ผู้จัดการรายวัน 360 - ครม. อนุมัติมาตรการช่วยลดภาระค่าครองชีพ โครงการ "เราชนะ" แจกเงิน 3,500 บาท 2 เดือน กลุ่มเป้าหมาย 31.1 ล้านคน จ่ายผ่านแอปฯ เป๋าตัง" เท่านั้น ขณะที่ประชาชนอยากได้เงินสด ใช้จ่ายสะดวกกว่า ด้านรองนายกฯ "สุพัฒนพงษ์" หวังเม็ดเงิน 2.1 แสนล้านบาท กระจายทั่วระบบเศรษฐกิจฐานราก รมว.คลัง เปิดคุณสมบัติผู้ที่จะได้รับสิทธิ และช่องทางการจ่ายเงิ ระบุผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ จะได้รับแค่ส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น พร้อมเช็กบัญชีเงินฝากต้องไม่เกิน 5 แสนบาท เปิดลงทะเบียน “คนละครึ่ง” รอบเก็บตก 1.34 ล้านสิทธิ์ วันนี้
วานนี้ (19ม.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเราชนะ กรอบวงเงินไม่เกิน 210,200 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนด้วยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน จำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน ทั้งนี้ผู้ได้รับสิทธิ์จะไม่สามารถเบิกเงินสดได้ ต้องนำไปใช้ผ่านระบบเพื่อชำระค่าสินค้า เครื่องดื่ม และอาหาร ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์สาธารณะ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) และรถตู้โดยสารประจำทางที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งบริการต่างๆ ยกเว้นสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น
ในส่วนผู้ประกอบการ/ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า ที่เป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการรายย่อยที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่งและตรวจสอบได้ หรือเป็นร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองหรือวิสาหกิจชุมชน และจะสามารถใช้จ่ายเงินสนับสนุนได้ตั้งแต่กุมภาพันธ์ – สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 โดยจะมีการแบ่งจ่ายเป็นรายสัปดาห์ รวม 8 สัปดาห์ จนกว่าจะครบ 7,000 บาท เพื่อให้เกิดการกระจายการใช้จ่ายแต่ละช่วงเวลาด้วย
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 31.1 ล้านคน เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ใช่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่ใช่ข้าราชการและข้าราชการการเมือง พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาทในปีภาษี 62 ไม่มีเงินฝากทุกบัญชี 500,000 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62
ส่วนช่องทางการจ่ายเงิน 3 ช่องทาง คือ 1.กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13,738,023 คน เบิกจ่ายเงินผ่าน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ( ช่อง e-Money) โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ กลุ่มผู้ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่งหรือโครงการเราเที่ยวด้วยกันสำเร็จและผ่านการยืนยันตัวตนเปิดใช้แอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ภายในวันที่ 27 ม.ค. 64 เมื่อผ่านการตรวจสอบข้อมูลและคัดกรองผู้ได้รับสิทธิ์ แล้ว จะเบิกจ่ายผ่าน “เป๋าตัง” จำนวน 3,500 บาทต่อเดือนโดยไม่ต้องลงทะเบียน และ 3. กลุ่มผู้ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูลผู้มีบัตรโครงการคนละครึ่งและโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ต้องลงทะเบียนใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. 64 - 12 ก.พ. 64
ผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยาในโครงการเราชนะจะสามารถใช้เงินได้ถึงวันที่ 31 พ.ค. 64 โดยกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จะเริ่มใช้จ่ายเงินได้ตั้งแต่ 5 ก.พ. 64 เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิในกลุ่มอื่นๆ จะสามารถเริ่มใช้จ่ายเงินได้ตั้งแต่ 18 ก.พ.เป็นต้นไป
หมุนเงิน 2.1 แสนล.กระจายทั่วระบบศก.ฐานราก
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์" เพิ่มเติมว่า โครงการเราชนะ จะเปิดให้ลงทุนเบียนทางเว็บไซต์ WWW.เราชนะ.com ในวันที่ 29 ม.ค. นี้ โดยเงิน 2.1 แสนล้านบาท จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า เพราะถูกกระจายหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจหลายรอบ คนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีมากกว่า 31 ล้านคน เพราะคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนจะได้ประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยของคนที่ได้รับสิทธิ 31 ล้านคนไปโดยอัตโนมัติ
" ทำอย่างไรให้เงิน 2 แสนล้านบาทนี้ นอกจากจะช่วยบรรเทาภาระของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงแล้ว ยังขยายผลต่อเนื่องให้ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับฐานราก”
ด้วยวิธีนี้ เงิน 2.1 แสนล้านบาทที่รัฐบาลอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจจึงไม่หายไปไหน แต่จะถูกหมุนไปอีกหลายรอบ ถ้าสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ตอนนี้ดีขึ้นมาก เราควบคุมได้แล้ว ดูจากตัว R (Reproduction Number) คืออัตราการแพร่เชื้อของผู้ติดเชื้อแล้ว จากที่เคยสูงถึง 7 ต่อ 1 คือคนติดเชื้อ 1 คน แพร่เชื้อไปให้คนได้ 7 คน ตอนนี้ลดลงมาต่ำกว่า 1 ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัย คือ 0.37 เท่านั้น ผมมั่นใจว่าเราชนะแน่ ชนะการระบาดรอบใหม่
เปิดหลักเกณฑ์เยียวยา-ช่องทางจ่ายเงิน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง การคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลของผู้ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ ว่า ภาครัฐจะคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลกลุ่มที่มีฐานข้อมูลอยู่แล้วเป็นอันดับแรก ได้แก่ กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.ค. 64 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 23.00 น.
