การจลาจลเผาบ้านเผาเมืองในเมืองต่างๆ ทั่วทั้งประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากที่ตำรวจได้สังหารหนุ่มน้อยฝรั่งเศสเชื้อสายโมร็อกโก/แอลจีเรีย สามารถมองได้หลายแง่หลายมุม
จะมองว่าเป็นการก่อการจลาจลของลูกหลานของชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอาหรับที่ 1. เป็นการแสดงออกของการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ หรือผิวสีก็ได้ หรือ 2. จะมองว่าเป็นความไม่พอใจในเรื่องปากท้อง การได้รับการยอมรับในสังคม หรือโอกาสทางเศรษฐกิจก็ได้ หรือ 3. จะมองว่า เป็นการต่อต้านนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสที่มีนโยบายเอาใจคนผิวขาวก็ไม่ผิด
แต่การจลาจลครั้งนี้มีความรุนแรงผิดปกติ เพราะว่าผู้ประท้วงมีใช้อาวุธ RPG ยิงใส่สถานีตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการใช้ปืนไรเฟิล ปืนสั้น และระเบิดเป็นอาวุธ
“นี่คือสงคราม” ผู้ก่อการจลาจลคนหนึ่งกล่าว
ความรุนแรงของการจลาจลที่ผิดปกติเหนือการควบคุมทำให้นายมาครง บอกกับนายกเทศมนตรีของเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศสว่า ทางรัฐบาลอาจพิจารณาควบคุมการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ทั่วฝรั่งเศส
ความจริงนายมาครงต้องเผชิญกับศึกในของการประท้วงมาหลายครั้งแล้ว การประท้วงล่าสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคม เมื่อมีประชาชนกว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศชุมนุมคัดค้านร่างกฎหมายปฏิรูปเงินบำนาญเพื่อเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี การนัดหยุดงานดังกล่าวนำไปสู่การหยุดชะงักอย่างกว้างขวาง รวมถึงขยะที่กองพะเนินตามท้องถนนและการยกเลิกบริการขนส่งสาธารณะ
สำหรับการประท้วงก่อการจลาจลล่าสุด แต่ถ้ามองลึกลงไปจะเห็นมือที่มองไม่เห็นที่อยู่เบื้องหลังการก่อการจลาจลครั้งใหญ่ เพื่อพยายามล้มอำนาจของนายมาครง คล้ายๆ กับการชุมนุมประท้วงของคนหนุ่มสาวชาวฝรั่งเศสในปี 1968 เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล รัฐบุรุษของฝรั่งเศสให้ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
เรารู้ได้อย่างไรว่ามีมือที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจลาจลที่รุนแรงทั่วทั้งฝรั่งเศสรอบนี้?
นายJoseph Jordan เขียนบทความ “The US Government is Responsible for France’s Anti-White Race Riots” และถูกเผยแพร่ในเว็บของ National Justice Party ระบุว่า สหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังการก่อหวอดในฝรั่งเศส เนื่องจากสหรัฐฯ มีนโยบายที่ต้องการควบคุมฝรั่งเศสให้อยู่กับร่องกับรอยอยู่แล้ว
เขาเขียนรายงานว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์โกลาหลต่อต้านการเหยียดผิวสไตล์อเมริกันในยุโรปครั้งนี้คือการเสียชีวิตของนายNahel Merzouk วัย 17 ปี ซึ่งถูกตำรวจยิงหลังจากพยายามหลบหนีในรถของเขาระหว่างการจับกุม
นายMerzouk มีเชื้อสายโมร็อกโก/แอลจีเรีย หรือกล่าวโดยรวมว่าเป็นพวกอาหรับ Maghrebi ที่มีภูมิลำเนามาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ในปัจจุบันพวกอาหรับกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสมากถึง 2.5 ล้านคนทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
นายMerzouk มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขับรถยนต์ แต่เขาขับรถสปอร์ต Mercedes Benz และถูกยิงขณะพยายามหลบหนีเจ้าหน้าที่
ภายใต้กฎหมายปี 2017 ตำรวจฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ยิงคนขับโดยประมาทที่พยายามหลบหนีการจับกุม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาว Floriant M. ที่ถูกสอบสวนยังคงถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อปิดปากกลุ่มม็อบ ชนชั้นสูงทางธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวมืออาชีพ
นาย Joseph Jordan เขียนว่า ในตอนแรกสื่อฝรั่งเศสเข้าข้างตำรวจในเรื่องนี้ แต่หลังจากที่มีคลิปที่ไม่อยู่ในบริบทของเหตุการณ์ถูกนำออกมาเผยแพร่โดยคนของวอชิงตัน ดี.ซี. ปรากฏว่าตำรวจฝรั่งเศสกลายเป็นผู้ร้าย โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือ Rokhaya Diallo นักข่าวผู้หญิงชาวฝรั่งเศสที่ได้รับการฝึกอบรมจากกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐฯ
เธอเป็นนักรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิวสี และสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศที่มีอิทธิพลที่สุดของฝรั่งเศส
สื่อของสหรัฐฯ และอังกฤษทำการเผยแพร่ข้อความที่ Diallo อยู่เบื้องหลังการนำเสนอว่ารัฐบาลบังคับใช้กฎหมายรุนแรงเกินไปสำหรับผู้ประท้วง และฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงควรได้รับความเห็นอกเห็นใจ ในขณะที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟ และคนผิวขาวถูกโจมตีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
“การจลาจลครั้งนี้เป็นผลมาจากความประสงค์ร้ายที่ประสบความสำเร็จจากปฏิบัติการที่เปิดเผย และการสร้างอิทธิพลในทางลับที่ดำเนินมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ เพื่อที่จะพยายามเปลี่ยนประชากรผิวดำและสีน้ำตาลที่เป็นอาชญากรของฝรั่งเศสให้กลายเป็นฐานที่ตั้งหลักถาวรของจักรวรรดิยิว-อเมริกัน” นายJoseph Jordan สรุป
