การเจริญสติในชีวิตประจำวันสำคัญที่สุด
เพราะคือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง
สิ่งที่พระป่าส่วนมากท่านทำก็คือ การมีความรู้สึกตัว
รู้รูปยืนเดินนั่งนอน ว่าคือสิ่งที่ใจไปรู้เข้า
ส่วนใจเป็นธรรมชาติรู้ที่อยู่ต่างหากจากรูป
ครั้งที่ 98 บทที่ 8. ของฝาก
ตอน จุดควรระวังในการปฏิบัติ
ถาม ทำไมจึงต้องเริ่มจากการทำสมถะก่อนคะ
ตอบพระป่าท่านเน้นการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องทำสมถกรรมฐานก่อนเพื่อให้จิตตั้งมั่นและสามารถรู้รูปที่แท้จริงได้ ซึ่งพระอภิธรรมก็สอนไว้ให้ทำอย่างนี้เช่นกัน เพราะหากจิตไม่ตั้งมั่นพอ ผู้ปฏิบัติจะรู้รูปได้ยากมาก จะเห็นได้แค่อวัยวะหรือกายทั้งกายอันเป็นบัญญัติ แล้วเข้าไปเพ่งอารมณ์บัญญัตินั้นอยู่ อันเป็นการทำสมถกรรมฐานโดยคิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ นอกจากนี้ในระหว่างการเจริญสตินั้น หากจิตเกิดความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ก็ให้ทำความสงบจิตเป็นที่พักผ่อน ชีวิตของพระนั้นหากามสุขได้ยาก การทำความสงบจิตจึงเป็นความสุขที่พระหาได้โดยชอบด้วยพระธรรมวินัย
ถาม แล้วทำไมต้องต่อด้วยการพิจารณากายล่ะคะ การพิจารณากายที่เรียกว่ากายคตา สตินั้นเป็นสมถกรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่หรือคะ
ตอบกายคตาสติหรือการมีสติคิดพิจารณาในอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น เป็นการทำสมถกรรมฐานจริงอย่างที่คุณพูด แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้พิจารณากาย ก็เพราะผู้มีตัณหาจริตที่ทำสมถกรรมฐานด้วยอานาปานสติและ พุทโธนั้น พอจิตสงบแล้วก็มักจะติดความสงบ และเกิดความเกียจคร้านที่จะเจริญปัญญา ครูบาอาจารย์ท่านจึงสอนให้ทิ้งความสงบนิ่งเฉย ให้น้อมจิตออกมาคิดเรื่องกาย เป็นการนำร่องให้จิตสนใจการเจริญปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในชีวิตประจำวัน จิตจะเห็นรูปยืนเดินนั่งนอนคู้เหยียดได้ทั้งวัน เพราะคุ้นเคยที่จะรู้กายโดยความไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอยู่แล้ว และเหตุที่ให้คิดเรื่องกายตนเองก็เพราะเป็นความปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย หากให้คิดเรื่องอื่นที่ไม่สมควร ก็อาจอยากสึกไปครองเรือนได้
ถาม แล้วการเจริญสติในชีวิตประจำวันล่ะคะ สำคัญอย่างไร
ตอบสำคัญอย่างที่สุดทีเดียว เพราะนี่แหละ คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง สิ่งที่พระป่าส่วนมากท่านทำก็คือการมีความรู้สึกตัว แล้วรู้รูปยืนเดินนั่งนอนนั่นเอง จะเห็นว่ารูปเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ส่วนใจเป็นธรรมชาติรู้ที่อยู่ต่างหากจากรูป มีน้อยท่านที่เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย แต่ไม่ว่าจะรู้รูปหรือนาม ในที่สุดก็จะรู้ได้ทั้งรูปและนามเช่นกัน และการปฏิบัติในขั้นสุดท้ายท่านก็จะเข้ามารู้จิตกันทุกๆ รูป