ขณะที่การจ่ายเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ในรูปแบบของวงเงินช่วยเหลือผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบ่งเป็น กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 800 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 675 บาท/สัปดาห์ หรือ 2,700 บาท/คน/เดือน วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการฯ จำนวน 5,400 บาท กลุ่มที่มีรายได้เกิน 30,000 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 700 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกคนละ 700 บาท/สัปดาห์ หรือ 2,800 บาท/คน/เดือน วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการฯ จำนวน 5,600 บาท ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับวงเงินช่วยเหลือทุก ๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. เป็นต้นไปหรือจนกว่าจะครบวงเงิน
2. กลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เป็นรายสัปดาห์ จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการ หรือจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. จำนวน 7,000 บาท โดยกลุ่มนี้ สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. 64 จะเริ่มได้รับวงเงินช่วยเหลือทุก ๆ วันพฤ. ของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะครบวงเงิน
3. กลุ่มผู้ที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หลังจากลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com และผ่านการคัดกรอง จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จึงจะได้รับวงเงินช่วยเหลือเป็นรายสัปดาห์ จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการ หรือจนถึง พ.ค. จำนวน 7,000 บาท
“ในกรณีที่งบสำหรับมาตรการเยียวยาใช้หมดแล้ว ภาครัฐได้มีการสนับสนุนเงินที่จะมาช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการมาตรการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการจับจ่ายใช้สอยและสามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ที่ประมาณ 0.5-0.6%” นายอาคม กล่าว
ในวันนี้ (20 ม.ค.) กระทรวงการคลังจะนำสิทธิที่เหลือของโครงการคนละครึ่ง เฟส 1 และ 2 จำนวน 1.34 ล้านสิทธิ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ระหว่างเวลา 06.00 น. - 23.00 น. จนกว่าจะครบจำนวน
แบงก์ขานรับออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นตามแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่ได้ออกไว้ดังนี้ 1.ขยายเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากเดิมที่ครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ2.เปิดให้นายจ้างหรือเจ้าของกิจการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกจ้างหรือพนักงานที่เป็นลูกหนี้ธนาคารได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง
ปรับเกณฑ์ช่วย SME เข้าถึงเงินทุนมากขึ้น
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมครม.ว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ครม. จึงมติขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ออกไปอีก 1 ปี คือสิ้นสุดวันที่ 18 ธ.ค.64 และกำหนดหลักเกณฑ์กลุ่มเป้าหมายดังนี้
1.ผู้ประกอบการ SMEที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ (1) ธุรกิจเกษตรแปรรูป (Food/Non-Food)(2) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) (3) ผู้ประกอบการใหม่ หรือมีนวัตกรรม หรือธุรกิจผลิต หรือบริการอื่นๆ หรือธุรกิจค้าส่งค้าปลีก
2. เป็นการให้สินเชื่อใหม่ ทั้งลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Re-finance)มาจากสถาบันการเงินอื่น
พร้อมทั้งได้ตัด 2 หลักเกณฑ์เดิมที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการ คือ 1. ต้องเป็นผู้ประกอบการ SMEที่ไม่เคยได้รับการอนุมัติและใช้วงเงินสินเชื่อจาก 1) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และ 2) โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan 2. ต้องมีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงินต่อราย (ไม่รวมกิจการในกลุ่ม) ไม่เกิน 50 ล้านบาท ณ วันยื่นขอกู้ ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากผู้ประกอบการ SMEส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกัน จึงใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน แต่ บสย. มีวงเงินไม่เพียงพอในการค้ำประกัน
การขยายระยะเวลาโครงการและปรับปรุงหลักเกณฑ์กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อีกประมาณ 5,760 ราย วงเงินกู้เฉลี่ยต่อรายไม่เกิน 1.65 ล้านบาท ภายใต้วงเงินโครงการคงเหลือ 9,559 ล้านบาท และสามารถรักษาการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 28,800 คน อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 43,510 ล้านบาท
