ผู้จัดการรายวัน360-ส.อ.ท.หนุนมาตรการรัฐ รถแลกแจกแถม หรือรถเก่าแลกรถใหม่ 1 แสนคัน เผยหากจะให้ได้ผล ต้องเน้นรถยนต์ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงก่อน เหตุตอบโจทย์กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีสุด เพราะผลิตได้เอง ราคาเอื้อให้แลก ผู้ผลิตชิ้นส่วน และเกษตรกรได้ประโยชน์ร่วมด้วย ส่วนการแลกรถอีวี ควรเป็นเฟสต่อไปช่วงปลายปี 64-65 หลังการผลิตในประเทศเดินเครื่อง
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ มีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองสะอาด โดยมีโครงการ “รถแลกแจกแถม” (รถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน) ว่า กลุ่มยานยนต์ส.อ.ท. เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว แต่รถใหม่ที่จะส่งเสริม หรือให้แลกระยะเร่งด่วน ควรเป็นรถที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก และต้องคำนึงถึงห่วงโซ่การผลิตที่มองไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการคนไทย
“หากรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ แต่โครงการส่งเสริมให้นำรถเก่ามาแลกรถใหม่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ที่ขณะนี้ยังไม่มีการผลิตในประเทศ หรือจะให้แลกเป็นรถประเภทไฮบริด ก็จำกัดการผลิตอยู่เพียงไม่กี่ราย และยังมีราคาสูงคันละ 1 ล้านบาทขึ้นไปจนถึง 5-6 ล้านบาท กลุ่มคนซื้อต้องมีกำลังซื้อสูง แต่หากเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะเป็นรถยนต์ที่ทุกกลุ่มได้ประโยชน์ ทั้งผู้ผลิตรถ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่มีการจ้างงานนับล้านคน รวมถึงน้ำมันที่ผลิตขณะนี้ ก็เป็นเอทานอล ไบโอดีเซล มาผสม จะช่วยเกษตรกรและลดมลภาวะได้เช่นกัน”นายสุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย พบว่า จากการที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วงปี 2561 จะต้องเริ่มต้นสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปลายปี 2564-65
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมียอดสะสมรถยนต์นั่งรวมประมาณ 10 ล้านคัน แบ่งเป็นรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน 6.4 ล้านคัน คิดเป็น 62% และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล 3 ล้านคัน คิดเป็น 29% ของรถยนต์ทั้งหมดในภาพรวม ขณะที่ รถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เติบโตเพิ่มขึ้น 140% จาก 31 ธ.ค.2562 ที่มียอดขายรวม 802 คัน มาเป็นกว่า 1,000 คัน และเป็นการเติบโตมาจากรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยราคาขายสูงเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป และขายดีในช่วงราคา 2-3 ล้านบาท
“ตลาดกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ต้องการซื้อรถยนต์ประมาณคันละไม่เกิน 800,000 บาท ตรงกันข้ามกับยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.2563) ยอดขายลดลง 27% ยอดขายรถยนต์นั่งตกลงไป 37% ส่วนกลุ่มรถยนต์นั่งไฮบริดที่ขายในประเทศ ช่วง 10 เดือนปี 2563 เติบโตขึ้น 44% ด้วยยอดขายเดือนละประมาณ 4,700 คัน ยอดสะสม 10 เดือนที่ 47,000 คัน ยอดสะสมในประเทศกว่า 153,000 คัน แต่ภาพรวมมีสัดส่วนคิดเป็น 1.48% ของยอดรถยนต์สะสมทั้งหมดที่มีประมาณ 10 ล้านคัน”นายสุรพงษ์กล่าว
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีที่การประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ มีมติเห็นชอบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้าเพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองสะอาด โดยมีโครงการ “รถแลกแจกแถม” (รถเก่าแลกรถใหม่ 100,000 คัน) ว่า กลุ่มยานยนต์ส.อ.ท. เห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าว แต่รถใหม่ที่จะส่งเสริม หรือให้แลกระยะเร่งด่วน ควรเป็นรถที่ผลิตในประเทศเป็นหลัก และต้องคำนึงถึงห่วงโซ่การผลิตที่มองไปถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการคนไทย
“หากรัฐต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ แต่โครงการส่งเสริมให้นำรถเก่ามาแลกรถใหม่เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) ที่ขณะนี้ยังไม่มีการผลิตในประเทศ หรือจะให้แลกเป็นรถประเภทไฮบริด ก็จำกัดการผลิตอยู่เพียงไม่กี่ราย และยังมีราคาสูงคันละ 1 ล้านบาทขึ้นไปจนถึง 5-6 ล้านบาท กลุ่มคนซื้อต้องมีกำลังซื้อสูง แต่หากเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง จะเป็นรถยนต์ที่ทุกกลุ่มได้ประโยชน์ ทั้งผู้ผลิตรถ ผู้ผลิตชิ้นส่วน ที่มีการจ้างงานนับล้านคน รวมถึงน้ำมันที่ผลิตขณะนี้ ก็เป็นเอทานอล ไบโอดีเซล มาผสม จะช่วยเกษตรกรและลดมลภาวะได้เช่นกัน”นายสุรพงษ์กล่าว
ทั้งนี้ การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทย พบว่า จากการที่ค่ายรถยนต์ต่างๆ ยื่นคำขอรับส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในช่วงปี 2561 จะต้องเริ่มต้นสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปลายปี 2564-65
นายสุรพงษ์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมียอดสะสมรถยนต์นั่งรวมประมาณ 10 ล้านคัน แบ่งเป็นรถยนต์ใช้น้ำมันเบนซิน 6.4 ล้านคัน คิดเป็น 62% และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล 3 ล้านคัน คิดเป็น 29% ของรถยนต์ทั้งหมดในภาพรวม ขณะที่ รถยนต์ไฟฟ้ากลุ่มรถยนต์นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง เติบโตเพิ่มขึ้น 140% จาก 31 ธ.ค.2562 ที่มียอดขายรวม 802 คัน มาเป็นกว่า 1,000 คัน และเป็นการเติบโตมาจากรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยราคาขายสูงเกินกว่า 1 ล้านบาทขึ้นไป และขายดีในช่วงราคา 2-3 ล้านบาท
“ตลาดกำลังซื้อของคนส่วนใหญ่ในประเทศ ต้องการซื้อรถยนต์ประมาณคันละไม่เกิน 800,000 บาท ตรงกันข้ามกับยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-ต.ค.2563) ยอดขายลดลง 27% ยอดขายรถยนต์นั่งตกลงไป 37% ส่วนกลุ่มรถยนต์นั่งไฮบริดที่ขายในประเทศ ช่วง 10 เดือนปี 2563 เติบโตขึ้น 44% ด้วยยอดขายเดือนละประมาณ 4,700 คัน ยอดสะสม 10 เดือนที่ 47,000 คัน ยอดสะสมในประเทศกว่า 153,000 คัน แต่ภาพรวมมีสัดส่วนคิดเป็น 1.48% ของยอดรถยนต์สะสมทั้งหมดที่มีประมาณ 10 ล้านคัน”นายสุรพงษ์กล่าว