ถ้าจะว่าไปแล้ว นายมาครง ซึ่งเพิ่งจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในปี 2022 ที่ผ่านมา มองเห็นหายนะข้างหน้าของฝรั่งเศส และยุโรป ถ้าหากยังคงไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคง การทหาร การเงิน และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอยู่ร่วมกันกับรัสเซีย
นายมาครงเข้าใจเหมือนกับผู้นำโลกทุกคนเข้าใจว่า ยูเครนไม่มีทางเอาชนะรัสเซียในสงครามตัวแทนได้ แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และอาวุธจากสหรัฐฯ ($150,000 ล้าน) และจากสหภาพยุโรป (25,000 ล้านยูโร) อย่างเต็มที่ ตั้งแต่เกิดสงครามในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022
ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมหาอำนาจของยุโรปเบอร์ 2 รองจากเยอรมนี เข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับสงครามยูเครนอย่างลึกซึ้งโดยส่งมอบอาวุธและเงินทองมากมายตั้งแต่แรกผ่านองค์กรนาโต ภายใต้การกำกับของสหรัฐฯ แต่นับวันสถานการณ์ของสงครามจะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆสำหรับยูเครนที่อาจจะไม่อยู่ในแผนที่โลกต่อไปในอนาคต
ทั้งฝรั่งเศส และยุโรปที่มีการดำเนินนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับรัสเซียอย่างเปิดเผยได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสงครามยูเครน จากการขาดแคลนก๊าซ และราคาน้ำมัน และราคาอาหารที่สูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังซบเซาอย่างหนัก ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น มีหนี้สูง และมีปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก
ที่สำคัญ นายมาครงย่อมเข้าใจว่า หนทางของสันติภาพในสงครามยูเครนยังมองไม่เห็น เพราะดูเหมือนว่าสหรัฐฯ ต้องการทำลายรัสเซียและทำให้ยุโรปอ่อนแอลงไปด้วยในเวลาเดียวกัน จะได้ควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จได้ง่ายจากการเข้าไปสนับสนุนสงครามนอกบ้านตัวเอง
ถ้าหากสงครามยูเครนลากยาวต่อไปเรื่อยๆ อนาคตของยุโรปจะจบสิ้น และฝรั่งเศสจะถูกลากลงเหวไปด้วย
ด้วยเหตุนี้นายมาครงจึงมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความมั่นคงหลายอย่างเพื่อเอาฝรั่งเศสออกจากความขัดแย้งที่มีตัวละครหลักคือกลุ่มแอลโกล-อเมริกัน VS รัสเซียกับจีน โดยที่ประเทศอื่นๆ เป็นเพียงเบี้ยที่ถูกหลอกใช้งาน
มีรายงานว่านายมาครงแอบไปเจรจากับนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีให้ร่วมมือกันสลัดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในยุโรป และในองค์กรนาโต ยังไม่เป็นที่ทราบชัดว่านายชอลซ์มีท่าทีอย่างไร แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีกำลังได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น
ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายมาครงได้ทำเซอร์ไพรส์ด้วยโทรศัพท์ถึง Cyril Ramaphosa ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ เพื่อขอร้องให้ช่วยเชิญเขาในฐานะแขกพิเศษเพื่อเข้าร่วมประชุมซัมมิตกับผู้นำของ BRICS ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ที่จะมีประชุมที่โจฮันเนสเบิร์กระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้
ข่าวนี้ทำให้ทั้งโลกต้องตกตะลึง เพราะว่ามันเป็นเกมการทูตฟ้าผ่าแบบผิดฝั่งผิดฝาของนายมาครงที่ต้องการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสแบบยูเทิร์น และหันมาถ่วงดุลกับกลุ่มแองโกล-อเมริกันด้วยการสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน
เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นสมาชิกของกลุ่มจี 7 ที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มบริกส์ และเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และนาโตที่กำลังทำสงครามตัวแทนกับรัสเซียในยูเครนในเวลานี้ ทำให้การแหกโค้งของนายมาครงกลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
ท่าทีของนายมาครงที่ต้องการให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมเป็นสมาชิกของบริกส์ ย่อมทำให้สหรัฐฯ และอังกฤษไม่พอใจนายมาครงเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการทรยศต่อจี 7 และนาโตเลยทีเดียว เลยต้องหาทางกำจัดนายมาครงให้พ้นจากตำแหน่ง หรือทำให้นายมาครงอ่อนแอลงทางการเมือง
การก่อเหตุจลาจลที่รุนแรงในฝรั่งเศสเวลานี้มีผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแองโกล-อเมริกันที่ต้องการล้มนายมาครงนั่นเอง
นายเฮนรี คิสซินเจอร์เคยกล่าวเอาไว้ว่า การเป็นศัตรูกับสหรัฐฯ เป็นเรื่องอันตราย ส่วนการเป็นมิตรกับสหรัฐฯ ก็ถึงตายได้
นายNitish Verma เขียนบทความ “French President Macron Seeks Invitation to BRICS Summit amid Shifting Foreign Policy and Ukraine Conflict”ว่า ความสนใจของมาครงในการเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากพันธมิตรนาโต โดยเฉพาะสหรัฐฯ และอังกฤษ ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายมีท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นต่อรัสเซียที่ได้รุกรานยูเครน
