วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564
จดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ เป็นเอกสารทางวิชาการซึ่งได้มีข้อเท็จจริงเกิดขึ้นจริง ทําให้ทราบ ได้ว่ากฎหมายและการใช้บังคับกฎหมายล้มละลายนั้นมีผลกระทบต่อระบบความมั่นคงในความยุติธรรม ของชาติ อันมีผลต่อเนื่องกับความมั่นคงในระบบเศรษฐกิจและความมั่นคงในทรัพยากรมนุษย์ของ ประเทศอย่างร้ายแรง เอกสารนี้มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ที่ต้องรับผิดชอบหาทางแก้ไขมิให้เกิดความล่มสลาย ของประเทศในระบบความยุติธรรม เศรษฐกิจ สังคม และสิทธิมนุษยชน เป็นกฎหมายที่ละเมิดต่อ ภูมิคุ้มกันในอํานาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ขัดต่อระบบประชาธิปไตย เป็นกฎหมายที่ขัดต่อ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ( ICESCR ) ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ในทางการเมือง ( ICCPR) และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กรณีปัญหาที่เกิดขึ้น
1.ศาลล้มละลายหมดสภาพการเป็นศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ เจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ทําหน้าที่เป็นศาลล้มละลายในกรมบังคับคดี เป็นศาลในฝ่ายบริหารตามพ.ร.บ.ล้มละลาย
2. “ เจ้าหนี้มีประกัน ” ที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ บัญญัติให้รวมถึง “เจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือ ว่าเป็นเจ้าหนี้ประกัน” นั้น ขัดต่อหลักกฎหมายล้มละลาย เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อให้คน ล้มละลาย ทําลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและทรัพยากรมนุษย์ ขัดต่อ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต และเข้าหลักเกณฑ์เป็นกฎหมายฟอกเงินจาก ทรัพย์สินของภาคประชาชน
3. “บริษัทบริหารสินทรัพย์” ที่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ไม่ใช่ เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 และไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ 4 บริษัทบริหารสินทรัพย์” เป็นเจ้าหนี้ หรือเป็นเจ้าหนี้มีประกันของ ลูกหนี้ บริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่มีอํานาจฟ้องให้ล้มละลาย หรือขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย เพราะการรับโอนสิทธิมาจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้เดิม
“กองทุนรวม” ที่ตั้งขึ้นตามประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลัก ทรัพย์ และลงนามแทนบริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายของปรส. ก็ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ที่ กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 และไม่มี กฎหมายบัญญัติให้ “ กองทุนรวม” เป็นเจ้าหนี้หรือเป็นเจ้าหนี้มีประกันของลูกหนี้ กองทุนรวมไม่มี อํานาจฟ้องล้มละลายหรือขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายได้ และไม่มีอํานาจร้องขอสวมสิทธิเป็น เจ้าหนี้ต่อศาลได้ เพราะการไปลงนามในสัญญาซื้อขายแทนบริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขาย ทรัพย์ของ ปรส.
ข้อ 1. พระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายสารบัญญัติ (Substantive Law ) ที่ขัดต่อหลักการปกครองประเทศในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ในเรื่องการแบ่งแยกอํานาจการปกครองเป็นสามอํานาจ ( Separation of Powers ) คือ อํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร และอํานาจตุลาการ เพราะเป็นกฎหมายที่ตัดอํานาจการพิจารณา พิพากษาคดีหรือมีคําสั่งของศาลล้มละลาย ซึ่งเป็นผู้ใช้อํานาจตุลาการไปให้เป็นอํานาจของเจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานในฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้อํานาจตุลาการ และขัดต่อ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 มาตรา 3 วรรคหนึ่ง และมาตรา 188 ซึ่งใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 5 ด้วยเหตุผล คือ
1.1 เดิมเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือเป็นเจ้าพนักงานศาล ต่อมาพระราชบัญญัติ ล้มละลาย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 มาตรา 3 ได้บัญญัติยกเลิกกฎหมายที่บัญญัติว่าเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์นั้นให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาลเสีย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นเจ้าพนักงาน สังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานหรือเป็นเจ้าหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่ เป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการหรือถือว่าเป็นเจ้าพนักงานศาลที่จะมีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาคดี ล้มละลายตามบทนิยามตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ได้อีกต่อไป
แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2558 ก็ได้มีการออกพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 มีผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําหน้าที่เป็นศาลล้มละลาย โดยมีอํานาจในการพิจารณาและมี คําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้แทนการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้เสนอคําขอรับชําระหนี้ต่อ ศาล ตรวจคําขอรับชําระหนี้ทําการสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วส่งสํานวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชําระหนี้ นั้นต่อศาล เพื่อให้ศาลทําการพิจารณาและมีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ โดยอ้างว่าการดําเนินการโดยศาลล้มละลายนั้นทําให้กระบวนพิจารณาคดีคําขอรับชําระหนี้มีหลายขั้นตอน สมควรลดขั้นตอนโดย ออกกฎหมายใช้บังคับ โดยกําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดําเนินการเป็นเสมือนศาล ล้มละลายเสียเอง โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจในการพิจารณาและมีคําสั่งเกี่ยวกับคํา ขอรับชําระหนี้แทนศาลล้มละลาย โดยให้ยกเลิกความในมาตรา 105 และมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งศาลล้มละลายมีอํานาจในการพิจารณาและมีคําสั่งคํา ขอรับชําระหนี้ให้มาเป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และได้ยกเลิกอํานาจการพิจารณา และมีคําพิพากษา ในมาตรา 107 ซึ่งเป็นอํานาจหน้าที่ของศาลทิ้งไปทั้งหมด
การแก้ไขมาตรา 106 และการยกเลิกมาตรา 107 จึงเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ตัด อํานาจศาลไม่ให้มีอํานาจและหน้าที่พิจารณาและมีคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ทั้งในกรณีที่มีผู้โต้แย้ง และไม่มีผู้โต้แย้งเสียทั้งหมดทั้งสิ้น โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ใช้อํานาจศาลล้มละลาย แทนศาลล้มละลาย
ทั้งยังได้แก้ไขมาตรา 108 ซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําหน้าที่ เป็นศาลล้มละลายได้นั้น ยังเป็นกฎหมายที่ให้อํานาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใช้อํานาจเป็นศาล มากกว่าอํานาจเดิมของศาลล้มละลายเสียอีก โดยคําขอรับชําระหนี้ที่เป็นคําสั่งของศาลล้มละลายนั้น ถ้าปรากฏว่าสั่งไปโดยผิดหลงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจตรวจสอบคําสั่งศาลและขอให้ศาลมี คําสั่งใหม่ได้ แต่การเป็นศาลล้มละลายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกรมบังคับคดีที่ได้สั่งคําขอรับ ชําระหนี้โดยสั่งอนุญาตแล้วนั้น ถ้าปรากฏว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งโดยผิดหลง เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยกคําร้องขอรับชําระหนี้หรือลดจํานวนหนี้ที่ได้มีคําสั่งอนุญาตไปแล้วได้ด้วยอํานาจใน ตัวเองของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ [ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ] และผลของการแก้ไขมาตรา 108 เป็นการตัดอํานาจการตรวจสอบของศาลล้มละลายกลาง ( Judicial Review ) ตามระบอบประชาธิปไตยที่จะต้องดุลและคานอํานาจซึ่งกันและกัน (Check and Balance Power ) โดยศาลล้มละลายในสังกัดศาลยุติธรรมไม่มีอํานาจตรวจสอบหรือมี อํานาจสั่งการเกี่ยวกับการขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดําเนินการและมี คําสั่งใดๆได้เลย นอกจากจะเห็นชอบด้วยเท่านั้น
