ผู้จัดการรายวัน360- กกร.ประเมินทิศทางเศรษฐกิจปี 64 หลังวิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ หั่นจีดีพีเหลือโตแค่ 1.5-3% จากเดิม 1.5-3.5% แต่ขยับเพิ่มเป้าส่งออกเป็น 4-6% หลังทิศทางศก.โลกฟื้น ย้ำหากเงินเยียวยา 2 แสนล้านบาทและการฉีดวัคซีนไม่เป็นไปตามแผนฉุดจีดีพีให้ต่ำได้อีก 1-2% เร่งตั้งคณะทำงานร่วม 4 ชุดหวังขับเคลื่อนแผนฉีดวัคซีนภาครัฐให้เร็วขึ้นหนุนศก.นัดหารือสัปดาห์หน้าเพื่อรวบรวมข้อเสนอถึงนายกฯ
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และในฐานะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า กกร. ได้หารือถึงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างน้อย 3 เดือนซึ่งจะกระทบต่อแผนการท่องเที่ยว กำลังซื้อและแรงงานภาคบริการต้องหยุดหรือลดชั่วโมงทำงานดังนั้นกกร.จึงปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2564 ใหม่จากเดิมเดือนมี.ค.64 ได้ประเมินว่าจีดีพีจะโต1.5-3.5% เป็น 1.5-3% เงินเฟ้อเดิม 0.8 ถึง 1% เป็น 1-2% ส่วนส่งออกเดิม 3-5% เป็น 4-6% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการเร่งฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆ และการอัดเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะสหัฐอเมริกา
“ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไปก็ตาม ดังนั้นรัฐจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินที่มีกว่า 2 แสนล้านบาทเข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค นอกจากนี้ต้องเร่งกระจายฉีดวัคซีนที่จะสร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชนได้มากที่สุด และจะทำให้ภาพของอุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหากรัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายที่รัฐวางไว้จีดีพีก็มีโอกาสจะลดลงได้อีก 1-2% ”นายสุพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้กกร. มีความเป็นห่วงเรื่องการกระจายวัคซีนที่ยังล่าช้าและแผนงานยังไม่ชัดเจน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานใน 4 ด้านโดยจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าเพื่อสรุปรายละเอียดและรวบรวมข้อเสนอถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรีต่อไป โดยคณะทำงานประกอบด้วย 1. คณะแก้ไขปัญหาการกระจายและฉีดวัคซีน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในเรื่องโลจิสติกส์ การขนส่งและสถานที่ในการฉีด เช่น ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร นิคมอุตสาหกรรม ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น 2. คณะสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ โดยประสานข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน
3. คณะสนับสนุนระบบอำนวยความสะดวกระบบงานต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการฉีด จนถึงการออกใบรับรอง และการจัดทำระบบ Vaccine Passport เพื่อใช้แสดงในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ และ4. คณะจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ที่ผ่านมาได้รวบรวมความต้องการภาคเอกชนในการซื้อวัคซีนเพื่อเร่งการฉีดให้เร็วขึ้น โดยมีผู้ซื้อแสดงความจำนงมาแล้วกว่า 5 ล้านโดส และขอให้ อย. ผ่อนคลายระเบียบเพื่อให้มีการซื้อวัคซีนได้มากขึ้น
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอกชนต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีและคณะทำงานที่พิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เป็นทางเลือกพร้อมกับ จะจัดหาวัคซีน COVID-19 อีก 2-3 ยี่ห้อ เพิ่มเติม 35 ล้านโดส นอกเหนือจากที่ ภาครัฐดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งภาคเอกชนนำโดย กกร. จะช่วยรัฐบาลจัดหาให้กับพนักงานลูกจ้างเองด้วย เพื่อช่วยลดงบประมาณของรัฐบาลซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ล้านโดสอย่างไรก็ตามตัวเลขที่ชัดเจนจะมีการหารือในคณะทำงานกกร.อีกครั้ง
“ เอกชนยินดีที่จะจ่ายค่าวัคซีนเพื่อแบ่งเบาภาระ ซึ่งเอกชนจะหาแหล่งและเจรจาแต่ต้องใช้องค์กรของภาครัฐนำเข้าและสร้างความเชื่อมั่นว่าเอกชนยินดีจ่ายเองเพื่อเร่งกระจายการฉีดให้เร็วขึ้น”นายสนั่นกล่าว
ขณะเดียวกันส.อ.ท. และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขยายเวลา พรก.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ได้ขยายระยะเวลามา 1 ปีและจะครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้ออกไปก่อน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องรายละเอียดการบังคับใช้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฎิบัติตามได้ นอกจากนี้ จะขอให้กระทรวงฯทบทวนพรบ. PDPA ที่มีรายละเอียดและบทลงโทษเข้มงวดเกินไปให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ขณะนี้มาตรการการเงินเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ล่าสุดก็มีทั้งพักทรัพย์ พักหนี้ สินเชื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งเป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมาสนับสนันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เปิดให้เอสเอ็มอีเข้าสู่มาตรการที่เหมาะสมซึ่งจะเริ่ม 26 เม.ย.นี้
