อนึ่งการเจริญสติปัฏฐานนี้ เราทำ ไปเพื่อประโยชน์สองประการ คือเพื่อให้เกิดสติอย่างหนึ่ง และเพื่อให้เกิดปัญญาอีกอย่างหนึ่ง ดังจะกล่าวต่อไปในหนังสือเล่มนี้ นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เขียนเรื่องอารมณ์รูปนามและวิธีเจริญสติปัฏฐานที่เป็นวิปัสสนาไว้มากแล้ว ขอให้เพื่อนนักปฏิบัติที่สนใจ หาอ่านได้จากหนังสือ ประทีปส่องธรรม ผู้เขียนขออนุญาตไม่เขียนซ้ำในที่นี้อีก
๒) ต้องมีวิธีการรู้ที่ถูกต้อง เมื่อเราต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับรูปนาม เราก็ไม่มีทางอื่นสำหรับการเรียนรู้ นอกจากการตามรู้รูปนามเข้าไปตรงๆเลยทีเดียว วิธีการตามรู้มีหลักการสำคัญอยู่หลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้รูปนาม ต้องปลอดจากตัณหาและทิฏฐิ คือ
ก่อนรู้ อย่าพยายามจะรู้ด้วยความอยากรู้ หรือเห็นว่าการรู้จะต้องมีวิธีการรู้อย่างนั้นอย่างนี้ที่เหนือธรรมดาตั้งมากมาย เช่น ต้องเดินท่านั้น ต้องนั่งท่านี้ ต้องหายใจอย่างโน้น ต้องกำหนดอย่างนี้ ต้องตั้งจิตไว้ตรงนั้น และต้องจงใจส่งสติ เข้าไปนอนแช่อยู่กับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นต้น
ระหว่างรู้ ต้องระวังตัณหาและทิฏฐิเข้าแทรก เช่น อยากจะรู้ให้ชัดยิ่งขึ้นทำให้เกิดการเพ่งจ้องหรือการส่งจิตเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ คล้ายกับคนที่ชะโงก ดูสิ่งของที่จมอยู่ก้นบ่อน้ำจนตกน้ำเสียเอง และแม้จะตกน้ำแล้วก็ยังไม่รู้ตัว เพราะรู้สึกว่ายังเห็นอารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาชัดเจน การรู้เช่นนี้เป็นการหลงรู้ หรือถลำรู้ด้วยอำนาจตัณหาคืออยากรู้ให้ชัดยิ่งขึ้นบ้าง ด้วยอำนาจของทิฏฐิที่เห็นว่าต้องส่งจิตเข้าไปจมแช่กับอารมณ์จึงจะเรียกว่ามีสติบ้าง แท้จริงสติทำหน้าที่แค่ระลึกรู้เท่านั้น เขาจะรู้ได้ชัดขนาดไหนเป็นเรื่องของ เขา ผู้ปฏิบัติไม่มีหน้าที่เคี่ยวเข็ญให้สติรู้อารมณ์ให้ชัด
ยิ่งขึ้น เพราะจะพลาดไปเป็นการเพ่งจ้องหรือถลำรู้ด้วย อำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิ อนึ่ง การรู้นี้หากรู้ได้ถูกต้องจริงๆ คือปราศจากการครอบงำของตัณหาและทิฏฐิ สภาวะแห่งการรู้จะมีลักษณะสักว่ารู้ เหมือนคนที่ดูละครอยู่นอกเวที และเหมือนคนที่ยืนอยู่บนตลิ่ง แล้วเห็นสายน้ำไหลผ่านหน้าไป
เมื่อรู้แล้ว อย่าเข้าไปแทรกแซงจิตหรืออารมณ์ด้วยอำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิ เช่นอยากละอกุศล อยากให้เกิดปัญญาจนแอบไปช่วยคิดพิจารณา จิตและอารมณ์ อยากรักษาอารมณ์ที่ดีเอาไว้นานๆ และไม่อยากจะรู้อารมณ์ เป็นต้น
