ดัชนีเชื่อมั่นฯ เดือน พ.ย.ดีขึ้นทุกรายการ โตสุดในรอบ 9 เดือน อานิสงค์มาตรการ “คนละครึ่ง” เพิ่มกำลังซื้อคนไทย ลุ้นไตรมาส 4 คลอดมาตรการบูทเศรษฐกิจต่อเนื่อง
วานนี้ (3 ธ.ค.) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.63 ว่า อยู่ที่ 52.4 จาก 50.9 ในเดือน ต.ค.63 โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 45.6 จาก 43.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ อยู่ที่ 50.0 จาก 49.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 61.6 จาก 59.9
โดยมีผลมาจาก ปัจจัยบวก อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับคาดการณ์ GDP ในปี 63 ว่าจะหดตัวน้อยลงเหลือ -6% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวถึง -7.8, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี, รัฐบาลดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และมาตรการช้อปดีมีคืน ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้น เป็นต้น ขณะที่ ปัจจัยลบ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองเรื่องการชุมนุม และความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยในอนาคต เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า คาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 จนกว่าสถานการณ์โควิด-19 ของโลกจะคลายตัวลง ซึ่งต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ว่าสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้มากน้อยเพียงใด
วานนี้ (3 ธ.ค.) ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน พ.ย.63 ว่า อยู่ที่ 52.4 จาก 50.9 ในเดือน ต.ค.63 โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯ ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 45.6 จาก 43.9, ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ อยู่ที่ 50.0 จาก 49.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 61.6 จาก 59.9
โดยมีผลมาจาก ปัจจัยบวก อาทิ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับคาดการณ์ GDP ในปี 63 ว่าจะหดตัวน้อยลงเหลือ -6% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวถึง -7.8, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี, รัฐบาลดำเนินมาตรการเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงปลายปี เช่น โครงการคนละครึ่ง โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และมาตรการช้อปดีมีคืน ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับตัวดีขึ้น เป็นต้น ขณะที่ ปัจจัยลบ อาทิ ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองเรื่องการชุมนุม และความวิตกกังวลต่อสถานการณ์โควิด-19 ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ และเศรษฐกิจไทยในอนาคต เป็นต้น
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า คาดว่าผู้บริโภคยังคงชะลอการใช้จ่ายไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 จนกว่าสถานการณ์โควิด-19 ของโลกจะคลายตัวลง ซึ่งต้องติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ว่าสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยได้มากน้อยเพียงใด