"คมนาคม" ยันไม่เห็นด้วย กทม.ขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสีเขียว ชี้ราคา 65 บาท สูงเกินต้นทุนจริง เตรียมสรุปความเห็นเสนอเลขาฯ ครม. หลังกทม. ยังไม่ยอมส่งรายละเอียดให้ ด้านมูลนิธิผู้บริโภคจับตา “บิ๊กป๊อก”ลักไก่ชงต่อสัมปทาน บีทีเอส เข้าครม.
รายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกรณีการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากสิ้นสุดสัญญาปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปี หรือจนถึงปี 2602 โดยกำหนดค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ก.คมนาคม ทำหนังสือถึงกทม.ขอรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องค่าโดยสาร แต่กทม.ระบุว่าไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากเป็นความลับ และล่าสุดช่วงกลางเดือนเม.ย.64 ทาง กทม.ได้มีหนังสือตอบมาอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีรายละเอียดใดๆเช่นเดิม
ดังนั้นในสัปดาห์หน้า กระทรวงคมนาคม จะทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) นำเสนอความเห็นไปตามหลักการ และเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริง โดยคมนาคมไม่เห็นด้วย กับอัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาทตามที่ กทม.เสนอ และจะทำหนังสือถึงกทม.แจ้งให้ทราบว่าเอกสารที่กทม.ส่งมานั้น ยังไม่มีรายละเอียดตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการ และขอไป
ทั้งนี้ ก.คมนาคม ยังคงยืนยันการคิดอัตราค่าโดยสาร โดยใช้ฐานการคำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI (Consumer Price Index ) เป็นแบบ Non- Food and Beverage ขณะที่ข้อมูล กทม.และบีทีเอส นั้น ใช้ All CPI ที่มีการนำต้นทุนอาหาร และเครื่องดื่ม ระหว่างการเดินทางมาคิดคำนวณด้วย ทำให้อัตราค่าโดยสารที่ 65 บาท ยังคงสูงเกินไป
ขณะที่มีการระบุว่า การใช้ ALL CPI คำนวนจะมีค่าต่างจาก CPI Non- Food and Beverage ประมาณ 2 บาท ต่อ Transection ในระยะ 20 ปี นั้นหากคำนวนว่า มีผู้โดยสารเดินทาง 700,000 Transectionต่อวัน ส่วนต่าง 2 บาท จะเท่ากับ1.4 ล้านบาทต่อวัน หรือปีละกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตผู้โดยสารจะต้องเพิ่มมากขึ้นไปอีก ส่วนต่างจึงมีมูลค่ามหาศาล โดย ก.คมนาคม ยังเห็นว่า อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาทนั้น ไม่เป็นธรรมต่อผู้มีรายได้น้อย และควรกำหนดให้ต่ำกว่านี้ โดยควรมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารโซนในเมือง และโซนจากชานเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน เช่น กำหนดค่าโดยสารในเมืองเป็นแบบปลายเปิด ส่วนชานเมือง กำหนดเป็นปลายปิดที่ มีเพดานขั้นสูงเพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย
จับตาชงต่อสัมปทาน บีทีเอสเข้าครม.1 มิ.ย.
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ได้รับแจ้งว่า การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน เสนอครม.ให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยกทม. ยืนยันใช้ราคาค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นราคาที่สูง ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงต้นทุน และสูงกว่ารายได้ขั้นต่ำต่อวันของประชาชน ถึง 39.25 % ซึ่ง กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค และหลายๆฝ่าย ได้แสดงความเห็นคัดค้านไปแล้ว และการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ล่วงหน้าของกทม.ยังขาดความโปร่งใส ไม่มีการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนที่รอบด้าน หากครม. พิจารณาต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวล่วงหน้า จะเป็นการสร้างวิกฤตใหม่ ซ้ำเติมประชาชน ที่ต้องประสบปัญหาโควิด-19 อยู่ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคนกทม.ไปอีกอย่างน้อย 30 ปี
ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลรายงานประจำปีของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)โดย รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรมศาสตร์ พบว่าสายสีเขียว มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวเพียง 19.10 บาท, 16.30 บาท และ 13.50 บาท ในปีพ.ศ. 2562, 2561 และ 2560 ตามลำดับ มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะกำหนดอัตราราคาค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสาย ต่อเที่ยว หากไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้า
หรือหากพิจารณารายได้ของบริษัท ในการต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้าที่กำหนดรายได้ของบริษัทไว้เพียง 30,000 ล้านบาท ต่อปีในระยะเวลา 30 ปี ขณะที่รายได้จริงของบริษัทในปี 2562 สูงถึง 39,931 ล้านบาท เป็นการคำนวณรายได้ของบริษัทที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ อาจจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนหรือไม่
หากพิจารณาค่าโดยสารของก.คมนาคม ที่ให้ความเห็นต่อครม.สูงสุดเพียง 49.83 บาทตลอดสาย จะทำให้สายสีเขียวนี้ มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท จนถึง ปี2602 สามารถหากลดราคา ลง50% หรือที่ 25 บาท กทม.ก็ยังคงมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดสัมปทานปี 2602
