ผู้จัดการรายวัน360 - 40 ซีอีโอเมืองไทย ห่วงไทยฉีดวัคซีนได้น้อยมาก คิดเป็น 0.4% ของประชากร ตั้ง 4 ทีม ช่วยภาครัฐฟื้นเศรษฐกิจจากโควิด-19 ตั้งเป้าฉีดบุคลากรทางการแพทย์ 100% มิ.ย.นี้ กทม. สิ้นปีต้องได้ 70% เผยจัดพื้นที่ของภาคเอกชนนำร่อง 10 แห่งในกทม. เป็นสถานที่ฉีด เร่งกระตุ้นให้คนมาฉีด สนับสนุนระบบไอที และจัดหาวัคซีนทางเลือก แบ่งเบาภาระรัฐบาล ด้าน ส.อ.ท. ถกวาระด่วนระดมสมองแก้ไขปัญหา 4 คอขวด ที่ทำให้การบริหารจัดการวัคซีนให้เร็วและครอบคลุมไปได้ไม่ถึงไหน แนะวิธีแก้ไข อบรมนศ.แพทย์ เภสัชกร เพิ่มบุคลากรมาช่วยฉีดวัคซีนเฉพาะกิจ ขยายสถานที่บริการฉีดวัคซีน ชงปั๊มบางจากทั่วประเทศ1,200 แห่ง ในพื้นที่รง.อุตฯ
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้จัดประชุมระหว่างหอการค้าไทยกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัทใหญ่กว่า 40 บริษัท จากทุกกลุ่มธุรกิจของไทย ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อร่วมกันวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของภาคเอกชน และต้องจัดหาวัคซีนทางเลือกให้เพียงพอ และสนับสนุนภาครัฐให้สามารถเปิดประเทศได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
“CEO ทุกบริษัทเห็นตรงกันว่า ประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีนไปเพียง 0.4% ของประชากรเท่านั้น ล่าช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศที่จะต้องฉีดให้ได้ถึง 70% ของประชากร ภาครัฐจำเป็นต้องจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับทุกคน โดย CEO ทุกท่านพร้อมที่จะช่วยภาครัฐ เพื่อทำให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปให้ได้”นายสนั่นกล่าว
ทั้งนี้ หอการค้าไทยตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2564 ต้องบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ 70% โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าของ กทม. ต้องได้รับการฉีดทั้งหมด 100% ภายในสิ้นเดือนมิ.ย.2564 ส่วนการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯ ต้องให้ได้อย่างน้อย 50,000 โดสต่อวัน ในต่างจังหวัด ก็จะมีรูปแบบการทำงานในลักษณะเดียวกัน
สำหรับการไปสู่เป้าหมาย ได้มีการตั้ง 4 ทีม เพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีน ได้แก่ ทีม A ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีน จะช่วยสนับสนุนสถานที่ บุคลากร อาสาสมัคร และอุปกรณ์ IT ให้ กทม. เพิ่มจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งตอนนี้ได้มีการเตรียมและไปลงพื้นที่สำรวจกับ กทม.แล้ว โดยในระยะแรกจำนวน 10 พื้นที่ใน กทม. ที่เอกชนจะนำร่อง ซึ่งจะมีการสรุปกับกทม.ภายในวันที่ 27 เม.ย.นี้ รวมถึงการจัดบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่
ทีม B ทีมการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมาฉีดวัคซีนในสถานที่ที่พร้อม เพราะหลายคนไม่ยอมฉีด ทั้งนี้ ภาครัฐจะทำระบบ “หมอพร้อม” เสร็จสิ้นในเดือนนี้
ทีม C ทีมเทคโนโลยีและระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการลงทะเบียน โดยมีหลายบริษัท นำทีมโดย IBM เข้ามาสำรวจและปรับปรุงกระบวนการ
และทีม D ทีมจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ซึ่งประเมินยังต้องการวัคซีนทางเลือกเพิ่มอีก 30 ล้านโดส เพื่อให้ครอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งภาคเอกชนจะจ่ายค่าวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทรวมแล้วเกือบ 1 ล้านราย เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับรัฐบาล
ส.อ.ท.ชงแก้4คอขวดบริหารวัคซีนโควิด-19
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกรรมการบริหาร ส.อ.ท. เห็นว่าการฉีควัคซีนให้รวดเร็วและครอบคลุมจะช่วยป้องกันและลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศได้ แต่การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนยังคงประสบปัญหาคอขวดด้วยกัน 4 ประการ ซึ่งทางส.อ.ท.ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา ได้แก่ เปิดกว้างให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนได้ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงวัคซีนด้วยความรวดเร็ว ลดภาระการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ
2. ให้ภาครัฐเร่งผลิตบุคคลากร ที่สามารถดูแลการฉีดวัคซีนได้เฉพาะกิจ โดยสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมกับแพทยสภาจัดการฝึกอบรมออนไลน์ ด้วยแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญผ่านแพลตฟอร์ม FTI Academy เพื่อเพิ่มบุคคลากรที่สามารถทำการฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ และเสนอให้ใช้บริเวณปั้มน้ำมันบางจาก 1,200 กว่าสถานี โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน
3.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาแผนการกระจายวัคซีน เพื่อช่วยภาครัฐในการวางแผนการกระจายวัคซีนให้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ 4. เสนอให้จัดทำแพลตฟอร์มวัคซีนพาสปอร์ต เพื่อใช้สำหรับการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศ
นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้จัดประชุมระหว่างหอการค้าไทยกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของบริษัทใหญ่กว่า 40 บริษัท จากทุกกลุ่มธุรกิจของไทย ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อร่วมกันวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของภาคเอกชน และต้องจัดหาวัคซีนทางเลือกให้เพียงพอ และสนับสนุนภาครัฐให้สามารถเปิดประเทศได้อย่างรวดเร็ว เพื่อความปลอดภัยและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
“CEO ทุกบริษัทเห็นตรงกันว่า ประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีนไปเพียง 0.4% ของประชากรเท่านั้น ล่าช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศที่จะต้องฉีดให้ได้ถึง 70% ของประชากร ภาครัฐจำเป็นต้องจัดหาวัคซีนให้เพียงพอกับทุกคน โดย CEO ทุกท่านพร้อมที่จะช่วยภาครัฐ เพื่อทำให้ประเทศไทยฝ่าวิกฤติโควิด-19 ไปให้ได้”นายสนั่นกล่าว
ทั้งนี้ หอการค้าไทยตั้งเป้าหมายว่า ภายในปี 2564 ต้องบรรลุเป้าหมายการฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ 70% โดยบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้าของ กทม. ต้องได้รับการฉีดทั้งหมด 100% ภายในสิ้นเดือนมิ.ย.2564 ส่วนการฉีดวัคซีนสำหรับประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯ ต้องให้ได้อย่างน้อย 50,000 โดสต่อวัน ในต่างจังหวัด ก็จะมีรูปแบบการทำงานในลักษณะเดียวกัน
สำหรับการไปสู่เป้าหมาย ได้มีการตั้ง 4 ทีม เพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีน ได้แก่ ทีม A ทีมสนับสนุนการกระจายและฉีดวัคซีน จะช่วยสนับสนุนสถานที่ บุคลากร อาสาสมัคร และอุปกรณ์ IT ให้ กทม. เพิ่มจากโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งตอนนี้ได้มีการเตรียมและไปลงพื้นที่สำรวจกับ กทม.แล้ว โดยในระยะแรกจำนวน 10 พื้นที่ใน กทม. ที่เอกชนจะนำร่อง ซึ่งจะมีการสรุปกับกทม.ภายในวันที่ 27 เม.ย.นี้ รวมถึงการจัดบริการฉีดวัคซีนเคลื่อนที่
ทีม B ทีมการสื่อสาร เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและมาฉีดวัคซีนในสถานที่ที่พร้อม เพราะหลายคนไม่ยอมฉีด ทั้งนี้ ภาครัฐจะทำระบบ “หมอพร้อม” เสร็จสิ้นในเดือนนี้
ทีม C ทีมเทคโนโลยีและระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการลงทะเบียน โดยมีหลายบริษัท นำทีมโดย IBM เข้ามาสำรวจและปรับปรุงกระบวนการ
และทีม D ทีมจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม ซึ่งประเมินยังต้องการวัคซีนทางเลือกเพิ่มอีก 30 ล้านโดส เพื่อให้ครอบคลุม 70% ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งภาคเอกชนจะจ่ายค่าวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทรวมแล้วเกือบ 1 ล้านราย เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับรัฐบาล
ส.อ.ท.ชงแก้4คอขวดบริหารวัคซีนโควิด-19
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกรรมการบริหาร ส.อ.ท. เห็นว่าการฉีควัคซีนให้รวดเร็วและครอบคลุมจะช่วยป้องกันและลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศได้ แต่การขับเคลื่อนการฉีดวัคซีนยังคงประสบปัญหาคอขวดด้วยกัน 4 ประการ ซึ่งทางส.อ.ท.ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา ได้แก่ เปิดกว้างให้ภาคเอกชนนำเข้าวัคซีนได้ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐ เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถเข้าถึงวัคซีนด้วยความรวดเร็ว ลดภาระการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ
2. ให้ภาครัฐเร่งผลิตบุคคลากร ที่สามารถดูแลการฉีดวัคซีนได้เฉพาะกิจ โดยสภาอุตสาหกรรมฯ ร่วมกับแพทยสภาจัดการฝึกอบรมออนไลน์ ด้วยแพทย์และพยาบาลผู้เชี่ยวชาญผ่านแพลตฟอร์ม FTI Academy เพื่อเพิ่มบุคคลากรที่สามารถทำการฉีดวัคซีนดังกล่าวได้ และเสนอให้ใช้บริเวณปั้มน้ำมันบางจาก 1,200 กว่าสถานี โรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ให้เป็นสถานที่ฉีดวัคซีน
3.ให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาแผนการกระจายวัคซีน เพื่อช่วยภาครัฐในการวางแผนการกระจายวัคซีนให้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และ 4. เสนอให้จัดทำแพลตฟอร์มวัคซีนพาสปอร์ต เพื่อใช้สำหรับการเดินทางทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศ