณ เชตวนาราม กราบทูล (ฟ้อง) เรื่องทั้งปวงระหว่างตนกับจิตตคหบดีให้ทรงทราบ
พระศาสดาผู้ทรงไว้ซึ่งพระเมตตาและความยุติธรรมทรงทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว ทรงตำหนิพระสุธรรมเป็นอเนกประการและตรัสว่า จิตตคหบดี เป็นอุบาสกที่มีศรัทธามีศีล เธอด่าว่าเขาด้วยคำหยาบคาย ไม่สมควรแก่สมณะ เธอนั่นแหละเป็นผู้ผิด เธอต้องไปขอโทษอุบาสกนั้นเสีย ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่พระสุธรรมนั้น
ความลำบากในการแบกทิฐิมานะของตน
จิตตคหบดีชาวนครมัจฉิกาสณฑ์ เห็นพระมหานามเถระ หนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ เลื่อมใสในอิริยาบถสมณสารูปของท่าน จึงรับบาตรอาราธนาเข้าไปสู่เรือนของตน อังคาสด้วยอาหารอันประณีต เมื่อเสร็จภัตตกิจแล้ว ได้ฟังธรรมกถาแล้ว บรรลุโสดาปัตติผล มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ไม่ต้องมีผู้อื่นเป็นปัจจัยเรื่องความเชื่อในคำสอนของพระศาสดา มีความประสงค์จะถวายอุทยานอัมพาฏกวันของตนให้เป็นสังฆารามที่พักอาศัยบำเพ็ญสมณธรรมของสาวกแห่งพระศาสดา จึงหลั่งน้ำลงในมือของพระเถระถวายสวนนั้นอุทิศสงฆ์ซึ่งจรมาจากจตุรทิศ ขณะนั้นเองปฐพีแสดงอาการหวั่นไหว เป็นเครื่องบอกเหตุว่าพระพุทธศาสนา ได้ตั้งมั่นแล้ว
จิตตคหบดี ผู้พรั่งพร้อมด้วยศรัทธาและโภคะ ได้สร้างวิหารใหญ่ในอุทยาน เพื่อสงฆ์ซึ่งจรมาจากทิศทั้งปวงเป็นผู้มีประตูเรือนเปิดแล้วสำหรับสาวกของพระศาสดา ครั้งนั้น พระสุธรรมเถระ เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดที่จิตตคหบดีสร้างถวายนั้น
ฝ่ายพระอัครสาวกทั้งสองคือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ได้สดับเสียงสรรเสริญคุณของจิตตคหบดีมีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้ประสบบุญเป็นอันมาก จึงเดินทางไปสู่นครมัจฉิกาสณฑ์
คหบดีทราบการมาของพระอัครสาวกทั้งสอง ปราโมชเป็นที่ยิ่ง เดินทางไปต้อนรับในระยะกึ่งโยชน์ พาท่านผู้ประเสริฐทั้งสองไปสู่อารามของตน กระทำอาคันตุกวัตรเป็นอย่างดี แล้วอ้อนวอนพระธรรมเสนาบดีว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าใคร่ฟังธรรม หากไม่เป็นการลำบากแก่ท่านแล้ว ขอได้โปรดแสดงธรรมสักหน่อยหนึ่งเถิด
ดูก่อนอุบาสก พระธรรมเสนาบดีกล่าว อาตมภาพทั้งสองเดินทางไกลมาเหน็ดเหนื่อยเหลือเกิน แม้ปรารถนาจะแสดงธรรมแก่ท่านให้มากสมศรัทธาของท่าน ก็คงทำไม่ได้ในเวลานี้ ขอท่านฟังสักหน่อยหนึ่งก่อนเถิด เมื่ออาตมภาพทั้งสองหายเหนื่อยแล้วจักแสดงธรรมแก่ท่านโดยพิสดาร
พระคุณเจ้า ธรรมกถาของท่านผู้เปรียบปานพระศาสดานั้น จะมากหรือน้อยไม่สำคัญ มธุรสวาจานั้นย่อมเหมือนน้ำอมฤต
เมื่อพระธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรมแสดงหลักคำสอนแห่งพระพุทธศาสนาจบลงนั่นเอง คหบดีได้บรรลุอริยผลชั้นอนาคามี เป็นผู้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีก ท่านปลาบปลื้มเป็นนักหนาที่ได้ลิ้มรสอมตธรรม ที่สุขุมลุ่มลึกถึงปานนี้