ฝรั่งเศสลังเลใจที่จะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อมอสโกหรือจัดหาอาวุธร้ายแรงให้แก่เคียฟ เนื่องจากเกรงว่าอาจเพิ่มความขัดแย้งและทำลายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของฝรั่งเศสทั้งในยุโรปและแอฟริกา
นายมาครงยังวิจารณ์ระเบียบโลกที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งเขาเชื่อว่าไม่ยุติธรรมและล้าสมัย เขาเรียกร้องให้มี “ลัทธิพหุภาคีใหม่” ที่จะให้เสียงและอิทธิพลมากขึ้นแก่มหาอำนาจและภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่
ในการกล่าวปราศรัยที่เมืองบราติสลาวาในเดือนพฤษภาคม 2023 เขาเสนอการให้หลักประกันความมั่นคงต่อยูเครนซึ่งตรงกับที่สหรัฐฯ มอบให้กับอิสราเอล เช่นเดียวกับการสร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงใหม่สำหรับยุโรปที่จะรวมถึงรัสเซียด้วย
ในความพยายามที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS นายมาครงต้องการให้ฝรั่งเศสได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในโลก ซึ่งมีความปรารถนาคล้ายกันในการปฏิรูประบบการเงินและภูมิรัฐศาสตร์โลก
นอกจากนี้ เขาอาจมองหาพันธมิตรและตลาดทางเลือกสำหรับการส่งออกและการลงทุนของฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา ซึ่งจีนได้ขยายอิทธิพลไปแล้วค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ดี นายSergei Ryabkov รมว.ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้ส่งสัญญาณไม่ขอต้อนรับนายมาครง โดยบอกว่าการเข้าร่วมประชุมซัมมิตของนายมาครงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สื่อ Politico ของสหรัฐฯ รายงานในบทความที่ชื่อว่า “Europe must resist pressure to become ‘America’s followers,’ says Macron” โดยระบุว่า นายมาครงต้องการให้ยุโรปลดการพึ่งพาสหรัฐฯ และให้ยุโรปหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในเรื่องไต้หวัน
หลังจากที่ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นายมาครงได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของยุโรปที่จะต้องมี “ความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์” โดยยุโรปภายใต้การนำของฝรั่งเศสสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจที่สามได้
เขากล่าวว่า “ความเสี่ยงอันยิ่งใหญ่” ที่ยุโรปเผชิญคือการที่ต้อง “จมอยู่กับวิกฤตการณ์ที่ไม่ใช่ของเรา ซึ่งทำให้ไม่สามารถสร้างเอกราชทางยุทธศาสตร์ของตนได้”
นายมาครงกล่าวว่า ยุโรปไม่สามารถแก้วิกฤตยูเครนได้ แล้วเราจะไปพูดกับไต้หวันอย่างมีความน่าเชื่อถือได้อย่างไรว่า ถ้าคุณทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราจะไปอยู่ที่นั่น ถ้าคุณต้องการสร้างความตึงเครียด มาครงยังโต้แย้งว่ายุโรปได้เพิ่มการพึ่งพาอาวุธและพลังงานจากสหรัฐฯ โดยที่ความจริงแล้วตอนนี้ต้องมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมกลาโหมของยุโรป
นอกจากนี้ เขายังเสนอแนะว่ายุโรปควรลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักด้านนโยบายของทั้งมอสโกและปักกิ่ง “หากความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจทวีความรุนแรงขึ้น… เราจะไม่มีเวลาหรือทรัพยากรที่จะสนับสนุนทางการเงินในการปกครองตนเองเชิงกลยุทธ์ และเราจะกลายเป็นทาสไป” เขากล่าว
สิ่งที่มาครงพูดสะท้อนความอึดอัดของยุโรปที่ตกอยู่ภายใต้การบงการของสหรัฐฯ พวกซีไอเอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสหภาพยุโรปตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อที่จะใช้บรัสเซลส์เป็น one-stop shopping ในการควบคุมยุโรป แทนที่จะต้องเสียเวลาเดินทางไปยังเมืองหลวงต่างๆ ของยุโรปเพื่อเจรจาหว่านล้อมให้เข้าคอก
ในปี 2011 นายDominique Strauss-Kahn กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสถูกตั้งข้อหา และจำคุกในสหรัฐอเมริกาในข้อหาก่ออาชญากรรมทางเพศในโรงแรมแห่งหนึ่งที่เขาพักที่นิวยอร์ก ทำให้เขาต้องหลุดจากตำแหน่งไป
เบื้องหลังของเรื่องนี้คือ นายStrauss-Kahn พยายามกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งมอบทองคำจำนวน 191.3 ตันให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเสริมฐานะเงินกองทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปรากฏว่านายStrauss-Kahn พบว่า ทองคำทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่เก็บใน United States Bullion Depository ซึ่งตั้งอยู่ที่ Fort Knox นั้น “หายไปและ/หรือไม่ได้รับการนับ” เขาโวยวาย จึงถูกสหรัฐฯ จัดการอย่างเด็ดขาดด้วยวิธีการที่ไม่ธรรมดา
ในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 นายมาครง เตือนว่าชาวยุโรปไม่สามารถปกป้องได้หากไม่มี “กองทัพยุโรปที่แท้จริง” ซึ่งเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่า มาครงไม่ต้องการให้สหรัฐฯ ครอบงำยุโรปทางทหารผ่านนาโต
ปรากฏว่าในวันที่15-16 เมษายน ปีต่อมา เกิดเหตุเพลิงไหม้มหาวิหาร Notre Dame ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส ทำให้เสียหายยับเยิน เรื่องนี้เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ หรือเป็นเล่นกันแรงเพื่อเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้ฝรั่งเศส
