ผู้จัดการรายวัน360- "นายกฯ" ประชุมภาคธุรกิจสหรัฐฯ ปลื้มต่างชาติชื่นชมไทยเหมาะลงทุน เล็งแหล่งน่าลงทุนระดับเอเชีย หลังจัดการโควิดยอดเยี่ยม ผุด คกก.แสวงหาความร่วมมือ 3 ด้าน ทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข การสร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค และการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พร้อมเดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน
วานนี้ (25พ.ย.) ที่กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงการร่วมประชุมกับสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียนว่า ทั้งรองนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าประชุมร่วมกับนักธุรกิจสหรัฐอเมริกา และเรามีความคิดเห็นตรงกันในการที่จะปรับเปลี่ยน พัฒนา เรื่องของเศรษฐกิจไปได้อย่างไร ซึ่งประเทศไทยได้มีการเตรียมการ และปฏิบัติการไปบ้างแล้ว ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ว่าทำอย่างไร เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการพึ่งพาการส่งออกและท่องเที่ยวอย่างเดียว เราจำเป็นต้องมีกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น มีการยกระดับฝีมือแรงงาน ผลิตนักศึกษาอาชีวะ รุ่นใหม่ๆ ออกมา เราต้องเร่งทั้งสองทาง ทั้งผลิตคนและเครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยี
ทั้งนี้ภาคธุรกิจที่มาหารือกับเรา มีทั้งหมด 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ 2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม 3. กลุ่มยาสูบ 4. กลุ่มอุตสาหกรรม 5. กลุ่มพลังงาน 6. กลุ่มโลจิสติกส์และบริการ 7. กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ 8. กลุ่มระดับที่ปรึกษา 9. กลุ่มประกันภัย และ 10. กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ซึ่งทั้งหมดมีการประกอบการในประเทศไทยอยู่แล้ว ตนจึงชักชวนให้มาลงทุนสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล
"ผมก็ได้กล่าวขอบคุณ และชื่นชมที่เขายังได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจในเสถียรภาพ ความเข้มแข็งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของเรา ซึ่งเขาก็ยินดีที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 3 ด้าน คือ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และการพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งผมก็บอกเขาว่า ทำอย่างไรเราถึงจะมีช่องทางพิเศษเพื่อใช้ส่งสินค้าและเดินทางระหว่างกันระหว่างประเทศต่อประเทศ ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่ในมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ถ้าเราทำตรงนี้ได้ ก็จะลดอุปสรรคในการขนส่งสินค้า และผมย้ำกับเขาว่า ขอให้เชื่อมั่น"
ส่วนในเรื่องของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก็ได้ย้ำไปว่า เราให้สิทธิ์ประโยชน์ที่มากพอสมควร และก็ต้องดูว่าถ้าหากเขาต้องการในภูมิภาคอื่น เราจะมีมาตรการพิเศษตรงนั้นเพิ่มขึ้นให้เขาได้อย่างไร เพื่อจูงใจให้มาลงทุนตรงนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงการคลัง กำลังดูแลในส่วนนี้อยู่ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ก็ได้กล่าวชื่นชมว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน มีสภาพแวดล้อมที่ดีกับการลงทุน และมีศักยภาพสูงในการลงทุนในโลก ไม่แพ้ประเทศอื่น ซึ่งตนก็ได้ย้ำไปว่า เราเป็นมิตรกันมายาวนานเกือบ 200 ปี เราก็ต้องคงความสัมพันธ์แบบนี้กันต่อไป และเขาเห็นเราเป็นตลาดการค้าสำคัญในเอเชีย และ หวังว่าเราจะมีโอกาสในการฟื้นฟูอาเซียน ไปด้วยกัน
นอกจากนี้ เขาชื่นชมเราในการรับมือแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ และเราได้หรือการหารือกันในเรื่องของวัคซีนว่า ทำอย่างไร เมื่อผลิตออกมาแล้วหลายหลายบริษัทที่เกี่ยวข้อง จะทำให้กลายเป็นสินค้าสาธารณะ สามารถเข้าถึงได้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา เพื่อประชากรโลกจะได้ปลอดภัย
ทั้งนี้ ประธานหลายบริษัทที่เดินทางมาร่วมประชุมไม่ได้ ก็ได้ชื่นชมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ อย่างไรก็ตาม การประชุม USABC ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาความร่วมมือใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข 2. สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค 3. การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยินดีร่วมมือกับไทยในการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง และราบรื่น พร้อมหวังว่าประเทศไทยจะเปิดเสรีในการเดินทางข้ามพรมแดนมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว
เมื่อถามถึงการหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายกฯ กล่าวว่า เป็นการหารือนอกรอบ เป็นการส่วนตัว ได้พูดคุยกันว่าจะดูแลช่วยเหลือเยียวยาค่าครองชีพกันอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นได้มีการหารือเรื่องการลงทุนภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ราง ถนน เป็นการใช้จ่ายภาครัฐ ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบข้างล่างทำอย่างไรจะดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งก็ได้พูดคุยกันไปแล้ว เราต้องพิจารณาเรื่องของกฎหมาย ภาษี โดยยึดว่าประชาชน และประเทศจะได้ประโยชน์อะไร เราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากร ซึ่งไม่ใช่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องรู้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือและให้เม็ดเงินลงไปอย่างทั่วถึง