ตัณหาและทิฏฐินี่แหละจะทำให้เกิดความปรุงแต่ง ทางใจอีกตั้งมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะพาให้เราออกนอกลู่นอกทางของการเจริญวิปัสสนาได้ทั้งสิ้น สิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเจริญสติได้โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือการศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขาให้ดีเสียก่อน จนสามารถจำแนกได้ว่า ขณะนี้จิตเป็นปกติหรือจิตผิดปกติเพราะถูกกิเลสครอบงำ และขณะนี้จิตตั้งมั่นในระหว่างการรู้อารมณ์รูปนาม หรือจิตหลงไปทางทวาร ทั้ง ๖ ด้วยแรงบงการของตัณหา ๖ ประการเสียแล้ว ทั้งนี้ตัณหา ๖ ประการได้แก่ความอยากดูรูป อยากฟังเสียง อยากได้กลิ่น รส สัมผัส และความอยากรู้อารมณ์ทางใจ
นักปฏิบัติต้องสังเกตให้ดีเพราะเราพลาดกันมาก โดยเฉพาะในเวลาที่เกิดคิดถึงการปฏิบัติธรรม เราจะเกิดความอยากปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความปรุงแต่งขึ้น ตั้งมากมายด้วยอำนาจของทิฏฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมคือการที่ต้องทำอะไรบางอย่าง เช่น จงใจตรึงความรู้สึก ไว้ที่กายหรือจิตเพื่อให้สติตั้งมั่นไม่เผลอตัว หรือจงใจ ส่งความรู้สึกเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ทางทวารทั้ง ๖ เพราะสำคัญผิดว่าต้องเอาสติเข้าไปแช่ ไว้ในอารมณ์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำด้วย อำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิทั้งสิ้น
แท้จริงสติจะต้องเกิดขึ้นเอง ไม่ใช่จงใจทำให้เกิดและไม่ใช่พยายามบังคับตนเองไม่ให้ขาดสติ จริงอยู่สติมีหน้าที่จับอารมณ์ให้มั่น แต่การส่งสติเข้าไปจมแช่ อยู่กับอารมณ์เป็นความสำคัญผิด แท้จริงสติก็เกิดดับอยู่เป็นขณะๆ พร้อมๆกับจิต จะให้สติเกิดต่อเนื่องอยู่ นานๆ โดยจงใจส่งสติเข้าไปนอนแช่อยู่กับอารมณ์ไม่ได้ สติมีหน้าที่จับอารมณ์ให้มั่นโดยการระลึกรู้อารมณ์ ที่มาปรากฏเท่านั้นเอง และต้องทำงานประสานกับ สัมมาสมาธิและปัญญาด้วย การส่งสติเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์เป็นการเพ่งจ้องอารมณ์ นับว่าขาดสัมมาสมาธิ และขณะนั้นโมหะจะเข้าแทรกคือลืมตัวเอง เรียกว่าขาดปัญญาหรือขาดอสัมโมหสัมปชัญญะถ้าเราได้ศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขาให้ดีเสียก่อน เราจะไม่พลาดในเรื่องเหล่านี้
น่าเสียดายที่เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากมองข้ามการศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขา จึงไปคิดว่าศีลสิกขาเป็นเรื่องแค่การสมาทานศีล แล้วละเลยอินทรียสังวรศีลอันเกิดจากการ มีสติรู้ทันความยินดียินร้ายของจิตเมื่อ กระทบอารมณ์ จนจิตเกิดความเป็นปกติคือไม่ถูกกิเลสครอบงำ บางท่านก็ ละเลยจิตสิกขา จึงไปคิดว่าการนั่งสมาธิทำความสงบจนลืมเนื้อลืมตัวคือ จิตสิกขาบ้าง หรือเห็นว่าไม่ต้องศึกษาจิตสิกขาแต่ข้ามไปเจริญปัญญาสิกขาเลยทีเดียวก็ได้แล้วสัมมาสมาธิจะเกิดขึ้นเอง แท้จริงแล้วไม่ว่าจะดำเนินในแนวทางของสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิกก็ต้องศึกษาไตรสิกขาให้ครบ จะมาตัดบทเรียนของพระพุทธเจ้าออกตามใจชอบไม่ได้ ตัวจิตสิกขานั้นเราต้องศึกษาจนรู้จักว่า จิตที่มีสัมมาสมาธิคือมีความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามมี ลักษณะอย่างไร ถ้าไม่ศึกษาเราจะหลงเพ่งหรือหลงกำหนดรูปนาม ไม่สามารถจะระลึกรู้รูปนามตามความ เป็นจริงได้เลย
