ผู้จัดการรายวัน360- “จุรินทร์”ยัน รัฐบาลจริงใจตามทวงเงิน อคส. 2 พันล้าน กรณีทุจริตถุงมือยาง ย้ำใครเกี่ยวข้องต้องถูกดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญา ลั่นหากเป็นจนท.รัฐ ถูกดำเนินการทางวินัย ไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น
วานนี้ (11พ.ย.) ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา ถามนายกฯ กรณีการทุจริตถุงมือยาง ขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ว่า กรณีนี้มีอดีตสื่อมวลชนชื่อ“เสี่ย อ.”ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ประมาณ 2 เดือน แล้วก็มาขายถุงมือยาง ให้กับ อคส. ถึง 500 ล้านกล่อง มูลค่าแสนกว่าล้านบาท ทั้งๆที่ อคส.นั้นมีหน้าที่ดูแลเกษตรกรและประชาชน แต่เรื่องที่ประชาชนเขาเดือดร้อนกลับไม่ทำ
นอกจากนี้ การที่อคส. จ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าถึง 2 พันล้านบาท แต่กลับไม่มีหนังสือค้ำประกันใดๆให้กับอคส.เลย แสดงว่ามีการเตรียมการ ส่อไปในทางทุจริต ใช่หรือไม่ จึงอยากถามว่าสัญญาเพียง 4 หน้ากระดาษ และไม่ผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดเลย แต่จ่ายเงินมัดจำไปแล้ว 2 พันกว่าล้านบาทนั้น ทำให้ อคส.เสียหาย หรือเจ๊งได้เลย นายกฯจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร และอดีตรักษาการ ผอ.อคส. คงไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกหลายคน จะปล่อยปะละเลยหรือไม่ เพราะเกิดการทุจริตมาเป็นเดือนแล้ว แต่นายกฯ ยังเฉยอยู่เลย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกฯให้มาตอบกระทู้แทน ชี้แจงว่า ตนมีความเห็นเช่นเดียวกับ นายยุทธพงศ์ ที่อดีตรักษาการ ผอ.อคส.ไปทำสัญญาทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ ส่อไปในทางทุจริต ทันทีที่ทราบเรื่องก็ได้มีการหารือกันที่ทำเนียบฯ โดยนายกฯ มีคำสั่งย้าย อดีตรักษาการ ผอ.อคส.ไปประจำสำนักนายกฯ ทันที จากนั้นบอร์ดอคส. ประชุม และสั่งให้ระงับโครงการ ขณะเดียวกันยังตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น รวมถึงไปแจ้งความดำเนินคดีต่อดีเอสไอ และ ปปง. เพื่อขอให้ตรวจสอบและระงับเส้นทางการเงิน ทั้งร้องทุกข์กล่าวโทษต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ซึ่งทราบว่าขณะนี้ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว หากผลการตรวจสอบพบว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องในทางมิชอบ รัฐบาลจะดำเนินการโดยเคร่งครัด และไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น
นายยุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า กรณีนี้เงิน 2 พันล้านบาท ได้ออกจาก อคส.ไปอยู่ที่คู่สัญญาเรียบร้อยแล้ว เงินจ่ายออกไปจนถึงขณะนี้ 2 เดือนเศษแล้ว นายกฯจะตามเงิน 2 พันล้านบาทนี้อย่างไร จะยับยั้งอย่างไร เพราะถ้าตามเงิน 2 พันล้านบาทนี้คืนมาไม่ได้ อคส.จะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง จะเป็นหนี้ขึ้นมา 2 พันล้านบาท นอกจากนี้ คนอื่นๆที่เกี่ยวข้องนั้น ได้ดำเนินการกับใครบ้าง และคืบหน้าอย่างไร