ย้อนกลับไปในปี 1965 นายพลชาร์ล เดอ โกล (1890-1970) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเวลานั้น ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับสิทธิพิเศษของดอลลาร์ที่พิมพ์ออกมาเกินทองคำสำรองของสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ที่ถือครองดอลลาร์ต้องจำยอมสภาพ
เขากล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1965 การที่ประเทศต่างๆ ที่ถือครองดอลลาร์มองว่าดอลลาร์มีค่าเยี่ยงทองคำ ทำให้สหรัฐฯ สามารถพิมพ์ดอลลาร์มาจ่ายส่วนต่างของการขาดดุลกับต่างประเทศได้ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สหรัฐฯ ต้องเอาทองคำไปจ่ายหนี้
ในเวลานั้นมีหลายประเทศต้องการเอาดอลลาร์ไปขึ้นทองคำกับธนาคารกลางสหรัฐฯ เพราะว่าสหรัฐฯ มีการขาดดุลจากการใช้จ่ายงบประมาณในด้านสวัสดิการ กับสงครามเวียดนาม แต่สหรัฐฯ ไม่เต็มใจที่จะให้ไถ่ถอนเป็นทองคำ เพราะว่าต้องการพิมพ์ดอลลาร์ไปจ่ายหนี้
การจ่ายหนี้ด้วยดอลลาร์คือการใช้เครดิตของดอลลาร์จ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการ เพราะว่าสหรัฐฯ สามารถพิมพ์ดอลลาร์หรือสร้างดอลลาร์เครดิตออกมามากเท่าใดก็ได้ เพื่อสนองการใช้จ่ายที่เกินตัว ดอลลาร์เป็นเงินตรา แต่ไม่ใช่เงินที่แท้จริง ต่างกับทองคำที่เป็นเงินที่แท้จริง
ถ้าจะว่าไปแล้ว เดอ โกลต้องการให้โลกกลับไปสู่ระบบมาตรฐานทองคำที่เคร่งครัด โดยที่ประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินต้องชำระด้วยทองคำ แทนที่จะพิมพ์เงินกระดาษออกมาชำระหนี้ และต้องหาทางลดค่าเงินของตัวเอง เพื่อลดการนำเข้า และเพิ่มการส่งออกจะได้รักษาทองคำสำรองที่เหลือได้ หรือมีเงินซื้อทองเข้ามาตุนใหม่
ท่าทีที่แข็งกร้าวของเดอ โกลต่อสหรัฐฯ และจุดยืนที่หนักแน่นในระบบการเงินที่มีมาตรฐานทองคำเป็นเสาหลักให้สหรัฐฯ มีความไม่พอใจมาก ถึงกลับต้องหาทางกำจัด
ในเดือนพฤษภาคมปี 1968 เป็นช่วงเวลาแห่งความไม่สงบเกิดขึ้นทั่วฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้ดำเนินไปเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และคั่นด้วยการเดินขบวน การนัดหยุดงานทั่วไป และการบุกยึดครองมหาวิทยาลัยและโรงงาน เมื่อถึงจุดวิกฤตสุด ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ พฤษภาคม 68 เศรษฐกิจของฝรั่งเศสหยุดชะงัก
การประท้วงถึงจุดที่ทำให้ผู้นำทางการเมืองกลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองหรือการปฏิวัติ รัฐบาลยุติการทำงานชั่วคราวหลังจากประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล แอบหนีจากฝรั่งเศสไปยังเยอรมันตะวันตก
จับตาดูเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่นายพลเดอ โกลต้องถูกรัฐประหารเงียบเมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว เนื่องจากมีจุดยืนทางการเมือง และนโยบายการเงินที่ต่อต้านสหรัฐฯ จะกลับซ้ำรอยกับนายมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันหรือไม่ ที่ต้องการนำพาฝรั่งเศสออกจากนาโต หรืออิทธิพลของสหรัฐฯ โดยต้องการให้ยุโรปสร้างกองทัพของยุโรปเอง ให้ยุโรปมียุทธศาสตร์ที่ปกครองตัวเองได้ ให้มีมหาอำนาจหลายขั้ว และที่สำคัญไม่ต้องการให้ดอลลาร์มีอิทธิพลมากเกินไปในระบบการเงินโลก
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เคยทำนายเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้วว่า หากฝรั่งเศสถูกโจมตี จะเป็นการจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 3
จะมองว่าเป็นการก่อการจลาจลของลูกหลานของชาวฝรั่งเศสเชื้อสายอาหรับที่ 1. เป็นการแสดงออกของการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ หรือผิวสีก็ได้ หรือ 2. จะมองว่าเป็นความไม่พอใจในเรื่องปากท้อง การได้รับการยอมรับในสังคม หรือโอกาสทางเศรษฐกิจก็ได้ หรือ 3. จะมองว่า เป็นการต่อต้านนายเอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสที่มีนโยบายเอาใจคนผิวขาวก็ไม่ผิด
แต่การจลาจลครั้งนี้มีความรุนแรงผิดปกติ เพราะว่าผู้ประท้วงมีใช้อาวุธ RPG ยิงใส่สถานีตำรวจ นอกจากนี้ยังมีการใช้ปืนไรเฟิล ปืนสั้น และระเบิดเป็นอาวุธ
“นี่คือสงคราม” ผู้ก่อการจลาจลคนหนึ่งกล่าว
ความรุนแรงของการจลาจลที่ผิดปกติเหนือการควบคุมทำให้นายมาครง บอกกับนายกเทศมนตรีของเมืองต่างๆ ของฝรั่งเศสว่า ทางรัฐบาลอาจพิจารณาควบคุมการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ทั่วฝรั่งเศส
ความจริงนายมาครงต้องเผชิญกับศึกในของการประท้วงมาหลายครั้งแล้ว การประท้วงล่าสุดก่อนหน้านี้เกิดขึ้นในเดือนมกราคม เมื่อมีประชาชนกว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศชุมนุมคัดค้านร่างกฎหมายปฏิรูปเงินบำนาญเพื่อเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี การนัดหยุดงานดังกล่าวนำไปสู่การหยุดชะงักอย่างกว้างขวาง รวมถึงขยะที่กองพะเนินตามท้องถนนและการยกเลิกบริการขนส่งสาธารณะ
สำหรับการประท้วงก่อการจลาจลล่าสุด แต่ถ้ามองลึกลงไปจะเห็นมือที่มองไม่เห็นที่อยู่เบื้องหลังการก่อการจลาจลครั้งใหญ่ เพื่อพยายามล้มอำนาจของนายมาครง คล้ายๆ กับการชุมนุมประท้วงของคนหนุ่มสาวชาวฝรั่งเศสในปี 1968 เพื่อขับไล่ประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล รัฐบุรุษของฝรั่งเศสให้ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี
เรารู้ได้อย่างไรว่ามีมือที่สามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจลาจลที่รุนแรงทั่วทั้งฝรั่งเศสรอบนี้?
นายJoseph Jordan เขียนบทความ “The US Government is Responsible for France’s Anti-White Race Riots” และถูกเผยแพร่ในเว็บของ National Justice Party ระบุว่า สหรัฐฯ อยู่เบื้องหลังการก่อหวอดในฝรั่งเศส เนื่องจากสหรัฐฯ มีนโยบายที่ต้องการควบคุมฝรั่งเศสให้อยู่กับร่องกับรอยอยู่แล้ว
เขาเขียนรายงานว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่อ้างว่าเป็นเหตุการณ์โกลาหลต่อต้านการเหยียดผิวสไตล์อเมริกันในยุโรปครั้งนี้คือการเสียชีวิตของนายNahel Merzouk วัย 17 ปี ซึ่งถูกตำรวจยิงหลังจากพยายามหลบหนีในรถของเขาระหว่างการจับกุม
นายMerzouk มีเชื้อสายโมร็อกโก/แอลจีเรีย หรือกล่าวโดยรวมว่าเป็นพวกอาหรับ Maghrebi ที่มีภูมิลำเนามาจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา ในปัจจุบันพวกอาหรับกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในฝรั่งเศสมากถึง 2.5 ล้านคนทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย
นายMerzouk มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะขับรถยนต์ แต่เขาขับรถสปอร์ต Mercedes Benz และถูกยิงขณะพยายามหลบหนีเจ้าหน้าที่
ภายใต้กฎหมายปี 2017 ตำรวจฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้ยิงคนขับโดยประมาทที่พยายามหลบหนีการจับกุม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจผิวขาว Floriant M. ที่ถูกสอบสวนยังคงถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อปิดปากกลุ่มม็อบ ชนชั้นสูงทางธุรกิจ และนักเคลื่อนไหวมืออาชีพ
นาย Joseph Jordan เขียนว่า ในตอนแรกสื่อฝรั่งเศสเข้าข้างตำรวจในเรื่องนี้ แต่หลังจากที่มีคลิปที่ไม่อยู่ในบริบทของเหตุการณ์ถูกนำออกมาเผยแพร่โดยคนของวอชิงตัน ดี.ซี. ปรากฏว่าตำรวจฝรั่งเศสกลายเป็นผู้ร้าย โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือ Rokhaya Diallo นักข่าวผู้หญิงชาวฝรั่งเศสที่ได้รับการฝึกอบรมจากกระทรวงการต่างประเทศ ของสหรัฐฯ
เธอเป็นนักรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิวสี และสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศที่มีอิทธิพลที่สุดของฝรั่งเศส
สื่อของสหรัฐฯ และอังกฤษทำการเผยแพร่ข้อความที่ Diallo อยู่เบื้องหลังการนำเสนอว่ารัฐบาลบังคับใช้กฎหมายรุนแรงเกินไปสำหรับผู้ประท้วง และฝ่ายผู้ชุมนุมประท้วงควรได้รับความเห็นอกเห็นใจ ในขณะที่ฝรั่งเศสกำลังลุกเป็นไฟ และคนผิวขาวถูกโจมตีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง
“การจลาจลครั้งนี้เป็นผลมาจากความประสงค์ร้ายที่ประสบความสำเร็จจากปฏิบัติการที่เปิดเผย และการสร้างอิทธิพลในทางลับที่ดำเนินมาเป็นเวลากว่าทศวรรษ เพื่อที่จะพยายามเปลี่ยนประชากรผิวดำและสีน้ำตาลที่เป็นอาชญากรของฝรั่งเศสให้กลายเป็นฐานที่ตั้งหลักถาวรของจักรวรรดิยิว-อเมริกัน” นายJoseph Jordan สรุป
ถ้าจะว่าไปแล้ว นายมาครง ซึ่งเพิ่งจะชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในปี 2022 ที่ผ่านมา มองเห็นหายนะข้างหน้าของฝรั่งเศส และยุโรป ถ้าหากยังคงไม่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายความมั่นคง การทหาร การเงิน และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการอยู่ร่วมกันกับรัสเซีย
นายมาครงเข้าใจเหมือนกับผู้นำโลกทุกคนเข้าใจว่า ยูเครนไม่มีทางเอาชนะรัสเซียในสงครามตัวแทนได้ แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงิน และอาวุธจากสหรัฐฯ ($150,000 ล้าน) และจากสหภาพยุโรป (25,000 ล้านยูโร) อย่างเต็มที่ ตั้งแต่เกิดสงครามในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022
ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นมหาอำนาจของยุโรปเบอร์ 2 รองจากเยอรมนี เข้าไปมีส่วนเกี่ยวพันกับสงครามยูเครนอย่างลึกซึ้งโดยส่งมอบอาวุธและเงินทองมากมายตั้งแต่แรกผ่านองค์กรนาโต ภายใต้การกำกับของสหรัฐฯ แต่นับวันสถานการณ์ของสงครามจะเลวร้ายลงไปเรื่อยๆสำหรับยูเครนที่อาจจะไม่อยู่ในแผนที่โลกต่อไปในอนาคต