ครม.ไฟเขียวเพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญ
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น คือ ชั้นปกติ กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือควรระวังเป็นพิเศษ ต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1)ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing) 2)มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing) และ 3) มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing)โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 ที่ผ่านมา
สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
4. กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ
5. กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
6. กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.63 เป็นต้นไป
วานนี้ (19ม.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเราชนะ กรอบวงเงินไม่เกิน 210,200 ล้านบาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนด้วยการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน จำนวนประมาณ 31.1 ล้านคน ทั้งนี้ผู้ได้รับสิทธิ์จะไม่สามารถเบิกเงินสดได้ ต้องนำไปใช้ผ่านระบบเพื่อชำระค่าสินค้า เครื่องดื่ม และอาหาร ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์สาธารณะ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI - METER) และรถตู้โดยสารประจำทางที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งบริการต่างๆ ยกเว้นสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น
ในส่วนผู้ประกอบการ/ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า ที่เป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการรายย่อยที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่งและตรวจสอบได้ หรือเป็นร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองหรือวิสาหกิจชุมชน และจะสามารถใช้จ่ายเงินสนับสนุนได้ตั้งแต่กุมภาพันธ์ – สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 โดยจะมีการแบ่งจ่ายเป็นรายสัปดาห์ รวม 8 สัปดาห์ จนกว่าจะครบ 7,000 บาท เพื่อให้เกิดการกระจายการใช้จ่ายแต่ละช่วงเวลาด้วย
สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 31.1 ล้านคน เป็นผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ไม่ใช่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ไม่ใช่ข้าราชการและข้าราชการการเมือง พนักงานราชการ พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่เป็นผู้รับบำนาญปกติหรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ ไม่มีเงินได้พึงประเมินเกิน 300,000 บาทในปีภาษี 62 ไม่มีเงินฝากทุกบัญชี 500,000 ณ วันที่ 31 ธ.ค. 62
ส่วนช่องทางการจ่ายเงิน 3 ช่องทาง คือ 1.กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 13,738,023 คน เบิกจ่ายเงินผ่าน กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ( ช่อง e-Money) โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ กลุ่มผู้ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่งหรือโครงการเราเที่ยวด้วยกันสำเร็จและผ่านการยืนยันตัวตนเปิดใช้แอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ภายในวันที่ 27 ม.ค. 64 เมื่อผ่านการตรวจสอบข้อมูลและคัดกรองผู้ได้รับสิทธิ์ แล้ว จะเบิกจ่ายผ่าน “เป๋าตัง” จำนวน 3,500 บาทต่อเดือนโดยไม่ต้องลงทะเบียน และ 3. กลุ่มผู้ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูลผู้มีบัตรโครงการคนละครึ่งและโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ต้องลงทะเบียนใหม่ เริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. 64 - 12 ก.พ. 64
ผู้ที่ได้รับสิทธิเยียวยาในโครงการเราชนะจะสามารถใช้เงินได้ถึงวันที่ 31 พ.ค. 64 โดยกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จะเริ่มใช้จ่ายเงินได้ตั้งแต่ 5 ก.พ. 64 เป็นต้นไป ส่วนผู้ที่ได้รับสิทธิในกลุ่มอื่นๆ จะสามารถเริ่มใช้จ่ายเงินได้ตั้งแต่ 18 ก.พ.เป็นต้นไป
หมุนเงิน 2.1 แสนล.กระจายทั่วระบบศก.ฐานราก
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ได้โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์" เพิ่มเติมว่า โครงการเราชนะ จะเปิดให้ลงทุนเบียนทางเว็บไซต์ WWW.เราชนะ.com ในวันที่ 29 ม.ค. นี้ โดยเงิน 2.1 แสนล้านบาท จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า เพราะถูกกระจายหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจหลายรอบ คนที่มีรายได้เพิ่มขึ้นจะมีมากกว่า 31 ล้านคน เพราะคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนจะได้ประโยชน์จากการจับจ่ายใช้สอยของคนที่ได้รับสิทธิ 31 ล้านคนไปโดยอัตโนมัติ
