หลักกฎหมายปิดปาก (Estoppel) อาจจะหมายถึง ห้ามเถียง ห้ามแย้ง ห้ามพูด หรือแม้แต่ไม่พูดก็ผิด เช่น พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 40 ระบุไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างรถคันหน้าพอสมควรในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย” ก็คุณขับรถไม่ห่างคันหน้าพอจึงชนท้ายเขา กฎหมายจึงปิดปากห้ามเถียงคนชนท้ายมักผิดเสมอ หรือสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดอกเบี้ยเกินที่กฎหมายกำหนดก็แย้งไม่ขึ้นเพราะคุณทำสัญญาเองหรือแม้แต่กรณีเจอด่านแต่ไม่ยอมเป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์ก็ถือว่าผิดแล้ว
สถานการณ์ที่น่าสนใจในปัจจุบันอีกเรื่องก็คือการสรรหา กสทช. หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการจัดพิธีหาที่ทำงานให้ทหารหลังเกษียณ โดยเฉพาะนายทหารที่เกี่ยวพันกับ คสช. มาก่อน อย่างไรก็ตาม กสทช. มีทั้งหมด 7 ด้าน อาทิเช่น ด้านโทรคมนาคม ด้านโทรทัศน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านกฎหมาย เป็นต้น
แต่ที่น่าสนใจก็คือ กสทช. ด้านวิศวกรรม ไม่อาจจะยัดนายทหาร คสช. เกษียณมาทำงานได้ง่ายๆ ตามที่สื่อได้วิเคราะห์การวางตัวนายทหารที่นอกจากขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการนิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่ กสทช. กำกับดูแลแล้ว งานที่ใช้ถ้อยคำว่า “วิศวกรรม” ยังมีกฎหมายควบคุมอยู่อีกด่าน เพราะมีกฎหมายปิดปากอยู่ จึงชวนมาติดตามกัน
“งานวิศวกรรม” จะเรียนเก่งแค่ไหนจะจบสถาบันชั้นนำแห่งใดในโลก บนราชอาณาจักรไทยกฎหมายก็ปิดปากไว้ห้ามพูด ถ้าไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติตาม พ.รบ. วิศวกรฯ มาตรา 47 กฎหมายวางหลักปิดปากไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ “ถ้อยคำ” หรือ “ข้อความ” แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ “วิศวกรรม” รวมถึงพร้อมทำงานวิศวกรรม หากไม่ได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี
นอกจากนั้นใน มาตรา 45 ยังห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือ “แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมประกอบวิชาชีพวิศวกรรม” หากไม่ได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 3 ปี
เพียงแค่ปรากฏถ้อยคำหรือข้อความอันเกี่ยวข้องกับการทำงานด้าน “วิศวกรรม” หรืออวดอ้างว่าตนเรียนจบวิศวกรรมหรือทำงานวิศวกรรมมา แต่ไม่เป็นไปตาม พ.รบ. วิศวกรฯ หรือหลักเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่วางมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพไว้ย่อม “มีโทษจำคุก” แล้วนายพลที่ถูกวางตัวเป็น กสทช. ในด้านนี้จะเลี่ยงอย่างไร? แล้วถ้าประเทศจะได้ผู้นำสูงสุดด้านวิศวกรรมโดยไม่สนใจกฎหมาย มาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณ จะเป็นอย่างไร? แทนที่เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่มีบุคลิกทันสมัย มีความรู้ความชำนาญงานวิศวกรรมได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูงสุด ที่สภาวิชาชีพยกย่อง และวงการวิชาชีพยอมรับ มีความรู้สมัยใหม่ นำสังคมไทยสู่โลกดิจิทัล แต่กลับได้นายพลชราวัย 60-70 มาแทน ความหวังของประเทศอยู่ที่คณะกรรมการสรรหาทันที
แม้ประกาศคณะกรรมการสรรหา กสทช. ไม่ได้กำหนดให้ผู้สมัคร กสทช. ด้านวิศวกรรม ต้องมีคุณสมบัติด้านวิศวกรรมตามกฎหมาย แต่กฎหมายก็ปิดปากผู้สมัครไว้อยู่ดี เพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าประกาศของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งเชื่อได้ว่าคณะกรรมการสรรหาส่วนใหญ่เป็นตุลาการชั้นผู้ใหญ่ย่อมทราบดี ทั้งนี้ก็ขึ้นกับผู้สมัครที่จะกล้าบังอาจอวดอ้างใช้ “ถ้อยคำ” หรือ “ข้อความ” ที่เกี่ยวข้องกับงาน “วิศวกรรม” ต่อหน้าตุลาการมากน้อยเพียงใด
ตรรกะง่ายๆ “ถ้าผู้ใดอวดอ้างมีความรู้งานวิศวกรรม แล้วเหตุใดจึงไม่ไปขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกร?” มันง่ายเกินไปเลยหรือไม่ให้ความใส่ใจไม่ให้เกียรติเสาหลักองค์กรวิชาชีพกระนั้นหรือ?