ทั้งฝรั่งเศส และยุโรปที่มีการดำเนินนโยบายเป็นปฏิปักษ์กับรัสเซียอย่างเปิดเผยได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสงครามยูเครน จากการขาดแคลนก๊าซ และราคาน้ำมัน และราคาอาหารที่สูงขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจกำลังซบเซาอย่างหนัก ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น มีหนี้สูง และมีปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก
ที่สำคัญ นายมาครงย่อมเข้าใจว่า หนทางของสันติภาพในสงครามยูเครนยังมองไม่เห็น เพราะดูเหมือนว่าสหรัฐฯ ต้องการทำลายรัสเซียและทำให้ยุโรปอ่อนแอลงไปด้วยในเวลาเดียวกัน จะได้ควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จได้ง่ายจากการเข้าไปสนับสนุนสงครามนอกบ้านตัวเอง
ถ้าหากสงครามยูเครนลากยาวต่อไปเรื่อยๆ อนาคตของยุโรปจะจบสิ้น และฝรั่งเศสจะถูกลากลงเหวไปด้วย
ด้วยเหตุนี้นายมาครงจึงมีการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความมั่นคงหลายอย่างเพื่อเอาฝรั่งเศสออกจากความขัดแย้งที่มีตัวละครหลักคือกลุ่มแอลโกล-อเมริกัน VS รัสเซียกับจีน โดยที่ประเทศอื่นๆ เป็นเพียงเบี้ยที่ถูกหลอกใช้งาน
มีรายงานว่านายมาครงแอบไปเจรจากับนายโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีของเยอรมนีให้ร่วมมือกันสลัดอิทธิพลของสหรัฐฯ ในยุโรป และในองค์กรนาโต ยังไม่เป็นที่ทราบชัดว่านายชอลซ์มีท่าทีอย่างไร แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีกำลังได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติของรัสเซีย และต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น
ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายมาครงได้ทำเซอร์ไพรส์ด้วยโทรศัพท์ถึง Cyril Ramaphosa ประธานาธิบดีของแอฟริกาใต้ เพื่อขอร้องให้ช่วยเชิญเขาในฐานะแขกพิเศษเพื่อเข้าร่วมประชุมซัมมิตกับผู้นำของ BRICS ซึ่งประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ที่จะมีประชุมที่โจฮันเนสเบิร์กระหว่างวันที่ 23-24 สิงหาคมนี้
ข่าวนี้ทำให้ทั้งโลกต้องตกตะลึง เพราะว่ามันเป็นเกมการทูตฟ้าผ่าแบบผิดฝั่งผิดฝาของนายมาครงที่ต้องการเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของฝรั่งเศสแบบยูเทิร์น และหันมาถ่วงดุลกับกลุ่มแองโกล-อเมริกันด้วยการสร้างสัมพันธ์กับรัสเซียและจีน
เนื่องจากฝรั่งเศสเป็นสมาชิกของกลุ่มจี 7 ที่เป็นคู่แข่งของกลุ่มบริกส์ และเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป และนาโตที่กำลังทำสงครามตัวแทนกับรัสเซียในยูเครนในเวลานี้ ทำให้การแหกโค้งของนายมาครงกลายเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
ท่าทีของนายมาครงที่ต้องการให้ฝรั่งเศสเข้าร่วมเป็นสมาชิกของบริกส์ ย่อมทำให้สหรัฐฯ และอังกฤษไม่พอใจนายมาครงเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นการทรยศต่อจี 7 และนาโตเลยทีเดียว เลยต้องหาทางกำจัดนายมาครงให้พ้นจากตำแหน่ง หรือทำให้นายมาครงอ่อนแอลงทางการเมือง
การก่อเหตุจลาจลที่รุนแรงในฝรั่งเศสเวลานี้มีผู้ที่อยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแองโกล-อเมริกันที่ต้องการล้มนายมาครงนั่นเอง
นายเฮนรี คิสซินเจอร์เคยกล่าวเอาไว้ว่า การเป็นศัตรูกับสหรัฐฯ เป็นเรื่องอันตราย ส่วนการเป็นมิตรกับสหรัฐฯ ก็ถึงตายได้
นายNitish Verma เขียนบทความ “French President Macron Seeks Invitation to BRICS Summit amid Shifting Foreign Policy and Ukraine Conflict”ว่า ความสนใจของมาครงในการเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากพันธมิตรนาโต โดยเฉพาะสหรัฐฯ และอังกฤษ ที่ต้องการให้ทุกฝ่ายมีท่าทีที่แข็งกร้าวขึ้นต่อรัสเซียที่ได้รุกรานยูเครน
ฝรั่งเศสลังเลใจที่จะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรอย่างรุนแรงต่อมอสโกหรือจัดหาอาวุธร้ายแรงให้แก่เคียฟ เนื่องจากเกรงว่าอาจเพิ่มความขัดแย้งและทำลายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ของฝรั่งเศสทั้งในยุโรปและแอฟริกา
