นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายน 2563 อยู่ที่ 49.2 จาก 48.2 ในเดือนพฤษภาคม 2563 นับเป็นการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องเดือนที่ 2 หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 41.4 จาก 40.2 ในเดือนพฤษภาคม 2563
นายธนวรรธน์ เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยบวก ได้แก่ รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และ 4 รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ความวิตกกังวลการแพร่ระบาดสถานการณ์โควิด-19 กนง.ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2563 เป็น -8.1% รัฐบาลขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ราคาพืชผลการเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ การส่งออกเดือนพฤษภาคม ติดลบ -22.5% ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และผู้บริโภคกังวลปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว
นายธนวรรธน์ เปิดเผยว่า สำหรับปัจจัยบวก ได้แก่ รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 และ 4 รัฐบาลมีมาตรการเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.50% ส่วนปัจจัยลบ ได้แก่ ความวิตกกังวลการแพร่ระบาดสถานการณ์โควิด-19 กนง.ปรับลดอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2563 เป็น -8.1% รัฐบาลขยายเวลาการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ราคาพืชผลการเกษตรยังทรงตัวในระดับต่ำ การส่งออกเดือนพฤษภาคม ติดลบ -22.5% ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย และผู้บริโภคกังวลปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว