ผู้จัดการรายวัน 360 - ยอดผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 2,179 ราย ยอดสะสม 59,687 ราย ผู้เสียชีวิต 15 ราย รวม 163 ราย อาการหนักใช้ท่อช่วยหายใจ 169 ราย ศบค.จับตาคลัสเตอร์ใหม่ใน 4 จังหวัด ชงแบ่งโซน ยกระดับพื้นที่สีแดงเข้ม ครม. อนุมัติ 321 ล้าน ซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่ม 5 แสนโดส โอนอำนาจให้นายกฯ ใน 31 พ.ร.บ.เพื่อแก้ไขการระบาดโควิด "บิ๊กตู่" ลั่นกลางวง ครม. ไม่ได้ยึดอำนาจ "ศุภชัย" ชี้นายกฯ ใช้อำนาจพิเศษใน "ศบค."จัดการโควิด "อนุทิน" ตอบคำถาม 3 ประเด็นการเจรจาจัดหาซื้อวัคซีนกับไฟเซอร์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลตรวจสอบคุณภาพวัคซีนของ "สยามไบโอไซเอนซ์" 5 รุ่น ได้มาตรฐาน
วานนี้ (27 เม.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย ประจำวันที่ 27 เมษายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 2,179 ราย เป็นผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,174 ราย ต่างประเทศ 5 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 59,687 ราย เหลือที่รักษาอยู่ 25,973 ราย แบ่งเป็นในโรงพยาบาล 20,308 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 5,665 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 15 ราย ยอดสะสม 163 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนักที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจอีก 169 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวว่า กทม.พบผู้ป่วยมากที่สุดในวันที่ 24 เม.ย. ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ใหม่ต่อเนื่อง ทั้งการสัมผัสผู้ป่วยในครอบครัว สถานดูแลผู้สูงอายุ ชุมชนแออัด (คลองเตย) สำนักงานตำรวจ/ศาล ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ส่วนจ.เชียงใหม่ พบผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงสงกรานต์ ขณะนี้มีคลัสเตอร์ใหม่ และผู้ป่วยโควิดต่อเนื่องจากเรือนจำ ศูนย์เด็กเล็ก งานเลี้ยง ลานธรรม สถานบันเทิง และค่ายอาสานักศึกษา
จ.นนทบุรี ยอดผู้ติดเชื้อสูงในช่วงหลังสงกรานต์เช่นกัน จากนั้นเริ่มลดลง และขณะนี้กำลังจะขยับสูงขึ้น เชื่อมโยงจากคลัสเตอร์งานสัมมนา สถานบันเทิง ตลาด ร้านอาหาร และจ.สมุทรปราการ ปรับตัวขึ้นๆ ลงๆ แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นขาขึ้น โดยสรุปจากสถานบันเทิง การร่วมงานอีเว้นท์ต่างๆ ฟิตเนส งานสัมมนา และก็พนักงานของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง
พร้อมกันนี้ ในการประชุม ศบค. ได้รับทราบถึงพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุดต่างๆ ที่จะมีการนำเสนอเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 29 เม.ย. นี้ รวมถึงมีการหารือเรื่องเตียงผู้ป่วย ซึ่งตัวเลขการรอเตียงในวันที่ 26 เม.ย. 64 มีจำนวน 201 ราย และเข้ารับการรักษาจากการโทรเข้ามาที่สายด่วน 1668 และสายด่วน 1330 จำนวน 1,182 ราย
ศบค. ได้ชะลอให้ชาวอินเดียเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากข้อมูลทางระบาดวิทยา ส่วนผู้ที่เดินทางก่อนหน้า เป็นการขออนุญาตไว้ก่อนแล้ว และทุกคนที่เดินทางเข้ามาจะต้องเข้า SQ หรือ ASQ ทั้งหมด ไม่ได้มีการปล่อยปละละเลย
ล่าสุด รายงานการฉีดวัคซีนเพิ่ม 77,366 โดส ทำให้ยอดรวมสะสมอยู่ที่ 1,200,000 กว่าโดส โดยเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก 1,012,388 ราย
ศบค.-สธ. เสนอยกระดับพื้นที่สีแดงเข้ม
รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค.) ที่มี พล.อ.ณัฐพล นาพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ยกระดับจากสีแดงเป็นสีแดงเข้มในจังหวัดที่สถานการณ์รุนแรง ส่วนพื้นที่ควบคุม สีส้ม ให้ยกเป็นสีแดงโดยมีมาตรการเข้มข้น คือ ห้ามรับประทานอาหารในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านได้อย่างเดียว
ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้พิจารณาเสนอมาตรการต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) เพื่อพิจารณาประกาศใช้มาตรการ 14 วัน คือ
1.ปรับระดับสีจังหวัดจากเดิม 2 สีให้เพิ่มเป็น 3 พื้นที่ คือ สีแดงเข้ม ให้เป็นจังหวัดควบคุมสูงสุดเป็นกรณีพิเศษ สีแดง และสีส้มที่มีจำนวนไม่มาก เนื่องจากจังหวัดส่วนใหญ่จะให้กลายเป็นพื้นที่สีแดงเข้มและสีแดง
2.ขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปรับมาตรการในระดับจังหวัด รูปแบบทาร์เก็ตล็อกดาวน์ (Target Lock down) ซึ่งเป็นการปิดกิจการกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการรวมตัวของคนจำนวนมาก โดยทางจังหวัดจะต้องพิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
โดยคาดว่าจะมีการแบ่งสีจังหวัดตามการระบาด ดังนี้ สีแดงเข้ม มี 6 จังหวัด ได้แก่ กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, เชียงใหม่ และชลบุรี
