ผู้จัดการรายวัน360-วิปรัฐบาลมีมติรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญร่าง 1-2 ร่าง 3-6 งดออกเสียง ส่วนร่าง “ไอลอว์” ขอฟังอภิปรายก่อน ด้านฝ่ายค้านมีมติรับทั้ง 7 ร่าง ชี้ร่างไอลอว์ไม่ขัดหลักกฎหมาย อ้างแค่ข่าวใส่ร้ายป้ายสีจะนิรโทษกรรมพา “ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์” กลับบ้าน “ก้าวไกล”ชูร่างไอลอว์เป็นหลักในการพิจารณาชั้นกมธ. วอน ส.ว. ละทิ้งคำสั่ง ฟังเสียงประชาชน ห่วงสถานการณ์บ้านเมือง หากคว่ำร่างของประชาชน จับตาส.ส.รัฐบาล ส.ว. โหวตคว่ำร่างไอลอว์แน่ “ชวน” ไม่ห่วงม็อบ แต่ต้องชุมนุมโดยสงบ วอนม็อบปล่อยให้ ส.ส.-ส.ว.ลงมติอย่างอิสระ ตำรวจเตรียม 9 กองร้อยดูแล ย้ำย่างหมูกระทะ ปิ้งกุ้ง ผิดกฎหมายหลายฉบับ ส่วนเรือเป็ดเสี่ยงอุบัติเหตุ “บิ๊กบี้”สั่งทหารดูแล “ม็อบชนม็อบ”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (17 พ.ย.) จะมีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ โดย 6 ฉบับแรก คือ ฉบับที่ 1 ของพรรคร่วมรัฐบาล ฉบับที่ 2 ของฝ่ายค้าน ที่คล้ายกัน คือ แก้มาตรา 265 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่จะต่างกันตรงที่มาของ ส.ส.ร. เท่านั้น ส่วนฉบับที่ 3-6 เป็นการแก้รายมาตรา ซึ่งทั้ง 6 ฉบับ ได้ผ่านการอภิปรายไปแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนรับทราบรายงานของ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ และการลงมติในวาระรับหลักการ ส่วนฉบับที่ 7 เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปราย และลงมติไปพร้อมกับอีก 6 ฉบับแรก ในวันที่ 18 พ.ย.2563
รัฐบาลรับร่าง1-2 ร่าง3-6งดออกเสียง
สำหรับทิศทางในการลงมติ วานนี้ (16 พ.ย.) ได้มีการประชุมวิปรัฐบาล โดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่างนั้น ให้รวมพิจารณาทั้ง 7 ร่าง จากนั้นให้ลงมติโดยการเรียกชื่อ และลงคะแนนโดยเปิดเผยในคราวเดียวกันทีละฉบับ ซึ่งวิปรัฐบาลมีมติว่ารับหลักการร่าง 1 และร่าง 2 ส่วนร่างที่ 3-6 งดออกเสียง ส่วนร่างที่ 7 คือ ร่างของไอลอว์ ที่ประชุมขอฟังการแถลง และการอภิปรายของสมาชิกก่อน จากนั้นวิปรัฐบาลจะนัดพิจารณาอีกครั้ง และเมื่อลงมติเรียบร้อยแล้ว จะมีการตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 45 คน แบ่งเป็นส.ว. 15 คน ส.ส.30 คน โดยเป็นพรรคร่วมรัฐบาล 17 คน พรรคร่วมฝ่ายค้าน 13 คน
ฝ่ายค้านโหวตรับทั้ง 7 ร่าง
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุมหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านว่า ทั้ง 6 พรรค มีมติรับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 ร่าง ส่วนร่างของไอลอว์ ที่หลายฝ่ายมองว่า มีปัญหาหลายประเด็นนั้น ฝ่ายค้านมองว่าการนำเสนอกฎหมายของประชาชน ถือเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างหนึ่ง ที่สำคัญ คือ ร่างของไอลอว์ ไม่มีประเด็นใดขัดต่อหลักกฎหมาย ดังนั้น ต้องรับฟังเสียงของประชาชนเป็นหลัก และพร้อมสนับสนุนร่างของไอลอว์เช่นเดียวกับอีก 6 ร่าง
นายชูศักด์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีนัยสำคัญโดยเฉพาะการนิรโทษกรรมนำนายทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับบ้าน ว่า แม้จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่จะยกเลิกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดสุญญากาศ หรือนิรโทษกรรมอย่างแน่นอน ข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการใส่ร้ายป้ายสีเท่านั้น