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และในฐานะทำหน้าที่ประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วยส.อ.ท. สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า กกร. ได้หารือถึงการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในเดือนเมษายนที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างน้อย 3 เดือนซึ่งจะกระทบต่อแผนการท่องเที่ยว กำลังซื้อและแรงงานภาคบริการต้องหยุดหรือลดชั่วโมงทำงานดังนั้นกกร.จึงปรับประมาณการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2564 ใหม่จากเดิมเดือนมี.ค.64 ได้ประเมินว่าจีดีพีจะโต1.5-3.5% เป็น 1.5-3% เงินเฟ้อเดิม 0.8 ถึง 1% เป็น 1-2% ส่วนส่งออกเดิม 3-5% เป็น 4-6% เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการเร่งฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆ และการอัดเงินฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเฉพาะสหัฐอเมริกา
“ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะส่งผลดีต่อแนวโน้มส่งออกของไทยในระยะต่อไปก็ตาม ดังนั้นรัฐจำเป็นต้องใช้เม็ดเงินที่มีกว่า 2 แสนล้านบาทเข้ามาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ขยายระยะเวลามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการและแรงงานที่ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมโรค นอกจากนี้ต้องเร่งกระจายฉีดวัคซีนที่จะสร้างเสริมความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและประชาชนได้มากที่สุด และจะทำให้ภาพของอุปสงค์ในประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหากรัฐไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและฉีดวัคซีนได้ตามเป้าหมายที่รัฐวางไว้จีดีพีก็มีโอกาสจะลดลงได้อีก 1-2% ”นายสุพันธุ์กล่าว
นอกจากนี้กกร. มีความเป็นห่วงเรื่องการกระจายวัคซีนที่ยังล่าช้าและแผนงานยังไม่ชัดเจน จึงได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงานใน 4 ด้านโดยจะมีการประชุมในสัปดาห์หน้าเพื่อสรุปรายละเอียดและรวบรวมข้อเสนอถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายรัฐมนตรีต่อไป โดยคณะทำงานประกอบด้วย 1. คณะแก้ไขปัญหาการกระจายและฉีดวัคซีน โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในเรื่องโลจิสติกส์ การขนส่งและสถานที่ในการฉีด เช่น ห้างสรรพสินค้า ธนาคาร นิคมอุตสาหกรรม ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น 2. คณะสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์ โดยประสานข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชน
3. คณะสนับสนุนระบบอำนวยความสะดวกระบบงานต่างๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการฉีด จนถึงการออกใบรับรอง และการจัดทำระบบ Vaccine Passport เพื่อใช้แสดงในการเดินทางไปสถานที่ต่างๆ และ4. คณะจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ที่ผ่านมาได้รวบรวมความต้องการภาคเอกชนในการซื้อวัคซีนเพื่อเร่งการฉีดให้เร็วขึ้น โดยมีผู้ซื้อแสดงความจำนงมาแล้วกว่า 5 ล้านโดส และขอให้ อย. ผ่อนคลายระเบียบเพื่อให้มีการซื้อวัคซีนได้มากขึ้น
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เอกชนต้องขอบคุณนายกรัฐมนตรีและคณะทำงานที่พิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เป็นทางเลือกพร้อมกับ จะจัดหาวัคซีน COVID-19 อีก 2-3 ยี่ห้อ เพิ่มเติม 35 ล้านโดส นอกเหนือจากที่ ภาครัฐดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งภาคเอกชนนำโดย กกร. จะช่วยรัฐบาลจัดหาให้กับพนักงานลูกจ้างเองด้วย เพื่อช่วยลดงบประมาณของรัฐบาลซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 ล้านโดสอย่างไรก็ตามตัวเลขที่ชัดเจนจะมีการหารือในคณะทำงานกกร.อีกครั้ง
“ เอกชนยินดีที่จะจ่ายค่าวัคซีนเพื่อแบ่งเบาภาระ ซึ่งเอกชนจะหาแหล่งและเจรจาแต่ต้องใช้องค์กรของภาครัฐนำเข้าและสร้างความเชื่อมั่นว่าเอกชนยินดีจ่ายเองเพื่อเร่งกระจายการฉีดให้เร็วขึ้น”นายสนั่นกล่าว
ขณะเดียวกันส.อ.ท. และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสนอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขยายเวลา พรก.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ได้ขยายระยะเวลามา 1 ปีและจะครบกำหนดเดือน พ.ค.นี้ออกไปก่อน เนื่องจากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องรายละเอียดการบังคับใช้ ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฎิบัติตามได้ นอกจากนี้ จะขอให้กระทรวงฯทบทวนพรบ. PDPA ที่มีรายละเอียดและบทลงโทษเข้มงวดเกินไปให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทยกล่าวว่า ขณะนี้มาตรการการเงินเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผลกระทบโควิด-19 ล่าสุดก็มีทั้งพักทรัพย์ พักหนี้ สินเชื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งเป็นไปตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ออกมาสนับสนันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์เปิดให้เอสเอ็มอีเข้าสู่มาตรการที่เหมาะสมซึ่งจะเริ่ม 26 เม.ย.นี้