พื้นที่สีแดง 55 จังหวัด กระบี่, กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, ชุมพร, เชียงราย, ตรัง, ตาก, นครนายก, นครปฐม, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นครสวรรค์, นราธิวาส, บุรีรัมย์, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, พัทลุง, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ภูเก็ต, มหาสารคาม, ยะลา, ร้อยเอ็ด, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, ลำปาง, ลำพูน, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สงขลา, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี
พื้นที่ควบคุม สีส้ม มี 16 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท, แพร่, พะเยา, นครพนม, ตราด, สิงห์บุรี, อ่างทอง, อุทัยธานี, แม่ฮ่องสอน, พังงา, สตูล, น่าน, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ และ บึงกาฬ
ไฟเขียว321ล้านซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่ม
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม. อนุมัติ กรอบวงเงินจำนวน 321,604,000 บาท ในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยเพิ่มเติม จำนวน 5 แสนโดส จากบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ตามแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการให้วัคซีน COVID-19 เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงวัคซีน โดยดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้
ครม.โอนอำนาจให้นายกฯคุมแก้ปัญหาโควิด
ขณะเดียวกัน ครม.ยังเห็นชอบ ร่างประกาศ เรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
(1) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (2) พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (3) พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (4) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 (5) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (6) พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 (7) พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 (8) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. 2562 (9) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (10) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (11) พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (12) พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 (13) พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (14) พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 (15) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (16) พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 (17) พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 (18) พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 (19) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (20) พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ( 21)พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 (22) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (23) พระราชบ
ัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (24) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ( 25) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 (26) พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 (27) พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (28) พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 (29) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (30) พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 และ (31) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
นายกฯ ลั่นกลางวง ครม.ไม่ได้ยึดอำนาจรมต.
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการ ครม. วานนี้ (27เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ นายกฯ ยังกล่าวถึงการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย ให้มาเป็นอำนาจของนายกฯ ในเรื่องการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 มีประสิทธิภาพนั้น ขอยืนยันว่า ตนได้ดึงอำนาจกลับมา เป็นการดึงอำนาจกลับมาชั่วคราวเท่านั้น ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ได้เป็นการยึดอำนาจ หากสถานการณ์โควิดหมด ก็จะคืนอำนาจให้เหมือนเดิม
นายอนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากประกาศดังกล่าว รัฐมนตรียังมีอำนาจอยู่ ยกเว้นบางเรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการได้ จากเดิมที่จะต้องผ่านรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่เป็นการไปยึดอำนาจจากรัฐมนตรีมาทั้งหมด แต่เป็นการเสริมอำนาจ ให้นายกฯ สั่งการได้โดยตรงมากกว่า