และได้มีการแก้ไขกฎหมาย มาตรา 139 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมมีอํานาจ แต่งตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีอํานาจถอดถอนและกําหนดคุณสมบัติของเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ผู้มีอํานาจออกคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้ได้
การเป็นผู้พิพากษาหรือตุลาการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งเป็นศาลล้มละลายในกรม บังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานของฝ่ายบริหารนั้น จึงไม่ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ พิพากษาหรือตุลาการศาลล้มละลายในสังกัดสํานักงานศาลยุติธรรม โดยรัฐมนตรีจะแต่งตั้งผู้ที่ชื่นชอบ มาเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งทําหน้าที่เป็นศาลในสังกัดหน่วยงานของฝ่ายบริหารได้ โดยไม่ต้อง ได้รับการโปรดเกล้าฯให้เป็นผู้พิพากษาเช่นเดียวกับผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม
เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายสารบัญญัติเปลี่ยนอํานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็น ผู้ใช้อํานาจบริหารคดี (Case Administration ) ให้กลายมาเป็นผู้มีอํานาจเป็นศาลพิจารณาชี้ขาด และมีคําสั่งในคดีล้มละลายได้นั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 จึงเป็นกฎหมาย ที่มีผลทําให้เกิดมีศาลล้มละลายในกรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม โดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่รัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งทําหน้าที่เป็นผู้พิพากษาในศาลล้มละลาย
การแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย โดยศาลล้มละลายไม่ต้องทําหน้าที่เพราะหมดอํานาจ หน้าที่เนื่องจากกฎหมายมาตรา 107 ได้ถูกยกเลิกไปแล้วนั้น กรณีจึงเป็นกฎหมายให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์กรมบังคับคดีทําหน้าที่เป็นศาลล้มละลาย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้พิพากษา พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้ และชี้ขาดตัดสินคดีเกี่ยวกับสิทธิ และหน้าที่ของลูกหนี้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องทําการสอบสวนเพื่อพิสูจน์สิทธิของความ เป็นเจ้าหนี้ได้ ( Proof of Creditor's Claim )
พระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 จึงเป็นกฎหมายที่ใช้เป็นเครื่องมือของ การทุจริตโดยใช้กระบวนการยุติธรรมที่ให้อํานาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําหน้าที่เป็นศาลในฝ่าย บริหาร และให้ศาลล้มละลายทําหน้าที่เป็นเพียงตรายาง รับรองการดําเนินการของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ เพื่อให้เห็นว่าการพิจารณาและมีคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นคําสั่งของ ศาลล้มละลายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ซึ่งไม่มีอํานาจตามกฎหมายใดๆให้กระทําได้ และขัดต่อระบอบประชาธิปไตยในเรื่องการแบ่งแยกอํานาจเป็นสามอํานาจ กรณีเป็นกฎหมายที่ใช้ ทําลายสิทธิของพลเมืองซึ่งเป็นทรัพยากรมนุษย์ ( National Resources ) อันเป็นทรัพยากรอัน สําคัญของประเทศให้หมดสภาพของความเป็นมนุษย์ด้วยการเป็นบุคคลล้มละลายเพราะไม่อาจ ประกอบอาชีพ ทํามาหากิน ประกอบกิจการใดๆเพื่อการหาเลี้ยงชีพและครอบครัวต่อไปได้ เป็น กฎหมายที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนและทําลายระบบเศรษฐกิจของคนในชาติ
1.2 สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ตามหลักรัฐธรรมนูญและหลักการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย ลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยต้องมีเขตอํานาจศาลทุกคน ( Court Jurisdiction ) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ( Fundamental Rights ) เพราะเป็นเรื่องที่ เกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่า บุคคลนั้นจะต้องใช้สิทธิทางศาล หรือถูกบังคับใช้สิทธิในทางศาลก็ตาม ซึ่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้บัญญัติให้สิทธิไว้ แต่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายที่ตัดสิทธิของพลเมืองในเรื่องเขตอํานาจศาล ( Court Jurisdiction ) ทั้งเขต พื้นที่ ( Territorial Jurisdiction ) และเขตอํานาจการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลล้มละลาย ( Competent Jurisdiction )
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8 ) พ.ศ. 2558 จึงเป็นกฎหมายที่ละเมิดต่อสิทธิขั้น พื้นฐานของพลเมือง เพราะไม่อาจใช้สิทธิทางศาลล้มละลายอันเป็นศาลยุติธรรมได้ในคดีล้มละลาย และเป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลัก “ ความคุ้มกันแห่งอํานาจอธิปไตย” (Sovereign Immunity ) ที่ อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560 ) มาตรา 3 วรรคแรกบัญญัติว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาล ไม่ใช่ทรงใช้อํานาจตุลาการทางฝ่ายบริหารได้แต่ อย่างใดไม่ กรณีจึงเป็นกฎหมายที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นกฎหมายที่กําจัดตัดสิทธิและ เสรีภาพในทรัพย์สินของพลเมืองของชาติ ที่พลเมืองในชาติต้องชําระหนี้และต้องล้มละลาย โดยไม่ มีการพิจารณาคดีโดยศาลล้มละลายซึ่งเป็นศาลยุติธรรม คําพิพากษาให้ล้มละลายของศาลเป็นคํา พิพากษาที่ “ ไม่มีการพิจารณาคดีของศาลล้มละลาย”
1.3 พระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถ ดําเนินการได้แต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องทําต่อหน้าคู่ความ ไม่ต้องรับฟังข้อเท็จจริงหรือจะรับฟังข้อเท็จจริง จากฝ่ายใดก็ได้ จะรับฟังหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงเพียงใดขึ้นอยู่กับความพอใจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ ทรัพย์ซึ่งเป็นผู้ชี้ขาดให้ลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ให้ต้องชําระหนี้หรือให้ล้มละลายได้ เพราะ เพียงมีการอ้างสิทธิการเป็นเจ้าหนี้มาขอรับชําระหนี้หรือเข้ามาดําเนินการในการประนอมหนี้เท่านั้น โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องดําเนินการให้มีการพิสูจน์สิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ ได้ และไม่มีการพิสูจน์สิทธิของลูกหนี้ว่าเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้จริงหรือไม่ เป็นกฎหมายที่ออกใช้ บังคับให้คนล้มละลายโดยไม่ต้องพิสูจน์สิทธิของเจ้าหนี้และพิสูจน์สิทธิในความเป็นลูกหนี้ ( Proof of Creditor's Claim ) แต่อย่างใด การล้มละลายของบุคคลและนิติบุคคลจึงมิได้ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของ “ความยุติธรรมและความเสมอภาค” ( Fair and Equitable ) แต่อย่างใดทั้งสิ้น พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 จึงเป็นกฎหมายที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย และขัดต่อกติการะหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรม [ International Covenant on Economic , Social and Cultural Rights ( ICESCR) ] เป็นกฎหมายที่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน