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิธีการรู้ที่ถูกต้องอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากผู้ปฏิบัติรู้จักสภาวะของรูปนามและตาม รู้รูปนามด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว จะพบว่าการเจริญปัญญาหรือเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้รูปและรู้นามมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือเราจะรู้ลักษณะของรูปที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน แต่เรารู้นามได้ด้วยการตาม รู้ถึงนามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ถ้ารู้เข้าถึงตัวสภาวะจริงๆของ รูปนามแล้ว เราจะต้องเห็นไตรลักษณ์ คือเห็นว่า รูปนามนั้นไม่เที่ยงหมายถึงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปหรือมีแล้ว ก็ไม่มี เป็นทุกข์หมายถึงทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตา
หมายถึงว่าบังคับไม่ได้และไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หากรู้สภาวะของรูปนามได้แล้ว แม้ไม่อยากจะเห็น ไตรลักษณ์ก็ต้องเห็น ไม่จำเป็นต้องอยากเห็นหรือพยายามจะเห็นไตรลักษณ์แต่อย่างใด เช่น ไม่ต้องพยายามคิดว่ารูปนามนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา ยิ่งพยายามจะคิดก็จะยิ่งพลาดจากการรู้รูปนาม ไปเป็นการรู้เรื่องที่คิด อันเป็นอาการที่จิตตกจากอารมณ์ของวิปัสสนาไปแล้ว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 87 ก.พ. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)
๒) ต้องมีวิธีการรู้ที่ถูกต้อง เมื่อเราต้องการรู้ความจริงเกี่ยวกับรูปนาม เราก็ไม่มีทางอื่นสำหรับการเรียนรู้ นอกจากการตามรู้รูปนามเข้าไปตรงๆเลยทีเดียว วิธีการตามรู้มีหลักการสำคัญอยู่หลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรู้รูปนาม ต้องปลอดจากตัณหาและทิฏฐิ คือ
ก่อนรู้ อย่าพยายามจะรู้ด้วยความอยากรู้ หรือเห็นว่าการรู้จะต้องมีวิธีการรู้อย่างนั้นอย่างนี้ที่เหนือธรรมดาตั้งมากมาย เช่น ต้องเดินท่านั้น ต้องนั่งท่านี้ ต้องหายใจอย่างโน้น ต้องกำหนดอย่างนี้ ต้องตั้งจิตไว้ตรงนั้น และต้องจงใจส่งสติ เข้าไปนอนแช่อยู่กับอารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ เป็นต้น