"ศุภชัย" ชี้นายกฯใช้อำนาจพิเศษใน "ศบค."จัดการโควิด
นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า“การประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการตั้ง ศบค. ซึ่งการใช้อํานาจพิเศษเป็นสิ่งที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ถนัดที่สุดจึงไม่แปลกที่มีการเลือกใช้อํานาจพิเศษในการจัดการกับ “โรค ระบาด” ซึ่งโครงสร้างของ ศบค. ได้ตัดการมีส่วนร่วมของภาคการเมืองออกรวมถึงได้ ตัดคณะรัฐมนตรีออกจากการทํางานใน ศบค. โดยหน่วยงานที่นั่งหัวโต๊ะกําหนดทิศทาง ของ ศบค. กลับเป็นหน่วยงานความมั่นคงนําโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติแทนที่จะเป็น สาธารณสุข เราจึงเห็นการมองโรคระบาดเป็นภัยความมั่นคง เป็นอริราชศัตรู ต่างจากการแก้ปัญหา โรคระบาดในรอบที่ผ่านๆ มาไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ประสบความ สําเร็จ”
'เสี่ยหนู'ลั่นหยุดให้ร้ายสธ. ตอบ3ประเด็นซื้อวัคซีนโควิด
จากกรณีมีการเผยแพร่คลิป รายการ “เจาะลึกทั่วไทย” โดยมีพิธีกรคือ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และ อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ ซึ่งทวีตผ่านทางทวิตเตอร์โดย นาย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี คลิปดังกล่าว เป็นคลิปที่เปิดเผยกรณี “วัคซีนไฟเซอร์” ที่ติดต่อประเทศไทยมาหลายครั้ง โดนเสนอขาย 13 ล้านโดส แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากทางรัฐบาลไทย โดยมีผู้รีทวิตมากกว่า 6.6 หมื่นครั้ง ตามที่ได้นำเสนอเป็นข่าวไปแล้วนั้น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ได้โพสต์ข้อความระบุว่า หยุดกล่าวหาเท็จ หยุดให้ร้ายกระทรวงสาธารณสุข วันนี้ ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงว่าข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเท็จ ผู้กล่าวหากระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลเท็จ มาสร้างความเสียหายให้แก่กระทรวงสาธารณ สุขสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงดังนี้
1 : Pfizer เคยเสนอขายวัคซีนให้ไทย 13 ล้าน จริงหรือไม่
@ ตัวเลข 13 ล้านเป็นตัวเลขที่ไฟเซอร์ใช้ในการนำเสนอ Head Office เพื่อเตรียมการหารือกับรัฐบาล ไม่ใช้จำนวนที่เสนอขาย ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวเกิดจากการกำหนดแผนที่รัฐบาลเคยตั้งว่าจะมีการจัดซื้อวัคซีนแบบ Bi-lateral agreement คิดเป็น 10% ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 6.7 ล้านคน (คนละ 2 โดส รวม ประมาณ 13 ล้านโดส)
2 : ไม่ต้องใช้เงินซื้อ มีวัคซีนให้ใช้ก่อนค่อยจ่ายทีหลัง
@ ไม่จริง การจัดซื้อวัคซีนของไฟเซอร์ ต้องมีการวางเงินจองตามเงื่อนไขในสัญญา และไม่มีการจัดส่งวัคซีนให้ก่อนแต่อย่างไร
3: ไฟเซอร์เสนอรัฐบาลไป 4 รอบ แต่ถูกปฏิเสธ
@ ไม่จริง ที่ผ่านมาไฟเซอร์ได้เข้านำเสนอข้อมูลผลการวิจัยในระยะต่างๆ รวมถึง ผลการใช้จริงในประเทศต่างๆ อยู่เป็นระยะ รัฐบาลไม่เคยปฏิเสธการเข้าพบผู้แทนบริษัทฯ
ที่ผ่านมาคุณลักษณะของวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ ไบโอเอนเทค อาจมีข้อจำกัดเรื่องการขนส่ง จัดเก็บ และระยะเวลาส่งมอบ
แต่ด้วยการปรับปรุงให้สามารถจัดเก็บได้สะดวกขึ้น การขยายช่วงอายุผู้สามารถรับวัคซีนได้ในกลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่ 16 ปี และอีกไม่นานในเด็กอายุ 12 รวมถึง ในอนาคต
อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการขยายกำลังการผลิตออกไป จึงทำให้ รัฐบาลให้ความสนใจ และได้เชิญผู้แทนบริษัทไฟเซอร์ในประเทศไทยเข้าหารือ ในวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งผมร่วมเป็นประธานในครั้งแรก และได้ดำเนินการสั่งจองพร้อมเข้าสู่การพิจารณาร่างเอกสารต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด
ขอความกรุณาทุกท่าน หยุดแชร์ข้อมูลเท็จ และหยุดแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองในสถานการณ์โรคระบาด และความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจผิดต่อกระทรวงสาธารณสุข และความสับสนแก่ประชาชน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์คลิปจากรายการ "เจาะลึกทั่วไทย" ระบุว่า "pfizer ไฟเซอร์ เคยเสนอขายวัคซีนให้ไทย 13 ล้านโดสในราคาพิเศษ ไม่ต้องใช้เงินซื้อ มีวัคซีนให้ใช้ก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง เสนอรัฐบาลไทยไป 4 รอบ แต่ถูกปฏิเสธ รอบที่ 4 บอร์ดใหญ่ สธ.ไม่รู้ไปสนทนาอิท่าไหน จน จนเขาไม่ติดต่อรัฐบาลไทยมาอีกเลย" ตอนนี้บอกว่าจะให้กราบก็ยอม"
ห้ามสื่อ-ช่างภาพ เข้าทำเนียบฯ 28เม.ย.-9 พ.ค.
สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของทำเนียบรัฐบาลทำงานที่บ้านหรือเวิร์คฟอร์มโฮม (wfh) ร้อยละ 95 ล่าสุด ทำเนียบรัฐบาลไม่อนุญาตให้สื่อมวลชน ช่างภาพ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-9 พ.ค. เป็นเวลา 2 สัปดาห์
ขณะเดียวกันเลขานุการกองทัพบก ได้ประสานขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเข้ามาทำข่าว และงดใช้ห้องสื่อมวลชน ภายในกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่บัดนี้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแล้วจะแจ้งให้ทราบ โดยเบื้องต้นประมาณ 2 สัปดาห์
สธ.ปรับระบบรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกทม.
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ย้ำว่า การบริหารจัดการเตียงอย่างใน กทม. มีหลายหน่วยงาน จะเห็นว่า โรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนมากสุดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อย่างจำนวนเตียงว่างจะพบสูงกว่า 1.2 หมื่นเตียง เป็น ของเอกชนกว่า 8,306 เตียง เอกชนมีความสามารถมาก แต่ที่ยังเข้าไม่ได้ เพราะต้องทยอยเอาคนไข้เข้า ไปเพื่อความปลอดภัย
นอกจากนั้น รพ.ในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณร้อยละ75-85 จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่องไอซียู ส่วนห้องอื่นๆประมาณร้อยละ 50 ซึ่งรวมรพ.สนาม และฮอสพิเทลสามารถบริหารได้
นพ.ณัฐพงษ์ ย้ำว่า โรคโควิดสามารถรักษาได้ใน รพ.ทุกระดับ แม้แต่รพ.สนาม หากอาการไม่มาก ไม่มีอาการ รักษาหายเหมือนกัน แต่หากท่านมีอาการหนัก มีความจำเป็นเป็นโรคซับซ้อน เราสามารถส่งท่านไปยัง รพ.ที่มีแพทย์เชี่ยวชาญ ซึ่งตอนนี้ในกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 7 โซนตามพื้นที่ติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม จะมีการเปิดรพ.แรกรับของกระทรวงสาธารณสุข ที่อาคารนิมิตรบุตร ภายในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะเข้ารับการรักษาได้ทั้งหมด
วัคซีนของ"สยามไบโอไซเอนซ์" 5 รุ่นได้มาตรฐาน
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในรูปแบบ viral vector จากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้นำส่งตัวอย่างวัคซีนโควิด-19 ที่ได้ดำเนินการทดลองผลิตเสมือนจริง เพื่อทดสอบความสม่ำเสมอในการผลิต จำนวน 5 รุ่นการผลิต ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ทำการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า วัคซีนทั้ง 5 รุ่น ให้ผลผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนไว้ทุกรายการทดสอบ (full tests) ทั้งการทดสอบความเป็นเอกลักษณ์ ความแรง ความปลอดภัย และการตรวจทางเคมี-ฟิสิกส์ โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของวัคซีนดังกล่าวจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองรุ่นการผลิตวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ต่อไป
วานนี้ (27 เม.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย ประจำวันที่ 27 เมษายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 2,179 ราย เป็นผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,174 ราย ต่างประเทศ 5 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 59,687 ราย เหลือที่รักษาอยู่ 25,973 ราย แบ่งเป็นในโรงพยาบาล 20,308 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 5,665 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 15 ราย ยอดสะสม 163 ราย โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนักที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจอีก 169 ราย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวว่า กทม.พบผู้ป่วยมากที่สุดในวันที่ 24 เม.ย. ส่วนใหญ่ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ใหม่ต่อเนื่อง ทั้งการสัมผัสผู้ป่วยในครอบครัว สถานดูแลผู้สูงอายุ ชุมชนแออัด (คลองเตย) สำนักงานตำรวจ/ศาล ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ส่วนจ.เชียงใหม่ พบผู้ป่วยมากที่สุดในช่วงสงกรานต์ ขณะนี้มีคลัสเตอร์ใหม่ และผู้ป่วยโควิดต่อเนื่องจากเรือนจำ ศูนย์เด็กเล็ก งานเลี้ยง ลานธรรม สถานบันเทิง และค่ายอาสานักศึกษา