1.4 เมื่อมีการตั้งศาลล้มละลายในกรมบังคับคดีโดยการตราพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2558 โดยยกเลิกอํานาจการพิจารณาและมีคําสั่งของศาลล้มละลายเกี่ยวกับการขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้หรือการประนอมหนี้มาให้เป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แทนอํานาจศาลล้มละลายนั้น มีผลเป็นกฎหมายที่ยกเลิกการคุ้มครองซึ่งสิทธิ เสรีภาพ และสถานะภาพของลูกหนี้ในคดี ล้มละลายโดยสิ้นเชิง ลูกหนี้จะเป็นลูกหนี้ที่จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดซึ่งเป็นลูกหนี้ที่จะต้องถูก พิพากษาให้ล้มละลายได้จริงหรือไม่ ไม่มีศาลยุติธรรมที่จะคุ้มครองและปกป้องสิทธิให้ได้ เป็น กฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อให้ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วให้ล้มละลายได้โดยง่าย ทุกราย จึงมีบุคคลล้มละลายเป็นจํานวนมากในช่วงเวลาที่ผ่านมากว่า 20 ปี จนปัจจุบัน และ ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดในจํานวนหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กําหนดให้ ลูกหนี้ชําระหนี้กับเจ้าหนี้ทุกราย ซึ่งก็อยู่ในอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะดําเนินการให้ เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคําสั่งให้ลูกหนี้ชําระหนี้
กรมบังคับคดีและศาลล้มละลาย ( ศาลยุติธรรม ) ก็ได้ใช้วิธีการทาง “ ธุรการ ” โดยทํา เป็นหนังสือกรมบังคับคดี ถึงผู้พิพากษาศาลล้มละลาย ให้มีคําสั่งให้ลูกหนี้ชําระให้แก่เจ้าหนี้ ตามที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทําการพิจารณาและมีคําสั่งให้ไว้แล้ว อันเป็นการดําเนินการระหว่าง กรมบังคับคดีและศาลล้มละลายโดยลําพัง โดยคู่ความซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่มีโอกาสได้ทราบเรื่องดังกล่าว เพราะไม่มีการแจ้งให้คู่ความทราบล่วงหน้า ไม่มีการพิจารณาสอบถามหรือตรวจสอบโดยศาล ล้มละลายแต่อย่างใด แต่ศาลล้มละลายก็ได้มีคําสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้หรือมีคําพิพากษาให้ ลูกหนี้ล้มละลายตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งเรื่องให้ โดยไม่ได้มีการพิจารณาคดีในศาล ล้มละลายเพื่อพิสูจน์สิทธิการเป็นเจ้าหนี้และการเป็นลูกหนี้กัน และไม่ได้มีการพิสูจน์การมีหนี้สิน ล้นพ้นตัวของลูกหนี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้พิจารณาและมีคําสั่ง โดยศาลล้มละลายทําหน้าที่ไปรับรองการ พิจารณาคดีและมีคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อให้การพิจารณาและคําสั่งของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์นั้นมีสถานะเป็นคําพิพากษาของศาลล้มละลายในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์เท่านั้น ซึ่งไม่อาจกระทําได้
1.5 พระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับ ในช่วงเวลาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้เข้ายึดและควบคุมอํานาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( ฉบับชั่วคราว ) พุทธศักราช 2557 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จึงถือเป็นกฎหมายแดนสนธยาที่ออกใช้บังคับ (TWILIGHT OF THE ACT) กฎหมายที่ออกใช้บังคับในระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะไม่ปกตินั้น จึงเป็นกฎหมายที่ใช้เป็นเครื่องมือของความอยุติธรรมได้โดยง่าย โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่พิสูจน์สิทธิของความเป็นเจ้าหนี้ และไม่ พิสูจน์สิทธิของลูกหนี้เมื่อลูกหนี้คัดค้านการขอรับชําระหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถ บิดเบือนการตีความและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดผลที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายใดก็ได้ จะ ดําเนินการโดยจะรับฟังหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริง หรือ คําคัดค้านใดๆของลูกหนี้หรือไม่ก็ได้ เพราะ ศาลล้มละลาย ( ศาลยุติธรรม ) หมดอํานาจในการพิจารณาและมีคําสั่งเกี่ยวกับการขอรับชําระหนี้ ของเจ้าหนี้ไปหมดแล้ว โดยกฎหมายให้เป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไปแล้ว และ ยกเลิกอํานาจศาลที่มีอยู่ตามมาตรา 105 , 106 และ 107 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไปแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2558 มาตรา 8 มาตรา 9
ข้อ 2. บทนิยามคําว่า “ เจ้าหนี้มีประกัน ” ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2561 มาตรา 3 โดยบัญญัติ ว่า “ เจ้าหนี้มีประกัน ” หมายความว่า เจ้าหนี้มี “ สิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในการจํานอง จํานําหรือสิทธิยึดเหนี่ยวหรือ เจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับให้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานองรวมถึงเจ้าหนี้ ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ” อันเป็นการออกกฎหมายใช้บังคับให้สิทธิบุคคลภายนอก ซึ่งไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้มีประกันให้มาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยกฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้
โดยที่ไม่มีกฎหมายที่ออกใช้บังคับโดยอํานาจนิติบัญญัติกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการของการเป็นเจ้า หนี้มีประกันที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเป็นอย่างไร กรณีเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ เพื่อทําลายนิติกรรมสัญญาระหว่างเจ้าหนี้มีประกันกับลูกหนี้ให้สิ้นสุดลง ( Law Impairing The Obligation of Contracts ) เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อให้บุคคลล้มละลาย เพราะลูกหนี้ซึ่ง เป็นคู่สัญญาไม่สามารถชําระหนี้ได้ และเป็นบุคคลล้มละลายเพราะมีหนี้สินล้นพ้นตัว ( Insolvency or bankruptcy Law ) เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวให้ผู้อื่นมาเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิม ทําให้ ภาระหน้าที่ตามนิติกรรมหรือสัญญาของเจ้าหนี้มีประกันเดิมนั้นสิ้นสุดลง และหลุดพ้นจากภาระ หน้าที่ที่เจ้าหนี้มีประกันเดิมต้องปฏิบัติตามสัญญากับลูกหนี้ และเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันที่เข้ามาแทนที่เจ้าหนี้มีประกันเดิม โดยไม่ต้องรับภาระหน้าที่ตามนิติกรรมหรือ สัญญาของเจ้าหนี้มีประกันเดิมแต่อย่างใด แต่กลับได้รับสิทธิที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มี ประกันนั้น มีสิทธิในเสรีภาพ ในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของลูกหนี้ในการจํานอง จํานํา หรือ สิทธิยึดหน่วง หรือเป็นเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา
กรณีจึงเป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อทําลายสัญญาของคู่สัญญาที่มีเจตนามีนิติสัมพันธ์ ในทางแพ่ง (Law Impairing The Obligation of Contracts ) ซึ่งไม่อาจกระทําได้ เพราะ ขัดต่อหลักปรัชญาทางกฎหมายและการปกครองของจอห์น ล็อก ( John Locks ) ว่า “ รัฐจะออก กฎหมายใช้บังคับเพื่อทําลายเจตนาของคู่สัญญาในทางแพ่งไม่ได้ รัฐบาลจะต้องคุ้มครองสิทธิใน ทรัพย์สินของบุคคลซึ่งเป็นสิ่งที่จะโอนให้ใครไม่ได้ และต้องปกป้องสิทธิเสรีภาพของบุคคลให้พ้น จากอํานาจทางการเมือง โดยรัฐบาลจะเข้าไปก้าวก่ายสิทธิ เสรีภาพส่วนบุคคลเกินกว่าที่ประชาชน ได้ยอมสละไปแล้วไม่ได้ ”