“ก้าวไกล”ชูร่างไอลอว์เป็นหลัก
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคจะรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ และจะเสนอให้เอาร่างของไอลอว์เป็นร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกมธ. เพราะเป็นร่างที่มีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้รับสิ่งที่ต้องการ หากไม่ตอบสนองร่างของประชาชน ซึ่งน่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นต่อไป
แฉร่างไอลอว์ มีวาระซ่อนเร้นเพียบ
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนจะลงมติคว่ำร่างของไอลอว์ ที่อ้างว่าเป็นร่างของประชาชน เพราะมีวาระซ่อนเร้น ช่วยเหลือคนโกงให้กลับประเทศได้แบบเนียนๆ ด้วยการเสนอให้ยกเลิกกฎหมายป.ป.ช. ซึ่งเท่ากับมีผลเป็นยกเลิกการลงโทษผู้ที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษในคดีทุจริตตามกฎหมายป.ป.ช.ทั้งหมด ถ้าปล่อยให้ร่างนี้ผ่านไป พวกสัมภเวสีการเมืองที่เร่ร่อนหนีคดีโกงอยู่ต่างแดน อย่างสองพี่น้องตระกูลชินวัตร ก็จะกลับประเทศไทยอย่างผู้บริสุทธิ์ ตนอยากถามว่าไอลอว์ พร้อมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ชาติได้รับหรือไม่ เพราะยังต้องย้อนไปดูด้วยว่า เมื่อเลิกกฎหมายแล้ว บทลงโทษไม่มี ทรัพย์สินที่เคยถูกยึดไป จะต้องตั้งงบประมาณเพื่อไปใช้คืนคนโกงหรือไม่ และยังมีวาระซ่อนเร้น เปิดทางให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช รวมทั้งซอมบี้การเมืองที่หลุดตำแหน่งส.ส. จากการที่พรรคอนาคตใหม่ ทำผิดกฎหมายจนถูกยุบพรรค กลับมาคืนชีพทางการเมืองอีกครั้ง
ร่างไอลอว์ส่อแท้งถูกโหวตคว่ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย ได้เแก่ วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะพยายามพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ให้เสร็จภายในช่วงเย็นวันที่ 17 พ.ย.2563 จากนั้นจะมาโหวตในเวลา 09.30 น. วันที่ 18 พ.ย. โดยวิธีการขานชื่อทีละคน คาดว่าจะใช้เวลา 4 ชม. จะรู้ผลการลงมติ
ส่วนแนวโน้มการลงมติ ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า จะรับหลักการเฉพาะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 และ 2 ของฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ที่ให้ตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนฉบับที่ 4-6 ที่เป็นการแก้ไขรายมาตรา คาดว่าจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เพราะมีเพียงเสียงจากฝายค้านเท่านั้น เสียงจาก ส.ส.ฝั่งรัฐบาล และ ส.ว. จะลงมติงดออกเสียง และไม่รับหลักการ ขณะที่ฉบับที่ 7 ของไอลอว์ มีแนวโน้มสูงจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เนื่องจากส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และส.ว. ไม่เอาด้วย มีเพียงฝ่ายค้านเท่านั้นที่เห็นด้วย
“ไทยภักดี” ปกป้องรัฐธรรมนูญ