" ทำอย่างไรให้เงิน 2 แสนล้านบาทนี้ นอกจากจะช่วยบรรเทาภาระของผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรงแล้ว ยังขยายผลต่อเนื่องให้ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับฐานราก”
ด้วยวิธีนี้ เงิน 2.1 แสนล้านบาทที่รัฐบาลอัดฉีดเข้าระบบเศรษฐกิจจึงไม่หายไปไหน แต่จะถูกหมุนไปอีกหลายรอบ ถ้าสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ตอนนี้ดีขึ้นมาก เราควบคุมได้แล้ว ดูจากตัว R (Reproduction Number) คืออัตราการแพร่เชื้อของผู้ติดเชื้อแล้ว จากที่เคยสูงถึง 7 ต่อ 1 คือคนติดเชื้อ 1 คน แพร่เชื้อไปให้คนได้ 7 คน ตอนนี้ลดลงมาต่ำกว่า 1 ซึ่งเป็นระดับที่ปลอดภัย คือ 0.37 เท่านั้น ผมมั่นใจว่าเราชนะแน่ ชนะการระบาดรอบใหม่
เปิดหลักเกณฑ์เยียวยา-ช่องทางจ่ายเงิน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึง การคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลของผู้ได้รับสิทธิโครงการเราชนะ ว่า ภาครัฐจะคัดกรองและตรวจสอบข้อมูลกลุ่มที่มีฐานข้อมูลอยู่แล้วเป็นอันดับแรก ได้แก่ กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ส่วนผู้ที่ไม่ได้อยู่ในฐานข้อมูลสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.ค. 64 ตั้งแต่เวลา 06.00 – 23.00 น.
ขณะที่การจ่ายเงินให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ในรูปแบบของวงเงินช่วยเหลือผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1. กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบ่งเป็น กลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 800 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก 675 บาท/สัปดาห์ หรือ 2,700 บาท/คน/เดือน วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการฯ จำนวน 5,400 บาท กลุ่มที่มีรายได้เกิน 30,000 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับอยู่แล้ว 700 บาท/เดือน จะได้วงเงินช่วยเหลือเพิ่มอีกคนละ 700 บาท/สัปดาห์ หรือ 2,800 บาท/คน/เดือน วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการฯ จำนวน 5,600 บาท ทั้งนี้ กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับวงเงินช่วยเหลือทุก ๆ วันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. เป็นต้นไปหรือจนกว่าจะครบวงเงิน
2. กลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับวงเงินช่วยเหลือผ่านระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” เป็นรายสัปดาห์ จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการ หรือจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. จำนวน 7,000 บาท โดยกลุ่มนี้ สามารถเข้าตรวจสอบสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ได้ตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. 64 จะเริ่มได้รับวงเงินช่วยเหลือทุก ๆ วันพฤ. ของแต่ละสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ก.พ. เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะครบวงเงิน
3. กลุ่มผู้ที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูลกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและกลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” หลังจากลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com และผ่านการคัดกรอง จะต้องยืนยันตัวตนผ่าน แอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” จึงจะได้รับวงเงินช่วยเหลือเป็นรายสัปดาห์ จำนวน 1,000 บาทต่อสัปดาห์ วงเงินต่อคนตลอดระยะโครงการ หรือจนถึง พ.ค. จำนวน 7,000 บาท
“ในกรณีที่งบสำหรับมาตรการเยียวยาใช้หมดแล้ว ภาครัฐได้มีการสนับสนุนเงินที่จะมาช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจากการมาตรการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการจับจ่ายใช้สอยและสามารถกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวได้ที่ประมาณ 0.5-0.6%” นายอาคม กล่าว
ในวันนี้ (20 ม.ค.) กระทรวงการคลังจะนำสิทธิที่เหลือของโครงการคนละครึ่ง เฟส 1 และ 2 จำนวน 1.34 ล้านสิทธิ เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพิ่มเติมผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com ระหว่างเวลา 06.00 น. - 23.00 น. จนกว่าจะครบจำนวน
แบงก์ขานรับออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้า
นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นตามแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)ที่ได้ออกไว้ดังนี้ 1.ขยายเวลาให้ลูกหนี้รายย่อยสมัครรับความช่วยเหลือได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 จากเดิมที่ครบกำหนดในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และ2.เปิดให้นายจ้างหรือเจ้าของกิจการสมัครขอรับความช่วยเหลือแทนลูกจ้างหรือพนักงานที่เป็นลูกหนี้ธนาคารได้ โดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ที่เป็นพนักงานหรือลูกจ้าง