จ.นนทบุรี ยอดผู้ติดเชื้อสูงในช่วงหลังสงกรานต์เช่นกัน จากนั้นเริ่มลดลง และขณะนี้กำลังจะขยับสูงขึ้น เชื่อมโยงจากคลัสเตอร์งานสัมมนา สถานบันเทิง ตลาด ร้านอาหาร และจ.สมุทรปราการ ปรับตัวขึ้นๆ ลงๆ แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะเป็นขาขึ้น โดยสรุปจากสถานบันเทิง การร่วมงานอีเว้นท์ต่างๆ ฟิตเนส งานสัมมนา และก็พนักงานของรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง
พร้อมกันนี้ ในการประชุม ศบค. ได้รับทราบถึงพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุดต่างๆ ที่จะมีการนำเสนอเข้าที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ในวันพฤหัสบดีที่ 29 เม.ย. นี้ รวมถึงมีการหารือเรื่องเตียงผู้ป่วย ซึ่งตัวเลขการรอเตียงในวันที่ 26 เม.ย. 64 มีจำนวน 201 ราย และเข้ารับการรักษาจากการโทรเข้ามาที่สายด่วน 1668 และสายด่วน 1330 จำนวน 1,182 ราย
ศบค. ได้ชะลอให้ชาวอินเดียเดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป โดยพิจารณาจากข้อมูลทางระบาดวิทยา ส่วนผู้ที่เดินทางก่อนหน้า เป็นการขออนุญาตไว้ก่อนแล้ว และทุกคนที่เดินทางเข้ามาจะต้องเข้า SQ หรือ ASQ ทั้งหมด ไม่ได้มีการปล่อยปละละเลย
ล่าสุด รายงานการฉีดวัคซีนเพิ่ม 77,366 โดส ทำให้ยอดรวมสะสมอยู่ที่ 1,200,000 กว่าโดส โดยเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก 1,012,388 ราย
ศบค.-สธ. เสนอยกระดับพื้นที่สีแดงเข้ม
รายงานข่าวจากศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศปก.ศบค.) ที่มี พล.อ.ณัฐพล นาพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นประธาน เปิดเผยว่า ที่ประชุม ศบค. ชุดใหญ่ ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ยกระดับจากสีแดงเป็นสีแดงเข้มในจังหวัดที่สถานการณ์รุนแรง ส่วนพื้นที่ควบคุม สีส้ม ให้ยกเป็นสีแดงโดยมีมาตรการเข้มข้น คือ ห้ามรับประทานอาหารในร้าน ให้ซื้อกลับบ้านได้อย่างเดียว
ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้พิจารณาเสนอมาตรการต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) เพื่อพิจารณาประกาศใช้มาตรการ 14 วัน คือ
1.ปรับระดับสีจังหวัดจากเดิม 2 สีให้เพิ่มเป็น 3 พื้นที่ คือ สีแดงเข้ม ให้เป็นจังหวัดควบคุมสูงสุดเป็นกรณีพิเศษ สีแดง และสีส้มที่มีจำนวนไม่มาก เนื่องจากจังหวัดส่วนใหญ่จะให้กลายเป็นพื้นที่สีแดงเข้มและสีแดง
2.ขอให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปรับมาตรการในระดับจังหวัด รูปแบบทาร์เก็ตล็อกดาวน์ (Target Lock down) ซึ่งเป็นการปิดกิจการกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อการรวมตัวของคนจำนวนมาก โดยทางจังหวัดจะต้องพิจารณาข้อกำหนดต่าง ๆ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
โดยคาดว่าจะมีการแบ่งสีจังหวัดตามการระบาด ดังนี้ สีแดงเข้ม มี 6 จังหวัด ได้แก่ กทม., นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, เชียงใหม่ และชลบุรี
พื้นที่สีแดง 55 จังหวัด กระบี่, กาญจนบุรี, กาฬสินธุ์, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, ชุมพร, เชียงราย, ตรัง, ตาก, นครนายก, นครปฐม, นครราชสีมา, นครศรีธรรมราช, นครสวรรค์, นราธิวาส, บุรีรัมย์, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, ปัตตานี, พระนครศรีอยุธยา, พัทลุง, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบุรี, เพชรบูรณ์, ภูเก็ต, มหาสารคาม, ยะลา, ร้อยเอ็ด, ระนอง, ระยอง, ราชบุรี, ลพบุรี, ลำปาง, ลำพูน, เลย, ศรีสะเกษ, สกลนคร, สงขลา, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สุโขทัย, สุพรรณบุรี, สุราษฎร์ธานี, สุรินทร์, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี, อุตรดิตถ์ และอุบลราชธานี
พื้นที่ควบคุม สีส้ม มี 16 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท, แพร่, พะเยา, นครพนม, ตราด, สิงห์บุรี, อ่างทอง, อุทัยธานี, แม่ฮ่องสอน, พังงา, สตูล, น่าน, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ และ บึงกาฬ
ไฟเขียว321ล้านซื้อวัคซีนซิโนแวคเพิ่ม