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ผู้ก่อตั้งกลุ่มไทยภักดี กล่าวว่า ขอคัดค้านการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และไอลอว์ เนื่องจากเกรงว่า จะหมิ่นเหม่ที่จะมีการล้มล้างพระราชอำนาจ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้รัฐธรรมนูญ และใช้ม็อบกดดัน อีกทั้งการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ จะมีแต่ประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่มีประโยชน์ใดๆ ของประชาชน จึงขอชวนพี่น้องประชาชนไปร่วมกันยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภา ในวันนี้ (17 พ.ย.) เวลา 09.00 น. ที่หน้ารัฐสภา และไม่ต้องกังวลจะมีการปะทะของมวลชน เพราะอีกกลุ่มนัดหมายเวลา 15.00 น. รวมทั้งจะยื่นอัยการสูงสุด เพื่อยับยั้งพฤติกรรมล้มล้างการปกครองด้วย
"ชวน"ขอม็อบ ให้ส.ส.-ส.ว.ลงมติโดยอิสระ
นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า การลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ขอเรียนว่าผู้ชุมนุมก็ดี หรือใครก็ดี อย่าคาดคั้นให้ลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ขอให้ปล่อยเป็นการลงมติอิสระจะดีกว่า คนระดับนั้น ก็คงไม่กลัวหรอกที่จะถูกกดดัน ให้เขาตัดสินใจด้วยตัวเอง ใช้เหตุผลดีที่สุด ปัญหาตอนนี้ คือ เรื่องเวลาที่ยังไม่ได้ตกลง มีแต่เพียงว่าวุฒิสภาไม่อยากให้ลงมติตอนกลางคืน
นายกฯไม่กังวลม็อบ บอกให้จนท.ดูแล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยหลังกลุ่มผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย นัดชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภา ว่า ตนจะต้องไปรับมืออะไร ให้เจ้าหน้าที่เขาทำงาน เขามีคนทำงานอยู่แล้ว ส่วนการชุมนุม ก็ต้องไปดูว่าเขาทำผิดกฎหมายตรงไหน ก็ผิดตรงนั้น ใครผิดก็ดำเนินคดีได้อยู่แล้ว ตนไม่ต้องไปสั่ง ไม่ว่าจะใครทั้งนั้น วัตถุประสงค์การชุมนุมเป็นอย่างไรไม่รู้เหมือนกัน แต่ทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้ว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เตรียมการไว้แล้ว โดยจะดูแลทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนจะรับ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดนั้น เป็นเรื่องของ ส.ส.และ ส.ว.
ตำรวจย้ำกินหมูกระทะผิดกฎหมาย
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า ตำรวจไม่ได้ห้ามผู้ชุมนุมราษฎร 2563 กินหมูกระทะและกุ้งย่างบนทางเท้าและถนน แต่ถ้าทำถือว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายหลายข้อ รวมถึง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และ พ.ร.บ.จราจรทางบก ส่วนการนำแก๊ส ซึ่งเป็นวัตถุไวไฟเข้าไปประกอบหมูกระทะในการชุมนุม ก็เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และพลุดอกไม้เพลิงด้วย แต่จะผิดหรือไม่นั้นต้องถูกวัตถุประสงค์ของผู้กระทำประกอบ
ทั้งนี้ หากมีการปิดล้อมทางเข้าออกรัฐสภา ตำรวจมีแผนอพยพ ส.ส. และ ส.ว. ไว้แล้ว และยังได้จัดกำลัง 18 กองร้อย ผลัดละ 9 กองร้อยสลับหมุนเวียนดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ตามความเหมาะสม
“บิ๊กบี้”สั่งทหารดูแลสกัด“ม็อบชนม็อบ”
แหล่งข่าวฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ได้เน้นย้ำให้หน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงรัฐสภา เช่น กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 รอ.) เฝ้าติดตามระวังสถานการณ์ เนื่องจากหน้ารัฐสภาเป็นสถานที่ราชการ ใกล้หน่วย โดยพยายามดูแลไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน
ส่วนกรณีที่ น.ส.อินทิรา เจริญปุระ หรือทราย สั่งซื้อเรือเป็ดบุกรัฐสภา ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะเรือดังกล่าวจะใช้ในคลองหรือพื้นที่ที่น้ำนิ่ง ไม่ใช่พื้นที่น้ำไหล อาจจะเกิดอุบัติเหตุจนเกิดความสูญเสียได้ จึงขอร้อง อย่าให้นำมาเสี่ยงเลย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (17 พ.ย.) จะมีการประชุมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ โดย 6 ฉบับแรก คือ ฉบับที่ 1 ของพรรคร่วมรัฐบาล ฉบับที่ 2 ของฝ่ายค้าน ที่คล้ายกัน คือ แก้มาตรา 265 เพื่อตั้ง ส.ส.ร. ยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยไม่แตะหมวด 1 หมวด 2 แต่จะต่างกันตรงที่มาของ ส.ส.ร. เท่านั้น ส่วนฉบับที่ 3-6 เป็นการแก้รายมาตรา ซึ่งทั้ง 6 ฉบับ ได้ผ่านการอภิปรายไปแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนรับทราบรายงานของ กมธ.พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลักการ และการลงมติในวาระรับหลักการ ส่วนฉบับที่ 7 เป็นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับไอลอว์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปราย และลงมติไปพร้อมกับอีก 6 ฉบับแรก ในวันที่ 18 พ.ย.2563
รัฐบาลรับร่าง1-2 ร่าง3-6งดออกเสียง
สำหรับทิศทางในการลงมติ วานนี้ (16 พ.ย.) ได้มีการประชุมวิปรัฐบาล โดยนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รองประธานวิปรัฐบาล กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ร่างนั้น ให้รวมพิจารณาทั้ง 7 ร่าง จากนั้นให้ลงมติโดยการเรียกชื่อ และลงคะแนนโดยเปิดเผยในคราวเดียวกันทีละฉบับ ซึ่งวิปรัฐบาลมีมติว่ารับหลักการร่าง 1 และร่าง 2 ส่วนร่างที่ 3-6 งดออกเสียง ส่วนร่างที่ 7 คือ ร่างของไอลอว์ ที่ประชุมขอฟังการแถลง และการอภิปรายของสมาชิกก่อน จากนั้นวิปรัฐบาลจะนัดพิจารณาอีกครั้ง และเมื่อลงมติเรียบร้อยแล้ว จะมีการตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 45 คน แบ่งเป็นส.ว. 15 คน ส.ส.30 คน โดยเป็นพรรคร่วมรัฐบาล 17 คน พรรคร่วมฝ่ายค้าน 13 คน
ฝ่ายค้านโหวตรับทั้ง 7 ร่าง
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แถลงผลการประชุมหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านว่า ทั้ง 6 พรรค มีมติรับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 ร่าง ส่วนร่างของไอลอว์ ที่หลายฝ่ายมองว่า มีปัญหาหลายประเด็นนั้น ฝ่ายค้านมองว่าการนำเสนอกฎหมายของประชาชน ถือเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างหนึ่ง ที่สำคัญ คือ ร่างของไอลอว์ ไม่มีประเด็นใดขัดต่อหลักกฎหมาย ดังนั้น ต้องรับฟังเสียงของประชาชนเป็นหลัก และพร้อมสนับสนุนร่างของไอลอว์เช่นเดียวกับอีก 6 ร่าง
นายชูศักด์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีนัยสำคัญโดยเฉพาะการนิรโทษกรรมนำนายทักษิณ ชินวัตร และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ กลับบ้าน ว่า แม้จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ไม่จะยกเลิกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดสุญญากาศ หรือนิรโทษกรรมอย่างแน่นอน ข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการใส่ร้ายป้ายสีเท่านั้น
“ก้าวไกล”ชูร่างไอลอว์เป็นหลัก
