xs
xsm
sm
md
lg

“กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์” ออกแถลงการณ์ตำหนิการจัดการของภาครัฐ สะท้อนการจัดการโควิด-19 ที่ล้มเหลว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ออกแถลงการณ์ตำหนิการจัดการเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล โดยเฉพาะระบบหาเตียงผ่านคู่สาย 1668 จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากการที่ไม่สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ พร้อมวอนให้พิจารณาเกี่ยวกับการ Lock Down อย่างเร่งด่วน

วันนี้ 25 เม.ย. กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ระบุว่า จากความไร้ประสิทธิภาพของภาครัฐจึงนำไปสู่การรวบรวมความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานจริงหลายฝ่าย จึงได้ขอเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรี ดังนี้

“ยกเลิกข้อตกลงที่ว่า “โรงพยาบาลแห่งใดตรวจพบว่าคนไข้มีการติดเชื้อ ให้โรงพยาบาลนั้นต้องรับผิดชอบดูแลจนกระทั่งคนไข้นั้นมีเตียงนอนในโรงพยาบาล” ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าระบบที่มีอยู่ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง และมีผู้ป่วยคงค้างรอเตียงจากโรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก

- คนไข้ที่ติดเชื้อแล้วไม่ได้เป็นภาระของโรงพยาบาลใดโรงพยาบาลหนึ่ง เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่มีผู้ประสานงานที่ชัดเจนต้องเข้ามาบทบาทในการจัดการรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลที่เหมาะสม หรือโยกย้ายผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดซอบ ต้องเป็นการร่วมมือทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชนในเขตสุขภาพนั้น และการดัดกรองผู้ป่วยเป็น 3 ระดับแยกตามสมรรถนะของโรงพยาบาลเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งสามารถยืดตัวอย่างการให้บริการผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดฉุกเฉินได้

- ความล้มเหลวของระบบการหาเตียงผ่านคู่สาย 1668 ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการบริหารงานในช่วงเวลาวิกฤตที่รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขดำเนินการอยู่นั้น “ล้มเหลวและต้องแลกมาด้วยชีวิตของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษาได้อย่างเท่าเทียม” ดังนั้น 1668 จึงควรทำหน้าที่ประสานงานระหว่างเขตสุขภาพเท่านั้น

- ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งจัดหายา remdesivir สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงซึ่งถือเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล เนื่องจากแนวโน้มการระบาดที่รุนแรงในประเทศอินเดียและประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน

2. ให้รัฐบาลประกาศให้ผู้ป่วยโดวิด-19 ที่ไม่มีอาการและลามารถดูแลตัวเอง สามารถเลือกที่จะแยกกักตนเองที่บ้านได้ มีการติดตามอาการ และเตรียมระบบให้พร้อมที่จะเข้าสู่โรงพยาบาลได้ตลอดเวลา

- การเพิ่มจำนวนเตียงโรงพยาบาลสนามเป็นไปเพียงเพื่อ “การประชาสัมพันธ์” มิได้สะท้อนถึงการเข้าใจปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น และไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

3. พิจารณาเรื่อง lock down อย่างเร่งด่วน

- บุคลากรทางการแพทย์ คงมิสามารถพิจารณาถึงผลต่อเศรษฐกิจ สังคม ได้ในภาพรวมแต่ในทางสาธารณสุข และความปลอดภัยของประชากร “การแสร้งว่า lock down” การที่ยังยอมให้เปิดสถานที่มีระบบระบายอากาศแบบปิดและอาจมีผู้คนอยู่ร่วมกันจำนวนมากเป็นเวลานาน เช่น ห้างสรรพสินค้า เป็นการกระทำที่ย้อนแย้งเป็นอย่างยิ่ง

4. ขอให้ทางผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแถลงแผนการฉีดวัคซีนแต่ละยี่ห้อที่กำลังจะได้รับอย่างละเอียด รวมทั้งแผนการจัดการเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อสร้างความมั่นใจต่อภาดประชาชน และเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกหรือสื่อมวลชนซักถามเพิ่มเติม ซึ่งจะะท้อนถึงศักยภาพของรัฐบาลที่มีการเตรียมแผนสำรองต่างๆ ไว้ล่วงหน้า

5. การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูลที่มีอยู่สามารถเกิดความผิดพลาดได้ หากแต่ต้องยอมรับและพร้อมจะขอโทษต่อประชาชนในข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการที่ผ่านมา รวมถึงการสื่อสารที่ทำร้ายจิตใจของบุคลากรทางการแพทย์

- เรียนรู้จากการบริหารที่ผิดพลาดในอดีต จากกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโดโรนา พิสูจน์แล้วว่าบริหารจัดการได้ผิดพลาด ควรพิจารณาเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ

- ปรับปรุงการสื่อสารทั้งส่วนบุดคลหรือการสื่อสารขององค์กรอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต่อการสังเกตอาการของโรคในระยะต่างๆ ความวิตกกังวลของบุคคลจะหมดไปหากได้รับข้อมูลที่ชัดเจน

ในฐานะของตัวแทนบุคลากรทางสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานทั้งภาครัฐและเอกชน ขอประกาศว่าพวกข้าพเจ้า “กำลังทำหน้าที่ของตนเองอยู่และจะทำต่อไปอย่างเต็มที่” เพื่อให้ประเทศไทยผ่านวิกฤตการณ์นี้ไปได้อย่างดีที่สุด แต่เราจำเป็นต้องพึ่งพาระบบการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยมด้วยเช่นกัน”






กำลังโหลดความคิดเห็น