นายมาครงยังวิจารณ์ระเบียบโลกที่นำโดยสหรัฐฯ ซึ่งเขาเชื่อว่าไม่ยุติธรรมและล้าสมัย เขาเรียกร้องให้มี “ลัทธิพหุภาคีใหม่” ที่จะให้เสียงและอิทธิพลมากขึ้นแก่มหาอำนาจและภูมิภาคที่เกิดขึ้นใหม่
ในการกล่าวปราศรัยที่เมืองบราติสลาวาในเดือนพฤษภาคม 2023 เขาเสนอการให้หลักประกันความมั่นคงต่อยูเครนซึ่งตรงกับที่สหรัฐฯ มอบให้กับอิสราเอล เช่นเดียวกับการสร้างสถาปัตยกรรมความมั่นคงใหม่สำหรับยุโรปที่จะรวมถึงรัสเซียด้วย
ในความพยายามที่จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอด BRICS นายมาครงต้องการให้ฝรั่งเศสได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับกลุ่มประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดและเติบโตเร็วที่สุดในโลก ซึ่งมีความปรารถนาคล้ายกันในการปฏิรูประบบการเงินและภูมิรัฐศาสตร์โลก
นอกจากนี้ เขาอาจมองหาพันธมิตรและตลาดทางเลือกสำหรับการส่งออกและการลงทุนของฝรั่งเศส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกา ซึ่งจีนได้ขยายอิทธิพลไปแล้วค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ดี นายSergei Ryabkov รมว.ช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัสเซียได้ส่งสัญญาณไม่ขอต้อนรับนายมาครง โดยบอกว่าการเข้าร่วมประชุมซัมมิตของนายมาครงเป็นสิ่งที่ไม่สมควร
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สื่อ Politico ของสหรัฐฯ รายงานในบทความที่ชื่อว่า “Europe must resist pressure to become ‘America’s followers,’ says Macron” โดยระบุว่า นายมาครงต้องการให้ยุโรปลดการพึ่งพาสหรัฐฯ และให้ยุโรปหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ในเรื่องไต้หวัน
หลังจากที่ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีนในเดือนเมษายนที่ผ่านมา นายมาครงได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นของยุโรปที่จะต้องมี “ความเป็นอิสระทางยุทธศาสตร์” โดยยุโรปภายใต้การนำของฝรั่งเศสสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจที่สามได้
เขากล่าวว่า “ความเสี่ยงอันยิ่งใหญ่” ที่ยุโรปเผชิญคือการที่ต้อง “จมอยู่กับวิกฤตการณ์ที่ไม่ใช่ของเรา ซึ่งทำให้ไม่สามารถสร้างเอกราชทางยุทธศาสตร์ของตนได้”
นายมาครงกล่าวว่า ยุโรปไม่สามารถแก้วิกฤตยูเครนได้ แล้วเราจะไปพูดกับไต้หวันอย่างมีความน่าเชื่อถือได้อย่างไรว่า ถ้าคุณทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราจะไปอยู่ที่นั่น ถ้าคุณต้องการสร้างความตึงเครียด มาครงยังโต้แย้งว่ายุโรปได้เพิ่มการพึ่งพาอาวุธและพลังงานจากสหรัฐฯ โดยที่ความจริงแล้วตอนนี้ต้องมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมอุตสาหกรรมกลาโหมของยุโรป
นอกจากนี้ เขายังเสนอแนะว่ายุโรปควรลดการพึ่งพาเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักด้านนโยบายของทั้งมอสโกและปักกิ่ง “หากความตึงเครียดระหว่างสองมหาอำนาจทวีความรุนแรงขึ้น… เราจะไม่มีเวลาหรือทรัพยากรที่จะสนับสนุนทางการเงินในการปกครองตนเองเชิงกลยุทธ์ และเราจะกลายเป็นทาสไป” เขากล่าว
สิ่งที่มาครงพูดสะท้อนความอึดอัดของยุโรปที่ตกอยู่ภายใต้การบงการของสหรัฐฯ พวกซีไอเอมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสหภาพยุโรปตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อที่จะใช้บรัสเซลส์เป็น one-stop shopping ในการควบคุมยุโรป แทนที่จะต้องเสียเวลาเดินทางไปยังเมืองหลวงต่างๆ ของยุโรปเพื่อเจรจาหว่านล้อมให้เข้าคอก
ในปี 2011 นายDominique Strauss-Kahn กรรมการผู้จัดการใหญ่ของไอเอ็มเอฟ หรือกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศสถูกตั้งข้อหา และจำคุกในสหรัฐอเมริกาในข้อหาก่ออาชญากรรมทางเพศในโรงแรมแห่งหนึ่งที่เขาพักที่นิวยอร์ก ทำให้เขาต้องหลุดจากตำแหน่งไป
เบื้องหลังของเรื่องนี้คือ นายStrauss-Kahn พยายามกดดันให้รัฐบาลสหรัฐฯ ส่งมอบทองคำจำนวน 191.3 ตันให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เพื่อเสริมฐานะเงินกองทุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปรากฏว่านายStrauss-Kahn พบว่า ทองคำทั้งหมดของสหรัฐฯ ที่เก็บใน United States Bullion Depository ซึ่งตั้งอยู่ที่ Fort Knox นั้น “หายไปและ/หรือไม่ได้รับการนับ” เขาโวยวาย จึงถูกสหรัฐฯ จัดการอย่างเด็ดขาดด้วยวิธีการที่ไม่ธรรมดา
