ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดหุ้นไทยพุ่งแรง 38 จุด ปิดที่1,506.65 จุด มูลค่า 1.15 แสนล้านบาท หลังนายกฯ ประกาศยังไม่ถึงขั้นล็อกดาวน์ และสั่งจองซื้อวัคซีนเพิ่ม ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เบรกความร้อนแรง "DELTA" เข้าเกณฑ์แคช บาร์ลานซ์ สั่งลงทุนด้วยเงินสด ด้าน ส.อ.ท. ผวายอดผู้ติดเชื้อพุ่งทำสถิติรายวัน หาก 1-2 เดือนคุมได้กระทบศก.ปี 2564 ไม่มากแต่หากลากยาวและยอดติดเชื้อยังเพิ่มสูงกระทบมากขึ้นแต่ยังไม่ถึงขั้นติดลบ ด้านสรท.ชี้โควิดรอบใหม่ปัจจัยเสี่ยงส่งออกปี 2564
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (5 ม.ค.) ดัชนีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีออกมายืนยันไม่มีการล็อกดาวน์ และเตรียมสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวมถึงมีเงินทุนไหลเข้ามาจากต่างประเทศในหุ้นขนาดใหญ่ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,500 จุด โดยต่ำสุดอยู่ที่ 1,466.05 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่จุดสูงสุด 1,506.65 จุด เพิ่มขึ้นกว่า 38.41 จุด หรือคิดเป็น 2.62% มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 115,299.85 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 58.22 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 2,980.33 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 1,198.50 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 4,120.61 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.พลังงานบริษัท หรือ EA ราคาปิด 64 บาท เพิ่มขึ้น 10.50 บาท หรือ 19.63% มูลค่าการซื้อขาย 9,517.68 ล้านบาท บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC ปิดที่ 84.75 บาท เพิ่มขึ้น 5.75 บาท หรือ 7.28% มูลค่า 7,692.68 ล้านบาท และ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ปิดที่ 656 บาท เพิ่มขึ้น 128 บาท หรือ 24.24% มูลค่า 6,144.47 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศให้หลักทรัพย์ของบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance) ซึ่งต้องลงทุนด้วยเงินสด เนื่องจากมีระดับราคาและปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปมากจากช่วงก่อนหน้า
"ส.อ.ท."ผวาไทยติดเชื้อโควิด-19พุ่ง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนกำลังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในไทยใกล้ชิดเนื่องจากกังวลถึงผู้ติดเชื้อที่เริ่มมีอัตราสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจนำไปสู่จำนวนผู้ติดเชื้อที่เกินศักยภาพจำนวนเตียงที่จะรักษาพยายาบาลจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรวมไปถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2564 โดยเบื้องต้นหากภายใน 1-2 เดือนทุกฝ่ายร่วมมือสามารถควบคุมการระบาดได้เศรษฐกิจปี 2564 จะกระทบเพียงเล็กน้อยแต่หากระยะยาวแล้วมีผู้ติดเชื้อต่อวันระดับ 1,000 คนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้มีโอกาสถดถอยแต่จะไม่ถึงขั้นติดลบ
" เราเคยประเมินว่าเศรษฐกิจปี 2564 จะโต 3%จากปี 2563 และส่งออกโต 3-5% กรณีควบคุมได้ใน 1-2 เดือนจากนี้เศรษฐกิจปี 64 อาจโตเพียง 2-3% แต่หากยาวไปมากกว่านี้อาจโตลดลงแต่ก็จะไม่ติดลบโดยโควิด-19 รอบใหม่นี้ไทยเรามีประสบการณ์จึงมีข้อดีและกำลังจะมีวัคซีนดังนั้นระหว่างรอวัคซีนจะต้องร่วมมือกันอย่างเข้มข้นซึ่งสมาชิกส.อ.ท.กำลังนำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(BCP)มาดำเนินการเพื่อรับมือโควิด-19อีกครั้ง"นายเกรียงไกรกล่าว
ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการคือการเช็คแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบผิดกฏหมายแล้วกลัวความผิดก่อนหน้านี้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครไม่ให้กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพราะหากไม่สามารถควบคุมได้การแพร่กระจายจะมากขึ้น และภายหลังจบปัญหาโควิด-19 แล้วขอให้รัฐบาลทบทวนมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวให้มีการขึ้นทะเบียนแบบถูกกฏหมายและมีการดำเนินการจัดตั้งแคมป์แรงงานที่ถูกลักษณะเช่นเดียวกับสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น
สำหรับการส่งออกปี 2564 มีปัจจัยกดดันที่ต้องติดตามหลักๆ 2 ประเด็นได้แก่ 1. กรณีสมุทรสาครซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลส่งออกหากตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงและนำไปสู่การต้องปิดโรงงานจะกระทบการส่งออกและความเชื่อมั่นจะส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว และ2. ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าย่อมกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่ลดลงและยังส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันลดตามไปด้วย
น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท. คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 หดตัวลดลงระหว่างติดลบ 6-7% และคาดการณ์ ปี 2564 เติบโตระหว่าง 3-4% แต่ยังมองว่าภาคการส่งออกในไตรมาสที่ 1/2564 ยังไม่ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญและภาพทั้งปีคงจะต้องติดตามการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564
นอกจากนี้ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร เงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันที่อาจมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปี 2562 ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐเร่งหามาตรการเร่งด่วนระยะ 2 เดือนได้แก่ หามาตรการรองรับสถานการณ์โควิดรอบใหม่ เร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือต่ออายุมาตรการที่ออกมาในช่วงโควิด-19 ระบาดในรอบแรก เร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน ส่วนมาตรการระยะยาว ได้แก่ หามาตรการรองรับสถานการณ์โควิดรอบใหม่และเร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน เป็นต้น