ถ้าผู้ใดยืนยันว่าตนมีประสบการณ์ทำงานวิศวกรรมมาเป็นสิบๆ ปี โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกร ยิ่งมีโทษจำคุกหนักหลายกระทงในทุกๆ ปีที่ทำงานมา เป็นตรรกะ ที่ผู้สมัครต้องชั่งน้ำหนักของตนว่า จะปิดปากตามกฎหมายหรืออวดอ้างว่าตนฝ่าฝืนไม่ทำตามกฎหมายมานาน ต่อหน้าตุลาการชั้นผู้ใหญ่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง
ประเทศไทยมี สภาวิศวกร เป็นผู้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และพิจารณาเข้มข้นว่าผู้ใดควรจะได้รับอนุญาตให้ทำงานวิศวกรรม โดยมี 2 ประเภทคือ
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม อาทิเช่น ไฟฟ้าสื่อสาร ไฟฟ้ากำลัง เครื่องกล โยธา เป็นต้น ซึ่งต้องรับผิดชอบชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ผู้ทำงานด้านนี้ต้องได้รับ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” จากสภาวิศวกร เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่า กสทช. ด้านวิศวกรรม จะเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่สูงสุดตามหลักวิศวกรรมในข้อบังคับวิทยุสากลแห่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งต้องได้ผู้ที่มีความรู้เรื่องคลื่นความถี่ที่ลึกซึ้งต้องรับผิดชอบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติวิศวกรบัญญัติไว้ ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร? เมื่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมถูกทำลาย
ส่วนสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมสารสนเทศ กฎหมายมองว่าแม้จะเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชนและประชาชน แต่ไม่เกี่ยวกับชีวิตของประชาชนโดยตรง จึงเป็นสาขาวิชาชีพที่ไม่ใช่้วิศวกรรมควบคุม แต่ต้องมี “ใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม” จากสภาวิศวกร เช่นกัน เพื่อป้องกันผู้ไม่มีความรู้ได้มาตรฐานระดับขั้นพื้นฐานมาทำงานวิศวกรรม
สภาวิศวกรเคยมีหนังสือไปยังหน่วยงานราชการ ขอความกรุณาปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อหาคนมาทำงานวิศวกรรม ต้องเป็นผู้ผ่านการรับรองมาตรฐานความรู้ความสามารถได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร
โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5) ได้มีหนังสือที่ นร.0905/74 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง เรื่อง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานในกำกับของสถาบันการศึกษา
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้วินิจฉัยไว้ว่า บุคลากร ทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนที่ได้รับมอบหมายทำงานวิศวกรรมต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมาย
บทพิสูจน์ หลักนิติรัฐ และนิติธรรม จะถูกทำลายหรือไม่? ในการสรรหา กสทช. ด้านวิศวกรรม ปิดตาเพิกเฉยต่อกฎหมายงานวิศวกรรมหรือไม่ ย่อมเห็นได้ชัดเจนเป็นที่สนใจของสังคม หากมุ่งจะหาที่ทำงานให้ทหารหลังเกษียณก็ยากอยู่ ซึ่งคนทั่วไปก็รู้อยู่แก่ใจว่าทหารเชี่ยวชาญงานวิศวกรรมแค่ไหน ปฏิบัติเองหรือประกวดราคาจ้างเอกชน แต่ข่าวลือชั่งหนาหูถึงขั้นว่า อย่าว่าแต่จบปริญญาด้านวิศวกรรมมาเลย นายพลบางคนจบ Computer science แต่ใช้ถ้อยคำเขียนเป็นภาษาไทยในใบสมัครว่าตนจบ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์” อย่างหน้าตาเฉยไม่สนใจกฎหมายใดๆ ไม่ต้องให้สภาวิศวกรรับรอง ไม่ทำตามกฎหมาย ยังตบตาให้ข้อมูลเท็จต่อคณะกรรมการสรรหาและประชาชน การให้ข้อมูลเท็จแก่รัฐจริงๆ ก็มีโทษอาญานะ แต่ยังไงก็ได้เป็น กสทช. จริงหรือไม่? ต้องติดตามกันต่อไป/ พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการติดตาม ตรวจสอบโครงการด้านดิจิทัล และการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลวิถีใหม่