ปรับเกณฑ์ช่วย SME เข้าถึงเงินทุนมากขึ้น
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมครม.ว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ครม. จึงมติขยายระยะเวลาโครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ออกไปอีก 1 ปี คือสิ้นสุดวันที่ 18 ธ.ค.64 และกำหนดหลักเกณฑ์กลุ่มเป้าหมายดังนี้
1.ผู้ประกอบการ SMEที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลในกลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ (1) ธุรกิจเกษตรแปรรูป (Food/Non-Food)(2) ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ธุรกิจเกี่ยวเนื่องการท่องเที่ยว ธุรกิจที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) (3) ผู้ประกอบการใหม่ หรือมีนวัตกรรม หรือธุรกิจผลิต หรือบริการอื่นๆ หรือธุรกิจค้าส่งค้าปลีก
2. เป็นการให้สินเชื่อใหม่ ทั้งลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Re-finance)มาจากสถาบันการเงินอื่น
พร้อมทั้งได้ตัด 2 หลักเกณฑ์เดิมที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการ คือ 1. ต้องเป็นผู้ประกอบการ SMEที่ไม่เคยได้รับการอนุมัติและใช้วงเงินสินเชื่อจาก 1) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ และ 2) โครงการสินเชื่อ SMEs Transformation Loan 2. ต้องมีวงเงินสินเชื่อรวมทุกสถาบันการเงินต่อราย (ไม่รวมกิจการในกลุ่ม) ไม่เกิน 50 ล้านบาท ณ วันยื่นขอกู้ ซึ่งทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ เนื่องจากผู้ประกอบการ SMEส่วนใหญ่ไม่มีหลักประกัน จึงใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นผู้ค้ำประกัน แต่ บสย. มีวงเงินไม่เพียงพอในการค้ำประกัน
การขยายระยะเวลาโครงการและปรับปรุงหลักเกณฑ์กลุ่มเป้าหมายในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการช่วยผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อีกประมาณ 5,760 ราย วงเงินกู้เฉลี่ยต่อรายไม่เกิน 1.65 ล้านบาท ภายใต้วงเงินโครงการคงเหลือ 9,559 ล้านบาท และสามารถรักษาการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 28,800 คน อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 43,510 ล้านบาท
ครม.ไฟเขียวเพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญ
ในวันเดียวกันนี้ ที่ประชุมครม. เห็นชอบปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ทางการเงิน ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดขึ้นใหม่ ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการจัดชั้นลูกหนี้จากเดิม 6 ชั้น คือ ชั้นปกติ กล่าวถึงเป็นพิเศษ หรือควรระวังเป็นพิเศษ ต่ำกว่ามาตรฐาน สงสัย สงสัยจะสูญ และสูญ ปรับเป็น 3 ชั้น ได้แก่ 1)ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Performing) 2)มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing) และ 3) มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing)โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.63 ที่ผ่านมา
สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ของบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป และของสถาบันการเงิน มีสาระสำคัญดังนี้
1. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมเกิน 500,000 บาทขึ้นไป เป็นเกิน 2,000,000 บาทขึ้นไป และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. เพิ่มวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้แต่ละราย จากเดิมไม่เกิน 500,000บาท เป็นไม่เกิน 2,000,000บาท และกำหนดขั้นตอนให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
3. กำหนดวงเงินการจำหน่ายหนี้สูญของลูกหนี้รายย่อยของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป จากเดิมไม่เกิน 100,000 บาท เป็นไม่เกิน 200,000 บาท
4. กำหนดให้การจำหน่ายหนี้สูญที่มีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ไม่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ในข้อที่ 1 หรือ 2 ข้างต้น ถ้าปรากฏว่ามีหลักฐานการติดตามทวงถามตามสมควรแล้ว แต่ไม่ได้รับการชำระหนี้ และหากจะฟ้องลูกหนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายไม่คุ้มกับหนี้ที่จะได้รับ
5. กำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ในส่วนของหนี้จากการให้สินเชื่อที่ได้กันสำรองครบ ร้อยละ 100 ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
6. กำหนดให้กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญ ในรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.63 เป็นต้นไป