ผู้จัดการรายวัน360 - “คมนาคม”วางแผนปรับรถขนส่งสาธารณะเป็นยานยนต์ไฟฟ้าใช้เวลาเปลี่ยนผ่าน 20 ปี ชี้ต้นทุนยังสูง เผยยังมีอุปสรรคหลายข้อ ทั้งต้นทุนที่สูง มาตรการภาษีและส่งเสริมการลงทุน สถานีชาร์จไฟ รวมถึงการกำจัดแบตเตอรี่หมดสภาพ ผุดโครงการนำร่องใน6 จังหวัด และเรือไฟฟ้าในกทม. “ศักดิ์สยาม”รับแผนฟื้นฟู ขสมก.พลาดเป้า กระทบรับมอบรถโดยสารใหม่ หลังรอแจงความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จ่อเข้า ครม.มากว่า 1 เดือน ลุ้นหากเคาะภายในธ.ค.นี้ เดินหน้ารับมอบ พ.ค.64
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการศึกษายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle:EV) ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฏรว่า เบื้องต้น ทางคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้าได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศไทย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน15 ปี ในขณะที่ กระทรวงคมนาคมศึกษาการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถสาธารณะ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 20 ปี เนื่องจากจะต้องศึกษาพิจารณาในเรื่องระเบียบกฎหมาย แผนส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยน เช่นมาตรการทางภาษี การส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเนื่องจากพบว่า กรณีปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า มีต้นทุนสูงถึง 300,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงมากนอกจากนี้ ยังมีเรื่อง สถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ การบริหารจัดการแบตเตอรี่ หลังจากหมดสภาพ
จากการหารือพบว่าข้อมูลของคณะกรรมการฯ มีความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการของกระทรวงคมนาคม เช่น การศึกษาการนำรถโดยสารสาธารณะด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้านำมาใช้ในเส้นทางนำร่องในพื้นที่6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สาย137 (รามคำแหง-ถนนรัชดาภิเษก) , จ. เชียงใหม่ ระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว(สนามบินเชียงใหม่-ห้างฯเซ็นทรัลเฟสติวัล) จ.นครราชสีมา ระบบขนส่งมวลชน (อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-โรงเรียนสุรนารีวิทยา) จ. พระนครศรีอยุธยา รถโดยสารสาธารณะสายที่1 (วนซ้าย) และสายที่2 (วนขวา) เริ่มจากศาลากลางจังหวัด จ. ชลบุรี รถโดยสารสายที่1 (นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-สถานีรถไฟชลบุรี) และจ. ภูเก็ต เส้นทางรถสาย 1814 ผภูเก็ต-ป่าตอง).
ส่วนคมนาคมทางน้ำ กรมเจ้าท่า มีโครงการจัดหาระบบเรือโดยสารไฟฟ้าต้นแบบในคลองแสนแสบเพื่อประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ทางคณะกรรมการฯ มีความกังวลในเรื่องที่อาจจะกระทบต่อการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน “ดีทรอยต์” อาจจะถูกประเทศอื่นช่วงชิงไปได้เนื่องจากหลายประเทศที่เริ่มพัฒนาเพื่อรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทำให้มีความได้เปรียบปรเทศไทย เช่น บางประเทศมีแร่ในการทำแบตเตอรี่ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มีผลักดันและทางบีโอไอมีการส่งเสริมนักลงทุนในเรื่องดังกล่าวแล้ว
โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาแนวทางการผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางนั้น พบว่ามีอุปสรรค4 ข้อ คือ1. ราคารถแพง มีต้นทุนนำเข้า การผลิตตัวรถและชิ้นส่วนมีราคาสูง จึงต้องมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า จาก บีโอไอ ,ศึกษาราคาค่าไฟฟ้าสำหรับธุรกิจโดยสารสาธารณะที่เหมาะสม, ศึกษาความเหมาะสมในการดัดแปลงรถโดยสารดีเซลเป็นไฟฟ้า ,บริหารจัดการแบตเตอรี่หลังหมดสภาพใช้งาน, พัฒนาอบรมบุคลากร 2. ขาดจุดชาร์จไฟ 3. ขาดระเบียบรองรับเกี่ยวกับรถโดยสารไฟฟ้า 4. ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ขณะที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ศึกษาในเรื่องมาตรการภาษีประจำปี การแยกข้อมูล เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนา การกำหนดเครื่องหมายยานยนต์ไฟฟ้ามาตรการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ
“ศักดิ์สยาม”รับแผนฟื้นฟู ขสมก.พลาดเป้า
ส่วนความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนดังกล่าวให้ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมครม. มากว่า 1 เดือนแล้ว ซึ่งขณะนี้ยังรอหนังสือสอบถามความคิดเห็นจาก สลค. ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าได้รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าดังกล่าวตนได้แจ้งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้ สลค.รีบดำเนินการ เนื่องจากเวลานี้ถือว่าหลุดกรอบเวลาการดำเนินการตามแผนเดิมไปแล้ว จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะสามารถนำรถเมล์ไฟฟ้า (อีวี) ล็อตแรกประมาณ 400 คัน เข้ามาให้บริการประชาชนได้ในเดือน มี.ค.64
ทั้งนี้ คาดว่าหากที่ประชุมครม. สามารถพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.ได้ทันภายในเดือนธ.ค.นี้ ขสมก. ก็น่าจะสามารถเร่งรัดนำรถเมล์ไฟฟ้าล็อตแรกมาให้บริการได้ประมาณเดือน พ.ค.64 แต่หากยังไม่สามารถเข้าพิจารณาในที่ประชุมครม.ในเดือนธ.ค.นี้ แน่นอนว่ากรอบเวลาการดำเนินงานก็คงต้องเลื่อนออกไปอีก
"กระทรวงคมนาคมพร้อมตอบคำถาม และข้อสงสัยในทุกเรื่อง หากพิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เราก็พร้อมปรับเปลี่ยน แต่เวลานี้ยังไม่มีการส่งความเห็นกลับมา ทางกระทรวงฯ ก็ต้องรอต่อไป และทำให้เสียโอกาสในหลายเรื่อง ขสมก.ก็จะขาดทุนสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ประชาชนก็ต้องใช้บริการรถเมล์ที่ไม่มีคุณภาพต่อไป และยังสร้างมลพิษให้เกิดขึ้นทุกวัน เพราะรถเมล์ขสมก. ส่วนใหญ่ใช้งานมากว่า 20 ปี”
สำหรับแผนฟื้นฟู ขสมก.ได้กำหนดจัดหารถเมล์อีวี จำนวน 2,511 คัน เพื่อนำมาวิ่งให้บริการประชาชนใน 108 เส้นทางที่จะปรับปรุงใหม่ โดยขสมก.จะทำการเปิดประมูล ซึ่งผู้ชนะจะต้องส่งมอบรถล็อตแรก 400 คัน ภายในเดือน มี.ค.64 จากนั้นจะต้องทยอยส่งมอบรถทุกเดือนๆ ละ 400 คัน จนครบ 2,511 คัน หรือส่งมอบแล้วเสร็จภายใน 7 เดือน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือการศึกษายานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle:EV) ร่วมกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้า สภาผู้แทนราษฏรว่า เบื้องต้น ทางคณะอนุกรรมาธิการพิจารณายานยนต์ไฟฟ้าได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายของประเทศไทย ซึ่งจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน15 ปี ในขณะที่ กระทรวงคมนาคมศึกษาการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถสาธารณะ โดยคาดว่าจะใช้ระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน 20 ปี เนื่องจากจะต้องศึกษาพิจารณาในเรื่องระเบียบกฎหมาย แผนส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยน เช่นมาตรการทางภาษี การส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนเนื่องจากพบว่า กรณีปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์จากดีเซลเป็นระบบไฟฟ้า มีต้นทุนสูงถึง 300,000 บาท ซึ่งถือว่าสูงมากนอกจากนี้ ยังมีเรื่อง สถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ การบริหารจัดการแบตเตอรี่ หลังจากหมดสภาพ
จากการหารือพบว่าข้อมูลของคณะกรรมการฯ มีความสอดคล้องกับแผนงานและโครงการของกระทรวงคมนาคม เช่น การศึกษาการนำรถโดยสารสาธารณะด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้านำมาใช้ในเส้นทางนำร่องในพื้นที่6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สาย137 (รามคำแหง-ถนนรัชดาภิเษก) , จ. เชียงใหม่ ระบบขนส่งมวลชนสายสีเขียว(สนามบินเชียงใหม่-ห้างฯเซ็นทรัลเฟสติวัล) จ.นครราชสีมา ระบบขนส่งมวลชน (อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี-โรงเรียนสุรนารีวิทยา) จ. พระนครศรีอยุธยา รถโดยสารสาธารณะสายที่1 (วนซ้าย) และสายที่2 (วนขวา) เริ่มจากศาลากลางจังหวัด จ. ชลบุรี รถโดยสารสายที่1 (นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-สถานีรถไฟชลบุรี) และจ. ภูเก็ต เส้นทางรถสาย 1814 ผภูเก็ต-ป่าตอง).
