ผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยยังพุ่งไม่หยุด พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2,438 ราย ยอดสะสม 55,460 ราย รักษาอยู่ 24,207ราย อาการหนัก 507 ราย ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ138 ราย เสียชีวิตเพิ่ม11 ราย กทม.และอีก 46 จังหวัดบังคับเข้มไม่สวมแมสก์ปรับ 2 หมื่น
วานนี้ (25เม.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย พบจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 2,438 ราย จากระบบเฝ้าระวังฯ 2,151 ราย จากการคัดกรองเชิงรุก 282 ราย มาจากต่างประเทศ 5 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 55,460 ราย ในจำนวนนี้รักษาหายแล้ว 31,113 ราย ยังเหลือที่รักษาอยู่ 24,207 ราย แบ่งเป็นในโรงพยาบาล 19,274 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 4,933 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 11 ราย มีอายุในช่วง 27-45 ปี 8 ราย เป็นผู้สูงวัย อายุ 62-70 ปี 3 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวม 140 ราย
ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 507 ราย ที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจอีก 138 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กทม. 1,078 ราย เชียงใหม่ 163 ราย นนทบุรี 115 ราย สมุทรปราการ 77 ราย ชลบุรี 75 ราย
กทม.เข้ม ไม่สวมแมสก์ปรับ2หมื่น
ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้รวบรวมจังหวัดที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับ 20,000 บาท ล่าสุด มี 47 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูล 25 เม.ย.เวลา 16.20 น.) ดังนี้
ภาคกลาง และภาคตะวันออก 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี (เฉพาะตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ) ปราจีนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร ลพบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี สระบุรี ตราด นนทบุรี นครปฐม จันทบุรี และ กรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ลำพูน และ พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร หนองคาย อุบลราชธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี เลย อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ นครพนม และ ขอนแก่น
ภาคใต้ 10 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล สงขลา และ ยะลา
"กลุ่มแพทย์"จี้รัฐพิจารณาล็อกดาวน์
กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในไทยว่า เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐ ทางกลุ่มจึงได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ปฎิบัติงานจริงหลายฝ่าย เพื่อเสนอความเห็นต่อนายกฯ ดังนี้
1. ยกเลิกข้อตกลงที่ว่า รพ.แห่งใดตรวจพบว่าคนไข้มีการติดเชื้อ ให้รพ.นั้นต้องรับผิดชอบดูแลจนกระทั่งคนไข้นั้นมีเตียงนอนในรพ. ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ระบบนี้ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง และมีผู้ป่วยคงค้างรอเตียงจาก รพ.เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งมีผู้ประสานงานที่ชัดเจน ต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดการ รับผู้ป่วยไว้ในรพ.ที่เหมาะสม หรือโยกย้ายผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดซอบ ต้องเป็นการร่วมมือทั้ง รพ.ของรัฐ และเอกชนในเขตสุขภาพนั้น
ความลัมเหลวของระบบการหาเตียง ผ่านคู่สาย 1668 ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การบริหารงานในช่วงเวลาวิกฤตที่รัฐบาลและสธ. ดำเนินการอยู่นั้น "ล้มเหลวและต้องแลกมาด้วยชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้อย่างเท่าเทียม" ดังนั้น 1668 จึงควรทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเขตสุขภาพเท่านั้น
ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งจัดหายา remdesivirสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล
2. ให้รัฐบาลประกาศให้ผู้ป่วยโดวิด-19 ที่ไม่มีอาการ และสามารถดูแลตัวเอง สามารถเลือกที่จะแยกกักตนเองที่บ้านได้ มีการติดตามอาการ และเตรียมระบบให้พร้อม ที่จะเข้าสู่ รพ.ได้ตลอดเวลา
3. พิจารณาเรื่องlock down อย่างเร่งด่วน
4. ขอให้ทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แถลงแผนการฉีดวัดชื่นแต่ละยี่ห้อที่กำลังจะได้รับอย่างละเอียด รวมทั้งแผนการจัดการเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจต่อภาคประชาชน
5. การตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ สามารถเกิดความผิดพลาดได้หากแต่ต้องยอมรับ และพร้อมจะขอโทษต่อประชาชนในข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการที่ผ่านมา รวมถึงการสื่อสารที่ทำร้ายจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์