วานนี้ (25พ.ย.) ที่กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม แถลงการร่วมประชุมกับสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียนว่า ทั้งรองนายกฯ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้เข้าประชุมร่วมกับนักธุรกิจสหรัฐอเมริกา และเรามีความคิดเห็นตรงกันในการที่จะปรับเปลี่ยน พัฒนา เรื่องของเศรษฐกิจไปได้อย่างไร ซึ่งประเทศไทยได้มีการเตรียมการ และปฏิบัติการไปบ้างแล้ว ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ว่าทำอย่างไร เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากการพึ่งพาการส่งออกและท่องเที่ยวอย่างเดียว เราจำเป็นต้องมีกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น มีการยกระดับฝีมือแรงงาน ผลิตนักศึกษาอาชีวะ รุ่นใหม่ๆ ออกมา เราต้องเร่งทั้งสองทาง ทั้งผลิตคนและเครื่องไม้เครื่องมือ และเทคโนโลยี
ทั้งนี้ภาคธุรกิจที่มาหารือกับเรา มีทั้งหมด 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ 2. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม 3. กลุ่มยาสูบ 4. กลุ่มอุตสาหกรรม 5. กลุ่มพลังงาน 6. กลุ่มโลจิสติกส์และบริการ 7. กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ 8. กลุ่มระดับที่ปรึกษา 9. กลุ่มประกันภัย และ 10. กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ซึ่งทั้งหมดมีการประกอบการในประเทศไทยอยู่แล้ว ตนจึงชักชวนให้มาลงทุนสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล
"ผมก็ได้กล่าวขอบคุณ และชื่นชมที่เขายังได้มีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจในเสถียรภาพ ความเข้มแข็งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของเรา ซึ่งเขาก็ยินดีที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 3 ด้าน คือ ความมั่นคงด้านสาธารณสุข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และการพัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งผมก็บอกเขาว่า ทำอย่างไรเราถึงจะมีช่องทางพิเศษเพื่อใช้ส่งสินค้าและเดินทางระหว่างกันระหว่างประเทศต่อประเทศ ซึ่งเรากำลังดำเนินการอยู่ในมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ถ้าเราทำตรงนี้ได้ ก็จะลดอุปสรรคในการขนส่งสินค้า และผมย้ำกับเขาว่า ขอให้เชื่อมั่น"
ส่วนในเรื่องของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ก็ได้ย้ำไปว่า เราให้สิทธิ์ประโยชน์ที่มากพอสมควร และก็ต้องดูว่าถ้าหากเขาต้องการในภูมิภาคอื่น เราจะมีมาตรการพิเศษตรงนั้นเพิ่มขึ้นให้เขาได้อย่างไร เพื่อจูงใจให้มาลงทุนตรงนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงการคลัง กำลังดูแลในส่วนนี้อยู่ นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ก็ได้กล่าวชื่นชมว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน มีสภาพแวดล้อมที่ดีกับการลงทุน และมีศักยภาพสูงในการลงทุนในโลก ไม่แพ้ประเทศอื่น ซึ่งตนก็ได้ย้ำไปว่า เราเป็นมิตรกันมายาวนานเกือบ 200 ปี เราก็ต้องคงความสัมพันธ์แบบนี้กันต่อไป และเขาเห็นเราเป็นตลาดการค้าสำคัญในเอเชีย และ หวังว่าเราจะมีโอกาสในการฟื้นฟูอาเซียน ไปด้วยกัน
นอกจากนี้ เขาชื่นชมเราในการรับมือแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ และเราได้หรือการหารือกันในเรื่องของวัคซีนว่า ทำอย่างไร เมื่อผลิตออกมาแล้วหลายหลายบริษัทที่เกี่ยวข้อง จะทำให้กลายเป็นสินค้าสาธารณะ สามารถเข้าถึงได้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา เพื่อประชากรโลกจะได้ปลอดภัย
ทั้งนี้ ประธานหลายบริษัทที่เดินทางมาร่วมประชุมไม่ได้ ก็ได้ชื่นชมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ อย่างไรก็ตาม การประชุม USABC ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาความร่วมมือใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข 2. สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค 3. การฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยินดีร่วมมือกับไทยในการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึง และราบรื่น พร้อมหวังว่าประเทศไทยจะเปิดเสรีในการเดินทางข้ามพรมแดนมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว
เมื่อถามถึงการหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับ นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และรมว.พลังงาน และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายกฯ กล่าวว่า เป็นการหารือนอกรอบ เป็นการส่วนตัว ได้พูดคุยกันว่าจะดูแลช่วยเหลือเยียวยาค่าครองชีพกันอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นได้มีการหารือเรื่องการลงทุนภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ราง ถนน เป็นการใช้จ่ายภาครัฐ ทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบข้างล่างทำอย่างไรจะดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งก็ได้พูดคุยกันไปแล้ว เราต้องพิจารณาเรื่องของกฎหมาย ภาษี โดยยึดว่าประชาชน และประเทศจะได้ประโยชน์อะไร เราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากร ซึ่งไม่ใช่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องรู้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือและให้เม็ดเงินลงไปอย่างทั่วถึง