นายจุรินทร์ ชี้แจงว่า เราพยายามตามเอาเงินกลับคืนมาให้ อคส.ให้ได้ แต่โดยลำพัง อคส.ไม่มีอำนาจโดยตรงในการเข้าไปตรวจสอบบัญชี เส้นทางการเงิน และสั่งระงับการดำเนินการใดๆได้อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องไปแจ้งต่อ ดีเอสไอ ถ้าดีเอสไอชี้ว่ามีมูล ก็ขอให้ปปง. สั่งระงับเส้นทางการเงินได้ แต่เมื่อแจ้งต่อ ดีเอสไอแล้ว ก็ได้รับแจ้งว่า ดีเอสไอ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบอดีตรักษาการ ผอ.อคส. แต่เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงได้มีการไปร้องต่อป.ป.ช. และมีการระงับเส้นทางการเงินบางส่วนแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เป็นการดำเนินการภายใน จึงไม่ใช่สิ่งที่ตนจะมาแจ้งในที่ประชุมสภาฯให้รับทราบได้ แต่ไม่ว่าผลสอบสวนจะไปถึงใคร อย่างไรนั้น จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และถือว่าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ซึ่งถ้าเป็นกรณีการทุจริต ใครที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายยุทธพงศ์ กล่าวด้วยว่า วันนี้เงิน 2 พันล้านบาท ยังอยู่หรือไม่ ท่านนายกฯจริงใจกับนโยบายปราบทุจริตหรือเปล่า และกระทรวงพาณิชย์ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงระดับกระทรวง ด้วยหรือไม่
นายจุรินทร์ ชี้แจงว่า เป้าหมายสูงสุดคือต้องเอาเงินคืนมาให้ได้ และใครที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาด้วย หากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะดำเนินการทางวินัยด้วย นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหาย จะไล่เบี้ยจนกว่าจะได้เงินของ อคส.กลับคืนมา ทั้งนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะจัดการกับเรื่องนี้ หากเป็นกรณีทุจริต รัฐบาลจะไม่ละเว้นอย่างแน่นอน
วานนี้ (11พ.ย.) ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสดด้วยวาจา ถามนายกฯ กรณีการทุจริตถุงมือยาง ขององค์การคลังสินค้า (อคส.) ว่า กรณีนี้มีอดีตสื่อมวลชนชื่อ“เสี่ย อ.”ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทได้ประมาณ 2 เดือน แล้วก็มาขายถุงมือยาง ให้กับ อคส. ถึง 500 ล้านกล่อง มูลค่าแสนกว่าล้านบาท ทั้งๆที่ อคส.นั้นมีหน้าที่ดูแลเกษตรกรและประชาชน แต่เรื่องที่ประชาชนเขาเดือดร้อนกลับไม่ทำ
นอกจากนี้ การที่อคส. จ่ายเงินมัดจำล่วงหน้าถึง 2 พันล้านบาท แต่กลับไม่มีหนังสือค้ำประกันใดๆให้กับอคส.เลย แสดงว่ามีการเตรียมการ ส่อไปในทางทุจริต ใช่หรือไม่ จึงอยากถามว่าสัญญาเพียง 4 หน้ากระดาษ และไม่ผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดเลย แต่จ่ายเงินมัดจำไปแล้ว 2 พันกว่าล้านบาทนั้น ทำให้ อคส.เสียหาย หรือเจ๊งได้เลย นายกฯจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร และอดีตรักษาการ ผอ.อคส. คงไม่สามารถทำคนเดียวได้ ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอีกหลายคน จะปล่อยปะละเลยหรือไม่ เพราะเกิดการทุจริตมาเป็นเดือนแล้ว แต่นายกฯ ยังเฉยอยู่เลย