จึงขอเสนอให้ครม.คงราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว 44 บาทตลอดสาย ตามสิทธิของบริษัทในสัญญา จนถึงปี2572 โดยมีการจัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น15 บาท ทั้งสัมปทานเดิมส่วนต่อขยายเดิม และส่วนต่อขยายใหม่ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการขนส่งมวลชน
รายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้ประชุมร่วมกับผู้เกี่ยวข้องกรณีการขยายสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ให้กับ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จากสิ้นสุดสัญญาปี 2572 ต่อไปอีก 30 ปี หรือจนถึงปี 2602 โดยกำหนดค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ ก.คมนาคม ทำหนังสือถึงกทม.ขอรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องค่าโดยสาร แต่กทม.ระบุว่าไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากเป็นความลับ และล่าสุดช่วงกลางเดือนเม.ย.64 ทาง กทม.ได้มีหนังสือตอบมาอีกครั้ง แต่ก็ไม่มีรายละเอียดใดๆเช่นเดิม
ดังนั้นในสัปดาห์หน้า กระทรวงคมนาคม จะทำหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) นำเสนอความเห็นไปตามหลักการ และเหตุผลที่เป็นข้อเท็จจริง โดยคมนาคมไม่เห็นด้วย กับอัตราค่าโดยสารตลอดสายไม่เกิน 65 บาทตามที่ กทม.เสนอ และจะทำหนังสือถึงกทม.แจ้งให้ทราบว่าเอกสารที่กทม.ส่งมานั้น ยังไม่มีรายละเอียดตามที่กระทรวงคมนาคมต้องการ และขอไป
ทั้งนี้ ก.คมนาคม ยังคงยืนยันการคิดอัตราค่าโดยสาร โดยใช้ฐานการคำนวณจากดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI (Consumer Price Index ) เป็นแบบ Non- Food and Beverage ขณะที่ข้อมูล กทม.และบีทีเอส นั้น ใช้ All CPI ที่มีการนำต้นทุนอาหาร และเครื่องดื่ม ระหว่างการเดินทางมาคิดคำนวณด้วย ทำให้อัตราค่าโดยสารที่ 65 บาท ยังคงสูงเกินไป
ขณะที่มีการระบุว่า การใช้ ALL CPI คำนวนจะมีค่าต่างจาก CPI Non- Food and Beverage ประมาณ 2 บาท ต่อ Transection ในระยะ 20 ปี นั้นหากคำนวนว่า มีผู้โดยสารเดินทาง 700,000 Transectionต่อวัน ส่วนต่าง 2 บาท จะเท่ากับ1.4 ล้านบาทต่อวัน หรือปีละกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งในอนาคตผู้โดยสารจะต้องเพิ่มมากขึ้นไปอีก ส่วนต่างจึงมีมูลค่ามหาศาล โดย ก.คมนาคม ยังเห็นว่า อัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาทนั้น ไม่เป็นธรรมต่อผู้มีรายได้น้อย และควรกำหนดให้ต่ำกว่านี้ โดยควรมีการกำหนดอัตราค่าโดยสารโซนในเมือง และโซนจากชานเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ของประชาชน เช่น กำหนดค่าโดยสารในเมืองเป็นแบบปลายเปิด ส่วนชานเมือง กำหนดเป็นปลายปิดที่ มีเพดานขั้นสูงเพื่อช่วยผู้มีรายได้น้อย
จับตาชงต่อสัมปทาน บีทีเอสเข้าครม.1 มิ.ย.
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่า ได้รับแจ้งว่า การต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะถูกบรรจุเข้าเป็นวาระเร่งด่วน เสนอครม.ให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ โดยกทม. ยืนยันใช้ราคาค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ซึ่งเป็นราคาที่สูง ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงต้นทุน และสูงกว่ารายได้ขั้นต่ำต่อวันของประชาชน ถึง 39.25 % ซึ่ง กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค และหลายๆฝ่าย ได้แสดงความเห็นคัดค้านไปแล้ว และการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ล่วงหน้าของกทม.ยังขาดความโปร่งใส ไม่มีการรับฟังความเห็นของทุกภาคส่วนที่รอบด้าน หากครม. พิจารณาต่อสัญญาสัมปทานสายสีเขียวล่วงหน้า จะเป็นการสร้างวิกฤตใหม่ ซ้ำเติมประชาชน ที่ต้องประสบปัญหาโควิด-19 อยู่ และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของคนกทม.ไปอีกอย่างน้อย 30 ปี
ทั้งนี้ จากการศึกษาข้อมูลรายงานประจำปีของ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)โดย รศ.ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ม.ธรมศาสตร์ พบว่าสายสีเขียว มีต้นทุนค่าโดยสารต่อเที่ยวเพียง 19.10 บาท, 16.30 บาท และ 13.50 บาท ในปีพ.ศ. 2562, 2561 และ 2560 ตามลำดับ มีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลจะกำหนดอัตราราคาค่าโดยสาร 25 บาทตลอดสาย ต่อเที่ยว หากไม่มีการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวล่วงหน้า
หรือหากพิจารณารายได้ของบริษัท ในการต่อสัญญาสัมปทานล่วงหน้าที่กำหนดรายได้ของบริษัทไว้เพียง 30,000 ล้านบาท ต่อปีในระยะเวลา 30 ปี ขณะที่รายได้จริงของบริษัทในปี 2562 สูงถึง 39,931 ล้านบาท เป็นการคำนวณรายได้ของบริษัทที่ต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่ อาจจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนหรือไม่
หากพิจารณาค่าโดยสารของก.คมนาคม ที่ให้ความเห็นต่อครม.สูงสุดเพียง 49.83 บาทตลอดสาย จะทำให้สายสีเขียวนี้ มีกำไรถึง 380,200 ล้านบาท จนถึง ปี2602 สามารถหากลดราคา ลง50% หรือที่ 25 บาท กทม.ก็ยังคงมีกำไรถึง 23,200 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดสัมปทานปี 2602
จึงขอเสนอให้ครม.คงราคารถไฟฟ้าสายสีเขียว 44 บาทตลอดสาย ตามสิทธิของบริษัทในสัญญา จนถึงปี2572 โดยมีการจัดเก็บค่าโดยสารเริ่มต้น15 บาท ทั้งสัมปทานเดิมส่วนต่อขยายเดิม และส่วนต่อขยายใหม่ เพื่อให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงบริการขนส่งมวลชน