ส่วนคมนาคมทางน้ำ กรมเจ้าท่า มีโครงการจัดหาระบบเรือโดยสารไฟฟ้าต้นแบบในคลองแสนแสบเพื่อประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่ง ทางคณะกรรมการฯ มีความกังวลในเรื่องที่อาจจะกระทบต่อการที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน “ดีทรอยต์” อาจจะถูกประเทศอื่นช่วงชิงไปได้เนื่องจากหลายประเทศที่เริ่มพัฒนาเพื่อรองรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแล้ว ทำให้มีความได้เปรียบปรเทศไทย เช่น บางประเทศมีแร่ในการทำแบตเตอรี่ เป็นต้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มีผลักดันและทางบีโอไอมีการส่งเสริมนักลงทุนในเรื่องดังกล่าวแล้ว
โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาแนวทางการผลักดันเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในการเดินทางนั้น พบว่ามีอุปสรรค4 ข้อ คือ1. ราคารถแพง มีต้นทุนนำเข้า การผลิตตัวรถและชิ้นส่วนมีราคาสูง จึงต้องมีการส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและประกอบยานยนต์ไฟฟ้า จาก บีโอไอ ,ศึกษาราคาค่าไฟฟ้าสำหรับธุรกิจโดยสารสาธารณะที่เหมาะสม, ศึกษาความเหมาะสมในการดัดแปลงรถโดยสารดีเซลเป็นไฟฟ้า ,บริหารจัดการแบตเตอรี่หลังหมดสภาพใช้งาน, พัฒนาอบรมบุคลากร 2. ขาดจุดชาร์จไฟ 3. ขาดระเบียบรองรับเกี่ยวกับรถโดยสารไฟฟ้า 4. ยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ขณะที่กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ศึกษาในเรื่องมาตรการภาษีประจำปี การแยกข้อมูล เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนา การกำหนดเครื่องหมายยานยนต์ไฟฟ้ามาตรการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการขนส่งสาธารณะ
“ศักดิ์สยาม”รับแผนฟื้นฟู ขสมก.พลาดเป้า
ส่วนความคืบหน้าแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมได้เสนอแผนดังกล่าวให้ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เพื่อบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมครม. มากว่า 1 เดือนแล้ว ซึ่งขณะนี้ยังรอหนังสือสอบถามความคิดเห็นจาก สลค. ซึ่งเบื้องต้นทราบว่าได้รวบรวมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
อย่างไรก็ตาม จากความล่าช้าดังกล่าวตนได้แจ้งให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้ สลค.รีบดำเนินการ เนื่องจากเวลานี้ถือว่าหลุดกรอบเวลาการดำเนินการตามแผนเดิมไปแล้ว จากเดิมที่ตั้งเป้าว่าจะสามารถนำรถเมล์ไฟฟ้า (อีวี) ล็อตแรกประมาณ 400 คัน เข้ามาให้บริการประชาชนได้ในเดือน มี.ค.64
ทั้งนี้ คาดว่าหากที่ประชุมครม. สามารถพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.ได้ทันภายในเดือนธ.ค.นี้ ขสมก. ก็น่าจะสามารถเร่งรัดนำรถเมล์ไฟฟ้าล็อตแรกมาให้บริการได้ประมาณเดือน พ.ค.64 แต่หากยังไม่สามารถเข้าพิจารณาในที่ประชุมครม.ในเดือนธ.ค.นี้ แน่นอนว่ากรอบเวลาการดำเนินงานก็คงต้องเลื่อนออกไปอีก
"กระทรวงคมนาคมพร้อมตอบคำถาม และข้อสงสัยในทุกเรื่อง หากพิจารณาแล้วไม่เป็นไปตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เราก็พร้อมปรับเปลี่ยน แต่เวลานี้ยังไม่มีการส่งความเห็นกลับมา ทางกระทรวงฯ ก็ต้องรอต่อไป และทำให้เสียโอกาสในหลายเรื่อง ขสมก.ก็จะขาดทุนสะสมต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ประชาชนก็ต้องใช้บริการรถเมล์ที่ไม่มีคุณภาพต่อไป และยังสร้างมลพิษให้เกิดขึ้นทุกวัน เพราะรถเมล์ขสมก. ส่วนใหญ่ใช้งานมากว่า 20 ปี”
สำหรับแผนฟื้นฟู ขสมก.ได้กำหนดจัดหารถเมล์อีวี จำนวน 2,511 คัน เพื่อนำมาวิ่งให้บริการประชาชนใน 108 เส้นทางที่จะปรับปรุงใหม่ โดยขสมก.จะทำการเปิดประมูล ซึ่งผู้ชนะจะต้องส่งมอบรถล็อตแรก 400 คัน ภายในเดือน มี.ค.64 จากนั้นจะต้องทยอยส่งมอบรถทุกเดือนๆ ละ 400 คัน จนครบ 2,511 คัน หรือส่งมอบแล้วเสร็จภายใน 7 เดือน