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับ ย่อมก่อให้เกิดการ ทุจริต โดยบริษัทหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นนั้น สามารถสมคบกัน สวมรอยมาเป็นเจ้าหนี้ในคดี ล้มละลายและอ้างสิทธิมาขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ โดยไม่ต้อง สอบสวนสิทธิการเป็นเจ้าหนี้ เพียงอ้างสิทธิที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันมาขอรับชําระ หนี้โดยปฏิบัติตามวิธีการมาขอรับชําระหนี้ในเวลาที่กฎหมายกําหนด ก็ได้สิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามพระราช บัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 มาตรา 3 และการอ้างสิทธิเป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2561 เป็นการให้สิทธิ บุคคลภายนอกเข้ามามีสิทธิเป็นเจ้าหนี้มีประกันในหนี้มากกว่าสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันเดิม เพราะ นิติกรรมหรือสัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่มีประกันเดิม มีหนี้หรือนิติกรรมสัญญาอันเป็น การกู้ยืมหรือการให้สินเชื่อเพื่อการลงทุนประกอบธุรกิจ การมีหนี้โดยการให้ทรัพย์สินเป็นหลัก ประกันในนิติกรรมสัญญากับเจ้าหนี้มีประกันจึงเป็นสัญญาทางเศรษฐกิจที่เป็นการลงทุน เป็น สัญญาการลงทุนที่เป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งคู่สัญญามีสิทธิและหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อกันในระหว่างที่ นิติกรรมหรือสัญญานั้นยังมีผลและยังไม่สิ้นสุดลง เป็นสัญญาที่มีการให้สินเชื่อและมีหนี้อันเป็นหนี้ซึ่ง เป็นการกระทําที่ต้องปฏิบัติต่อกัน จะออกกฎหมายมาใช้บังคับโดยให้มีบุคคลอื่นเข้ามาเป็นเจ้าหนี้ อื่นโดยถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้น ไม่อาจกระทําได้โดยเด็ดขาด เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับ เพื่อทําลายระบบเศรษฐกิจของประชาชนและของประเทศชาติ ทําลายทรัพยากรมนุษย์และ สถาบันครอบครัวของภาคประชาชน เพราะเป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อให้บุคคลหรือนิติบุคคล ล้มละลายเพราะมีผลตัดความสัมพันธ์ของคู่สัญญาในทางแพ่ง ( Law Impairing the obligation of Contracts ) ทําให้ลูกหนี้ไม่สามารถดําเนินธุรกิจ เพื่อการดํารงชีพตามนิติกรรมหรือสัญญา ที่ต้องอาศัยเงินทุนที่มีกับเจ้าหนี้มีประกันเดิมได้อีกต่อไป
เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อให้คนล้มละลายไม่ใช่เพราะเหตุที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือไม่ สามารถชําระหนี้ได้แต่อย่างใดไม่ แต่ต้องล้มละลายเพราะถูก “ มัดมือชก ” โดยหมดสภาพการ ประกอบธุรกิจหรืออาชีพที่ดําเนินอยู่นั้นได้ หมดข้อต่อสู้ตามกฎหมายที่มีอยู่กับเจ้าหนี้มีประกัน เดิม และอยู่ในภาระจํายอมโดยไม่มีทางต่อสู้ เพราะเจ้าหนี้มีประกันได้หลุดพ้นจากไปจากนิติกรรม หรือสัญญานั้นไปแล้ว กรณีจึงเป็นกฎหมายที่มีการบังคับใช้โดยขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนตามหลัก สิทธิมนุษยชนและตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม [ International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights ( ICESCR) ] ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีและมีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2542
ผลของการใช้บังคับกฎหมายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 มาตรา 3 ดังกล่าว จึงมีความอํามหิต โหดเหี้ยม ยิ่งกว่าการทํานาบนหลังคนเสียอีก เป็นการหารายได้และ กําไรโดยไม่ต้องมีการลงทุนใดๆ เพียงแต่เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ( Placement ) อันมิใช่เป็นการแปลง หนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น เป็นกฎหมาย ที่เปิดช่องให้เกิดการสมคบกันเป็นกระบวนการของการทุจริตซึ่งเป็นกระบวนการทางอาชญากรรม ( Proceeds of Crime ) ของการฟอกเงิน ( Money Laundering ) โดยการสมคบกันตัดนิติ สัมพันธ์ทางกฎหมายกับคู่สัญญาเดิม แล้วยินยอมให้นิติบุคคลหรือองค์กรอื่นเข้าแทนที่ในนิติกรรมหรือสัญญานั้น เป็นการสมคบกันกระทําการเพื่อแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินและกิจการหรือ ธุรกิจในทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันของคู่สัญญาได้
เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับเพื่อใช้เป็นข้ออ้างของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และของศาล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ( Public official ) ในกระบวนการยุติธรรม ที่ไม่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ เป็นไปตามกฎหมาย โดยไม่ต้องคํานึงถึงสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของความเป็นเจ้าหนี้และ ลูกหนี้จะมีต่อกันหรือไม่ อย่างไร เพียงแต่อ้างว่า “เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มี ประกัน” เพียงเท่านี้ ก็สามารถตัดสินคดีได้ตามอําเภอใจ
ในช่วงเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศ ซึ่งฝ่ายบริหารได้ขอออกกฎหมายมาใช้บังคับ โดย อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 มาตรา 218 เพื่อใช้บังคับกับประชาชน คือ พระราชกําหนดบริษัท บริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และได้มีการใช้พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 โดย ผิดกฎหมายตลอดมา เพราะพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ฯไม่ได้มีพระบรมราชโองการฯ ยกเว้นการคุ้มครองซึ่งสิทธิและเสรีภาพในทรัพย์สินของประชาชนไว้ ในบริบทของพระราชกําหนดฯ บริษัทบริหารสินทรัพย์จึงไม่มีอํานาจหรือมีสิทธิที่จะใช้สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ โดยจะอ้างว่าเป็น เจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้เลย ทั้งเมื่อเหตุวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศได้ ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ยังคงมี “บริษัทบริหารสินทรัพย์” เกิดขึ้น โดยนายทุนในประเทศและนายทุน นอกประเทศด้วยเงินลงทุนจดทะเบียนเพียงเล็กน้อย เพื่อจดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ก็มี สิทธิที่จะเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ และใช้สิทธิที่จะดําเนินการโดยผิดกฎหมายเช่นเดียวกันกับใน ช่วงเวลาเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และซ้ําร้ายยิ่งกว่านั้นเมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับ ที่ 10 ) พ.ศ. 2561 ก็เป็นการเปิดช่องทางให้การกระทําที่ผิดกฎหมายโดยเจ้าพนักงานของรัฐนั้น นํามาใช้อ้างเพื่อให้พ้นจากการกระทําที่ผิดกฎหมายที่ได้กระทําไปแล้วได้ และใช้อ้างเพื่อเป็นเกราะ คุ้มกันการกระทําที่ผิดกฎหมายของเจ้าพนักงานของรัฐที่กระทําขึ้นอีกได้ตลอดไป และมีผลไป รับรองการกระทําความผิดกฎหมายที่ได้กระทําอยู่แล้วนั้นให้กระทําได้ตลอดไป เพราะลูกหนี้และผู้ ได้รับความเดือดร้อนเสียหายถูก “ปิดปาก” ด้วยบทนิยามของมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2561 โดยอ้างสิทธิว่า เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ มีประกัน เท่านั้น ก็สามารถใช้สิทธิบังคับชําระหนี้ด้วยการฟ้องล้มละลายลูกหนี้ หรือเข้ามาขอรับ ชําระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีสิทธิยึดทรัพย์ ทําลาย เศรษฐกิจฐานราก ทําลายทรัพยากรมนุษย์ของประเทศชาติได้ กรณีจึงซึ่งไม่มีหนทางใดที่ประชาชนจะช่วยเหลือตนเองได้นอกจากจะต้องพึ่งบารมีของพณฯท่านที่ได้กราบเรียนในข้างต้น ดําเนินการเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนและสังคมต่อไปด้วย
ข้อ 3. ในช่วงปี 2541 มีปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นจํานวนมากทําให้เป็นอุปสรรค ต่อการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือนต่อความสามารถในการให้สินเชื่อในภาค เศรษฐกิจของสถาบันการเงิน ฝ่ายบริหารจึงได้ออกพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ใช้บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้น โดยให้แยกสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ออกมาแล้วขายหรือโอนให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อบริหารสินทรัพย์นั้นต่อไป การโอนสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินเจ้าหนี้มีประกันเดิมไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามพระราช กําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์นั้น ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้มีประกันหรือเป็นเจ้าหนี้ ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับบริษัทบริหารสินทรัพย์แต่อย่างใด และโดยบริบท ( Preamble ) ของพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ไม่ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ใช้พระราชกําหนดฯโดยละเมิดต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของปัจเจกบุคคล ไม่ได้ บริษัทบริหารสินทรัพย์จะรับโอนหนี้จากสถาบันการเงินใด เพื่อใช้สิทธิเป็นเจ้าหนี้แทน สถาบันการเงินเดิมไม่ได้