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (5 ม.ค.) ดัชนีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากวันก่อนหน้า หลังจากที่นายกรัฐมนตรีออกมายืนยันไม่มีการล็อกดาวน์ และเตรียมสั่งซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวมถึงมีเงินทุนไหลเข้ามาจากต่างประเทศในหุ้นขนาดใหญ่ทำให้ดัชนีปรับตัวขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,500 จุด โดยต่ำสุดอยู่ที่ 1,466.05 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่จุดสูงสุด 1,506.65 จุด เพิ่มขึ้นกว่า 38.41 จุด หรือคิดเป็น 2.62% มูลค่าการซื้อขายรวมกว่า 115,299.85 ล้านบาท
โดยนักลงทุนต่างชาติ ขายสุทธิ 58.22 ล้านบาท สถาบันในประเทศ ซื้อสุทธิ 2,980.33 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ ซื้อสุทธิ 1,198.50 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อย ขายสุทธิ 4,120.61 ล้านบาท
สำหรับหลักทรัพย์ที่มูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บมจ.พลังงานบริษัท หรือ EA ราคาปิด 64 บาท เพิ่มขึ้น 10.50 บาท หรือ 19.63% มูลค่าการซื้อขาย 9,517.68 ล้านบาท บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC ปิดที่ 84.75 บาท เพิ่มขึ้น 5.75 บาท หรือ 7.28% มูลค่า 7,692.68 ล้านบาท และ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ปิดที่ 656 บาท เพิ่มขึ้น 128 บาท หรือ 24.24% มูลค่า 6,144.47 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศให้หลักทรัพย์ของบมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย (Cash Balance) ซึ่งต้องลงทุนด้วยเงินสด เนื่องจากมีระดับราคาและปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนแปลงไปมากจากช่วงก่อนหน้า
"ส.อ.ท."ผวาไทยติดเชื้อโควิด-19พุ่ง
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ภาคเอกชนกำลังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในไทยใกล้ชิดเนื่องจากกังวลถึงผู้ติดเชื้อที่เริ่มมีอัตราสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจนำไปสู่จำนวนผู้ติดเชื้อที่เกินศักยภาพจำนวนเตียงที่จะรักษาพยายาบาลจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและรวมไปถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2564 โดยเบื้องต้นหากภายใน 1-2 เดือนทุกฝ่ายร่วมมือสามารถควบคุมการระบาดได้เศรษฐกิจปี 2564 จะกระทบเพียงเล็กน้อยแต่หากระยะยาวแล้วมีผู้ติดเชื้อต่อวันระดับ 1,000 คนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจให้มีโอกาสถดถอยแต่จะไม่ถึงขั้นติดลบ
" เราเคยประเมินว่าเศรษฐกิจปี 2564 จะโต 3%จากปี 2563 และส่งออกโต 3-5% กรณีควบคุมได้ใน 1-2 เดือนจากนี้เศรษฐกิจปี 64 อาจโตเพียง 2-3% แต่หากยาวไปมากกว่านี้อาจโตลดลงแต่ก็จะไม่ติดลบโดยโควิด-19 รอบใหม่นี้ไทยเรามีประสบการณ์จึงมีข้อดีและกำลังจะมีวัคซีนดังนั้นระหว่างรอวัคซีนจะต้องร่วมมือกันอย่างเข้มข้นซึ่งสมาชิกส.อ.ท.กำลังนำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง(BCP)มาดำเนินการเพื่อรับมือโควิด-19อีกครั้ง"นายเกรียงไกรกล่าว
ทั้งนี้สิ่งที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการคือการเช็คแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแบบผิดกฏหมายแล้วกลัวความผิดก่อนหน้านี้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครไม่ให้กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆ เพราะหากไม่สามารถควบคุมได้การแพร่กระจายจะมากขึ้น และภายหลังจบปัญหาโควิด-19 แล้วขอให้รัฐบาลทบทวนมาตรการควบคุมแรงงานต่างด้าวให้มีการขึ้นทะเบียนแบบถูกกฏหมายและมีการดำเนินการจัดตั้งแคมป์แรงงานที่ถูกลักษณะเช่นเดียวกับสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น
สำหรับการส่งออกปี 2564 มีปัจจัยกดดันที่ต้องติดตามหลักๆ 2 ประเด็นได้แก่ 1. กรณีสมุทรสาครซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลส่งออกหากตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงและนำไปสู่การต้องปิดโรงงานจะกระทบการส่งออกและความเชื่อมั่นจะส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว และ2. ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าย่อมกระทบต่อมูลค่าการส่งออกที่ลดลงและยังส่งผลให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันลดตามไปด้วย
น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท. คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2563 หดตัวลดลงระหว่างติดลบ 6-7% และคาดการณ์ ปี 2564 เติบโตระหว่าง 3-4% แต่ยังมองว่าภาคการส่งออกในไตรมาสที่ 1/2564 ยังไม่ฟื้นตัวอย่างมีนัยยะสำคัญและภาพทั้งปีคงจะต้องติดตามการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่ทั้งในและต่างประเทศอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564
นอกจากนี้ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งยังไม่คลี่คลายเท่าที่ควร เงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันที่อาจมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับปี 2562 ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐเร่งหามาตรการเร่งด่วนระยะ 2 เดือนได้แก่ หามาตรการรองรับสถานการณ์โควิดรอบใหม่ เร่งออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหรือต่ออายุมาตรการที่ออกมาในช่วงโควิด-19 ระบาดในรอบแรก เร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน ส่วนมาตรการระยะยาว ได้แก่ หามาตรการรองรับสถานการณ์โควิดรอบใหม่และเร่งแก้ไขปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน เป็นต้น