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวว่า พรรคจะรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ และจะเสนอให้เอาร่างของไอลอว์เป็นร่างหลักในการพิจารณาในชั้นกมธ. เพราะเป็นร่างที่มีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุด เพื่อให้ประชาชนได้รับสิ่งที่ต้องการ หากไม่ตอบสนองร่างของประชาชน ซึ่งน่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นต่อไป
แฉร่างไอลอว์ มีวาระซ่อนเร้นเพียบ
นายสิระ เจนจาคะ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ตนจะลงมติคว่ำร่างของไอลอว์ ที่อ้างว่าเป็นร่างของประชาชน เพราะมีวาระซ่อนเร้น ช่วยเหลือคนโกงให้กลับประเทศได้แบบเนียนๆ ด้วยการเสนอให้ยกเลิกกฎหมายป.ป.ช. ซึ่งเท่ากับมีผลเป็นยกเลิกการลงโทษผู้ที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษในคดีทุจริตตามกฎหมายป.ป.ช.ทั้งหมด ถ้าปล่อยให้ร่างนี้ผ่านไป พวกสัมภเวสีการเมืองที่เร่ร่อนหนีคดีโกงอยู่ต่างแดน อย่างสองพี่น้องตระกูลชินวัตร ก็จะกลับประเทศไทยอย่างผู้บริสุทธิ์ ตนอยากถามว่าไอลอว์ พร้อมรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ชาติได้รับหรือไม่ เพราะยังต้องย้อนไปดูด้วยว่า เมื่อเลิกกฎหมายแล้ว บทลงโทษไม่มี ทรัพย์สินที่เคยถูกยึดไป จะต้องตั้งงบประมาณเพื่อไปใช้คืนคนโกงหรือไม่ และยังมีวาระซ่อนเร้น เปิดทางให้นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช รวมทั้งซอมบี้การเมืองที่หลุดตำแหน่งส.ส. จากการที่พรรคอนาคตใหม่ ทำผิดกฎหมายจนถูกยุบพรรค กลับมาคืนชีพทางการเมืองอีกครั้ง
ร่างไอลอว์ส่อแท้งถูกโหวตคว่ำ
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย ได้เแก่ วิปรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะพยายามพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ให้เสร็จภายในช่วงเย็นวันที่ 17 พ.ย.2563 จากนั้นจะมาโหวตในเวลา 09.30 น. วันที่ 18 พ.ย. โดยวิธีการขานชื่อทีละคน คาดว่าจะใช้เวลา 4 ชม. จะรู้ผลการลงมติ
ส่วนแนวโน้มการลงมติ ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า จะรับหลักการเฉพาะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 และ 2 ของฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ที่ให้ตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนฉบับที่ 4-6 ที่เป็นการแก้ไขรายมาตรา คาดว่าจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เพราะมีเพียงเสียงจากฝายค้านเท่านั้น เสียงจาก ส.ส.ฝั่งรัฐบาล และ ส.ว. จะลงมติงดออกเสียง และไม่รับหลักการ ขณะที่ฉบับที่ 7 ของไอลอว์ มีแนวโน้มสูงจะไม่ผ่านความเห็นชอบ เนื่องจากส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และส.ว. ไม่เอาด้วย มีเพียงฝ่ายค้านเท่านั้นที่เห็นด้วย
“ไทยภักดี” ปกป้องรัฐธรรมนูญ
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ผู้ก่อตั้งกลุ่มไทยภักดี กล่าวว่า ขอคัดค้านการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทั้งของฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และไอลอว์ เนื่องจากเกรงว่า จะหมิ่นเหม่ที่จะมีการล้มล้างพระราชอำนาจ หรือสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยใช้รัฐธรรมนูญ และใช้ม็อบกดดัน อีกทั้งการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ จะมีแต่ประโยชน์ของนักการเมืองทั้งสิ้น ไม่มีประโยชน์ใดๆ ของประชาชน จึงขอชวนพี่น้องประชาชนไปร่วมกันยื่นหนังสือถึงประธานวุฒิสภา ในวันนี้ (17 พ.ย.) เวลา 09.00 น. ที่หน้ารัฐสภา และไม่ต้องกังวลจะมีการปะทะของมวลชน เพราะอีกกลุ่มนัดหมายเวลา 15.00 น. รวมทั้งจะยื่นอัยการสูงสุด เพื่อยับยั้งพฤติกรรมล้มล้างการปกครองด้วย
"ชวน"ขอม็อบ ให้ส.ส.-ส.ว.ลงมติโดยอิสระ
นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวว่า การลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ขอเรียนว่าผู้ชุมนุมก็ดี หรือใครก็ดี อย่าคาดคั้นให้ลงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ขอให้ปล่อยเป็นการลงมติอิสระจะดีกว่า คนระดับนั้น ก็คงไม่กลัวหรอกที่จะถูกกดดัน ให้เขาตัดสินใจด้วยตัวเอง ใช้เหตุผลดีที่สุด ปัญหาตอนนี้ คือ เรื่องเวลาที่ยังไม่ได้ตกลง มีแต่เพียงว่าวุฒิสภาไม่อยากให้ลงมติตอนกลางคืน
นายกฯไม่กังวลม็อบ บอกให้จนท.ดูแล
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยหลังกลุ่มผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย นัดชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภา ว่า ตนจะต้องไปรับมืออะไร ให้เจ้าหน้าที่เขาทำงาน เขามีคนทำงานอยู่แล้ว ส่วนการชุมนุม ก็ต้องไปดูว่าเขาทำผิดกฎหมายตรงไหน ก็ผิดตรงนั้น ใครผิดก็ดำเนินคดีได้อยู่แล้ว ตนไม่ต้องไปสั่ง ไม่ว่าจะใครทั้งนั้น วัตถุประสงค์การชุมนุมเป็นอย่างไรไม่รู้เหมือนกัน แต่ทุกคนก็ทราบดีอยู่แล้ว
พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เจ้าหน้าที่เตรียมการไว้แล้ว โดยจะดูแลทั้ง 2 ฝ่าย ส่วนจะรับ ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใดนั้น เป็นเรื่องของ ส.ส.และ ส.ว.
ตำรวจย้ำกินหมูกระทะผิดกฎหมาย
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล กล่าวว่า ตำรวจไม่ได้ห้ามผู้ชุมนุมราษฎร 2563 กินหมูกระทะและกุ้งย่างบนทางเท้าและถนน แต่ถ้าทำถือว่าเข้าข่ายละเมิดกฎหมายหลายข้อ รวมถึง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และ พ.ร.บ.จราจรทางบก ส่วนการนำแก๊ส ซึ่งเป็นวัตถุไวไฟเข้าไปประกอบหมูกระทะในการชุมนุม ก็เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และพลุดอกไม้เพลิงด้วย แต่จะผิดหรือไม่นั้นต้องถูกวัตถุประสงค์ของผู้กระทำประกอบ
ทั้งนี้ หากมีการปิดล้อมทางเข้าออกรัฐสภา ตำรวจมีแผนอพยพ ส.ส. และ ส.ว. ไว้แล้ว และยังได้จัดกำลัง 18 กองร้อย ผลัดละ 9 กองร้อยสลับหมุนเวียนดูแลความเรียบร้อยในพื้นที่ตามความเหมาะสม
“บิ๊กบี้”สั่งทหารดูแลสกัด“ม็อบชนม็อบ”
แหล่งข่าวฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผบ.ทบ. ได้เน้นย้ำให้หน่วยทหารในพื้นที่ใกล้เคียงรัฐสภา เช่น กองพลปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน (ปตอ.) กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์ (ม.พัน.4 รอ.) กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ (ม.1 รอ.) เฝ้าติดตามระวังสถานการณ์ เนื่องจากหน้ารัฐสภาเป็นสถานที่ราชการ ใกล้หน่วย โดยพยายามดูแลไม่ให้ผู้ชุมนุมทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากัน
ส่วนกรณีที่ น.ส.อินทิรา เจริญปุระ หรือทราย สั่งซื้อเรือเป็ดบุกรัฐสภา ถือเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะเรือดังกล่าวจะใช้ในคลองหรือพื้นที่ที่น้ำนิ่ง ไม่ใช่พื้นที่น้ำไหล อาจจะเกิดอุบัติเหตุจนเกิดความสูญเสียได้ จึงขอร้อง อย่าให้นำมาเสี่ยงเลย