การรับโอนหนี้จากสถาบันการเงินเป็นการกระทําที่ขัดต่อพระราชกําหนดบริษัทบริหารสิน ทรัพย์ฯ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์จะใช้สิทธิในการเป็นเจ้าหนี้มีประกันในสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือ สิทธิอันเกิดขึ้นจากการค้ำประกัน ( การค้ำประกันด้วยบุคคล ) ไม่ได้เลย เพราะการค้ำประกันด้วย บุคคลซึ่งเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นทรัพย์สิน และมนุษย์ไม่ใช่เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงิน ที่จะถูกประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรของฝ่ายบริหารให้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ที่จะจําหน่ายจ่ายโอนให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่ได้เลย ไม่ว่าในกรณีใด เพราะเป็นการกระทําที่ขัด ต่อรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของ ประชาชนไว้ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 4 มาตรา 28 มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 48 มาตรา 50 และมาตรา 87 แห่งรัฐธรรมนูญอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
กรณีเช่นเดียวกับ “กองทุนรวม” ที่ได้ตั้งขึ้นโดยประกาศคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ที่ กน. 15/2541 และ กน.16/2541 นั้น กองทุนรวมก็ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ที่ กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้ เพราะกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นกองทุนรวมที่ตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์จะให้เป็นผู้ลงนามในสัญญาขายกับ ปรส. แทนบริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จาก การขายของ ปรส. เพื่อช่วยให้บริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายของ ปรส. ไม่ต้องเสียภาษีทุก ประเภท กองทุนรวมที่ไปลงนามแทนบริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายของ ปรส. กองทุนรวมจึง ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ. 2561 เพราะผู้ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการขายของ ปรส. ก็ไม่มีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้คนใด ได้เลย เพราะขัดต่อบริบท ( Preamble ) ของพระราชกําหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ที่ออกใช้บังคับ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้มีพระบรมราชโองการให้สิทธิผู้ ประมูลซื้อทรัพย์ได้จาก ปรส. มีสิทธิเหนือสิทธิและเสรีภาพในทรัพย์สินของประชาชน หรือมาเป็น เจ้าหนี้กับประชาชนได้เลย และก็ไม่ได้มีพระบรมราชโองการ ยกเว้นสิทธิและเสรีภาพในทรัพย์สิน ของประชาชนตามมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 48 มาตรา 50 และมาตรา 87 ที่รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้บัญญัติคุ้มครองไว้ บริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้จากการ ขายของ ปรส. และกองทุนรวมซึ่งไปลงนามในสัญญาขายกับ ปรส. แทนบริษัทที่ประมูลซื้อทรัพย์ได้ จึงไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันได้แต่อย่างใด
การบิดเบือนและฉ้อฉลการบังคับใช้กฎหมายหรือการร่วมกันบิดเบือนและฉ้อฉลการบังคับ ใช้กฎหมาย ย่อมเป็นการกระทําที่เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ (Abused of Power ) และ/หรือ เป็นการทุจริตในการใช้อํานาจหน้าที่ ( Corruption in Practice ) ซึ่งเมื่อเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของ องค์กรของรัฐ หรือองค์กรของภาคเอกชน การกระทําดังกล่าวจึง ขัดต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่า ด้วยการต่อต้านการทุจริต ( United Nations Convention Against Corruption , 2003) ขัดต่อ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม [ International Covenant on Economic , Social and Cultural Rights ( ICESCR) ] ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง [ International Covenant on Civil and Political Rights ( ICCPR) ] เป็นการกระทําที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยและตามหลักสากล ตามกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และเป็นการกระทําที่เข้าข่ายเป็นการฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน พ.ศ.2542
ด้วยเหตุผลดังที่ได้กราบเรียนเป็นลําดับมาข้างต้น ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ความ ทุกข์ทรมาน จากระบบของกระบวนการยุติธรรมที่ต้องเป็นบุคคลล้มละลาย หมดสภาพในศักดิ์ศรี ของความเป็นมนุษย์ หรือต้องชําระหนี้ให้กับผู้อื่นซึ่งไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ โดยการสมคบกันระหว่าง เจ้าหนี้มีประกันเดิมกับเจ้าหนี้ใหม่ โดยไม่มีการพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรม แต่ถูกพิจารณาคดี โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายบริหาร แต่ได้รับการรับรองว่าเป็นคําสั่ง หรือคําพิพากษาของศาลโดยไม่มีการพิจารณาคดีในกระบวนการตามกฎหมายโดยศาลยุติธรรม และไม่มีความเจ็บปวดใดๆเกิดขึ้นกับประชาชนมากไปกว่าการไม่ได้รับความยุติธรรมจากศาลสถิตย์ ยุติธรรมตามกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย กฎหมายและการใช้บังคับกฎหมายดังกล่าว ก่อให้เกิดความทุกข์ยากต่อการดํารงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชน เกิดความเสียหาย กับประชาชนในทุกระดับเป็นวงกว้าง และยังคงมีการดําเนินการต่อไปโดยไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ กรณีมีความร้ายแรงยิ่งกว่าเอาคนลงเป็นทาสเสียอีก เป็นกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 บ่อนทําลายทั้งระบบความยุติธรรมและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของภาคเอกชนในทุกชั้น ทุกระดับทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
และด้วยความเคารพเป็นอย่างสูง กรณีจึงมีความจําเป็นต้องกราบเรียนให้ฯพณฯท่านได้ ทราบ เพื่อได้โปรดพิจารณาและดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในแผ่นดิน ต่อไปด้วย ก็จักเป็นพระคุณกับประเทศชาติและประชาชนอย่างหาที่สุดมิได้
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(นางยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ )
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลภาษีอากรกลาง อดีตผู้พิพากษาอาวุโสในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
ย่อเรื่องในประเด็นข้อ 1
[ ศาลล้มละลายกลางหมดสภาพการเป็นศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ทําหน้าที่เป็นศาลล้มละลายในกรมบังคับคดี เป็นศาลในฝ่ายบริหารตามพ.ร.บ. ล้มละลาย ]