สถานการณ์ที่น่าสนใจในปัจจุบันอีกเรื่องก็คือการสรรหา กสทช. หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการจัดพิธีหาที่ทำงานให้ทหารหลังเกษียณ โดยเฉพาะนายทหารที่เกี่ยวพันกับ คสช. มาก่อน อย่างไรก็ตาม กสทช. มีทั้งหมด 7 ด้าน อาทิเช่น ด้านโทรคมนาคม ด้านโทรทัศน์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านกฎหมาย เป็นต้น
แต่ที่น่าสนใจก็คือ กสทช. ด้านวิศวกรรม ไม่อาจจะยัดนายทหาร คสช. เกษียณมาทำงานได้ง่ายๆ ตามที่สื่อได้วิเคราะห์การวางตัวนายทหารที่นอกจากขาดคุณสมบัติเป็นกรรมการนิติบุคคลผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ ที่ กสทช. กำกับดูแลแล้ว งานที่ใช้ถ้อยคำว่า “วิศวกรรม” ยังมีกฎหมายควบคุมอยู่อีกด่าน เพราะมีกฎหมายปิดปากอยู่ จึงชวนมาติดตามกัน
“งานวิศวกรรม” จะเรียนเก่งแค่ไหนจะจบสถาบันชั้นนำแห่งใดในโลก บนราชอาณาจักรไทยกฎหมายก็ปิดปากไว้ห้ามพูด ถ้าไม่เป็นผู้มีคุณสมบัติตาม พ.รบ. วิศวกรฯ มาตรา 47 กฎหมายวางหลักปิดปากไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดใช้ “ถ้อยคำ” หรือ “ข้อความ” แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญ “วิศวกรรม” รวมถึงพร้อมทำงานวิศวกรรม หากไม่ได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 1 ปี
นอกจากนั้นใน มาตรา 45 ยังห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือ “แสดงให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนพร้อมประกอบวิชาชีพวิศวกรรม” หากไม่ได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 3 ปี
เพียงแค่ปรากฏถ้อยคำหรือข้อความอันเกี่ยวข้องกับการทำงานด้าน “วิศวกรรม” หรืออวดอ้างว่าตนเรียนจบวิศวกรรมหรือทำงานวิศวกรรมมา แต่ไม่เป็นไปตาม พ.รบ. วิศวกรฯ หรือหลักเกณฑ์ของสภาวิศวกรที่วางมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพไว้ย่อม “มีโทษจำคุก” แล้วนายพลที่ถูกวางตัวเป็น กสทช. ในด้านนี้จะเลี่ยงอย่างไร? แล้วถ้าประเทศจะได้ผู้นำสูงสุดด้านวิศวกรรมโดยไม่สนใจกฎหมาย มาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณ จะเป็นอย่างไร? แทนที่เราจะได้คนรุ่นใหม่ที่มีบุคลิกทันสมัย มีความรู้ความชำนาญงานวิศวกรรมได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั้นสูงสุด ที่สภาวิชาชีพยกย่อง และวงการวิชาชีพยอมรับ มีความรู้สมัยใหม่ นำสังคมไทยสู่โลกดิจิทัล แต่กลับได้นายพลชราวัย 60-70 มาแทน ความหวังของประเทศอยู่ที่คณะกรรมการสรรหาทันที
แม้ประกาศคณะกรรมการสรรหา กสทช. ไม่ได้กำหนดให้ผู้สมัคร กสทช. ด้านวิศวกรรม ต้องมีคุณสมบัติด้านวิศวกรรมตามกฎหมาย แต่กฎหมายก็ปิดปากผู้สมัครไว้อยู่ดี เพราะพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าประกาศของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งเชื่อได้ว่าคณะกรรมการสรรหาส่วนใหญ่เป็นตุลาการชั้นผู้ใหญ่ย่อมทราบดี ทั้งนี้ก็ขึ้นกับผู้สมัครที่จะกล้าบังอาจอวดอ้างใช้ “ถ้อยคำ” หรือ “ข้อความ” ที่เกี่ยวข้องกับงาน “วิศวกรรม” ต่อหน้าตุลาการมากน้อยเพียงใด
ตรรกะง่ายๆ “ถ้าผู้ใดอวดอ้างมีความรู้งานวิศวกรรม แล้วเหตุใดจึงไม่ไปขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกร?” มันง่ายเกินไปเลยหรือไม่ให้ความใส่ใจไม่ให้เกียรติเสาหลักองค์กรวิชาชีพกระนั้นหรือ?