ระหว่างรู้ ต้องระวังตัณหาและทิฏฐิเข้าแทรก เช่น อยากจะรู้ให้ชัดยิ่งขึ้นทำให้เกิดการเพ่งจ้องหรือการส่งจิตเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ คล้ายกับคนที่ชะโงก ดูสิ่งของที่จมอยู่ก้นบ่อน้ำจนตกน้ำเสียเอง และแม้จะตกน้ำแล้วก็ยังไม่รู้ตัว เพราะรู้สึกว่ายังเห็นอารมณ์ปรากฏอยู่ต่อหน้าต่อตาชัดเจน การรู้เช่นนี้เป็นการหลงรู้ หรือถลำรู้ด้วยอำนาจตัณหาคืออยากรู้ให้ชัดยิ่งขึ้นบ้าง ด้วยอำนาจของทิฏฐิที่เห็นว่าต้องส่งจิตเข้าไปจมแช่กับอารมณ์จึงจะเรียกว่ามีสติบ้าง แท้จริงสติทำหน้าที่แค่ระลึกรู้เท่านั้น เขาจะรู้ได้ชัดขนาดไหนเป็นเรื่องของ เขา ผู้ปฏิบัติไม่มีหน้าที่เคี่ยวเข็ญให้สติรู้อารมณ์ให้ชัด
ยิ่งขึ้น เพราะจะพลาดไปเป็นการเพ่งจ้องหรือถลำรู้ด้วย อำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิ อนึ่ง การรู้นี้หากรู้ได้ถูกต้องจริงๆ คือปราศจากการครอบงำของตัณหาและทิฏฐิ สภาวะแห่งการรู้จะมีลักษณะสักว่ารู้ เหมือนคนที่ดูละครอยู่นอกเวที และเหมือนคนที่ยืนอยู่บนตลิ่ง แล้วเห็นสายน้ำไหลผ่านหน้าไป
เมื่อรู้แล้ว อย่าเข้าไปแทรกแซงจิตหรืออารมณ์ด้วยอำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิ เช่นอยากละอกุศล อยากให้เกิดปัญญาจนแอบไปช่วยคิดพิจารณา จิตและอารมณ์ อยากรักษาอารมณ์ที่ดีเอาไว้นานๆ และไม่อยากจะรู้อารมณ์ เป็นต้น
ตัณหาและทิฏฐินี่แหละจะทำให้เกิดความปรุงแต่ง ทางใจอีกตั้งมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่จะพาให้เราออกนอกลู่นอกทางของการเจริญวิปัสสนาได้ทั้งสิ้น สิ่งที่จะช่วยให้เราสามารถเจริญสติได้โดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือการศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขาให้ดีเสียก่อน จนสามารถจำแนกได้ว่า ขณะนี้จิตเป็นปกติหรือจิตผิดปกติเพราะถูกกิเลสครอบงำ และขณะนี้จิตตั้งมั่นในระหว่างการรู้อารมณ์รูปนาม หรือจิตหลงไปทางทวาร ทั้ง ๖ ด้วยแรงบงการของตัณหา ๖ ประการเสียแล้ว ทั้งนี้ตัณหา ๖ ประการได้แก่ความอยากดูรูป อยากฟังเสียง อยากได้กลิ่น รส สัมผัส และความอยากรู้อารมณ์ทางใจ
นักปฏิบัติต้องสังเกตให้ดีเพราะเราพลาดกันมาก โดยเฉพาะในเวลาที่เกิดคิดถึงการปฏิบัติธรรม เราจะเกิดความอยากปฏิบัติธรรม แล้วเกิดความปรุงแต่งขึ้น ตั้งมากมายด้วยอำนาจของทิฏฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมคือการที่ต้องทำอะไรบางอย่าง เช่น จงใจตรึงความรู้สึก ไว้ที่กายหรือจิตเพื่อให้สติตั้งมั่นไม่เผลอตัว หรือจงใจ ส่งความรู้สึกเข้าไปจมแช่อยู่กับอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ทางทวารทั้ง ๖ เพราะสำคัญผิดว่าต้องเอาสติเข้าไปแช่ ไว้ในอารมณ์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำด้วย อำนาจบงการของตัณหาและทิฏฐิทั้งสิ้น