หมอจุฬาฯชี้"ล็อกดาวน์"คือทางออก
ขณะที่ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ แม้โควิดระบาดทั่วโลก แต่หลายประเทศควบคุมโรคได้ดีมาก ไม่ว่าจะเป็น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และเวียดนาม ถามว่า หลักการสำคัญของเค้าที่ทำให้เราได้เรียนรู้คืออะไร? มาตรการที่เข้มข้น ชัดเจน ทันเวลา ระบบการตรวจที่มีศักยภาพ การเคร่งครัดมาตรการป้องกันตัว และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และกล้าหาญที่จะแสดงความรับผิดชอบ
ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกลับมาฟื้นฟูได้เร็วนั้น มักไม่ลังเลที่จะประกาศล็อกดาวน์ในยามที่มีการระบาดเกิดขึ้น มองว่า ล็อกดาวน์เป็นเรื่องปกติ เป็นวิธีที่ได้ผลยามวิกฤตที่เป็นโรคระบาดที่แพร่เร็วอย่างโควิด
ดังนั้น ความเชื่อว่าล็อกดาวน์แล้วเสียหายเยอะ เลยไม่ทำ จนสุดท้ายแล้วไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ก็จะมีโอกาสเห็นความเสียหายมหาศาลตามมา และมากกว่าการล็อกดาวน์ระยะสั้น มีทั้งสูญเสียชีวิต ผลิตภาพโดยรวม รวมถึงการกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความสามารถในการฟื้นตัวของประเทศในระยะยาว นี่เข้ากับสิ่งที่เรารู้กันมาคือ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
นายกฯ ถกภาคเอกชน 28 เม.ย.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึง ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนสูงขึ้นในช่วงนี้ว่า เป็นยอดสะสมมาตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ เวลานี้อยู่ในช่วงของการเก็บผู้ป่วยสะสม ซึ่งศบค.ได้ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการควบคุม ซึ่งจะพิจารณาออกมาตรการขั้นต่อไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกำลังเร่งแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงโดยเร็ว พร้อมเร่งกำหนดมาตรการรับมือผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยวันที่ 28 เม.ย.นี้ นายกฯ ได้เชิญภาคเอกชน อาทิ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาประชุมหารือ เกี่ยวกับแนวทางการจัดหา และกระจายวัคซีนของภาคเอกชน ภายหลังภาคเอกชนแสดงความประสงค์ในการจัดหาวัคซีนร่วมกับภาครัฐ เพื่อกระจายสู่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน
ทั้งนี้ นายกฯจะหารือถึงการรับมือผลกระทบ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พร้อมรับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน และประชาชน เพื่อนำมาพิจารณาในการแก้ไขสถานการณ์ โดยรัฐบาลได้เตรียมงบฯ กว่า 3.8 แสนล้านบาท สำหรับการเยียวยาประชาชน และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
"บิ๊กป้อม"สั่งตั้งศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน
น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพปชร. สั่งการให้ตั้งศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 เพื่อประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รองหัวหน้าพรรคฝ่ายปฏิบัติการ เป็นผู้ดูแล ผ่านหัวหน้าภาคทั้ง 10 ภาค ของพรรคเพื่อให้การดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขครอบคลุมทั้งประเทศ
ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร ยังส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่และร่วมมือกันเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการทุกเหล่าทัพ ประสานการทำงานกับหน่วยงานสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เร่งจัดกำลังพล ยานพาหนะ และบุคลากรทางการแพทย์ทหาร เข้าไปช่วยเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อตามที่พักอาศัย ที่มีแจ้งในฐานข้อมูลผู้ป่วย เข้ารับการดูแลรักษาในระบบ ณ สถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงมากขึ้น
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ปชป. แถลงข่าว เปิดศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉิน โควิด-19 เพื่อช่วยประสานคลี่คลายปัญหาผู้ป่วยติดเชื้อตกค้างได้ให้เข้ารับการรักษา โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเข้าไปรับข้อมูล และประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยประสานส่งต่อผู้ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษาได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สามารถติดต่อผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ Facebook : facebook.com/DemocratPartyTH และ Twitter : twitter.com/democratTH