ถ้าผู้ใดยืนยันว่าตนมีประสบการณ์ทำงานวิศวกรรมมาเป็นสิบๆ ปี โดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหรือใบรับรองความรู้ความชำนาญจากสภาวิศวกร ยิ่งมีโทษจำคุกหนักหลายกระทงในทุกๆ ปีที่ทำงานมา เป็นตรรกะ ที่ผู้สมัครต้องชั่งน้ำหนักของตนว่า จะปิดปากตามกฎหมายหรืออวดอ้างว่าตนฝ่าฝืนไม่ทำตามกฎหมายมานาน ต่อหน้าตุลาการชั้นผู้ใหญ่ เป็นเรื่องที่น่าสนใจติดตามอย่างยิ่ง
ประเทศไทยมี สภาวิศวกร เป็นผู้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ และพิจารณาเข้มข้นว่าผู้ใดควรจะได้รับอนุญาตให้ทำงานวิศวกรรม โดยมี 2 ประเภทคือ
สาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม อาทิเช่น ไฟฟ้าสื่อสาร ไฟฟ้ากำลัง เครื่องกล โยธา เป็นต้น ซึ่งต้องรับผิดชอบชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ผู้ทำงานด้านนี้ต้องได้รับ “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” จากสภาวิศวกร เป็นที่น่าตั้งข้อสังเกตว่า กสทช. ด้านวิศวกรรม จะเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่สูงสุดตามหลักวิศวกรรมในข้อบังคับวิทยุสากลแห่งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งต้องได้ผู้ที่มีความรู้เรื่องคลื่นความถี่ที่ลึกซึ้งต้องรับผิดชอบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติวิศวกรบัญญัติไว้ ประเทศชาติจะเป็นอย่างไร? เมื่อหลักนิติรัฐ และนิติธรรมถูกทำลาย
ส่วนสาขา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมสารสนเทศ กฎหมายมองว่าแม้จะเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชนและประชาชน แต่ไม่เกี่ยวกับชีวิตของประชาชนโดยตรง จึงเป็นสาขาวิชาชีพที่ไม่ใช่้วิศวกรรมควบคุม แต่ต้องมี “ใบรับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม” จากสภาวิศวกร เช่นกัน เพื่อป้องกันผู้ไม่มีความรู้ได้มาตรฐานระดับขั้นพื้นฐานมาทำงานวิศวกรรม
สภาวิศวกรเคยมีหนังสือไปยังหน่วยงานราชการ ขอความกรุณาปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อหาคนมาทำงานวิศวกรรม ต้องเป็นผู้ผ่านการรับรองมาตรฐานความรู้ความสามารถได้รับอนุญาตจากสภาวิศวกร
โดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 5) ได้มีหนังสือที่ นร.0905/74 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ถึง อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง เรื่อง การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานในกำกับของสถาบันการศึกษา
ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้วินิจฉัยไว้ว่า บุคลากร ทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนที่ได้รับมอบหมายทำงานวิศวกรรมต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมาย
บทพิสูจน์ หลักนิติรัฐ และนิติธรรม จะถูกทำลายหรือไม่? ในการสรรหา กสทช. ด้านวิศวกรรม ปิดตาเพิกเฉยต่อกฎหมายงานวิศวกรรมหรือไม่ ย่อมเห็นได้ชัดเจนเป็นที่สนใจของสังคม หากมุ่งจะหาที่ทำงานให้ทหารหลังเกษียณก็ยากอยู่ ซึ่งคนทั่วไปก็รู้อยู่แก่ใจว่าทหารเชี่ยวชาญงานวิศวกรรมแค่ไหน ปฏิบัติเองหรือประกวดราคาจ้างเอกชน แต่ข่าวลือชั่งหนาหูถึงขั้นว่า อย่าว่าแต่จบปริญญาด้านวิศวกรรมมาเลย นายพลบางคนจบ Computer science แต่ใช้ถ้อยคำเขียนเป็นภาษาไทยในใบสมัครว่าตนจบ “วิศวกรรมคอมพิวเตอร์” อย่างหน้าตาเฉยไม่สนใจกฎหมายใดๆ ไม่ต้องให้สภาวิศวกรรับรอง ไม่ทำตามกฎหมาย ยังตบตาให้ข้อมูลเท็จต่อคณะกรรมการสรรหาและประชาชน การให้ข้อมูลเท็จแก่รัฐจริงๆ ก็มีโทษอาญานะ แต่ยังไงก็ได้เป็น กสทช. จริงหรือไม่? ต้องติดตามกันต่อไป/ พันธุ์ศักดิ์ ซาบุ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการติดตาม ตรวจสอบโครงการด้านดิจิทัล และการพัฒนาสู่สังคมดิจิทัลวิถีใหม่