ถาม ในขั้นตอนทั้ง 3 นี้ถ้าจะตัดออกสัก 1 ขั้นตอน แล้วทำเพียง 2 ขั้นตอนจะได้ไหมคะ
ตอบได้ โดยให้ทำความสงบจิต แล้วเจริญสติในชีวิตประจำวันไปเลย
ถาม ถ้าจะตัดออกอีก 1 ขั้นตอน แล้วทำเพียงขั้นตอนเดียวจะได้ไหมคะ
ตอบได้ ถ้าจะทำอย่างเดียวก็ให้เจริญสติในชีวิตประจำวันเข้าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตามรู้จิตซึ่งเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก แต่ถ้าจะเจริญสติในชีวิตประจำวันด้วยการตามรู้รูปก็อย่าละเลยการทำสมถกรรมฐาน สำหรับท่านที่ดูจิต อย่างน้อยก็ต้องไหว้พระสวดมนต์หรือแผ่เมตตาให้จิตใจสงบบ้าง เพราะถ้าดูจิตอย่างเดียวจิตอาจจะมีความตั้งมั่นไม่พอ และทางที่ดีก็ให้รู้กายบ้างรู้จิตบ้างไปเรื่อยๆ เช่นเดินจงกรมไปรู้จิตไป หรือทำงานบ้านไปรู้จิตไป อย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน จะได้กำลังมากกว่าดูจิตล้วนๆ ซึ่งถ้าสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาไม่พอ จิตอาจถลำเข้าไปแช่อยู่กับความ ว่างๆ ได้ แต่คนที่ดูจิตล้วนๆ แล้วได้ผลในการปฏิบัติอย่างรวดเร็วก็มีเหมือนกัน อันนี้แล้วแต่บารมีที่อบรมมา
ถาม ดิฉันปฏิบัติในแนววัดป่า มีจุดใดที่ควรระมัดระวังบ้างคะ
ตอบต้องไม่ละเลยการเจริญสติรู้กายรู้ใจ จะต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอๆ จะเอาแต่สมาธิอย่างเดียวไม่ได้เพราะจะไม่เกิดปัญญา และต้องระวังเรื่องการติดสมถะ เพราะผู้ปฏิบัติบางท่านติดสมถะ คือพอใจที่จะน้อมจิตเข้าสู่ความสงบภายในอันประณีตจนเกียจคร้าน ที่จะเจริญปัญญาบ้าง น้อมจิตเข้าไปภายในแล้วนิ่งซึมแช่หรือตรึงความรู้สึกแข็งๆ ทื่อๆ ไว้ภายในบ้าง กดความรู้สึกของจิตให้นิ่งไม่ให้กระเพื่อม หวั่นไหวเมื่อกระทบอารมณ์บ้าง หรือติดนิมิตคือพอใจและภูมิใจที่จะรู้เห็นนิมิตต่างๆ เพราะเห็นว่านิมิตเป็นของดีที่จะพาให้เกิดปัญญาพ้นทุกข์ หรือเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ บ้าง พวกเราอย่าเอาแต่หลงนิมิต เพราะการเห็นกายเห็นจิตหรือแม้แต่เห็นกิเลส ก็ยังดีกว่าเห็นนิมิตอันเป็นของแปลกปลอมทั้งหลาย
ถาม หลวงพ่อมีอะไรจะฝากเป็นการบ้านให้คณะของเราไปพิจารณาบ้างคะ
ตอบผู้ปฏิบัติแนวพุทโธควรทำตามที่ครูบาอาจารย์สอนให้ครบถ้วน คือทำความสงบเข้ามา แล้วออกคิดพิจารณากาย เมื่อหมดเวลาปฏิบัติตามรูปแบบแล้ว จะยืนเดินนั่งนอนก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจของตนเองอยู่เนืองๆ อย่าทำเฉพาะสมถกรรมฐานแล้วติดอยู่กับความสงบหรือนิมิตจนไม่ยอมเจริญปัญญา หรือทำสมถกรรมฐานแล้วคิดพิจารณากาย โดยละเว้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน โปรดจำไว้ว่าจะทิ้งอะไรก็พอทิ้งได้ แต่อย่าทิ้งการเจริญสติรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวัน ก็แล้วกัน