แท้จริงสติจะต้องเกิดขึ้นเอง ไม่ใช่จงใจทำให้เกิดและไม่ใช่พยายามบังคับตนเองไม่ให้ขาดสติ จริงอยู่สติมีหน้าที่จับอารมณ์ให้มั่น แต่การส่งสติเข้าไปจมแช่ อยู่กับอารมณ์เป็นความสำคัญผิด แท้จริงสติก็เกิดดับอยู่เป็นขณะๆ พร้อมๆกับจิต จะให้สติเกิดต่อเนื่องอยู่ นานๆ โดยจงใจส่งสติเข้าไปนอนแช่อยู่กับอารมณ์ไม่ได้ สติมีหน้าที่จับอารมณ์ให้มั่นโดยการระลึกรู้อารมณ์ ที่มาปรากฏเท่านั้นเอง และต้องทำงานประสานกับ สัมมาสมาธิและปัญญาด้วย การส่งสติเข้าไปแช่อยู่กับอารมณ์เป็นการเพ่งจ้องอารมณ์ นับว่าขาดสัมมาสมาธิ และขณะนั้นโมหะจะเข้าแทรกคือลืมตัวเอง เรียกว่าขาดปัญญาหรือขาดอสัมโมหสัมปชัญญะถ้าเราได้ศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขาให้ดีเสียก่อน เราจะไม่พลาดในเรื่องเหล่านี้
น่าเสียดายที่เพื่อนนักปฏิบัติจำนวนมากมองข้ามการศึกษาเรื่องศีลสิกขาและจิตสิกขา จึงไปคิดว่าศีลสิกขาเป็นเรื่องแค่การสมาทานศีล แล้วละเลยอินทรียสังวรศีลอันเกิดจากการ มีสติรู้ทันความยินดียินร้ายของจิตเมื่อ กระทบอารมณ์ จนจิตเกิดความเป็นปกติคือไม่ถูกกิเลสครอบงำ บางท่านก็ ละเลยจิตสิกขา จึงไปคิดว่าการนั่งสมาธิทำความสงบจนลืมเนื้อลืมตัวคือ จิตสิกขาบ้าง หรือเห็นว่าไม่ต้องศึกษาจิตสิกขาแต่ข้ามไปเจริญปัญญาสิกขาเลยทีเดียวก็ได้แล้วสัมมาสมาธิจะเกิดขึ้นเอง แท้จริงแล้วไม่ว่าจะดำเนินในแนวทางของสมถยานิกหรือวิปัสสนายานิกก็ต้องศึกษาไตรสิกขาให้ครบ จะมาตัดบทเรียนของพระพุทธเจ้าออกตามใจชอบไม่ได้ ตัวจิตสิกขานั้นเราต้องศึกษาจนรู้จักว่า จิตที่มีสัมมาสมาธิคือมีความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์รูปนามมี ลักษณะอย่างไร ถ้าไม่ศึกษาเราจะหลงเพ่งหรือหลงกำหนดรูปนาม ไม่สามารถจะระลึกรู้รูปนามตามความ เป็นจริงได้เลย
ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับวิธีการรู้ที่ถูกต้องอีกอย่างหนึ่งก็คือ หากผู้ปฏิบัติรู้จักสภาวะของรูปนามและตาม รู้รูปนามด้วยวิธีการที่ถูกต้องแล้ว จะพบว่าการเจริญปัญญาหรือเจริญวิปัสสนาด้วยการรู้รูปและรู้นามมีความแตกต่างกันเล็กน้อย คือเราจะรู้ลักษณะของรูปที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน แต่เรารู้นามได้ด้วยการตาม รู้ถึงนามที่เพิ่งดับไปสดๆ ร้อนๆ
อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ถ้ารู้เข้าถึงตัวสภาวะจริงๆของ รูปนามแล้ว เราจะต้องเห็นไตรลักษณ์ คือเห็นว่า รูปนามนั้นไม่เที่ยงหมายถึงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปหรือมีแล้ว ก็ไม่มี เป็นทุกข์หมายถึงทนอยู่ไม่ได้ และเป็นอนัตตา
หมายถึงว่าบังคับไม่ได้และไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา หากรู้สภาวะของรูปนามได้แล้ว แม้ไม่อยากจะเห็น ไตรลักษณ์ก็ต้องเห็น ไม่จำเป็นต้องอยากเห็นหรือพยายามจะเห็นไตรลักษณ์แต่อย่างใด เช่น ไม่ต้องพยายามคิดว่ารูปนามนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา ยิ่งพยายามจะคิดก็จะยิ่งพลาดจากการรู้รูปนาม ไปเป็นการรู้เรื่องที่คิด อันเป็นอาการที่จิตตกจากอารมณ์ของวิปัสสนาไปแล้ว
(อ่านต่อฉบับหน้า)
(จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 87 ก.พ. 51 โดยพระปราโมทย์ ปาโมชฺโช)