ผลตรวจกลุ่มเสี่ยงสัมผัส"จัสติน"เป็นลบ
นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผย ผลการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูงกับ นายชูเกียรติ แสงวงค์ หรือ "จัสติน" ที่พบว่าติดเชื้อก่อนหน้านี้ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทำให้ต้องดำเนินการตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง 35 ราย เป็นจนท. 9 ราย และผู้ต้องขัง 26 ราย รวมถึงแกนนำกลุ่มราษฎรด้วยนั้น ผลการตรวจไม่พบเชื้อทุกราย แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องแยกกักตัวกลุ่มดังกล่าวเป็นระยะเวลา 14 วัน และทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันผลว่าปลอดเชื้อ
ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ได้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น คือ 1.การตรวจหาเชื้อในผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกราย อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หลังรับตัวเข้าห้องแยกกักโรค ภายใน 3 วันแรก และก่อนออกจากห้องแยกกักโรคอีก 1 ครั้ง 2. การจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่จนท.ราชทัณฑ์ทุกคน โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำและทัณฑสถาน และ 3.ให้จนท.ราชทัณฑ์ทุกคน เข้ารับการตรวจเชื้อ และต้องทำการตรวจหาเชื้อในทุก 14 วัน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง
ศบค.ปัดข่าวอินเดียเช่าเหมาลำเข้าไทย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวถึงกรณีมีข้อกังวลเกี่ยวกับคนที่เดินทางมาจากอินเดีย และมีข่าวว่า มีคนอินเดียเช่าเครื่องบินเหมาลำ เข้ามาในไทย ว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ได้สอบถามกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับคำยืนยันว่า เป็นข่าวไม่จริง ไม่มีการเช่าเหมาลำมาจากอินเดีย มีแต่รายงานว่า จะมีการขออนุญาตนำคนไทยขึ้นเครื่องบินกลับมายังไทยในเดือนพ.ค. จำนวน 4 เที่ยวบิน ตอนนี้เราต้องการให้คนไทยได้กลับบ้านเท่านั้น เพราะมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในอินเดีย ส่วนคนต่างชาติ จะมีการชะลอออกใบอนุญาตการเข้าประเทศไทย
วานนี้ (25เม.ย.) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย พบจํานวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 2,438 ราย จากระบบเฝ้าระวังฯ 2,151 ราย จากการคัดกรองเชิงรุก 282 ราย มาจากต่างประเทศ 5 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 55,460 ราย ในจำนวนนี้รักษาหายแล้ว 31,113 ราย ยังเหลือที่รักษาอยู่ 24,207 ราย แบ่งเป็นในโรงพยาบาล 19,274 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 4,933 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 11 ราย มีอายุในช่วง 27-45 ปี 8 ราย เป็นผู้สูงวัย อายุ 62-70 ปี 3 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวม 140 ราย
ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 507 ราย ที่ต้องใช้ท่อช่วยหายใจอีก 138 ราย
สำหรับจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กทม. 1,078 ราย เชียงใหม่ 163 ราย นนทบุรี 115 ราย สมุทรปราการ 77 ราย ชลบุรี 75 ราย
กทม.เข้ม ไม่สวมแมสก์ปรับ2หมื่น
ศูนย์บริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ได้รวบรวมจังหวัดที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการให้ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่ออยู่นอกเคหสถาน หากฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับ 20,000 บาท ล่าสุด มี 47 จังหวัดทั่วประเทศ (ข้อมูล 25 เม.ย.เวลา 16.20 น.) ดังนี้
ภาคกลาง และภาคตะวันออก 16 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี (เฉพาะตลาด ตลาดนัด ตลาดน้ำ) ปราจีนบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา สมุทรสาคร ลพบุรี สมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี สระบุรี ตราด นนทบุรี นครปฐม จันทบุรี และ กรุงเทพมหานคร
ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย ตาก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ลำพูน และ พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ ยโสธร หนองคาย อุบลราชธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม มุกดาหาร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุดรธานี เลย อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ นครพนม และ ขอนแก่น
ภาคใต้ 10 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา ภูเก็ต ระนอง สตูล สงขลา และ ยะลา
"กลุ่มแพทย์"จี้รัฐพิจารณาล็อกดาวน์
กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในไทยว่า เกิดจากความไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐ ทางกลุ่มจึงได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้ปฎิบัติงานจริงหลายฝ่าย เพื่อเสนอความเห็นต่อนายกฯ ดังนี้
1. ยกเลิกข้อตกลงที่ว่า รพ.แห่งใดตรวจพบว่าคนไข้มีการติดเชื้อ ให้รพ.นั้นต้องรับผิดชอบดูแลจนกระทั่งคนไข้นั้นมีเตียงนอนในรพ. ซึ่งพิสูจน์แล้วว่า ระบบนี้ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง และมีผู้ป่วยคงค้างรอเตียงจาก รพ.เป็นจำนวนมาก
ดังนั้นเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ ซึ่งมีผู้ประสานงานที่ชัดเจน ต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดการ รับผู้ป่วยไว้ในรพ.ที่เหมาะสม หรือโยกย้ายผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดซอบ ต้องเป็นการร่วมมือทั้ง รพ.ของรัฐ และเอกชนในเขตสุขภาพนั้น
ความลัมเหลวของระบบการหาเตียง ผ่านคู่สาย 1668 ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การบริหารงานในช่วงเวลาวิกฤตที่รัฐบาลและสธ. ดำเนินการอยู่นั้น "ล้มเหลวและต้องแลกมาด้วยชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้อย่างเท่าเทียม" ดังนั้น 1668 จึงควรทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเขตสุขภาพเท่านั้น
ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งจัดหายา remdesivirสำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล
2. ให้รัฐบาลประกาศให้ผู้ป่วยโดวิด-19 ที่ไม่มีอาการ และสามารถดูแลตัวเอง สามารถเลือกที่จะแยกกักตนเองที่บ้านได้ มีการติดตามอาการ และเตรียมระบบให้พร้อม ที่จะเข้าสู่ รพ.ได้ตลอดเวลา
3. พิจารณาเรื่องlock down อย่างเร่งด่วน
4. ขอให้ทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แถลงแผนการฉีดวัดชื่นแต่ละยี่ห้อที่กำลังจะได้รับอย่างละเอียด รวมทั้งแผนการจัดการเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจต่อภาคประชาชน
5. การตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่ สามารถเกิดความผิดพลาดได้หากแต่ต้องยอมรับ และพร้อมจะขอโทษต่อประชาชนในข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการที่ผ่านมา รวมถึงการสื่อสารที่ทำร้ายจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์
หมอจุฬาฯชี้"ล็อกดาวน์"คือทางออก
ขณะที่ นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุ แม้โควิดระบาดทั่วโลก แต่หลายประเทศควบคุมโรคได้ดีมาก ไม่ว่าจะเป็น นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ออสเตรเลีย ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และเวียดนาม ถามว่า หลักการสำคัญของเค้าที่ทำให้เราได้เรียนรู้คืออะไร? มาตรการที่เข้มข้น ชัดเจน ทันเวลา ระบบการตรวจที่มีศักยภาพ การเคร่งครัดมาตรการป้องกันตัว และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และกล้าหาญที่จะแสดงความรับผิดชอบ
ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการกลับมาฟื้นฟูได้เร็วนั้น มักไม่ลังเลที่จะประกาศล็อกดาวน์ในยามที่มีการระบาดเกิดขึ้น มองว่า ล็อกดาวน์เป็นเรื่องปกติ เป็นวิธีที่ได้ผลยามวิกฤตที่เป็นโรคระบาดที่แพร่เร็วอย่างโควิด
ดังนั้น ความเชื่อว่าล็อกดาวน์แล้วเสียหายเยอะ เลยไม่ทำ จนสุดท้ายแล้วไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ ก็จะมีโอกาสเห็นความเสียหายมหาศาลตามมา และมากกว่าการล็อกดาวน์ระยะสั้น มีทั้งสูญเสียชีวิต ผลิตภาพโดยรวม รวมถึงการกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและความสามารถในการฟื้นตัวของประเทศในระยะยาว นี่เข้ากับสิ่งที่เรารู้กันมาคือ เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
นายกฯ ถกภาคเอกชน 28 เม.ย.
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึง ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่มีจำนวนสูงขึ้นในช่วงนี้ว่า เป็นยอดสะสมมาตั้งแต่ช่วงสงกรานต์ เวลานี้อยู่ในช่วงของการเก็บผู้ป่วยสะสม ซึ่งศบค.ได้ประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงมาตรการควบคุม ซึ่งจะพิจารณาออกมาตรการขั้นต่อไปตามสถานการณ์การแพร่ระบาด
น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีกำลังเร่งแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด ให้จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงโดยเร็ว พร้อมเร่งกำหนดมาตรการรับมือผลกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยวันที่ 28 เม.ย.นี้ นายกฯ ได้เชิญภาคเอกชน อาทิ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว และหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง มาประชุมหารือ เกี่ยวกับแนวทางการจัดหา และกระจายวัคซีนของภาคเอกชน ภายหลังภาคเอกชนแสดงความประสงค์ในการจัดหาวัคซีนร่วมกับภาครัฐ เพื่อกระจายสู่บุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน
ทั้งนี้ นายกฯจะหารือถึงการรับมือผลกระทบ และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พร้อมรับฟังข้อเสนอของภาคเอกชน และประชาชน เพื่อนำมาพิจารณาในการแก้ไขสถานการณ์ โดยรัฐบาลได้เตรียมงบฯ กว่า 3.8 แสนล้านบาท สำหรับการเยียวยาประชาชน และฟื้นฟูเศรษฐกิจ
"บิ๊กป้อม"สั่งตั้งศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน
น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ โฆษกพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพปชร. สั่งการให้ตั้งศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉินโควิด-19 เพื่อประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รองหัวหน้าพรรคฝ่ายปฏิบัติการ เป็นผู้ดูแล ผ่านหัวหน้าภาคทั้ง 10 ภาค ของพรรคเพื่อให้การดูแลประชาชนให้เข้าถึงบริการสาธารณสุขครอบคลุมทั้งประเทศ
ทั้งนี้พล.อ.ประวิตร ยังส่งกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วน ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่และร่วมมือกันเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในทุกพื้นที่ของประเทศไทย
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้สั่งการทุกเหล่าทัพ ประสานการทำงานกับหน่วยงานสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด เร่งจัดกำลังพล ยานพาหนะ และบุคลากรทางการแพทย์ทหาร เข้าไปช่วยเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการขนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อตามที่พักอาศัย ที่มีแจ้งในฐานข้อมูลผู้ป่วย เข้ารับการดูแลรักษาในระบบ ณ สถานพยาบาลที่จัดตั้งขึ้นโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงมากขึ้น
ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรค ปชป. แถลงข่าว เปิดศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉิน โควิด-19 เพื่อช่วยประสานคลี่คลายปัญหาผู้ป่วยติดเชื้อตกค้างได้ให้เข้ารับการรักษา โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะเข้าไปรับข้อมูล และประสานงานกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการช่วยประสานส่งต่อผู้ติดเชื้อให้เข้ารับการรักษาได้โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ สามารถติดต่อผ่าน 2 ช่องทางหลัก คือ Facebook : facebook.com/DemocratPartyTH และ Twitter : twitter.com/democratTH
ผลตรวจกลุ่มเสี่ยงสัมผัส"จัสติน"เป็นลบ
นายธวัชชัย ชัยวัฒน์ รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะโฆษกกรมราชทัณฑ์ เปิดเผย ผลการตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูงกับ นายชูเกียรติ แสงวงค์ หรือ "จัสติน" ที่พบว่าติดเชื้อก่อนหน้านี้ ซึ่งถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทำให้ต้องดำเนินการตรวจหาเชื้อในผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง 35 ราย เป็นจนท. 9 ราย และผู้ต้องขัง 26 ราย รวมถึงแกนนำกลุ่มราษฎรด้วยนั้น ผลการตรวจไม่พบเชื้อทุกราย แต่อย่างไรก็ตาม ยังต้องแยกกักตัวกลุ่มดังกล่าวเป็นระยะเวลา 14 วัน และทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีกครั้ง เพื่อเป็นการยืนยันผลว่าปลอดเชื้อ
ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์ได้ยกระดับมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด ให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น คือ 1.การตรวจหาเชื้อในผู้ต้องขังเข้าใหม่ทุกราย อย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หลังรับตัวเข้าห้องแยกกักโรค ภายใน 3 วันแรก และก่อนออกจากห้องแยกกักโรคอีก 1 ครั้ง 2. การจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่จนท.ราชทัณฑ์ทุกคน โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในเรือนจำและทัณฑสถาน และ 3.ให้จนท.ราชทัณฑ์ทุกคน เข้ารับการตรวจเชื้อ และต้องทำการตรวจหาเชื้อในทุก 14 วัน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดกับผู้ต้องขัง
ศบค.ปัดข่าวอินเดียเช่าเหมาลำเข้าไทย
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. กล่าวถึงกรณีมีข้อกังวลเกี่ยวกับคนที่เดินทางมาจากอินเดีย และมีข่าวว่า มีคนอินเดียเช่าเครื่องบินเหมาลำ เข้ามาในไทย ว่า ในที่ประชุม ศบค.ชุดเล็ก ได้สอบถามกระทรวงการต่างประเทศ และได้รับคำยืนยันว่า เป็นข่าวไม่จริง ไม่มีการเช่าเหมาลำมาจากอินเดีย มีแต่รายงานว่า จะมีการขออนุญาตนำคนไทยขึ้นเครื่องบินกลับมายังไทยในเดือนพ.ค. จำนวน 4 เที่ยวบิน ตอนนี้เราต้องการให้คนไทยได้กลับบ้านเท่านั้น เพราะมีการแพร่ระบาดอย่างหนักในอินเดีย ส่วนคนต่างชาติ จะมีการชะลอออกใบอนุญาตการเข้าประเทศไทย