พระราชบัญญัติล้มละลายออกใช้บังคับตั้งแต่ปี 2483 ในปี 2558 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติ ล้มละลาย ( ฉบับที่ 8) พ.ศ.2558 ซึ่งเดิมอํานาจการพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคําสั่งให้เจ้าหนี้ในคดี ล้มละลายได้รับชําระหนี้ หรือในกรณีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่เจ้าหนี้ไม่เห็นชอบในการขอประนอม หนี้ของลูกหนี้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือเจ้าหนี้ไม่ลงมติประการใด หรือไม่มี เจ้าหนี้ไปประชุม หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายจากการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนั้น เป็นอํานาจหน้าที่ของศาล ล้มละลาย โดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นเจ้าพนักงานศาล โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มี อํานาจหน้าที่ดําเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตั้งแต่เริ่มคดีจนถึงคดีสิ้นสุดในฐานะเป็นเจ้าพนัก งานศาล ตามบทนิยามคําว่า “ กระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ” ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นเจ้าพนักงานศาล การดําเนินกระบวน พิจารณาคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีที่จะต้องถูก “ ควบคุม และตรวจสอบโดยอํานาจศาล ” ( Judicial Review ) กรณีจึงถือได้ว่าการดําเนินกระบวนพิจารณา คดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นเจ้าพนักงานศาลนั้น เป็นการดําเนินกระบวนพิจารณาคดีโดยศาลล้มละลาย แต่เมื่อมีการแยกศาลออกจากกระทรวง ยุติธรรมตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 โดยบัญญัติให้มีสํานักงาน ศาลยุติธรรมเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระ มีฐานะเป็นนิติบุคคล เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 ศาลยุติธรรมจึงแยกจากกระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดี
เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2543 มาตรา 3 โดยให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 139 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานศาลเสียแล้ว เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานศาลอีกต่อไป โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นเจ้าพนักงาน ในกรมบังคับคดี สังกัดกระทรวงยุติธรรม เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นเจ้าพนักงานของฝ่ายบริหาร ไม่ใช่เป็นเจ้าพนักงานศาลที่จะมีอํานาจดําเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายได้ตามบทนิยามตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้อีกต่อไป แต่ไม่ได้มีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องอํานาจใน การดําเนินกระบวนพิจารณาคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแต่อย่างใด ทั้งๆที่เจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช่เป็นเจ้าพนักงานศาลแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นเจ้า พนักงานศาลแล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กลับมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินกระบวนพิจารณาคดี ล้มละลายได้ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
และต่อมาในปี 2558 ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 8) พ.ศ.2558 มี ผลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทําหน้าที่เป็นศาลลล้มละลาย โดยมีอํานาจในการพิจารณาและมีคําสั่ง เกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้แทนการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้เสนอคําขอรับชําระหนี้ต่อศาล ตรวจ คําขอรับชําระหนี้ ทําการสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้ว ส่งสํานวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชําระหนี้นั้นต่อศาล เพื่อให้ศาลทําการพิจารณาและมีคําสั่งขอรับชําระหนี้นั้น เป็นการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอํานาจ ในการพิจารณาและมีคําสั่งเกี่ยวกับคําขอรับชําระหนี้แทนศาลล้มละลาย โดยการยกเลิกมาตรา 105 และมาตรา 106 แห่งพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งศาลล้มละลายมีอํานาจในการพิจารณาและมีคําสั่ง คําขอรับชําระหนี้ให้มาเป็นอํานาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และได้ยกเลิกมาตรา 107 ซึ่งเป็น อํานาจการพิจารณาและมีคําพิพากษา หรือคําสั่งของศาลในการขอรับชําระหนี้ในกรณีที่มีผู้โต้แย้ง โดย ไม่ให้ศาลมีอํานาจในการพิจารณาและมีคําพิพากษาหรือคําสั่งได้อีกต่อไป เป็นการยกเลิกมาตรา 107 ซึ่งเป็นอํานาจหน้าที่ของศาลทิ้งไปทั้งหมด และได้ให้อํานาจศาลตามมาตรา 107 ให้เป็นอํานาจของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 106 ( ที่แก้ไขใหม่ )
การยกเลิก มาตรา 107 เป็นการตัดอํานาจศาลล้มละลายไม่ให้มีอํานาจและหน้าที่พิจารณาและ มีคําสั่งคําขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลายทั้งหมด การตัดอํานาจศาลไม่ให้มีอํานาจหน้าที่ที่จะพิจารณาและ มีคําสั่งในการขอรับชําระหนี้ของเจ้าหนี้ได้นั้น เป็นการตัดอํานาจศาลในการพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิและ หน้าที่ของเจ้าหนี้และของลูกหนี้ว่า เจ้าหนี้นั้นเป็นเจ้าหนี้ตามกฎหมายของลูกหนี้หรือไม่ เป็น กฎหมายที่ยกเลิกการคุ้มครองซึ่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้น เชิง โดยการตัดอํานาจการพิจารณาและมีคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาลล้มละลาย โดยไม่ได้ให้ศาล ล้มละลายทําหน้าที่เป็นศาลพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลาย และให้อํานาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทําหน้าที่พิจารณาและมีคําสั่งคดีล้มละลาย โดยเป็นศาลที่อยู่ในอาณัติหรือในสังกัดของกระทรวง ยุติธรรมซึ่งเป็นฝ่ายบริหารซึ่งขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่อํานาจบริหาร อํานาจ ตุลาการ และอํานาจนิติบัญญัติ ต้องแยกต่างหากจากกัน ( Seperation of Power ) โดยต้อง ตรวจสอบ ดุล และคานอํานาจซึ่งกันและกัน ( Check and Balance Power ) และขัดต่อ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจตุลาการทางศาล ไม่ใช่เป็นอํานาจ ตุลาการฝ่ายบริหาร เป็นกฎหมายที่ตัดอํานาจศาลไม่ให้ใช้อํานาจตุลาการ แต่ให้เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ใช้อํานาจตุลาการแทนศาล ( Delegation of Power ) ซึ่งไม่อาจกระทําได้โดย เด็ดขาด และไม่มีกฎหมายใดหรือกฎหมายวิธีพิจารณาคดีใดที่ให้อํานาจเจ้าพนักงานพิทักษาทรัพย์มี อํานาจที่จะพิจารณาถึงสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ของเจ้าหนี้ได้แต่อย่างใดไม่ การที่เจ้าหนี้อ้างสิทธิการ เป็นเจ้าหนี้มาขอรับชําระหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องถือว่าเป็นเจ้าหนี้ที่จะต้อง ได้รับชําระหนี้ทุกราย เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีอํานาจตามกฎหมายหรือตามกฎหมายวิธี พิจารณาคดีใดๆที่จะพิจารณาถึงสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้ที่มาขอรับชําระหนี้ได้ นอกจากจะพิจารณาใน เรื่องจํานวนหนี้ที่เจ้าหนี้มาขอรับชําระหนี้ไว้เท่านั้น กรณีเช่นเดียวกับการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่ ลูกหนี้ขอประนอมหนี้กับเจ้าหนี้ เมื่อลูกหนี้อ้างสิทธิในการขอประนอมหนี้ว่าเจ้าหนี้ที่มาขอรับชําระ หนี้ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีอํานาจตามกฎหมายที่จะพิจารณาและ มีคําสั่งได้ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้หรือไม่มีสิทธิมาอ้างเป็นเจ้าหนี้ได้แต่อย่างใดไม่ โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องถือว่าเจ้าหนี้ที่มาขอรับชําระหนี้และเข้ามาประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนั้นเป็น เจ้าหนี้ทุกรายตามคํากล่าวอ้างของผู้อ้างว่าเป็นเจ้าหนี้
การมีคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้หรือการที่เจ้าหนี้ไม่ยอม ประนอมหนี้และเจ้าหนี้ต้องการให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องส่งเรื่องที่เจ้าหนี้ ขอรับชําระหนี้เพื่อให้ศาลมีคําสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องส่งเรื่องที่ เจ้าหนี้ต้องการให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อศาลล้มละลาย การที่ศาลล้มละลายมีคําสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชําระ หนี้ ก็เป็นการสั่งตามคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งเรื่องให้ศาลมีคําสั่ง หรือการที่ศาล ล้มละลายมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก็เป็นการที่ศาลล้มละลายมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ตามที่เจ้าหนี้มีความประสงค์ให้ลูกหนี้ล้มละลาย โดยคําสั่งของศาลที่ให้เจ้าหนี้ได้รับชําระหนี้ก็เป็น คําสั่งเห็นชอบตามคําสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในทํานองเดียวกับคําพิพากษาศาลที่พิพากษา ให้ลูกหนี้ล้มละลาย ก็เป็นคําพิพากษาที่เจ้าหนี้ต้องการให้ลูกหนี้ล้มละลาย โดยเจ้าหนี้ขอให้ลูกหนี้ ล้มละลายหรือเจ้าหนี้ไม่ลงมติในการขอประนอมหนี้ หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบจาก เจ้าหนี้ โดยกฎหมายได้บัญญัติให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 61 การที่ศาลมีคําสั่งให้ลูกหนี้ชําระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ เป็นการที่ศาลมีคําสั่งตามคําสั่งของเจ้า พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยไม่มีการพิจารณาคดีของศาล และการที่ศาลมีคําพิพากษาให้ลูกหนี้ ล้มละลายก็เป็นการที่ศาลพิพากษาคดีให้ล้มละลายตามความประสงค์ของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์โดยไม่มีการพิจารณาคดีจากศาล และกระบวนการที่เจ้าหนี้ขอรับชําระหนี้ก็ดี หรือการที่ เจ้าหนี้ต้องการให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ดี จะไม่มีการพิจารณาคดีในปัญหาว่าเจ้าหนี้ที่อ้างสิทธิเป็นเจ้าหนี้ นั้นเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้จริงหรือไม่
การที่ลูกหนี้ถูกพิพากษาให้ล้มละลายก็มี หรือการที่ลูกหนี้ถูกคําสั่งให้ชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ ในคดีล้มละลายก็ดี จึงไม่มีการพิจารณาคดีโดยศาลล้มละลาย ( Judicial Trial ) ตามหลักการตาม กฎหมาย ( Rule of Law ) และตามหลักการของกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย (Procedure Due Process of Law ) แต่อย่างใดทั้งสิ้น
ย่อเรื่องในประเด็นข้อ 2 , 3
ในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 นั้น สถาบันการเงินในประเทศมีปัญหามีสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพเป็นจํานวนมาก ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน และกระทบกระเทือน ต่อความสามารถในการให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจของสถาบันการเงิน รัฐบาลได้เข้าช่วยเหลือเพื่อให้ สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจของสถาบันการเงินโดยไม่ต้องเพิ่มทุนของสถาบัน การเงิน โดยให้แยกสินทรัพย์ด้อยคุณภาพออกมาแล้วขายหรือโอนให้กับนิติบุคคลอื่นเพื่อบริหารสิน ทรัพย์นั้นต่อไป โดยนิติบุคคลดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านค่าธรรมเนียมและภาษีบรรดาที่ เกิดขึ้นจากการขายหรือการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินมาให้นิติบุคคล รวมทั้งสิทธิประโยชน์ อื่นๆที่นิติบุคคลนั้นได้รับ และเป็นกรณีฉุกเฉินมีความจําเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในอันที่จะ รักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้มีการออกพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ใช้บังคับ เพื่อตั้งนิติบุคคลนั้น เป็น “ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ” พระราชกําหนดบริษัท บริหารสินทรัพย์มีผลใช้บังคับในวันที่ 24 สิงหาคม 2541 โดยกําหนดให้การบริหารสินทรัพย์ในการ รับโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกัน อย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือ สิทธิอันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ให้หลักประกันนั้นตก แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย สิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดขึ้นจากการค้ำประกัน เช่น การประกันด้วยบุคคล หรือ การค้ำประกันด้วยบุคคลจึงไม่ตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพราะบุคคล ผู้ค้ำประกันเป็นมนุษย์ไม่ใช่เป็นทาสหรือเป็นทรัพย์สินที่จะถูกตีให้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จะโอน ไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้บังคับกับบุคคลผู้ค้ำประกันหรือการค้ำประกันด้วยบุคคลนั้นไม่ได้ โดยบริษัทบริหารสินทรัพย์ไม่มีอํานาจ หรือมีสิทธิที่จะใช้อํานาจตามพระราชกําหนดบริษัทบริหาร สินทรัพย์บังคับเอากับทรัพย์สินที่เป็นสิทธิจํานอง สิทธิจํานํา หรือสิทธิอันเกิดการค้ำประกันด้วย บุคคล หรือการประกันด้วยบุคคลไม่ได้เลย ( ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชกําหนด บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ประกอบกับหมายเหตุท้ายพระราชกําหนดดังกล่าว ) ทั้งการออก พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มาใช้บังคับ ก็ไม่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ ใช้พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์โดยละเมิดต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติคุ้มครองไว้ได้แต่อย่างใดไม่ แต่ได้มีพระบรมราชโองการให้ ใช้พระราชกําหนดฯเพื่อประโยชน์อันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ ( พ.ศ. 2540 ) มาตรา 218 เท่านั้น ดังนั้น “บริษัทบริหารสินทรัพย์” จึงไม่มีอํานาจและไม่มีสิทธิตามกฎหมายและตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยที่จะอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าหนี้จํานอง เจ้าหนี้จํานํา หรือเป็นเจ้าหนี้กับบุคคลผู้ ค้ําประกันอันเกิดจากการค้ําประกันด้วยบุคคลไม่ได้เลย
พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 เป็นกฎหมายที่ออกใช้บังคับโดยละเมิด ต่อสิทธิ เสรีภาพในชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนซึ่งเป็นภาคเอกชนไม่ได้ เพราะ ไม่ได้มีพระบรมราชโองการฯประกาศไว้ในบริบทของกฎหมายที่จะยกเว้นให้ใช้พระราชกําหนดโดย ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลที่รัฐธรรมนูญบัญญัติคุ้มครองไว้ได้ การออกพระราช กําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ใช้บังคับ จึงไม่จําเป็นต้องมีกําหนดเวลาการใช้บังคับ พระราชกําหนดฯไว้ เพราะเมื่อหมดความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทาง เศรษฐกิจของประเทศที่จะต้องให้ “ บริษัทบริหารสินทรัพย์” รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจาก สถาบันการเงิน เพราะสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มทุนของสถาบันการเงิน ทําให้สถาบันการเงินหมดความสามารถในการให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจของสถาบันการเงินใน ช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจนั้น ได้หมดไปแล้ว การบังคับใช้พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ก็หมดสภาพการบังคับใช้ไปในตัว โดยจะนําพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
แต่ได้มีการกระทําอันเป็นการร่วมกันทุจริต บิดเบือนและฉ้อฉลที่จะใช้พระราชกําหนดบริษัท บริหารสินทรัพย์มาบังคับใช้โดยทุจริต เพื่อที่จะเอาเปรียบแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินของภาค เอกชนที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ําประกันการกู้ยืม หรือการขอสินเชื่อเพื่อประกอบธุรกิจของภาคเอกชน ทั้งๆที่กฎหมายไม่เปิดช่องให้กระทําได้ โดยสมคบกันให้มีการโอนนิติกรรมสัญญาที่ภาคเอกชนทํากับ สถาบันการเงินให้กับ “ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ” อันมิใช่กรณีมีปัญหาสถาบันการเงินมีสินทรัพย์ด้อย คุณภาพเป็นจํานวนมากที่กระทบกระเทือนต่อความสามารถในการให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจของ สถาบันการเงินอีกต่อไปแล้ว การสมคบกันทุจริต ฉ้อฉลทําการโอนและการรับโอนซึ่งนิติกรรมสัญญา