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมครม. อนุมัติ กรอบวงเงินจำนวน 321,604,000 บาท ในการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับบริการประชากรในประเทศไทยเพิ่มเติม จำนวน 5 แสนโดส จากบริษัท Sinovac Biotech จำกัด ตามแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการให้วัคซีน COVID-19 เพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงวัคซีน โดยดำเนินงานในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้
ครม.โอนอำนาจให้นายกฯคุมแก้ปัญหาโควิด
ขณะเดียวกัน ครม.ยังเห็นชอบ ร่างประกาศ เรื่องการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมายเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 3) ให้บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตามกฎหมาย หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวเฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือฟื้นฟู ช่วยเหลือประชาชน จำนวน 31 ฉบับ เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด -19 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
(1) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (2) พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 (3) พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (4) พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 (5) พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 (6) พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 (7) พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 (8) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไชเบอร์ พ.ศ. 2562 (9) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 (10) พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 (11) พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 (12) พระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495 (13) พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 (14) พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 (15) พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 (16) พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 (17) พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558 (18) พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 (19) พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (20) พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ( 21)พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 (22) พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 (23) พระราชบ
ัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (24) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ( 25) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 (26) พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 (27) พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 (28) พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 (29) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (30) พระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม พ.ศ. 2509 และ (31) พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
นายกฯ ลั่นกลางวง ครม.ไม่ได้ยึดอำนาจรมต.
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการ ครม. วานนี้ (27เม.ย.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ นายกฯ ยังกล่าวถึงการกำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีตามกฎหมาย ให้มาเป็นอำนาจของนายกฯ ในเรื่องการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 มีประสิทธิภาพนั้น ขอยืนยันว่า ตนได้ดึงอำนาจกลับมา เป็นการดึงอำนาจกลับมาชั่วคราวเท่านั้น ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 ไม่ได้เป็นการยึดอำนาจ หากสถานการณ์โควิดหมด ก็จะคืนอำนาจให้เหมือนเดิม
นายอนุชา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากประกาศดังกล่าว รัฐมนตรียังมีอำนาจอยู่ ยกเว้นบางเรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการได้ จากเดิมที่จะต้องผ่านรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่เป็นการไปยึดอำนาจจากรัฐมนตรีมาทั้งหมด แต่เป็นการเสริมอำนาจ ให้นายกฯ สั่งการได้โดยตรงมากกว่า
"ศุภชัย" ชี้นายกฯใช้อำนาจพิเศษใน "ศบค."จัดการโควิด
นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า“การประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินและการตั้ง ศบค. ซึ่งการใช้อํานาจพิเศษเป็นสิ่งที่นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ถนัดที่สุดจึงไม่แปลกที่มีการเลือกใช้อํานาจพิเศษในการจัดการกับ “โรค ระบาด” ซึ่งโครงสร้างของ ศบค. ได้ตัดการมีส่วนร่วมของภาคการเมืองออกรวมถึงได้ ตัดคณะรัฐมนตรีออกจากการทํางานใน ศบค. โดยหน่วยงานที่นั่งหัวโต๊ะกําหนดทิศทาง ของ ศบค. กลับเป็นหน่วยงานความมั่นคงนําโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติแทนที่จะเป็น สาธารณสุข เราจึงเห็นการมองโรคระบาดเป็นภัยความมั่นคง เป็นอริราชศัตรู ต่างจากการแก้ปัญหา โรคระบาดในรอบที่ผ่านๆ มาไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ประสบความ สําเร็จ”
'เสี่ยหนู'ลั่นหยุดให้ร้ายสธ. ตอบ3ประเด็นซื้อวัคซีนโควิด
จากกรณีมีการเผยแพร่คลิป รายการ “เจาะลึกทั่วไทย” โดยมีพิธีกรคือ ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ และ อมรรัตน์ มหิทธิรุกข์ ซึ่งทวีตผ่านทางทวิตเตอร์โดย นาย จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี คลิปดังกล่าว เป็นคลิปที่เปิดเผยกรณี “วัคซีนไฟเซอร์” ที่ติดต่อประเทศไทยมาหลายครั้ง โดนเสนอขาย 13 ล้านโดส แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากทางรัฐบาลไทย โดยมีผู้รีทวิตมากกว่า 6.6 หมื่นครั้ง ตามที่ได้นำเสนอเป็นข่าวไปแล้วนั้น
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ได้โพสต์ข้อความระบุว่า หยุดกล่าวหาเท็จ หยุดให้ร้ายกระทรวงสาธารณสุข วันนี้ ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ แถลงว่าข้อมูลทั้งหมดนี้เป็นเท็จ ผู้กล่าวหากระทรวงสาธารณสุข ใช้ข้อมูลเท็จ มาสร้างความเสียหายให้แก่กระทรวงสาธารณ สุขสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ชี้แจงดังนี้
1 : Pfizer เคยเสนอขายวัคซีนให้ไทย 13 ล้าน จริงหรือไม่
@ ตัวเลข 13 ล้านเป็นตัวเลขที่ไฟเซอร์ใช้ในการนำเสนอ Head Office เพื่อเตรียมการหารือกับรัฐบาล ไม่ใช้จำนวนที่เสนอขาย ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวเกิดจากการกำหนดแผนที่รัฐบาลเคยตั้งว่าจะมีการจัดซื้อวัคซีนแบบ Bi-lateral agreement คิดเป็น 10% ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 6.7 ล้านคน (คนละ 2 โดส รวม ประมาณ 13 ล้านโดส)
2 : ไม่ต้องใช้เงินซื้อ มีวัคซีนให้ใช้ก่อนค่อยจ่ายทีหลัง
@ ไม่จริง การจัดซื้อวัคซีนของไฟเซอร์ ต้องมีการวางเงินจองตามเงื่อนไขในสัญญา และไม่มีการจัดส่งวัคซีนให้ก่อนแต่อย่างไร
3: ไฟเซอร์เสนอรัฐบาลไป 4 รอบ แต่ถูกปฏิเสธ
@ ไม่จริง ที่ผ่านมาไฟเซอร์ได้เข้านำเสนอข้อมูลผลการวิจัยในระยะต่างๆ รวมถึง ผลการใช้จริงในประเทศต่างๆ อยู่เป็นระยะ รัฐบาลไม่เคยปฏิเสธการเข้าพบผู้แทนบริษัทฯ
ที่ผ่านมาคุณลักษณะของวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์ ไบโอเอนเทค อาจมีข้อจำกัดเรื่องการขนส่ง จัดเก็บ และระยะเวลาส่งมอบ
แต่ด้วยการปรับปรุงให้สามารถจัดเก็บได้สะดวกขึ้น การขยายช่วงอายุผู้สามารถรับวัคซีนได้ในกลุ่มเด็กเล็กตั้งแต่ 16 ปี และอีกไม่นานในเด็กอายุ 12 รวมถึง ในอนาคต
อีกทั้งบริษัทฯ ได้มีการขยายกำลังการผลิตออกไป จึงทำให้ รัฐบาลให้ความสนใจ และได้เชิญผู้แทนบริษัทไฟเซอร์ในประเทศไทยเข้าหารือ ในวันที่ 22 เม.ย. ซึ่งผมร่วมเป็นประธานในครั้งแรก และได้ดำเนินการสั่งจองพร้อมเข้าสู่การพิจารณาร่างเอกสารต่างๆ เพื่อให้สามารถส่งมอบวัคซีนให้ได้เร็วที่สุด
ขอความกรุณาทุกท่าน หยุดแชร์ข้อมูลเท็จ และหยุดแสวงหาประโยชน์ทางการเมืองในสถานการณ์โรคระบาด และความเดือดร้อนของประชาชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจผิดต่อกระทรวงสาธารณสุข และความสับสนแก่ประชาชน
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์คลิปจากรายการ "เจาะลึกทั่วไทย" ระบุว่า "pfizer ไฟเซอร์ เคยเสนอขายวัคซีนให้ไทย 13 ล้านโดสในราคาพิเศษ ไม่ต้องใช้เงินซื้อ มีวัคซีนให้ใช้ก่อน ค่อยจ่ายทีหลัง เสนอรัฐบาลไทยไป 4 รอบ แต่ถูกปฏิเสธ รอบที่ 4 บอร์ดใหญ่ สธ.ไม่รู้ไปสนทนาอิท่าไหน จน จนเขาไม่ติดต่อรัฐบาลไทยมาอีกเลย" ตอนนี้บอกว่าจะให้กราบก็ยอม"
ห้ามสื่อ-ช่างภาพ เข้าทำเนียบฯ 28เม.ย.-9 พ.ค.
สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของทำเนียบรัฐบาลทำงานที่บ้านหรือเวิร์คฟอร์มโฮม (wfh) ร้อยละ 95 ล่าสุด ทำเนียบรัฐบาลไม่อนุญาตให้สื่อมวลชน ช่างภาพ เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ที่ทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย.-9 พ.ค. เป็นเวลา 2 สัปดาห์
ขณะเดียวกันเลขานุการกองทัพบก ได้ประสานขอความร่วมมือสื่อมวลชนงดเข้ามาทำข่าว และงดใช้ห้องสื่อมวลชน ภายในกองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่บัดนี้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายแล้วจะแจ้งให้ทราบ โดยเบื้องต้นประมาณ 2 สัปดาห์
สธ.ปรับระบบรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกทม.
นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ย้ำว่า การบริหารจัดการเตียงอย่างใน กทม. มีหลายหน่วยงาน จะเห็นว่า โรงพยาบาลเอกชนมีจำนวนมากสุดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล อย่างจำนวนเตียงว่างจะพบสูงกว่า 1.2 หมื่นเตียง เป็น ของเอกชนกว่า 8,306 เตียง เอกชนมีความสามารถมาก แต่ที่ยังเข้าไม่ได้ เพราะต้องทยอยเอาคนไข้เข้า ไปเพื่อความปลอดภัย
นอกจากนั้น รพ.ในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณร้อยละ75-85 จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่องไอซียู ส่วนห้องอื่นๆประมาณร้อยละ 50 ซึ่งรวมรพ.สนาม และฮอสพิเทลสามารถบริหารได้
นพ.ณัฐพงษ์ ย้ำว่า โรคโควิดสามารถรักษาได้ใน รพ.ทุกระดับ แม้แต่รพ.สนาม หากอาการไม่มาก ไม่มีอาการ รักษาหายเหมือนกัน แต่หากท่านมีอาการหนัก มีความจำเป็นเป็นโรคซับซ้อน เราสามารถส่งท่านไปยัง รพ.ที่มีแพทย์เชี่ยวชาญ ซึ่งตอนนี้ในกรุงเทพฯ แบ่งออกเป็น 7 โซนตามพื้นที่ติดต่อกัน
อย่างไรก็ตาม จะมีการเปิดรพ.แรกรับของกระทรวงสาธารณสุข ที่อาคารนิมิตรบุตร ภายในวันที่ 29 เม.ย.นี้ ซึ่งผู้ป่วยทุกรายจะเข้ารับการรักษาได้ทั้งหมด
วัคซีนของ"สยามไบโอไซเอนซ์" 5 รุ่นได้มาตรฐาน
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า วัคซีนโควิด-19 ของบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตในรูปแบบ viral vector จากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า ได้นำส่งตัวอย่างวัคซีนโควิด-19 ที่ได้ดำเนินการทดลองผลิตเสมือนจริง เพื่อทดสอบความสม่ำเสมอในการผลิต จำนวน 5 รุ่นการผลิต ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันชีววัตถุ ทำการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า วัคซีนทั้ง 5 รุ่น ให้ผลผ่านเกณฑ์ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนไว้ทุกรายการทดสอบ (full tests) ทั้งการทดสอบความเป็นเอกลักษณ์ ความแรง ความปลอดภัย และการตรวจทางเคมี-ฟิสิกส์ โดยผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพของวัคซีนดังกล่าวจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองรุ่นการผลิตวัคซีนโควิด-19 แอสตร้าเซนเนก้า ที่ผลิตโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ต่อไป