ในเดือนพฤศจิกายนปี 2018 นายมาครง เตือนว่าชาวยุโรปไม่สามารถปกป้องได้หากไม่มี “กองทัพยุโรปที่แท้จริง” ซึ่งเป็นการแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่า มาครงไม่ต้องการให้สหรัฐฯ ครอบงำยุโรปทางทหารผ่านนาโต
ปรากฏว่าในวันที่15-16 เมษายน ปีต่อมา เกิดเหตุเพลิงไหม้มหาวิหาร Notre Dame ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส ทำให้เสียหายยับเยิน เรื่องนี้เป็นเรื่องบังเอิญหรือไม่ หรือเป็นเล่นกันแรงเพื่อเป็นการส่งสัญญาณอะไรบางอย่างให้ฝรั่งเศส
ย้อนกลับไปในปี 1965 นายพลชาร์ล เดอ โกล (1890-1970) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในเวลานั้น ได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับสิทธิพิเศษของดอลลาร์ที่พิมพ์ออกมาเกินทองคำสำรองของสหรัฐฯ และประเทศต่างๆ ที่ถือครองดอลลาร์ต้องจำยอมสภาพ
เขากล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1965 การที่ประเทศต่างๆ ที่ถือครองดอลลาร์มองว่าดอลลาร์มีค่าเยี่ยงทองคำ ทำให้สหรัฐฯ สามารถพิมพ์ดอลลาร์มาจ่ายส่วนต่างของการขาดดุลกับต่างประเทศได้ ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว สหรัฐฯ ต้องเอาทองคำไปจ่ายหนี้
ในเวลานั้นมีหลายประเทศต้องการเอาดอลลาร์ไปขึ้นทองคำกับธนาคารกลางสหรัฐฯ เพราะว่าสหรัฐฯ มีการขาดดุลจากการใช้จ่ายงบประมาณในด้านสวัสดิการ กับสงครามเวียดนาม แต่สหรัฐฯ ไม่เต็มใจที่จะให้ไถ่ถอนเป็นทองคำ เพราะว่าต้องการพิมพ์ดอลลาร์ไปจ่ายหนี้
การจ่ายหนี้ด้วยดอลลาร์คือการใช้เครดิตของดอลลาร์จ่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักการ เพราะว่าสหรัฐฯ สามารถพิมพ์ดอลลาร์หรือสร้างดอลลาร์เครดิตออกมามากเท่าใดก็ได้ เพื่อสนองการใช้จ่ายที่เกินตัว ดอลลาร์เป็นเงินตรา แต่ไม่ใช่เงินที่แท้จริง ต่างกับทองคำที่เป็นเงินที่แท้จริง
ถ้าจะว่าไปแล้ว เดอ โกลต้องการให้โลกกลับไปสู่ระบบมาตรฐานทองคำที่เคร่งครัด โดยที่ประเทศที่ขาดดุลการชำระเงินต้องชำระด้วยทองคำ แทนที่จะพิมพ์เงินกระดาษออกมาชำระหนี้ และต้องหาทางลดค่าเงินของตัวเอง เพื่อลดการนำเข้า และเพิ่มการส่งออกจะได้รักษาทองคำสำรองที่เหลือได้ หรือมีเงินซื้อทองเข้ามาตุนใหม่
ท่าทีที่แข็งกร้าวของเดอ โกลต่อสหรัฐฯ และจุดยืนที่หนักแน่นในระบบการเงินที่มีมาตรฐานทองคำเป็นเสาหลักให้สหรัฐฯ มีความไม่พอใจมาก ถึงกลับต้องหาทางกำจัด
ในเดือนพฤษภาคมปี 1968 เป็นช่วงเวลาแห่งความไม่สงบเกิดขึ้นทั่วฝรั่งเศส เหตุการณ์นี้ดำเนินไปเป็นเวลา 7 สัปดาห์ และคั่นด้วยการเดินขบวน การนัดหยุดงานทั่วไป และการบุกยึดครองมหาวิทยาลัยและโรงงาน เมื่อถึงจุดวิกฤตสุด ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อ พฤษภาคม 68 เศรษฐกิจของฝรั่งเศสหยุดชะงัก
การประท้วงถึงจุดที่ทำให้ผู้นำทางการเมืองกลัวว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองหรือการปฏิวัติ รัฐบาลยุติการทำงานชั่วคราวหลังจากประธานาธิบดีชาร์ล เดอ โกล แอบหนีจากฝรั่งเศสไปยังเยอรมันตะวันตก
จับตาดูเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่นายพลเดอ โกลต้องถูกรัฐประหารเงียบเมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว เนื่องจากมีจุดยืนทางการเมือง และนโยบายการเงินที่ต่อต้านสหรัฐฯ จะกลับซ้ำรอยกับนายมาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนปัจจุบันหรือไม่ ที่ต้องการนำพาฝรั่งเศสออกจากนาโต หรืออิทธิพลของสหรัฐฯ โดยต้องการให้ยุโรปสร้างกองทัพของยุโรปเอง ให้ยุโรปมียุทธศาสตร์ที่ปกครองตัวเองได้ ให้มีมหาอำนาจหลายขั้ว และที่สำคัญไม่ต้องการให้ดอลลาร์มีอิทธิพลมากเกินไปในระบบการเงินโลก
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เคยทำนายเมื่อประมาณ 40 ปีมาแล้วว่า หากฝรั่งเศสถูกโจมตี จะเป็นการจุดชนวนสงครามโลกครั้งที่ 3