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ร่างกายกับรูป มีความแตกต่างกันอย่างไร)
เพราะคือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง
สิ่งที่พระป่าส่วนมากท่านทำก็คือ การมีความรู้สึกตัว
รู้รูปยืนเดินนั่งนอน ว่าคือสิ่งที่ใจไปรู้เข้า
ส่วนใจเป็นธรรมชาติรู้ที่อยู่ต่างหากจากรูป
ครั้งที่ 98 บทที่ 8. ของฝาก
ตอน จุดควรระวังในการปฏิบัติ
ถาม ทำไมจึงต้องเริ่มจากการทำสมถะก่อนคะ
ตอบพระป่าท่านเน้นการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นหลัก จึงจำเป็นต้องทำสมถกรรมฐานก่อนเพื่อให้จิตตั้งมั่นและสามารถรู้รูปที่แท้จริงได้ ซึ่งพระอภิธรรมก็สอนไว้ให้ทำอย่างนี้เช่นกัน เพราะหากจิตไม่ตั้งมั่นพอ ผู้ปฏิบัติจะรู้รูปได้ยากมาก จะเห็นได้แค่อวัยวะหรือกายทั้งกายอันเป็นบัญญัติ แล้วเข้าไปเพ่งอารมณ์บัญญัตินั้นอยู่ อันเป็นการทำสมถกรรมฐานโดยคิดว่ากำลังเจริญวิปัสสนาอยู่ นอกจากนี้ในระหว่างการเจริญสตินั้น หากจิตเกิดความเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ก็ให้ทำความสงบจิตเป็นที่พักผ่อน ชีวิตของพระนั้นหากามสุขได้ยาก การทำความสงบจิตจึงเป็นความสุขที่พระหาได้โดยชอบด้วยพระธรรมวินัย
ถาม แล้วทำไมต้องต่อด้วยการพิจารณากายล่ะคะ การพิจารณากายที่เรียกว่ากายคตา สตินั้นเป็นสมถกรรมฐานอีกอย่างหนึ่ง ไม่ใช่หรือคะ
ตอบกายคตาสติหรือการมีสติคิดพิจารณาในอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้นนั้น เป็นการทำสมถกรรมฐานจริงอย่างที่คุณพูด แต่ที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้พิจารณากาย ก็เพราะผู้มีตัณหาจริตที่ทำสมถกรรมฐานด้วยอานาปานสติและ พุทโธนั้น พอจิตสงบแล้วก็มักจะติดความสงบ และเกิดความเกียจคร้านที่จะเจริญปัญญา ครูบาอาจารย์ท่านจึงสอนให้ทิ้งความสงบนิ่งเฉย ให้น้อมจิตออกมาคิดเรื่องกาย เป็นการนำร่องให้จิตสนใจการเจริญปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในชีวิตประจำวัน จิตจะเห็นรูปยืนเดินนั่งนอนคู้เหยียดได้ทั้งวัน เพราะคุ้นเคยที่จะรู้กายโดยความไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาอยู่แล้ว และเหตุที่ให้คิดเรื่องกายตนเองก็เพราะเป็นความปลอดภัยสำหรับพระหนุ่มเณรน้อย หากให้คิดเรื่องอื่นที่ไม่สมควร ก็อาจอยากสึกไปครองเรือนได้
ถาม แล้วการเจริญสติในชีวิตประจำวันล่ะคะ สำคัญอย่างไร
ตอบสำคัญอย่างที่สุดทีเดียว เพราะนี่แหละ คือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง สิ่งที่พระป่าส่วนมากท่านทำก็คือการมีความรู้สึกตัว แล้วรู้รูปยืนเดินนั่งนอนนั่นเอง จะเห็นว่ารูปเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ส่วนใจเป็นธรรมชาติรู้ที่อยู่ต่างหากจากรูป มีน้อยท่านที่เริ่มด้วยการรู้จิตไปเลย แต่ไม่ว่าจะรู้รูปหรือนาม ในที่สุดก็จะรู้ได้ทั้งรูปและนามเช่นกัน และการปฏิบัติในขั้นสุดท้ายท่านก็จะเข้ามารู้จิตกันทุกๆ รูป