ท่านผู้เจริญ ! พรุ่งนี้ขอท่านและพระผู้เป็นบริวารได้โปรดรับภิกษาที่เรือนของข้าพเจ้าด้วยเถิด คหบดีอาราธนา
พระมหาสาวกรับนิมนต์ด้วยดุษณีแล้ว คหบดีจึงนิมนต์พระสุธรรมเถระภายหลังว่า ท่านขอรับ แม้ท่านก็ขอนิมนต์ไปกับพระอัครสาวกด้วย
มานะแห่งเจ้าอาวาสเกิดขึ้นแก่พระสุธรรมว่า เราเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่นี่ แต่คหบดีกลับนิมนต์เราทีหลังพระอาคันตุกะ คหบดีมิได้ให้ความสำคัญแก่เราเลย ภายใต้บัญชาการของทิฐิมานะ กิเลสร้ายนั่นเอง พระสุธรรมจึงกล่าวว่า
อย่าเลย คหบดี ขอท่านได้เลี้ยงพระอัครสาวกและพระอาคันตุกะอื่นๆ ให้อิ่มหนำสำราญเถิด อย่าได้พะวงถึงอาตมาเลย อาตมาไม่สำคัญดอก
พระคุณเจ้า อย่าทำอย่างนั้นเลย คหบดีอ้อนวอน อย่าทำให้ข้าพเจ้าเสียความตั้งใจเลย ท่านเป็นผู้มีความสำคัญสำหรับอาวาสนี้เป็นอันมาก
แม้คหบดีจะอ้อนวอนสักเท่าใด พระสุธรรมก็หายินยอมรับนิมนต์ไม่ ในที่สุดจิตตคหบดีจึงกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านจักปรากฏด้วยกรรมของตนเอง ดังนี้แล้วหลีกไป
วันรุ่งขึ้น คหบดีก็จัดแจงเตรียมไทยธรรมเพื่ออัครสาวกและภิกษุสงฆ์อื่นๆ อันตนนิมนต์ไว้แล้ว ฝ่ายพระสุธรรม ในเวลาใกล้รุ่งคิดว่าคหบดีจัดแจงสักการะอย่างไรหนอเพื่ออัครสาวก เราควรไปดู
พร้อมด้วยจิตอันรุ่มร้อนด้วยแรงริษยานั่นเอง พระสุธรรมไปสู่เรือนของจิตตคหบดีแต่เช้าตรู่ คหบดีต้อนรับด้วยกิริยาอ่อนน้อม และเชื้อเชิญด้วยวาจาว่า ขอนิมนต์นั่งก่อนเถิดขอรับ
แต่พระสุธรรมก็หาเอื้อเฟื้อต่อคำวิงวอนไม่ กล่าวอย่างมีโทสะว่า เราไม่นั่ง จักเที่ยวไปบิณฑบาต พลางตรวจดูสักการะที่คหบดีเตรียมไว้เพื่ออัครสาวกทั้งสอง ประสงค์จะเสียดสีคหบดีโดยชาติกำเนิดจึงกล่าวว่า สักการะไทยธรรมของท่านคราวนี้มีเหลือล้น ขาดอยู่อย่างเดียวเท่านั้น อย่างเดียวจริงๆ คือ ขาดขนมแดกงา พระสุธรรมพูดปล่อยออกมาอย่างจงใจเต็มที่
ด้วยความรู้สึกว่า พระรูปนี้ควรได้รับบทเรียนอันสมควรแก่ความหยาบคายของตน คหบดีจึงกล่าวตำหนิพระสุธรรมว่าเป็น ผู้กล้าเหมือนกา มิได้มีกาย วาจา ใจ อ่อนโยนเยี่ยงสมณะที่ดีทั้งหลาย
พระสุธรรมโกรธมาก บอกมอบคืนอาวาสให้คหบดีว่า นั่นอาวาสของท่าน เราจักไป ณ บัดนี้ จะไม่กลับมายังอาวาสของท่านอีก
คหบดีพยายามอ้อนวอนพระสุธรรมถึง 3 ครั้งว่า ขอให้อยู่ในอาวาสของตนอย่างเดิม แต่พระสุธรรมหาฟังไม่ ท่านละมัจฉิกาสณฑ์ ไว้เบื้องหลัง มุ่งหน้าไปสู่สำนักพระศาสดา ณ เชตวนาราม กราบทูล (ฟ้อง) เรื่องทั้งปวงระหว่างตนกับจิตตคหบดีให้ทรงทราบ
พระศาสดาผู้ทรงไว้ซึ่งพระเมตตาและความยุติธรรมทรงทราบเรื่องโดยตลอดแล้ว ทรงตำหนิพระสุธรรมเป็นอเนกประการและตรัสว่า จิตตคหบดี เป็นอุบาสกที่มีศรัทธามีศีล เธอด่าว่าเขาด้วยคำหยาบคาย ไม่สมควรแก่สมณะ เธอนั่นแหละเป็นผู้ผิด เธอต้องไปขอโทษอุบาสกนั้นเสีย ดังนี้ แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรมแก่พระสุธรรมนั้น