ของภาคเอกชนโดยอาศัยอํานาจตามพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ภายหลังเวลาที่เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจในปี 2540 ได้ผ่านพ้นหมดสิ้นไปแล้วนั้น กรณีจึงเป็นการร่วมกันกระทําการอันเป็น กระบวนการของการทุจริตเพื่อการยักยอก ฉ้อโกง ซึ่งทรัพย์สินและสิทธิในทรัพย์สินของภาค เอกชนที่ภาคเอกชนใช้เป็นหลักประกันการชําระหนี้ในนิติกรรมสัญญาที่เอกชนทํากับสถาบันการ เงินเพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์บังคับชําระหนี้ของภาคเอกชนและจากทรัพย์สินของภาคเอกชน กรณีจึงเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อให้คนล้มละลาย เพราะเป็นกฎหมายที่ทําลายนิติกรรม สัญญาที่ภาคเอกชนทํากับสถาบันการเงินให้สิ้นสุดลง และเป็นกฎหมายให้มีการกระทําเพื่อการ ยักยอก ฉ้อโกง ซึ่งสินทรัพย์ของภาคเอกชนโดยการบังคับชําระหนี้ ด้วยวิธีการที่อ้างว่าเป็น สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ อันเป็นการอ้างเหตุของ “ สินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ” ที่ได้เกิดขึ้นในช่วง วิกฤติเศรษฐกิจ (ในปี 2540) มาใช้ในเวลาที่เหตุวิกฤติเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นไปแล้ว และสถาบัน การเงินไม่ได้มีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเป็นจํานวนมากอันเป็นอุปสรรต่อการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินที่ จะกระทบกระเทือนต่อความสามารถในการให้สินเชื่อในภาคเศรษฐกิจของสถาบันการเงินแต่อย่างใด ไม่ ทั้งไม่ใช่เป็นกรณีที่เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้นที่จะเหลืออยู่ในสถาบันการเงินเพื่อที่จะนํามา บริหารหรือจําหน่าย จ่าย โอน ต่อไป แต่อย่างใดเลย เพราะได้ล่วงพ้นเวลาที่ได้เกิดวิกฤติ เศรษฐกิจไปเป็นเวลานานแล้ว การกระทําดังกล่าวจึงขัดต่อพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราช กําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541, พ.ศ.2550 เพราะไม่มีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบัน การเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตลอดจนหลักประกันของสินทรัพย์นั้นเหลืออยู่ในสถาบัน การเงินที่จะต้องให้บริษัทบริหารสินทรัพย์มาบริหาร หรือ จําหน่าย จ่าย โอน โดยการรับซื้อ รับโอน หรือรับจ้างบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพนั้นต่อไปอีกแล้ว
ทั้งพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม พระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 , พ.ศ. 2550 ก็ไม่ได้มีพระบรมราชโองการฯให้ ใช้พระราชกําหนดฯ และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดฯ ที่จะให้บริษัทบริหาร
สินทรัพย์ใช้สิทธิโดยละเมิดต่อสิทธิ และเสรีภาพใน ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนได้ เลย โดยกฎหมายไม่ได้ให้สิทธิ “ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ” มามีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ในนิติกรรม สัญญาที่ภาคเอกชนทํากับธนาคารหรือสถาบันการเงินได้แต่อย่างใดไม่
การฉ้อฉลหรือการบิดเบือนในการใช้กฎหมายมาบังคับกับภาคเอกชน เพื่อให้ได้มาซึ่ง ทรัพย์สินหรือสิทธิในทรัพย์สินของภาคเอกชนที่ทํานิติกรรมสัญญากับธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยการโอนและการรับโอนนิติกรรมสัญญาโดยอ้างว่าเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเมื่อพ้นเวลาที่เกิด วิกฤติเศรษฐกิจไปแล้วนั้น การกระทําดังกล่าวขัดต่อวัตถุประสงค์ของการออกพระราชกําหนดฯ และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกําหนดฯมาใช้บังคับ กรณีจึงเข้าข่ายเป็นความผิดมูล ฐานในความผิดฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน มาตรา 3 (4) (5) (18) และทรัพย์สินที่ “ บริษัทบริหารสินทรัพย์สินทรัพย์ ” ได้ไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะได้ด้วยคําพิพากษา หรือ คําสั่งของศาลหรือไม่ ก็จะเป็น “ ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทํา ความผิด” อันเป็นความผิดมูลฐานในความผิดฐานฟอกเงินตามมาตรา 3 วรรคห้า ซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิในทรัพย์สินนั้นไม่อาจโอนไปเป็นของบุคคลใดได้ทั้งสิ้น และบุคคลซึ่งเป็นกรรมการ เจ้าหน้าที่ เจ้าพนักงาน ข้าราชการ ไม่ว่าในตําแหน่งใด ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่ง กรรมสิทธิ์หรือสิทธิในทรัพย์สิน ก็จะเป็นผู้ร่วมกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน ตามมาตรา 10 และมาตรา 11 ด้วย เพราะความผิดฐานฟอกเงินเป็น ความผิดที่ต้องใช้มาตรการของ “ การป้องกันการฟอกเงิน ” ( Preventive Measure ) มา เป็นมาตรฐานหรือเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทั้งของภาครัฐและของภาคเจ ของเจ้าพนักงานของรัฐ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตข้อบัญญัติที่ 14 [ United Nations Convention Against Corruption, 2003 (Article 14 )] bay ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาสหประชาชาติดังกล่าวแล้ว
การออกพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาใช้บังคับ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ 5 บริษัทบริหารสินทรัพย์” มาเป็นเจ้าหนี้ในหนี้ของภาคเอกชนหรือมาเป็นเจ้าหนี้ใน นิติกรรมสัญญาที่ภาคเอกชนทํากับสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดําเนินกิจการ เลิก หรือ ถูกเพิกถอน ใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน หรือ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ แต่อย่างใด แต่ได้มีการบังคับใช้พระราชกําหนดฯโดยตีความการบังคับใช้ให้ผิดไปจากกฎหมายมาตรา 6 โดยการตีความการบังคับใช้กฎหมายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นเจ้าหนี้ในสิทธิจํานอง สิทธิจำนำ และสิทธิ อันเกิดขึ้นแต่การค้ำประกัน ( การค้ำประกันด้วยบุคคล ) ได้ ซึ่งการตีความการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวขัดต่อบริบทของพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ไม่ได้มีพระบรมราชโองการให้บริษัทบริหารสินทรัพย์มีสิทธิเป็นเจ้าหนี้กับภาคเอกชนที่ทําสัญญากับสถาบันการเงินได้เลย
ต่อมาได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 ซึ่งได้แก้ไขเพื่อ ยกเลิกบทนิยามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6 คําว่า “ เจ้าหนี้มีประกัน” แล้ว กําหนดบทนิยามขึ้นใหม่ให้ “ เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของ ลูกหนีในการจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับ ผู้รับจํานอง รวมถึงเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ” โดยเพิ่มสิทธิให้บุคคลภาย นอกมาเป็นเจ้าหนี้มีประกัน เพราะเป็น “ เจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน” โดย ไม่ปรากฏว่ากฎหมายอื่นที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเป็นกฎหมายใด เพราะไม่ปรากฏชื่อ ของกฎหมายใดในบัญชีท้ายพระราชบัญญัติล้มละลาย ( ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 ที่ให้ถือว่าเป็น เจ้าหนี้มีประกันบัญญัติไว้ เมื่อไม่ปรากฎรายชื่อของกฎหมายฉบับใดที่ให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน แล้ว การบังคับใช้กฎหมายหรือผู้บังคับใช้กฎหมายจะมาอนุมานว่า “ บริษัทบริหารสินทรัพย์ ” เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้ เพราะขัดต่อหลักการออกกฎหมายมา ใช้บังคับกับประชาชน และขัดกับบริบทของพระราชกําหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ฯที่ไม่ได้มีพระบรมราชโองการฯให้บริษัทบริหารสินทรัพย์มามีสิทธิเป็นเจ้าหนี้ของภาคเอกชนได้ พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 10 ) พ.ศ.2561 ที่บัญญัติให้ “ เจ้าหนี้มีประกันรวมถึงเจ้าหนี้ที่ กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน ” นั้น จะนํามาใช้บังคับกับประชาชนไม่ได้และไม่มีผล ซึ่งเป็นโมฆะ ใช้บังคับกับประชาชนหรือลูกหนี้คนใดได้ เป็นบทนิยาม (Definition ) ที่กว้าง (Void for Vagueness ) และใช้บังคับไม่ได้ ตามทฤษฎีของกฎหมายที่ใช้บังคับกับประชาชน ( Vagueness Doctrine ) โดยจะใช้บทนิยามของกฎหมายมาตีความว่าเป็นสิทธิของบริษัท บริหารสินทรัพย์ว่าเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นเจ้าหนี้ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันไม่ได้