ถาม ในขั้นตอนทั้ง 3 นี้ถ้าจะตัดออกสัก 1 ขั้นตอน แล้วทำเพียง 2 ขั้นตอนจะได้ไหมคะ
ตอบได้ โดยให้ทำความสงบจิต แล้วเจริญสติในชีวิตประจำวันไปเลย
ถาม ถ้าจะตัดออกอีก 1 ขั้นตอน แล้วทำเพียงขั้นตอนเดียวจะได้ไหมคะ
ตอบได้ ถ้าจะทำอย่างเดียวก็ให้เจริญสติในชีวิตประจำวันเข้าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตามรู้จิตซึ่งเป็นกรรมฐานที่เหมาะกับวิปัสสนายานิก แต่ถ้าจะเจริญสติในชีวิตประจำวันด้วยการตามรู้รูปก็อย่าละเลยการทำสมถกรรมฐาน สำหรับท่านที่ดูจิต อย่างน้อยก็ต้องไหว้พระสวดมนต์หรือแผ่เมตตาให้จิตใจสงบบ้าง เพราะถ้าดูจิตอย่างเดียวจิตอาจจะมีความตั้งมั่นไม่พอ และทางที่ดีก็ให้รู้กายบ้างรู้จิตบ้างไปเรื่อยๆ เช่นเดินจงกรมไปรู้จิตไป หรือทำงานบ้านไปรู้จิตไป อย่างนี้ก็ดีเหมือนกัน จะได้กำลังมากกว่าดูจิตล้วนๆ ซึ่งถ้าสติ สัมมาสมาธิ และปัญญาไม่พอ จิตอาจถลำเข้าไปแช่อยู่กับความ ว่างๆ ได้ แต่คนที่ดูจิตล้วนๆ แล้วได้ผลในการปฏิบัติอย่างรวดเร็วก็มีเหมือนกัน อันนี้แล้วแต่บารมีที่อบรมมา
ถาม ดิฉันปฏิบัติในแนววัดป่า มีจุดใดที่ควรระมัดระวังบ้างคะ
ตอบต้องไม่ละเลยการเจริญสติรู้กายรู้ใจ จะต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอๆ จะเอาแต่สมาธิอย่างเดียวไม่ได้เพราะจะไม่เกิดปัญญา และต้องระวังเรื่องการติดสมถะ เพราะผู้ปฏิบัติบางท่านติดสมถะ คือพอใจที่จะน้อมจิตเข้าสู่ความสงบภายในอันประณีตจนเกียจคร้าน ที่จะเจริญปัญญาบ้าง น้อมจิตเข้าไปภายในแล้วนิ่งซึมแช่หรือตรึงความรู้สึกแข็งๆ ทื่อๆ ไว้ภายในบ้าง กดความรู้สึกของจิตให้นิ่งไม่ให้กระเพื่อม หวั่นไหวเมื่อกระทบอารมณ์บ้าง หรือติดนิมิตคือพอใจและภูมิใจที่จะรู้เห็นนิมิตต่างๆ เพราะเห็นว่านิมิตเป็นของดีที่จะพาให้เกิดปัญญาพ้นทุกข์ หรือเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินต่างๆ บ้าง พวกเราอย่าเอาแต่หลงนิมิต เพราะการเห็นกายเห็นจิตหรือแม้แต่เห็นกิเลส ก็ยังดีกว่าเห็นนิมิตอันเป็นของแปลกปลอมทั้งหลาย
ถาม หลวงพ่อมีอะไรจะฝากเป็นการบ้านให้คณะของเราไปพิจารณาบ้างคะ
ตอบผู้ปฏิบัติแนวพุทโธควรทำตามที่ครูบาอาจารย์สอนให้ครบถ้วน คือทำความสงบเข้ามา แล้วออกคิดพิจารณากาย เมื่อหมดเวลาปฏิบัติตามรูปแบบแล้ว จะยืนเดินนั่งนอนก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจของตนเองอยู่เนืองๆ อย่าทำเฉพาะสมถกรรมฐานแล้วติดอยู่กับความสงบหรือนิมิตจนไม่ยอมเจริญปัญญา หรือทำสมถกรรมฐานแล้วคิดพิจารณากาย โดยละเว้นการเจริญสติในชีวิตประจำวัน โปรดจำไว้ว่าจะทิ้งอะไรก็พอทิ้งได้ แต่อย่าทิ้งการเจริญสติรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวัน ก็แล้วกัน
(อ่านต่อสัปดาห์หน้า/
ร่างกายกับรูป มีความแตกต่างกันอย่างไร)