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ ซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกฯให้มาตอบกระทู้แทน ชี้แจงว่า ตนมีความเห็นเช่นเดียวกับ นายยุทธพงศ์ ที่อดีตรักษาการ ผอ.อคส.ไปทำสัญญาทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ ส่อไปในทางทุจริต ทันทีที่ทราบเรื่องก็ได้มีการหารือกันที่ทำเนียบฯ โดยนายกฯ มีคำสั่งย้าย อดีตรักษาการ ผอ.อคส.ไปประจำสำนักนายกฯ ทันที จากนั้นบอร์ดอคส. ประชุม และสั่งให้ระงับโครงการ ขณะเดียวกันยังตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น รวมถึงไปแจ้งความดำเนินคดีต่อดีเอสไอ และ ปปง. เพื่อขอให้ตรวจสอบและระงับเส้นทางการเงิน ทั้งร้องทุกข์กล่าวโทษต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ซึ่งทราบว่าขณะนี้ ป.ป.ช. ได้ตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนแล้ว หากผลการตรวจสอบพบว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้องในทางมิชอบ รัฐบาลจะดำเนินการโดยเคร่งครัด และไม่ไว้หน้าใครทั้งสิ้น
นายยุทธพงศ์ กล่าวอีกว่า กรณีนี้เงิน 2 พันล้านบาท ได้ออกจาก อคส.ไปอยู่ที่คู่สัญญาเรียบร้อยแล้ว เงินจ่ายออกไปจนถึงขณะนี้ 2 เดือนเศษแล้ว นายกฯจะตามเงิน 2 พันล้านบาทนี้อย่างไร จะยับยั้งอย่างไร เพราะถ้าตามเงิน 2 พันล้านบาทนี้คืนมาไม่ได้ อคส.จะมีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง จะเป็นหนี้ขึ้นมา 2 พันล้านบาท นอกจากนี้ คนอื่นๆที่เกี่ยวข้องนั้น ได้ดำเนินการกับใครบ้าง และคืบหน้าอย่างไร
นายจุรินทร์ ชี้แจงว่า เราพยายามตามเอาเงินกลับคืนมาให้ อคส.ให้ได้ แต่โดยลำพัง อคส.ไม่มีอำนาจโดยตรงในการเข้าไปตรวจสอบบัญชี เส้นทางการเงิน และสั่งระงับการดำเนินการใดๆได้อย่างเต็มที่ จึงจำเป็นต้องไปแจ้งต่อ ดีเอสไอ ถ้าดีเอสไอชี้ว่ามีมูล ก็ขอให้ปปง. สั่งระงับเส้นทางการเงินได้ แต่เมื่อแจ้งต่อ ดีเอสไอแล้ว ก็ได้รับแจ้งว่า ดีเอสไอ ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบอดีตรักษาการ ผอ.อคส. แต่เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. เพราะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงได้มีการไปร้องต่อป.ป.ช. และมีการระงับเส้นทางการเงินบางส่วนแล้ว ซึ่งเรื่องนี้เป็นการดำเนินการภายใน จึงไม่ใช่สิ่งที่ตนจะมาแจ้งในที่ประชุมสภาฯให้รับทราบได้ แต่ไม่ว่าผลสอบสวนจะไปถึงใคร อย่างไรนั้น จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และถือว่าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ซึ่งถ้าเป็นกรณีการทุจริต ใครที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นายยุทธพงศ์ กล่าวด้วยว่า วันนี้เงิน 2 พันล้านบาท ยังอยู่หรือไม่ ท่านนายกฯจริงใจกับนโยบายปราบทุจริตหรือเปล่า และกระทรวงพาณิชย์ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงระดับกระทรวง ด้วยหรือไม่
นายจุรินทร์ ชี้แจงว่า เป้าหมายสูงสุดคือต้องเอาเงินคืนมาให้ได้ และใครที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาด้วย หากเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะดำเนินการทางวินัยด้วย นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการในการเรียกร้องค่าเสียหาย จะไล่เบี้ยจนกว่าจะได้เงินของ อคส.กลับคืนมา ทั้งนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจจริงที่จะจัดการกับเรื่องนี้ หากเป็นกรณีทุจริต รัฐบาลจะไม่ละเว้นอย่างแน่นอน